มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 21 ฉบับที่ 309 พฤศจิกายน 2540 ]

บาดทะยักเกิดได้ง่ายหรือไม่

ชลลดา คิดประเสริฐ


หน้าฝนถนนเฉอะแฉะ น้ำท่วมขังเป็นหลุมเป็นบ่อ คงจะไม่พ้นเมืองไทย โดยเฉพาะ กรุงเทพฯเมืองหลวงของเราไปได้ แต่โชคดีหน่อยปีนี้ฝนค่อนข้างจะทิ้งช่วงไปในระยะนี้ แต่ก็อีกนั่นแหละ แล้วแต่ความอารมณ์ดีของพายุใต้ฝุ่น พายุโซนร้อน และอีกหลาย ๆ พายุ รวมไปถึงเจ้าความกดดันต่าง ๆ ที่จะมามีอิทธิพลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำฝนแล้ว การทำงาน ของบางท่าน ก็คงจะต้องมีการแข่งขันสูงเป็นแน่ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของ แต่ละครอบครัว คงจะได้รับผลกระทบต่อเงินบาทอันล้อย…ลอยตัวสูง บางบ้านคงต้องเพิ่มการประหยัด กันสุดฤทธิ์สุดเดช กลัวว่าจะอดอยาก หรือเรียกว่า กลัวอดตาย แต่อาหารนอก fast food ที่วัยรุ่นชอบนักชอบหนา ถึงแม้จะทานแล้ว ไม่อดตาย แต่คุณค่าทางโภชนาการน้อย ไขมันและคอเลสเตอรอลสูง เรียกว่า ทานแล้วจะตายง่าย ไม่รุนแรงเกินไปนะสำหรับคำนี้ เพราะว่าพ่อแม่ต้องหาเงิน มาเหนื่อยยากให้ลูก ๆ ได้ใช้จ่ายตามสมัยนิยม พ่อแม่ไม่ตายง่าย จะทนไหวได้อย่างไร คงจะต้องมาหัดนิสัยการกินให้ถูกต้อง กับวัฒนธรรมในการกินดั้งเดิม ของไทยคือ รับประทานผักสด ผลไม้ไทย ๆ ซึ่งมีตลอดปีตามฤดูกาลไม่เคยขาด อาหารที่เป็นไปตามค่านิยมของตะวันตก ควรจะต้องลดลงบ้าง ก็ไม่มีใครว่าอะไรหรอก เพราะอาหารของเขาเหมาะกับสภาพอากาศ สภาพชีวิตของพวกเมืองหนาว รับอะไรมาเพื่อคนรุ่นใหม่ต้องรับมาอย่างคิดตระหนักให้ดี ๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ไขกัน ภายหลัง แฟชั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราขาดดุลการค้าไม่ใช่น้อย ๆ เลยมีทั้งเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ ค่านิยมในการยึดติดของมียี่ห้อ ของแพง ๆ เป็นนิสัยอย่างหนึ่งของคนไทยเรา คงพยายามทำใจให้สบายอย่าไปเครียดกับ ภาวะที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มารักษาสภาพร่างกาย ของเรา ของเด็ก ๆในบ้าน เพื่อชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า

แผล…เราทุกคนเกิดได้ไม่ว่า จะเป็นแผลจากแผลถลอกลักษณะจะเป็นแผลตื้น ๆ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการหกล้ม ส่วนคุณแม่บ้านทั้งหลายจะได้แผลเป็น แผลตัดขอบ แผลจะเรียบขอบแผลชิดกัน เป็นไม่นานก็จะหาย ถ้าแผลสะอาดและรักษาความสะอาดดี แผลฉีกขาดเป็นแผลที่วัตถุไม่มีคมบาด รอบแผลขาดกระรุ่งกระริ่ง ทำให้เกิดการช้ำของแผล ถ้าเป็นพวกโลดโผนก็จะได้รับประเภท แผลถูกแทง รุนแรงมากหน่อยก็เป็นแผลถูกยิง

อันตรายของบาดแผลต่าง ๆ ขึ้นอยู่ว่าไปอยู่ใกล้หรือถูกอวัยวะที่สำคัญหรือเปล่า ถ้าใกล้มาก ก็จะอันตรายไปด้วย ถ้าเกิดการติดเชื้อของบาดแผล ก็จะทำให้ เกิดการสูญเสีย อวัยวะนั้น ๆ ไปได้ เชื้อที่พบได้แก่ แบคทีเรีย รุนแรงมากหน่อย ก็เป็นพวกบาดทะยัก ซึ่งเป็นเชื้อที่ ทนทานต่อความร้อนและยาฆ่าเชื้อ เชื้อจะอยู่ได้ในฝุ่นละออง อุจจาระคน สัตว์ ตกตามพื้นดิน พื้นหญ้า ได้ทั่วไป เป็นการง่ายที่จะทำให้เกิดการติดต่อกับคนที่ไม่ค่อยดูแลรักษา ความสะอาดบาดแผลดีพอ ทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า พวกที่มีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่ใช่ว่าพวกที่โดน ตะปูเป็นสนิมตำเท่านั้น แต่เกิดกับเด็กทารก โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด คงจะเกิดความสงสัยได้ว่าเกิดกับทารกได้อย่างไรในเมื่อเด็กยังเดินไม่ได้ นอนอยู่กับที่ คุณแม่หรือผู้ที่เรียกว่าเป็น หมอเถื่อนคงจะได้…หมอตำแย หมอพื้นบ้าน ใช้การตัดสายสะดือ โดยไม้ไผ่หรือกาบหอย โดยที่อาจใช้วิธีทำความสะอาด เครื่องมือ ด้วยวิธีนี้ ยังไม่เพียงพอ ที่จะฆ่าเชื้อโรค หรือว่าจะได้รับเชื้อจากการที่ทำความสะอาด และตกแต่งสะดือหลังคลอด มีสารปนเปื้อนพวกเชื้ออยู่ในแป้ง หรือในผงขมิ้น ที่ใช้โรยสายสะดือ ตามต่างจังหวัด จะพบได้บ่อยมากในการคลอดตามบ้าน เพราะระยะทางค่อนข้างไกลจากโรงพยาบาล ทำให้การเดินทางมาโรงพยาบาล ลำบากมาก มีการคลอดระหว่างทาง อันนี้ในกรุงเทพฯ ก็พบได้บ่อยกับภาวะการจราจร ที่ติดขัดเกิดการคลอด ในรถระหว่างนำส่งโรงพยาบาล มีให้พบให้ได้ยินบ่อย ๆ

