กลับสู่ 100 MAG on the WebSiriraj Home Page - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลVote me for Thai Top 100 - โหวตให้เวบนี้สู่ Sanook Thai Top 100Rama 25 Home Page - เวบไซท์ รามา 25Nattawit - Our beloved friend - ณัฏฐวิทย์ ผู้เป็นที่รักของเพื่อน ๆComment about this Web - ให้ข้อเสนอแนะแก่เรา

เฉพาะศิริราช 100 เท่านั้น - Siriraj 100 Only!



Main Menu

บรรณาธิการแถลง
เฉพาะชาวศิริราช 100 เท่านั้น - Siriraj 100 only!
ความรู้ทางการแพทย์
ถาม - ตอบปัญหาทางการแพทย์
รำลึกถึง ณัฏฐวิทย์
ให้ข้อเสนอแนะกับเรา

Thai Clinic ตอบปัญหาสุขภาพ

Site by
Siriraj 100
Best view with only
Browser แนะนำในการเยี่ยมชมเวบนี้ครับ
Special Thank
Geocities
คำแนะนำในการดู Site นี้

คลิกที่นี่ครับ
Vote me to Sanook 100 Hot

spacer.gif (40 bytes)
Medicine Review - สาระความรู้ทางการแพทย์เพื่อประชาชน

สาระความรู้ทางการแพทย์ เพื่อประชาชน อ่านได้ที่นี่

Update 24 Sep'98
โคลนนิ่ง คืออะไร ? 

ตามความหมาย โคลนนิ่ง (Cloning) หมายถึงการคัดลอก หรือทำซ้ำ (copy) นั่นเอง สำหรับทางการแพทย์ หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน นั่นเอง กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปในวงการเกษตร

แต่ข่าวที่เป็นที่น่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาตร์การแพทย์ไปทั่วโลก ได้แก่ การทำโคลนนิ่งแกะ ที่ชื่อว่า ดอลลี่ นับเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการทีเดียว

ดอลลี่ เกิดมาได้ยังไง ?

สถาบัน รอสลิน ผู้สร้างดอลลี่ขึ้นมา โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญเต็มที่ ดูดเอานิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วนำไปใส่ในไข่ที่ดูดมาจากรังไข่ของแกะหน้าดำ ซึ่งได้ดูดเอานิวเคลียสทิ้งไป เมื่อนำไปใส่แล้ว ก็นำเซลล์ที่ได้ ไปใส่ในโพรงมดลูกของแกะหน้าดำตัวเดิม ให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ได้ เมื่อครบกำหนด ออกมาลูกของแกะหน้าดำที่คลอดออกมากลับกลายเป็นแกะหน้าขาว ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับแกะหน้าขาว เจ้าของเซลล์เต้านมทุกประการ

แล้วมันแปลกยังไง เป็นความรู้ใหม่ตรงไหน ?

ความรู้จากการค้นพบใหม่นี้ มีหลายประการได้แก่

  • เป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) ได้ในสัตว์ชั้นสูงเช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งแต่เดิมมา การสืบพันธุ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสารพันธุกรรมในโครโมโซม ครึ่งหนึ่งมาจาก sperm ของพ่อ (n) และอีกครึ่งหนึ่ง มาจากไข่ของแม่(n) แต่การโคลนนิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สารพันธุกรรมในโครโมโซมทั้งหมด (2n) มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน คือ เซลล์เต้านมเซลเดียว
  • เป็นครั้งแรกที่พบว่า เซลล์ที่มีการจำแนกชนิด (differentiation) แล้ว ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะ และไม่ทำหน้าที่อื่นอีก เช่น เซลล์เต้านม ซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำนมแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ทำหน้าที่อื่น สามารถย้อนกลับไปเป็นเซลล์ที่ไม่จำแนกชนิด (undifferentiated cell) เพื่อสามารถจำแนกชนิดได้อีกครั้ง กลายเป็นเซลล์สำหรับอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ, สมอง, ผิวหนัง, เลือด, อวัยวะต่าง ๆ
  • ทำให้เราได้ทราบว่า มีปัจจัยบางอย่าง (ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร) ซึ่งน่าจะอยู่ในไข่ ส่วน cytoplasm สามารถทำให้ยีนหรือสารพันธุกรรม ซึ่งถูกหยุดการทำงานไปแล้ว เนื่องจากการจำแนกชนิด ให้กลับมาทำงานได้อีก ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เซลล์ทุกชนิดในร่างกายของเรา มีสารพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว, เซลล์ตับอ่อน, แม้กระทั่งเซลล์ประสาท แต่การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินเชื้อโรคได้ แต่สร้างฮอร์โมนอินสุลินไม่ได้ ในขณะที่เซลล์ตับอ่อน สามารถสร้างฮอร์โมนอินสุลินได้ แต่จับกินเชื้อโรคไม่ได้ เนื่องจากเซลล์เหล่านี้ มียีนบางตัวที่ถูกหยุดการทำงานไปแล้ว และบางตัวยังคงทำงานอยู่ไม่เหมือนกันในแต่ละชนิดของเซลล์
แล้วมนุษย์เราได้ประโยชน์จากความรู้นี้ยังไงบ้าง ?

