เบื้องหลังการทดสอบ/การตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการชันสูตร ตั้งแต่การได้รับตัวอย่างเลือด / ปัสสาวะ / สารคัดหลั่งต่างๆ
จนถึงการแปลผลการตรวจ
I ข่าวสารด้านสุขภาพอนามัย I ปัญหาและอาการของโรคต่างๆ I  สรีระ I   การดูแลสุขภาพและป้องกันโรค I ข่าวสารด้านสุขภาพอนามัย I ปัญหาและอาการของโรคต่างๆ I  สรีระ I   การดูแลสุขภาพและป้องกันโรค

cdlogo.gif (7928 bytes)
Healthcare & Diagnostic

winshop.jpg (4697 bytes)
HealthShop l ช็อปปิ้งเพื่อสุขภาพ


สนใจรับข่าวสารสุขภาพใหม่ๆ 
พร้อมประโยชน์อื่นๆ เชิญสมัครฟรี !

Home ] Up ] Pregnancy ] LH Ovulation ] HepatitisB ] HepatitisC ] DrugAbuse ] HIV ] Tomor ] VDRL ] OccultBlood ] Urine ] Malaria ] [ Staining ]
ban3.jpg (13652 bytes)

 

Top banner20.gif (26605 bytes)
wpe5.jpg (2068 bytes)

Wright-Giemsa Stain
สำหรับย้อมดูเม็ดเลือด แดง/ขาว เกล็ดเลือด / เชื้อมาลาเรีย

CBC Q-dip Stain
สำหรับย้อมดูลักษณะเม็ดเลือด แดง/ขาว เกล็ดเลือด

Gram's Stain
สำหรับย้อมดูลักษณะแยกเชื้อแบคทีเรีย จากสิ่งส่งตรวจ

Modify Kinyoun AFB Stain
สำหรับย้อมเพื่อตรวจหาเชื้อวัณโรค (TB) จากสิ่งตรวจ

bar7.JPG (6723 bytes)

bar1a.JPG (2030 bytes)












Wright-Giemsa Stain

เป็นสีที่ใช้สำหรับย้อมดูเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และย้อมเชื้อมาลาเรีย
ประกอบด้วยสีสำคัญ 2 ตัวใหญ่ๆได้แก่ สี Wright stain และสี Giemsa stain
ส่วนของเม็ดเลือดที่มีสภาพเป็นกรดเมื่อย้อมด้วย wright-geimsa stain จะถูกจับด้วยส่วนที่เป็นด่าง
ของสี ( basic dyes )ทำให้ส่วนนั้นติดสีน้ำเงินหรือม่วง เช่นส่วนนิวเครียสของเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
ส่วนของเม็ดเลือดที่มีสภาพเป็นด่าง เมื่อทำการย้อมแล้วจะจับกับส่วนที่เป็นกรดของสี (acid dyes)
ทำให้ส่วนนั้นๆติดสีแดง ชมพู เช่น granule ของเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophile เป็นต้น
ส่วนของสี giemsa stain จะช่วยเสริมการติดสีของเม็ดเลือดแล้วยังช่วยย้อมเชื้อมาลาเรียให้เห็น
ชัดเจนมากขึ้น

ส่วนประกอบของชุดสีย้อม
- สี Wright-Giemsa stain ประกอบด้วย 0.3% Wright stain และ 0.1% Giemsa stain
3% glycerine / 97% Methanol
- Phosphate buffer
- Fixative reagent

วิธีการย้อมสี
1. นำเลือดที่ต้องการย้อมมาทำเป็นแผ่นฟิลม์บางๆบนแผ่นกระจกใส ทิ้งไว้ให้แห้ง
2. นำแผ่นเลือดมาจุ่มลงใน Fixative reagent เพื่อคงรูปร่างของเม็ดเลือดก่อนย้อม   ส่วนของ fixative
reagent นั้นหลังการใช้งานต้องรีบปิดฝาเพื่อป้องกันความชื้นในอากาศทำให้น้ำยาเสื่อม ซึ่งจะมีผลทำ
ให้เม็ดเลือดแดงเปลี่ยนรูปร่างได้
3. นำแผ่นเลือดไปจุ่มลงในสี Wright-Geimsa stain จับเวลานาน 1 นาที
4. นำแผ่นเลือดขึ้น แล้วนำไปจุ่มลงในขวด Phosphate buffer จับเวลานาน 1 นาที
5. ยกแผ่นเลือดขึ้น ล้างสีทีตกค้างด้วยน้ำกลั่นหรือน้ำประปา เช็ดทำความสะอาดด้านหลังแผ่นกระจก
6. เป่าลมหรือผึ่งลมให้แห้ง นำไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

