พระกริ่งคลองตะเคียน จ.อยุธยา

พบครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่บ้านครองเคียน พระเรี่ยอยู่ตามพื้นดิน นิษฐานว่าพระเถระ วัดประดู่โรงธรรมในสมัยอยุธยา สร้างตามแบบพระคงเมืองลำพูน ต่อมาในตันกรุงรัตนโกสินทร์ หลวงพ่อเลื่อง สุลีโล เจ้าอาวาสได้สืบตำรับต่อมาจนถึงหลวงพ่อม่วง ซึ่งนอกจากจะสร้างพระกริ่งคลองตะเคียนแล้ว ยังสร้างพระเปิม พระรอด เนื้อผงเข้าดินดิบอีกด้วย เนื้อพระกริ่งคลองตะเคียนสมัยอยุธยาเป็นพระเนื้อดินเผาคำ เป็นการจงใจเผาให้เกิดสีแบบนั้น มีความแข็งแกร่งและมันหนึก การจารอักขระที่ด้านหลังพระจะลึก ตามซอกอักขระมักมีไขขาวเกาะแน่น บางองค์ก็มีสีน้ำหมากเกาะติด

พระพุทธคุณ

พระกริ่งคลองตะเคียนนั้นมีสิ่งซึ่งเชื่อถือกันมาก ทางด้านคงกระพันชาตรี ป้องกันได้สารพัดไม่ว่าจะเป็น มีด ไม้ หรือลูกปืน ตลอดจนเรื่อง ทางเขี้ยว งา และอีกอย่างหนึ่ง ทางด้านเมตตามหานิยม

 

พระกริ่งคลองตะเคียนนั้นมีดีทั้ง ภายใน และ ภายนอก คำว่าภายใน หมายถึง ท่านพระอาจารย์ที่ปลุกเสก นั้นมีวิทยาคุณดีเลิศที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคปลาย หรือมีพระพุทธคุณดี

ส่วนคำว่า "ดีภายนอก" นั้นหมายถึง

ก). ศิลปะ องค์พระมีศิลปะสวยงามตามแบบศิลปะของสมัย กรุงศรีอยุธยายุคปลาย โดยเฉพาะเรื่อง การเขียนจารตัว หนังสือเป็นตัวยันต์ลงด้านหลังขององค์พระ ซึ่งพิจารณา ดูสวยงามและเป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่ง ของพระสมัย กรุงศรีอยุธยา ยุคปลาย

ข). ขนาดองค์พระ เป็นพระขนาดกลางมีน้ำหนักเบา เนื่องจากพระสร้างด้วยเนื้อดินซึ่งมีส่วนผสมของผงว่านบางเล็กน้อย

ค). ส่วนผสมของเนื้อพระมีความละเอียดโดยผ่านกรรมวิธี การกรองดิน, กรองผงว่าน ๑๐๘ พระผงใบลาน เผาสีดำ รวมทั้งเกสรดอกไม้แห้งบดละเอียดรวมกันเป็นเนื้อดินของ การสร้างพระกริ่งคลองตะเคียน

 

ลักษณะรูปร่างของพระ

ด้านบนจะเป็นรูปปลายแหลม แต่อาจจะมีพระพิมพ์เล็กและ พิมพ์สองหน้า ซึ่งด้านบนจะเป็นรูปปลายมนโค้งๆ องค์พระเป็น พระนั่งปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานเรียง ๓ ชั้น ด้านหลัง เป็นผนังรูปเม็ดโพธิ์ซึ่งออกแบบคล้ายๆกับรูปใบโพธิ์ ของด้านหลัง ซึ่งเป็นผนังของ พระคง เนื้อดินของกรุจังหวัด ลำพูน รูปเม็ดโพธิ์หรือโพธิ์เม็ด ซึ่งมีทั้งพระกิ่งพระก้านโพธิ์ ปฏิมากรท่านออกแบบ ซึ่งทีลักษณะนี้เรียกว่า โพธิ์สมมุติ และผนังเม็ดโพธิ์นี้มีทั้งองค์ พระชนิดหน้าเดียว และองค์พระ ชนิดสองหน้า และผนัง โพธิ์นั้นอยู่ในซุ้มมนโค้ง พระพิมพ์หน้า เดียว ด้านหลังจะนูนสูง และมีตัวยันต์จารึกด้วยมือ มีทั้งชนิด ปลายงอนแหลม และ ปลายมนโค้ง ถ้าจับองค์พระเขย่าจะมี เสียงดัง เหมือนพระกริ่งเนื้อโลหะทั่วๆไป เพราะมีการบรรจุ เม็ดกริ่งไว้ภายในองค์พระ

 

พระกริ่งคลองตะเคียน เนื้อดิน กรุจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีขนาดใกล้เคียงกับพระคง เนื้อดินของกรุจังหวัดลำพูน ความกว้างขององค์พระประมาณ ๑.๘ เซนติเมตร พระพิมพ์ที่มีปลายแหลมมีความสูงประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร ถึง ๓.๗ เซนติเมตร และพิมพ์สองหน้ามีความสูงประมาณ ๒.๘ เซนติเมตร เพราะปลายมนโค้ง

