งานฉลองพระมหาเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่

งานฉลองพระมหาเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่

            งานฉลองพระมหาเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่ ณ วัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 เขตพระโขนง กรุงเทพฯ กำหนด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2529 ถึงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2536 เป็นที่บรรจุพระเกศา พระอุรังคธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องด้วย พระมหาเจดีย์สวย สูงที่สุดในประเทศไทยนี้ สร้างขึ้นด้วยศรัทธาประชาชนที่ศรัทธา เป็นประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยถือว่าเป็นวัตถุสำคัญยิ่งในศตวรรษนี้ เป็นมหาปูชนียสถานกว่าจะสำเร็จ ต้องใช้ความสามารถทุกด้าน ด้านสถาปัตยกรรมต้องใช้ความคิด เพื่อพลิกประวัติศาสตร์ ปูชนียสถาน ให้เป็นประโยชน์ใช้สอยที่พระมหาเจดีย์นี้ คือ เป็นโรงเรียน เป็นที่แสดงพระธรรมเทศนา เป็นห้องสมุด (หอไตร) เป็นห้องบำเพ็ญสมาธิ เป็นที่ตั้งแก้ปัญหาชีวิต เป็นที่เก็บพระไตรปิฏกด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นภาพแสดงปฏิจจสมุปบาท ได้ประโยชน์จากมหาเจดีย์นี้ทุกตารางนิ้ว ปัจจัยในการก่อสร้างมิได้มีเป็นทุนสำรอง ได้จากประชาชนมาบบริจาคที่วัดธรรมมงคลเท่านั้น (มิได้ไปเรี่ยไรที่ไหนเลย)แต่เดชะบุญช่วย ก็มีคนมาบบริจาคทุกวันมิได้ขาด จนมีปัจจัยก่อสร้างไปได้แต่ละวัน จนสำเร็จอย่างปาฏิหาริย์จากศรัทธาซึ่งหลั่งมาเหมือนน้ำชื่นใจ หลั่งมาจากฟากฟ้าสุราลัยสู่แผ่นดิน เป็นความเหนื่อยยากอย่างนี้ จึงควรจะต้องฉลองกันอย่างเต็มที่ ให้สมกับความลำบาก และศรัทธาที่มิได้กะเกณฑ์บังคับแต่อย่างใด ฉะนั้นจึงจัดให้มีการฉลองให้อิ่มใจถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน เหมือนพระเจ้าอโศกมหาราชในอดีตที่ท่านฉลองพระมหาเจดีย์เช่นเดียวกัน จึงขอเชิญทุกท่าน ร่วมการฉลองพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์นี้โดยทั่วกัน โดยเลือกเอาวันที่ท่านต้องการวันใดวันหนึ่งก็ได้ภายใน 7 ปี นั้นให้เป็นของท่านโดยให้ปัจจัยเพียง 500 บาท ก็เป็นเจ้าภาพได้แล้ว เมื่อท่านบริจาคเป็นเจ้าภาพแล้ว ถึงท่านจะมาหรือไม่มาก็ได้ พระภิกษุ 9 รูป จะสวดฉลองให้ท่านทุกวันตลอดไป ประวัติการสร้างพระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ฯ เริ่มด้วยการตั้งสัจจยาธิษฐาน ต่อหน้าพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่วัดโคตะมะวิหาร จังหวัดจิตตกอง ประเทศบังคลาเทศเป็นครั้งแรกว่า "หากข้าพเจ้าได้รับพระบรมสารีริกธาตุครบ 5 องค์ ข้าพเจ้าจะสร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระองค์ท่านให้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย" ข้าพเจ้าก็ได้รับพระบรมสารีริกธาตุครบ 5 องค์ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เมื่อข้าพเจ้าตั้งสัจจยาธิษฐานต่อหน้าพระบรมสารีริกธาตุ เช่นกับด้วยต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์เช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็ต้องทำตามโดยมิพรั่นพรึงต่อสถานการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าจะเป็นการหนักใจเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่เคยปรากฎมาเลยในชีวิตของข้าพเจ้า เริ่มต้นการดำเนินการสร้าง พ.