ดูภาพูลักษณะการย้อมสี

  bar7.JPG (6723 bytes)

bar1a.JPG (2030 bytes)

















CBC Q-dip Stain

เป็นสีที่ใช้สำหรับย้อมดูเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และย้อมเชื้อมาลาเรีย แบบเร่งด่วน
ประกอบด้วยสีสำคัญ 2 ตัวใหญ่ๆได้แก่ สี Methylene blue และสี Safanine
ส่วนของเม็ดเลือดที่มีสภาพเป็นกรดเมื่อย้อมด้วย Q-dip stain จะถูกจับด้วยส่วนที่เป็นด่าง
ของสี ( basic dyes )ทำให้ส่วนนั้นติดสีน้ำเงินหรือม่วง เช่นส่วนนิวเครียสของเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
ส่วนของเม็ดเลือดที่มีสภาพเป็นด่าง เมื่อทำการย้อมแล้วจะจับกับส่วนที่เป็นกรดของสี (acid dyes)
ทำให้ส่วนนั้นๆติดสีแดง ชมพู เช่น granule ของเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophile เป็นต้น


ส่วนประกอบของชุดสีย้อม
- สี Methylene blue buffer
- สี Safranine  buffer
- Fixative reagent

วิธีการย้อมสี
1. นำเลือดที่ต้องการย้อมมาทำเป็นแผ่นฟิลม์บางๆบนแผ่นกระจกใส ทิ้งไว้ให้แห้ง
2. นำแผ่นเลือดมาจุ่มลงใน Fixative reagent เพื่อคงรูปร่างของเม็ดเลือดก่อนย้อม   ส่วนของ
fixative reagent นั้นหลังการใช้งานต้องรีบปิดฝาเพื่อป้องกันความชื้นในอากาศทำให้น้ำยา
เสื่อม ซึ่งจะมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงเปลี่ยนรูปร่างได้
3. นำแผ่นเลือดไปจุ่มลงในสี   Methylene blue buffer ประมาณ 10-15 ครั้ง
4. นำแผ่นเลือดขึ้น แล้วนำไปจุ่มลงใน Safranine buffer ประมาณ 10-15 ครั้ง
5. ยกแผ่นเลือดขึ้น ล้างสีทีตกค้างด้วยน้ำกลั่นหรือน้ำประปา เช็ดทำความสะอาดด้านหลังแผ่นกระจก
6. เป่าลมหรือผึ่งลมให้แห้ง นำไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

ดูภาพูลักษณะการย้อมสี

bar7.JPG (6723 bytes)

bar1a.JPG (2030 bytes)















Gram's Stain

สี crystal violet จะซึมผ่านผนังเซลของแบคทีเรียเข้าไปใน cytoplasm ของแบคทีเรีย เมื่อทำการ
ย้อมทับด้วย gram iodine จะไปจับกับส่วนของ crystal violet เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนเรียกว่า
crystal-iodine complex ซึ่งมีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น
ในแบคทีเรียชนิดแกรมบวก จะมีไขมันที่ผนังเซลน้อยกว่าแบคทีเรียชนิดแกรมลบ เมื่อล้างด้วย
Acetone-alcohol ซึ่งเป็นสารละลายไขมัน จะยังคงสามารถรักษาสารประกอบเชิงซ้อนได้อยู่
ในแบคทีเรียชนิดแกรมลบ จะมีไขมันที่ผนังเซลมากกว่าแบบแกรมบวก เมื่อล้างด้วย Acetone-
alcohol จะทำให้ผนังเซลแบคทีเรียเกิดช่องว่างขนาดใหญ่กว่า ทำให้สารประกอบเชิงซ้อนหลุดออก
จากเซลของแบคทีเรียได้
เมื่อทำการย้อมทับด้วยสี safranine จึงทำให้แบคทีเรียแกรมลบติด
สีแดง ของ safranine
ส่วนแบคทีเรียแกรมบวกซึ่งติดสี ม่วงน้ำเงิน ของ Crystal violet อยู่แล้วจึงไม่ติดสีแดงของ safranine

