LOCATION:
[MY HOME]
[FUTURE]
[MY OFFICE]
[MY KING]
[MY WEB]
August 12, Setfree Turtle to sea Custom, Ranong Province.
ประเพณี "ปล่อยเต่าทะเล จังหวัดระนอง"

Turtle เต่า.. เป็นสัตว์เลี้อยคลาน (Reptile) ชนิดหนึ่ง บางชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและช่วยรักษาความสมดุลของธรรมชาติ ในประเทศไทยมีเต่าอยู่ 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- Turtle : เต่าครึ่งบกครึ่งน้ำและรวมถึงเต่าทะเล มีอยู่ 120 ชนิด พบในประเทศไทยเพียง 7 ชนิดเท่านั้น
- Terrapinus : เต่ากระดองแข็งและเป็นเต่าน้ำจืด มีอยู่ 140 ชนิด พบในประเทศไทยเพียง 14 ชนิด
- Tortoise : เป็นเต่าบก อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น มีอยู่ 37 ชนิด พบในประเทศไทยเพียง 4 ชนิด
- Soft-shelled Turtle : เป็นพวกตะพาบน้ำ มีกระดองนิ่ม มีอยู่ 32 ชนิด พบในประเทศไทยเพียง 5 ชนิด
ชนิดของเต่าทะเลในประเทศไทย
- เต่าตนุ (Green Turtle) มีชุกชุมในอ่าวไทยบริเวณเกาะคาม จังหวัดชลบุรี และบริเวณทะเลอันดามัน บริเวณจังหวัดระนอง
พังงา ภูเก็ต และสตูล เต่าชนิดนี้ขณะที่มีอายุน้อยจะกินเนื้อสัตว์ทะเล เมื่ออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนอุปนิสัยจากกินเนื้อเป็นกินพืช
- เต่ากระ (Hawksbill Turtle) มีอยู่บริเวณเดียวกับถิ่นอาศัยของเต่าตนุ กินเนื้อสัตว์ทะเลเป็นอาหาร เต่ากระตัวเล็กเนื้อน้อย
และใช้เป็นอาหารไม่ได้เนื่องจากเป็นพิษ แต่กระดองสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด
- เต่าหญ้า (Redley Turtle) มีอยู่ชุกชุมในทะเลด้านอันดามัน เต่าชนิดนี้กินเนื้อสัตว์ทะเล เลี้ยงง่าย เนื้อใช้บริโภคได้
- เต่าหัวค้อน (Logger head Turtle) ในน่านน้ำไทยด้านมหาสมุทรอินเดียมีพบบ้าง แต่มีจำนวนน้อยมาก เป็นชนิดที่เลี้ยงยาก กินเนื้อสัตว์ทะเลเป็นส่วนใหญ่
- เต่ามะเฟือง (Leather Back Turtle) มีอยู่ในด้านมหาสมุทรอินเดียจากจังหวัดระนองถึงสตูล เป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะแตกต่างจากเต่าทั้ง 4 ชนิดข้างต้น คือ
กระดองด้านหลังมีลักษณะคล้ายผลมะเฟืองผ่าซีก เต่าชนิดนี้เลี้ยงยาก กินเนื้อสัตว์ทะเลเป็นอาหาร เนื้อเป็นพิษ ใช้ประโยชน์ได้เฉพาะไข่และหนังเท่านั้น
โดยธรรมชาติของเต่าทะเลนั้นจะกินอาหารทั้งพืชและสัตว์และต้องดื่มน้ำทะเลตลอดเวลา จึงต้องมีระบบขับถ่ายสกัดเกลือแร่
ส่วนเกินโดยการทำงานของไต เต่าจะคลานขึ้นไปวางไข่บน
หาดทรายที่เงียบสงบในเวลากลางคืนช่วงน้ำขึ้นสูงสุด และสูงกว่าแนวหาดทรายที่น้ำขึ้นสูงสุด ลักษณะการขุดหลุมทรายโดยใช้ขาหลังขุด ความลึกประมาณ 30-80 เซนติเมตร จะไข่ครั้งละ
70-150 ฟอง เมื่อไข่เสร็จจะใช้ขากวาดทรายกลบหลุมที่วางไข่ หลังจากนั้นจะคลานลงทะเลโดยไม่มาดูแลไข่อีกเลย ไข่เต่าใช้เวลาฟัก 50-65 วัน โดยอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์ในการฟักไข่
เมื่ลูกเต่าคลานขึ้นจากหลุมก็จะคลานมุ่งสู่ทะเลทันที
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2540 สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนองได้สร้างประเพณี "ปล่อยเต่าทะเล จังหวัดระนอง" ขึ้น โดยร่วมกับประชาชนในพื้นที่ร่วมกันปล่อยลูกเต่าทะเลจำนวน 50 ตัว
ลงสู่ทะเล ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์เต่าทะเลในจังหวัดระนองสืบไป
กฤติยา มลาสานต์, สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง สร้างประเพณี "ปล่อยเต่าทะเล"!, อาทิตย์ที่ 2 กันยายน 2540, เดลินิวส์, P.12