ศ. 2518 ข้าพเจ้าได้ไปประชุมคณะกรรมการในการประชุมครังนี้ได้ตกลงที่จะดำเนินการสร้างมหาเจดีย์โดยจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นที่ตั้งพระมหาเจดีย์ 5 ไร่ จากนางบุญมา อยู่ประเทศ ได้ขายในราคาถูกตารางวาละ 2000 บาท เป็นเงิน 2,000,000 บาท ข้าพเจ้าได้พยายามวาดมโนภาพพระมหาเจดีย์ในใจ พร้อมกับเข้าสมาธิเพื่อความสงบวาดภาพเพื่อเป็นแนวความคิดให้ จนปรากฏเป็นพระมหาเจดีย์ ทรง 4 เหลี่ยม มียอดเป็นเจดีย์ที่ส่วนมากเป็นแบบของประเทศไทย สูง 94.78 ม. จัดเป็นชั้นมี 14 ชั้น ความสวยงามน่าทัศนา กับทั้งให้เป็นประโยชน์ใช้สอยอาทิเช่น โรงเรียน ห้องสมุด ห้องประชุมเพื่อแสดงธรรม และสถานบำเพ็ญกรรมฐาน เป็นต้น การวาดแปลนพร้อมกับการปรึกษาหารือ ใช้เวลา 10 เดือน จึงวาดแปลนสำเร็จของสถาปัตย์สำเร็จแล้วเป็นหน้าที่ของวิศวกร นายสมอาจ จตุนิรัติศัย และคณะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างล้วนแต่เป็นวิศวกรเกับรตินิยมจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์รวมสิบกว่าคน รายชื่อ สถาปัตย์และวิศวกร ผู้เขียนแปลน พระมหาเจดีย์วิริยะมงคลมหาเจดีย์ศรีรัตนโกสินทร์ สถาปนิก ผู้ควบคุมการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ นายเมธี สุนทรรังษี B.ARCS U.OFO .ส.ถ. 72 ส. SOIC.AMERICAN NITARW ENGINEER คณะวิศวกร 1. นายสมอาจ จตุนิรัติศัย ปริญญาบัณฑิตเกียรตินิยม สาขาวิศวกรรรมธรณีเทคนิค สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เคยร่วมงานทางด่วน) 2. นายวันชัย อถิรัตน์วรกิจ ปริญญาบัณฑิตเกียรตินิยม วิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (ร่วมงานสร้างสะพานสาธร) 3. นายสายันต์ อิ่มสมบูรณ์ ปริญญาบัณฑิตเกียรตินิยม สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญามหาบัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เคยร่วมออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา - สาธร) 4. นายพิชิต สุขเจริญพงษ์ ปริญญาบัณฑิตเกียรตินิยม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุสาหการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตร) 5. นายปกปักษ์ สุวรรณเกษร ปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยแฟรี่ ดิกเดนสัน สหรัฐอเมริกา (เป็นวิศวกรรมบริษัทเอสโซ่แสตนดาดประเทศไทย) 6. นายสุเทพ บูรณะวิทยาภรณ์ ปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันขั้นปริญญามหาบัณฑิต ที่อยู่ บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7. นายธวัชชัย ธนาศัพท์ ปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ปัจจุบันเป็นวิศวกรโยธาประจำ บริษัท เอส-เอ-อาร์-เอ็ม จำกัด 8. นายปิติพงษ์ ชิวานนท์ ปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่างเขียนแบบ 1. นายพันธ์ศักดิ์ คงไทย ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2. นายประชุม ยันตรง ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 3. นายสมศักดิ์ ตั้งอิทธิโภไนย ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 4. นายณรงค์ เอมกมล ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 5. นายอโณทัย วิมลแก้ว ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 6. นายอดุลย์ ปทุมเมศร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ขั้นตอนของการก่อสร้าง วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง นายเมธี สุนทรรังษี จบสถาปัตย์จากอเมริกา B.ARCS U.OFO .ส.ถ. 72 ส. SOIC.AMERICAN NITARW ENGINEER เริ่มถมดินจากที่ลุ่มให้สูงขึ้น ซึ่งสิ้นเงิน 800000 บาท สูงกว่าพื้นเดิม 1.50 เมตร จากนั้นได้ว่าจ้างบริษัท U.C.M. มาสำรวจที่ดิน ในความลึกของชั้นดินจะมีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักขององค์พระมหาเจดีย์ ซึ่งได้ทดสอบที่ดินอยู่ 50 วัน เมื่อได้ดินแต่ละชั้นแล้วก็นำไปให้กรมวิทยาศาสตร์ทดสอบ จนเป็นที่พอใจวาดินชั้นนี้สามารถที่จะรับน้ำหนักของพระเจดีย์ได้ ชั้นที่ต้องการสุดท้ายเป็นดินสีเหลืองปนแดงแข็ง ทำตามสัจจะที่ตั้งไว้เมื่อสร้างเจดีย์สำเร็จ พำนักที่ ตึกแดง INTERNATIONAL MEDITATION CENTRE BIHAR GAYA INDIA ของพระรัฐปาล พระญาณรวิริยาจารย์ ได้ตั้งอธิษฐาน เมื่อรับพระบรมสารีริกธาตุครั้งแรกว่า หากสร้างพระมหาเจดีย์ลงเมื่อใดจะทำสมาธิปฏิบัติบูชา ที่พระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา รัฐพิหาร เมืองคยา ประเทศอินเดีย โดยจะนั่งสมาธิบูชาถวายให้ครบ เก้าสิบครั้ง ฉะนั้นเมื่อพระมหาเจดีย์ได้สร้างสำเร็จ ท่านจึงได้ออกเดินทางตามที่ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้แต่ทว่าในฤดูกาลเข้าพรรษาอากาศที่อินเดียกำลังร้อนจัด แม้แต่คนอินเดียเองก็ถึงแก่ความตายเพราะทนอากาศร้อนไม่ไหว จึงเป็นที่หวั่นวิตกสำหรับผู้ใกล้ชิด ถึงจะมีผู้ขอร้องให้อากาศหนาวก่อนจึงค่อยเดินทาง แต่ท่านก็ไม่ยอมท่านกล่าวว่า "เมื่อตัดสินใจแล้ว ขอให้เป็นไปตามนั้นเถิด ท่านยอมสละทุกอย่าง และไม่สามารถยอมให้ใครมาขวางหน้าทัดทานได้" ก่อนออกเดินทาง ท่านได้สละข้าวของทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นสมบัติของวัด และออกเดินทางในวันที่ 5 กรกฎาคม 2529 โดยเครื่องบินไทยอินเตอร์ โดยมีพระติดตามเพียงรูปเดียวคือ พระธรรมศักดิ์ คุตตธรรมโม และนายแอ๊ด นายไมตรี สุวิมลปรีชา ท่านได้ธุดงค์ไปแถบแคชเมียร์ก่อน ต่อมาจึงได้เดินทางไปพำนักอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติสมาธิของบังคลาเทศ พุทธคยา ซึ่งท่านรัฐปาลเป็นผู้ดูแลอยู่ ท่านรัฐปาลเป็นลูกศิษย์ของพระสังฆราชศรีลาลังกามหาเถระ ได้มาตั้งศูนย์ปฏิบัติสมาธิ ห่างจากพระศรีมหาโพธิ์ เพียงสามกิโลเมตรเท่านั้น ระหว่างนั้นอากาศร้อนมากจะเป็นด้วยเหตุผลกลใดยากที่จะอธิบาย หรือเป็นวิบากกรรม หรือเป็นเพราะท่านจะต้องบำเพ็ญบารมีให้เพิ่มขึ้น เพราะกำลังของพญามารคราวนี้เหลือที่จะประมาณได้ ท่านถึงกับอุทานว่า "ชีวิตของท่านช่วงนี้แสนสาหัส" ท่านได้ทราบข่าวว่าท่านสันตะปะทะ จะเดินทางมาจำพรรษาที่นี่ ท่านจึงขึ้นรถไฟจากคยาไปเมืองกัลคัตต้ากับท่านรัฐปาลระหว่างการเดินทางได้ฉันอาหารดินเดียและนมสด ปรากฏว่าท่านท้องเสียฉันยาก็ไม่หยุดถ่ายติดกันถึงสิบสี่วันนับได้สองร้อยกว่าครั้ง การสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย ทำให้ขาดเกลือแร่ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ มิหนำซ้ำยังขาดอาหารอีก ทั้งการรักษาพยาบาลก็ไม่มี แต่ท่านก็อุตส่าห์พยุงร่างกายไปนั่งสมาธิ เดินจงกรมโดยเพิ่มเป็นวันละสองครั้งเพื่อจะให้เสร็จเร็วขึ้น แต่เผอิญวันนั้นอากาศร้อนจัดแทบไม่มีอากาศหายใจ ท่านได้ยกถึงน้ำซึ่งเป็นถึงเหล็กหนามากเทใส่ศีรษะเพื่อดับความร้อน พอครั้งที่สามกระดูกสันหลังเคลื่อน เจ็บปวดทรมานแสนสาหัส ท่านจึงนั่งสมาธิมาเพื่อดับความทุกข์ที่เกิดขึ้น พอใกล้รุ่งสว่าง ปรากฏเป็นแสงพุ่งไปที่วัดไทยพุทธคยาเห็นท่านเจ้าอาวาสนั่งอยู่มีเสียงดังว่า "ไปที่วัดไทยจะมีผู้ช่วยเหลือความทุกข์ครั้งนี้ได้" พอพ้นจากสมาธิท่านจึงไปที่วัดไทย ท่านเจ้าคุณวัดไทยทราบว่าป่วยจึงบอกว่ามีหมอจิตตินทร์ จินดาดวงรัตน์เชี่ยวชาญทางกายภาพบำบัดให้ช่วยดูแลรักษาให้ หมอจึงจับกระดูกซึ่งเคลื่อนเกยกันอยู่ให้เข้า ปรากฏว่าความเจ็บปวดได้หายไปทันที ต่อมาคุณหมอได้เล่าว่า "ฝันไปวาลูกสาวซึ่งเสียชีวิตแต่เล็กมาเรียกให้ไปรักษาพระซึ่งป่วยหนักอยู่ที่ต้นโพธิ์" คุณหมอคิดว่าเป็นท่านเจ้าคุณวัดไทย จึงได้แวะมาดูแต่กลายเป็นพระญาณวิริยาจารย์แทน หลังจากที่กระดูกหายดีแล้วเพียงสามวัน พระญาณวิริยาจารย์ก็ป่วยเป็นโรคตาแดง เกิดมีไวรัสขึ้นทำให้กล้ามเนื้อที่คอเกิดอักเสบขึ้นอีก อาการคอแข็ง เอี้ยวตัวไม่ได้กว่าจะพลิกตัวหรือยกศีรษะจากหมอนก็ทรมานเหลือหลาย ระหว่างนั้นทางกรุงเทพฯ ก็ได้รับจดหมายบอกว่าท่านอาพาธ อาหารที่นำติดตัวไปก็หมดให้ทางกรุงเทพฯ ส่งอาหารไปด้วย เป็นที่ทราบว่าการส่งอาหารไปอินเดียนั้นกินเวลานานมาก การคมนาคมไม่สะดวก อาจจะไปไม่ถึงด้วยซ้ำ ฉะนั้นคุณรัตนา สมบุญธรรม จึงตัดสินใจร่วมเดินทางไปกบนางสาวนฤมล วชราภรณ์พินทุ โดยไม่ยอมฟังคำทัดทานจากเพื่อนฝูงที่หวังดี เพราะสุขภาพของตัวเองตอนนั้นกำลังแย่มาก ขาขาวเดินไม่ได้สะดวกเพราะหกล้มเอ็นที่เท้าขาดและเป็นไข้หวัดใหญ่ด้วย แต่กระนั้นก็ตัดสินใจนำยาและที่รัดหลังสำหรับผู้ป่วยกระดูกเคลื่อนไปให้ และอาหารที่จำเป็น เมื่อถึงเมืองกัลคัตต้า อากาศร้อนจัด ลมที่พัดปลิวโดนผิวเหมือนเปลวไฟรู้สึกตกใจมากเพราะตนเองมีโรคประจำตัว เวลาอากาศร้อนหายใจไม่ได้ จวนเจียนจะเปลี่ยนใจเดินทางกลับ แต่ด้วยความเป็นห่วงจึงพนมมืออธิษฐานว่า "ขอให้หายใจได้สามารถไปถึงเมืองคยาด้วยเถิด" ได้ไต่ถามดูทราบว่าการเดินทางจากเมืองกัลคัตต้าไปเมืองคยาจะต้องนั่งรถไฟไปหน่งคืนกับครึ่งวัน การจองตั๋วรถไฟชั้นหนึ่งจะต้องกนเวลาเป็นอาทิตย์ก็มี แต่ในที่สุดก็ได้พยายามเดินทางไปวัดเบงกลอง เพื่อขอความช่วยเหลือ การที่ผู้หญิงต้องเดินทางตามลำพังในอินเดียเป็นเรื่องที่น่าไหวหวั่น ยิ่งได้ทราบก่อนออกเดินทางว่า ที่เมืองเดลลีคนเดินบนถนนอยู่ดีๆ ถูกจับได้ตัดหัวบูชาเพื่อสังเวยเจ้าแม่กาลี