ส่วนประกอบของชุดสีย้อม
- สี Crystal violet
- Gram Iodine
- Acetone-alcohol Decolorizer
- สี Safranine 


วิธีการย้อมสี
1. นำสิ่งตรวจที่ต้องการย้อมดูแบคทีเรีย มาทำ slide smere เป็นวงบางๆบนแผ่นกระจกใส ทิ้งไว้ให้
แห้ง นำไปลนผ่านเปลวไฟ 2-3 ครั้งเพื่อช่วยให้แห้งและติดบนแผ่นกระจกดีขึ้น
2. ย้อมด้วยสี crystal violet นานประมาร 1 นาที ล้างออกด้วยน้ำ
3. ย้อมด้วย Gram-Iodine นานประมาณ 1 นาที ล้างออกด้วยน้ำ
4. ล้างสีส่วนเกินออกด้วย Acetone-alcohol decolorizer
5. ย้อมด้วยสี Safranine นานประมาณ 30 วินาที ล้างออกด้วยน้ำ
6. เช็ดด้านหลังให้แห้ง   ผึงให้แห้ง แล้วนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์

ดูภาพูลักษณะการย้อมสี

bar7.JPG (6723 bytes) 

bar1a.JPG (2030 bytes)















Modify Kinyoun AFB Stain

เชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) สาเหตุของโรควัณโรค ซึ่งเริ่มกลับมาระบาดมากขึ้น
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV   ตัวเชื้อวัณโรคมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวก็คือ เป็นเชื้อที่ทนต่อสภาพ
กรดได้ดีจึงมีเชื้อเรียกอีกอย่างว่า acid fast bacilli   เนื่องจากที่ผนังเซลของเชื้อแบคทีเรียประกอบ
ด้วยกรดไขมันสูงถึงร้อยละ 60 ของน้ำหนัก ทำให้การย้อมติดสียาก แต่เมื่อย้อมติดสีแล้วกอรปกับ
คุณสมบัติที่ทนต่อกรด ดังนั้นเมื่อทำการล้างสีออกด้วย acid alcohol สีที่ติดกับแบคที่เรียชนิดอื่นๆจะ
ถูกล้างออกได้โดยง่าย ยกเว้นสีที่ย้อมติดบนเชื้อวัณโรค (TB) จะล้างออกยาก โดยจะเห็นเป็น สีแดง
และเมื่อย้อมทับด้วยสีน้ำเงินเพื่อให้เป็นสีพื้นเพื่อตัดกับสีแดงของเชื้อวัณโรค จะช่วยให้สังเกตุเห็นง่าย
มากขึ้น

ส่วนประกอบชุดน้ำยา
1. Kinyoun carbol fuchsin
2. Acid fast alcohol Decolorizer
3. Methylene blue

วิธีการย้อม
1. นำสิ่งส่งตรวจที่ต้องการย้อมเพื่อหาเชื้อวัณโรค ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น เสมหะ มาเกลี่ยเป็นแผ่นบางๆ
บนกระจกย้อมเชื้อ (slide) ตั้งทิ้งไว้ให้แห้งในที่มิดชิด เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อถ้ามี
นำแผ่นกระจกไปลนผ่านไฟประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยให้แห้งและติดแผ่นกระจกดีขึ้น
2. ย้อมด้วยสี Kinyoun carbol fuchsin นานประมาณ 5 นาที ล้างน้ำ
3. ล้างสีส่วนเกินออกด้วย Acid fast alcohol จนแผ่นย้อมมีสีติดน้อบลง
4. นำไปย้อมทับต่อด้วยสี Methylene blue นาน 5 นาที ล้างสีส่วน้กินออกด้วยน้ำประปา
5. เช็ดแผ่นกระจกให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง   นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศ์

bar7.JPG (6723 bytes)

bar1a.JPG (2030 bytes)

wpe5.jpg (2190 bytes)
ThaiL@bOnline - Crystal Diagnostics
Email : vichai-cd@usa.net

Phone : (02) 803-7310-11  Fax : (02) 803-6705 ext 0