ประมาณ 3 วัน - 3 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อเข้าไป จะพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น คือ ทารกไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ ร้องกวน ขากรรไกรแข็งไม่ยอมอ้าปากมีการเกร็ง และกระตุกของกล้ามเนื้อเป็นครั้งคราวแต่ว่าความรู้สึกตัวจะดี อาจจะมีไข้หรือไม่มีก็ได้ ร้ายแรงพอดูกับการที่มีเชื้อบาดทะยักเข้าไปในร่างกายของคนที่พบได้บ่อย ๆ มีอาการเกร็งของขามากกว่าแขน การเกร็งแล้วแต่ว่า เชื้อเข้าไปมากน้อย และเข้าไปทำลาย ระบบประสาทส่วนกลางมากเท่าไร บาดแผลใหญ่ โรคมักรุนแรง ตามขนาดของบาดแผล ถ้ามาโรงพยาบาลด้วยอาการที่มีไข้มาแล้ว เท่าที่พบอัตราการตายก็จะสูง เด็กเล็กเมื่อมีตัวกระตุ้น พวกเสียงหรือแสง หรือการจับต้องตัว จะกระทำต่อเด็กเท่าที่จำเป็น ก็พอ ไม่อย่างนั้นแล้ว จะเป็นการเพิ่มการกระตุ้นให้เด็กเกิดการชักได้ง่าย ถ้ามีอาการชักเกร็งมาก ควรจะต้องงดให้อาหารทางปาก ต้องเป็นหน้าที่ของทางโรงพยาบาล ในการให้อาหารและน้ำ ทางคุณพ่อคุณแม่อย่าไปพยายามป้อนอาหารหรือน้ำ เดี๋ยวจะเกิดการสำลัก ทำให้ตกลงไปปอด เกิด โรคแทรกซ้อนพวกนิวโมเนียได้ ทางกายภาพบำบัดก็สามารถเข้ามาดูแลในช่วงนี้คือ เรื่องของการเคาะปอด เพื่อระบายเสมหะที่อยู่ในปอด และในเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อต่อ พร้อมทั้งกล้ามเนื้อ ไม่ใช่ว่าโรคบาดทะยักจะไม่มีวิธีการในการป้องกันเลย

วิธีการอย่างแรก ควรจะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคนี้ต่อสาธารณชน รวมทั้งตัวคุณแม่เองด้วย ในส่วนของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ ควรจะต้องมีการฉีด เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยฉีดเข็มแรกเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก ประมาณ 6-8 อาทิตย์ เข็มที่ 2 นี้ จะต้องห่างจากก่อนคลอด อย่างน้อย 1 เดือน พบว่าสามารถลดอัตราป่วย ของบาดทะยักในวัยแรกเกิดลงได้ แถมยังมีผลต่อการ ป้องกันโรคต่อไปอีก 3-4 ปี เมื่อเด็กคลอด ควรตกแต่ง ทำความสะอาดสะดือเด็กแรกคลอด ด้วยแอลกอฮฮล์ 70% ภาชนะที่จะใช้กับเด็ก ควรต้มอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ส่วนเด็กทารก ที่คลอดปกติจะได้รับวัคซีน เมื่ออายุ 2-3 เดือน , 4-5 เดือน, 6-7 เดือน, 1 ? ขวบ เป็นจำนวน 4 ครั้ง

ในคนปกติ ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันบาดทะยักด้วย จะได้ไม่มีปัญหา เมื่อบังเอิญได้รับอุบัติเหตุที่มีความเสี่ยงต่อโรคบาดทะยักได้

มีผู้สงสัยมาว่า ถ้าเคยเป็นบาดทะยักมาแล้ว ภูมิคุ้มกันครั้งต่อไปจะเพียงพอหรือไม่ คำตอบก็คือ ภูมิคุ้มกันอาจจะไม่เพียงพอ ควรต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคบาดทะยัก เหมือนกับบุคคล ที่ยังไม่เคยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเลย เท่านี้ก็คงจะเพียงพอ ต่อการป้องกันโรคบาดทะยักแล้ว

ความเชื่อต้องมีการเปลี่ยนบ้างถ้าไม่ถูกต้อง ทางระบบของราชการต้องเผยแพร่ความรู้ ต่อสาธารณชนอย่างยิ่งในถิ่นทุรกันดาร ก็ควรจะต้องมีการสอนการปฐมพยาบาล ต่อหญิงใกล้คลอด ในยามที่ฉุกเฉิน เมื่อนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน เพื่อลดอัตราการตาย และความทุพพลภาพลง

ชลลดา คิดประเสริฐ


ขอบคุณนิตยสารแม่และเด็ก ที่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600