 

พระกริ่งคลองตะเคียนนี้มี ๗ พิมพ์ คือ

๑. พระพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก ฐาน ๓ ชั้น ปลายแหลม

๒. พระพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก ฐาน ๒ ชั้น ปลายแหลม

๓. พระพิมพ์หน้าเล็กไหล่ยก ฐาน ๓ ชั้น ปลายแหลม

๔. พระพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ไม่ยก ฐาน ๓ ชั้น ปลายแหลม

๕. พระพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก ฐาน ๒ ชั้น ปลายมนโค้ง

๖. พระพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ไม่ยก ฐาน ๓ ชั้น ปลายมนโค้ง

๗. พระพิมพ์ปลายสองหน้า ปลายมนโค้ง

 

สีของพระกริ่งคลองตะเคียนมีอยู่ ๓ สี คือ

๑. สีดำ

๒. สีดำปนเทา

๓. สีเหลืองนวล หรือ สีแบบสีผิวไม้รวก พระสีนี้มีน้อยมาก ในร้อยองค์อาจจะมี ๒ ถึง ๓ องค์

องค์พระสีออกดำจะมีพระประมาณ ๙๗ ถึง ๙๗ เปอร์เซ็น ถ้าพระยังไม่ผ่านการใช้ สีดำจะออกเป็นสีดำปนเทา หรือสีดำแห้งๆ ถ้าพระผ่านการใช้งานมาแล้ว จะออกสีดำเงาๆ หรือสีดำมันแบบสีดำของนิล นอกจากนี้จะมีคราบฝังกร ุสีขาวอมสีนวลๆเล็กน้อย

 

กรรมวิธีการทำเม็ดกริ่ง

เม็ดกริ่งนี้ต้องทำขึ้นเป็นเวลานาน จนเม็ดกริ่งแห้งและแข็ง เม็ดกริ่งมีลักษณะเป็นรูปมนๆ รีๆ ไม่กลม สีออกเป็นสีเทา เนื่องจากคงจะใช้เนื้อดินที่จะสร้างพระกริ่งนี้ผสมกับผงวิเศษ ซึ่งได้จากการจารตัวยันต์ ตามพระสูตรทางวิชาไสยศาสตร์ โบราณ แล้วลบนำผงนี้มาผสมกับดินให้เข้ากัน แล้วปั้นเป็นเม็ด กริ่งจำนวนมาก เม็ดกริ่งนี้จึงเป็นเม็ดกริ่งซึ่งทำจากเนื้อดิน ซึ่งผสมดินผงสีเศษสีขาว เม็ดกริ่งจึงมีสีออกเทา ตามที่กล่าวมาแล้ว

 

การบรรจุเม็ดกริ่งและการจารตัวยันต์ด้านหลังองค์พระ

เมื่อใช้ดินกดลงบนแม่พิมพ์เรียนร้อยแล้ว จีงแต่งด้านหลัง ให้มนโค้งดีแล้ว จึงใช้ไม้ลักษณะกลม เป็นแท่งยาวๆ แทรกตรงก้นพระแล้วยกออกจากแม่พิมพ์ ในขณะนี้เนื้อ พระยังไม่แห้ง จีงถือไม้ไว้และปลายบนไม้มีองค์พระกริ่ง จีงเขียนตัวยันต์ ลงทางด้านหลังขององค์พระตามความประสงค์ ของการ เขียนตัวยันต์แล้ว จีงถอดเอาไม้ออก จะมีรูที่ก้นองค์พระ จึงทำเม็ดกริ่งบรรจุเข้าไปแล้วบีบปิด ปากรูให้สนิท วิธีนี้เป็นการบรรจุเม็ดกริ่งและจารตัวยันต์ ของพระกริ่ง คลองตะเคียนพิมพ์หน้าเดียว

ส่วนพระกริ่งพิมพ์สองหน้านั้น ทาวด้านกัน ซึ่งก้นพระมี ลักษณะคล้ายวงกลมใช้ไม้แทงตรงกลางของวงกลม แล้วนำพระออกจากแม่พิมพ์ และเขียนจารตัวยันต์ทางก้นพระ นี้ประมาณ ๔ ตัว นอกนั้นจะจารตัวยันต์ตามด้านข้างๆ ขององค์พระ และเมื่อถอดไม้ออกแล้ว จึงนำเม็ดกริ่งที่แห้งซึ่ง เตรียมไว้แล้วบรรจุเม็ดกริ่งลงไปในรูและปิดปากรูให้เรียบร้อย แล้วนำองค์พระเหล่านั้นมาตากแดด และผึ่งลมให้แห้ง แล้วจึงนำไปสุมไฟ จะได้องค์พระกริ่งคลองตะเคียน เนื้อดินซึ่งเป็นกรรมวิธีการสร้างพระตามตำราโบราณ

 

จากหนังสือ "เซียนพระ" ฉบับที่ ๓๑๐ ประจำเดือนกุมภาพันธ์

"พระเครื่องอภินิหาร" ฉบับที่ ๒๖ ปีที่ ๓ ประจำเดือนกุมภาพันธ์