มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://www.oocities.org/Tokyo/Harbor/2093/
จำสั้นๆ i.am/thaidoc


"คำถามที่ผู้ชายอีกจำนวนไม่น้อย อาจอยากได้คำตอบอ่าน...
แล้วคุณจะรู้ว่าขลิบซะดีมั้ย "


นพ.ประวิตร พิศาลบุตร

เมื่อปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมประชุม สมาคมแพทย์ผิวหนังอังกฤษ ร่วมกับคณะของท่าน อาจารย์ปรียา กุลละวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ที่เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ

เนื้อหาของการประชุม ครั้งนั้นมีมากมาย แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ดูว่าอาจเป็นเพียง เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็น่าสนใจ คืองานวิจัยที่ว่า ผู้ชายควรขลิบดีหรือไม่ เรื่องของการขลิบนี้ เป็นที่นิยมกันมาก ในพวกอเมริกัน แต่ถ้าเป็น
ทางแถบยุโรปส่วนใหญ่ก็ยังไม่ขลิบ เชื่อกันว่า อาจช่วยลดการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่เป็นภรรยา ของผู้ที่ขลิบได้ นอกจากนั้น ในผู้ชายที่หนังหุ้มปลายเปิดไม่ออก อาจมีขี้เปียกหมักหมมและเป็นต้นเหตุของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ชายด้วย

เพื่อศึกษาว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างการทำ Circumcision หรือการขลิบและโรคผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศจริงหรือไม่ ผู้ทำวิจัยศึกษาผู้ป่วยจำนวน 364 ราย ที่มาด้วยโรคผิวหนัง บริวเณอวัยวะสืบพันธุ์ชายและหาความสัมพันธ์ ระหว่างโรคผิวหนังกับการมีหรือการไม่มีหนังหุ้มปลาย

ผู้วิจัยได้ตั้งคลินิกพิเศษภายในภาควิชาตจวิทยา (โรคผิวหนัง) เพื่อรักษาและวินิจฉัยชายที่มีโรคผิวหนังบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์โดยเฉพาะ ในปี พ.ศ.2536 และได้วิเคราะห์ข้อมูลในช่วง 4 ปีจนถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 พบว่า

ผู้ป่วยทั้งหมดมีช่วงอายุระหว่าง 2 ปีถึง 93 ปี โดยที่ 296 คนมีอายุระหว่าง 18 ถึง 50 ปี โรคผิวหนังพบบ่อยที่สุดที่อวัยวะเพศชาย จากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
  • โรคสะเก็ดเงิน ซึ่งพบจำนวน 89 คน
  • โรคติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงหูดจากเชื่อไวรัส จำนวน 53 คน
  • โรคผิวหนังอักเสบชนิดแห้งฝ่อ Lichen sclerosus จำนวน 52 คน
  • โรคผื่นม่วงแดงที่ชื่อ Lichen planus จำนวน 39 คน
  • โรครังแคที่ชื่อ Seborrheic dermatitis จำนวน 29 คน
  • และโรคผิวหนังอักเสบบริเวณปลายอวัยวะเพศ Zoon's balanitis จำนวน 27 คน

ส่วนโรคผิวหนังที่พบรองลงมาได้แก่

  • โรคผื่นนูน Lichen simplex จำนวน 6 คน
  • โรคเนื้องอกชนิด Bowenoid papulosis จำนวน 4 คน
  • มะเร็งชนิด Squamous cell carcinoma จำนวน 3 คน
  • และอาการบวมของอวัยวะเพศ จำนวน 5 คน
โดยมี 7 รายการที่มีการวินิจฉัย 2 โรคพร้อมกันโดยมี Zoon's balanitis ร่วมกับ Lichen sclerosus และ 1 ใน 3 รายหลัง มี Bowenoid papulosis ร่วมด้วย

พบว่าผู้ป่วยทุกรายที่เป็น Zoon's balanitis และ Bowenoid papulosis ไม่ได้รับการขลิบ ส่วน Lichen sclerosus นั้นพบในผู้ที่ขลิบแล้วเพียง 1 ราย โดยเป็นโรคผิวหนังอักเสบ อย่างรุนแรงและอาจถูกทำ Circumcision ในวัยเด็กเพื่อรักษาโรคนี้ ผู้ป่วย Lichen sclerosus อีก 2 ราย ยังคงมีรอยโรคที่ลำไส้ส่วนปลาย และรอบรูเปิดท่อปัสสาวะ แม้จะได้รับการขลิบเพื่อรักษาอาการแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในกลุ่มโรคสะเก็ดเงิน, Lichen planus และรังแคของอวัยวะเพศไม่ได้ขลิบ (ร้อยละ 71, 68 และ 73 ตามลำดับ) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีโรคติดเชื้อที่อวัยวะเพศจะไม่ได้ขลิบ (ร้อยละ 83) ผู้ป่วยที่มีอาการบวมของอวัยวะสืบพันธุ์ทุกรายเป็นผู้ที่ทำ Circumcision มาแล้ว ส่วนโรคผิวหนังอักเสบนั้นพบได้เท่าๆ กันในทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าร้อยละ 49 ของผู้ป่วยชายจำนวน 249 ราย ที่เข้ารับการตรวจในคลินิกโรคผิวหนังทั่วไปเป็นผู้ทำ Circumcision มาแล้ว

ผู้วิจัยสรุปว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการอักเสบ ที่บริเวณอวัยวะเพศชาย จะพบในผู้ที่ไม่ได้รับการทำ Circumcision ซึ่งอาจเกิดจากการสัมผัสเสียดสี หรือเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การติดเชื้อโรคซึ่งยังระบุไม่ได้ชัดเจน

โดยความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า ทั่วไปนั้นหากสามาร ถถลกหนังหุ้มปลายเพื่อทำความสะอาดอวัยวะเพศได้ จะขลิบหรือไม่คงไม่แตกต่างกันนัก แต่ในผู้ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิด ไม่สามารถทำความสะอาดได้ ควรรับการขลิบดีกว่าครับ เคยพบผู้ป่วยอายุย่างเข้าเบญจเพศแล้ว แต่มีหนังหุ้มปลายปิดมิด เหลือรูปัสสาวะแค่รูเข็ม ถ้าเป็นแบบนี้ ไปพบศัลยแพทย์ เพื่อขลิบหนังส่วนเกินออกรับรองว่าโลกจะสดใสกว่าเดิมแน่ครับ


[ที่มา..นิตยสาร fitness ปีที่ 10 ฉบับที่ 102]

[ BACK TO LIST]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600