ประโยชน์ที่ได้รับจากโคลนนิ่ง ได้แก่

  • ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจขบวนการทำงานของยีน และการจำแนกชนิดของเซลล์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่น ในอนาคตเมื่อเราทราบปัจจัยที่ทำหน้าที่ ปิด หรือเปิด การทำงานของยีน จะสามารถนำมารักษาโรคได้ เช่น ผู้ป่วยสมองตายจากอัมพาต ในอนาคตอาจสามารถกระตุ้นให้เซลล์สมอง แบ่งตัวทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ หรือผู้ป่วยที่ไตวาย สามารถกระตุ้นการทำงานและแบ่งตัวเซลล์ไตที่เหลืออยู่ให้ทำหน้าที่ทดแทนได้
  • มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยายจำนวนขึ้นได้รวดเร็วกว่าการผสมกันตามธรรมชาติ
  • คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น
  • ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
แล้วไม่มีข้อเสียหรือโทษบ้างเลยหรือ ?

ข้อระมัดระวัง และประเด็นสำคัญของโคลนนิ่ง ที่สำคัญที่สุดในด้านจริยธรรม ทำให้เกิดความหวาดกลัวจนประธานาธิบดี บิล คลินตัน สั่งระงับการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้ไว้ก่อน ได้แก่

  • การทำโคลนนิ่งทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีในการเป็นต้นแบบ ซึ่งปัญหาอยู่ที่ว่า เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าลักษณะอย่างใด ที่เรียกว่าดี อย่างไรไม่ดี เนื่องจากลักษณะอย่างหนึ่ง ในสถานการณ์หรือสภาวะหนึ่ง อาจเป็นสิ่งดี แต่อีกสถานการณ์หนึ่งอาจจะไม่ดีก็ได้ เช่น ผิวดำ กับ ผิวขาว ดีหรือไม่, กรุ๊ปเลือดอะไร ฯลฯ
  • ความเหมือนกัน ทำให้สูญเสียความมีเอกลักษณ์ และความหลากหลาย อันเป็นต้นกำเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าทุกคนทุกชีวิต เหมือนกันหมด จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น
  • การทำโคลนนิ่งในมนุษย์ด้วยจุดประสงค์อันใดก็ตาม ก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมตามมามากมาย เช่น การทำโคลนนิ่งเพื่อต้องการอวัยวะมาเปลี่ยน แล้วจะถือว่าสิ่งที่โคลนขึ้นมาเป็นมนุษย์ด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดา, ปัญหาทางกฎหมาย ใครเป็นตัวจริง ตัวปลอม, การพิสูจน์บุตร, การค้นหาผู้กระทำผิดในคดีต่าง ๆ, การจำแนกคนโดยใช้การตรวจ DNA เป็นต้น

โดยสรุปแล้ว เห็นได้ว่าการทำโคลนนิ่งเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง แต่มีประเด็นตามมาอีกมากมาย ทั้งในทางบวกและลบ แต่ควรตระหนักไว้ว่า "การค้นพบความจริงทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์เสมอ แต่จะเกิดโทษหรือไม่ขึ้นกับว่ามนุษย์นำความรู้นี้ ไปประยุกต์ใช้อย่างไร"

หวังว่าคงได้รับความกระจ่างกับโคลนนิ่ง ไม่มากก็น้อยครับ


รูปแบนเนอร์ของเวบไซท์ 100 MAG on the Web ครับ
สนใจจะทำ Link กับเวบไซท์ของเรา เพียงแต่เพิ่ม HTML tag นี้ลงไปในเวบเพจของคุณ

<a href="http://www.biogate.com/100mag">
<img src="http://www.oocities.org/CollegePark/Union/4033/banner.gif" border=0 width=480 height=60></a>


มีผู้เยี่ยมชมแล้ว  คนนับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540

Copyright 1997-8. Siriraj 100. All right reserved.