ท่ามกลางฝูงชนโดยไม่มีผู้ใดกล้าช่วยเหลือเป็นเรื่องน่าสยดสยอง เมื่อถึงวัดเบงกลองได้พบว่าท่านเจ้าอาวาส ท่านมีเมตตา เมื่อชูรูปของพระญาณวิริยาจารย์ ท่านได้อุทานว่า "ญาณ-นะ-วิ-ร-ยาฉันรู้จักดี" "รัตนา" พอได้ยินชื่อท่านบอกว่า รู้จักชื่อมานานแล้วเพราะได้ข่าวว่าทำประโยชน์ให้ชาวพุทธศาสนาไว้มากในบังคลาเทศ และอินเดียรู้จักชื่อดี เมื่อทราบความประสงค์ ท่านได้เมตตาปลอบใจว่าให้มานอนในวัดจะปลอดภัยดีกว่า และท่านได้ให้คนพาไปซื้อตั๋วรถไฟ พอซื้อตั๋วเสร็จเขาก็ปิดที่ขายตั๋วหมดเวลาพอดีนับว่าโชคดีมาก รุ่งขึ้นประมาณสองทุ่มได้ออกเดินทางโดยมีพระภิกษุเป็นผู้นำทาง การเดินทางเป็นไปอย่างทุลักทุเลมากแต่ก็ปลอดภัยท่านกำชับว่าเมื่อไปถึงเมืองคยา หากพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นไปขึ้นไม่ให้ออกจาสถานีรถไฟเพราะอาจถูกฆ่าตายได้ให้รออยู่จนท้องฟ้าสว่าง ประมาณตีสี่ ท่านรัฐปาลและพระธรรมศักดิ์ได้มารับไฟพบพระญาณวิริยาจารย์ ขณะนั้นร่างกายท่านอยู่ในสภาพแย่มากแล้ว แต่ถึงกระนั้นท่านก็ไยอมละเว้นที่จะปฏิบัติธรรม บำเพ็ญสมาธิถวายวันละสองหน คุณหมอจิตตินทร์ได้มาพำนักอยู่ด้วย ตลอดระยะการเจ็บป่วย ช่วยดูแลใกล้ชิดจนท่านทำสัจจะอธิษฐานครบถ้วน ระหว่างนั้นทุกคนอยู่ในความวิตกกังวลว่า พระญาณวิริยาจารย์จะเดินทางกลับประเทศไทยอย่างปลอดภัยได้หรือ คณะพระภิกษุชาวอินเดียถึงกับขอร้องว่า "อย่านำชีวิตมาทิ้งไว้อินเดียเลย เพราะพระพุทธศาสนาจะถูกฝังปกดินไปอีกนานชีวิตของท่านยังนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่พระศาสนาและพวกเราที่อินเดียได้อีก ขอจงเลิกล้มความพยายามเสียเถิดขอให้เดินทางกลับ" แต่ท่านก็ไยอม ทุกคนได้แต่รอนับวันเวลาวันครบกำหนดและวันนั้นก็เป็นวันที่ทุกคนรอคอยรถไฟได้นำพวกเรากลับสู่เมืองกัลคัตต้าวันที่ 6 กันยายน 2529 และเดินทางกลับเมืองไทยวันที่ 8 กันยายน 2529 โดยเครื่องบินไทยอินเตอร์ เที่ยวที่ ทีจี 314 เวลา 13.00 น. คณะพวกเราได้ตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า "ตึกแดง" แต่พระญาณวิริยาจารย์ว่าเปรียบเหมือน "ปราสาทแดง" หมายถึงที่คุมขังกษัตริย์ผู้เคยสร้างทัชมาฮารส์ สัจจะอธิษฐานของพระญาณวิริยาจารย์ได้กระทำครบถ้วนแล้ว และได้เดินทางกลับโดยปลอดภัยด้วยพุทธานุภาพที่ตามปกปักษ์รักษาคณะของพวกเรา เพราะทุกคนเป็นโรคแทบแย่ไปตามๆ กัน มีอะไรในพระมหาเจดีย์ ได้มีสถานที่เคารพบูชาทั่วองค์พระเจดีย์ ซึ่งท่านจะได้กราบไหว้และชมดังต่อไปนี้ 1. พระอัฏฐารส 2. พระพุทธรูปจำลอง ภ.ป.ร. 3. พระพันปี (พระพุทธรูป อโศกพญา) 4. พระกวนอิม 5. พระสังกัจจายะนะ 6. พระอู่ทอง 7. พระเจ้าอโศกมหาราช (ผู้ซึ่งส่งพระอรหันต์มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย) 8. หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ 9. พระสุโขทัย 10. พระเชียงแสน 11. พระประจำวัน มีการสรงน้ำพระประจำวันของทุกคนตั้งแต่ วันอาทิตย์ ถึง วันเสาร์ โดยรอบพระมหาเจดีย์ จากนั้นท่านจะได้ขึ้นลิฟท์ ไปถึงชั้น 14 ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระเกศา พระอุรังคธาตุ พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วท่านก็จะได้ลงมาตามชั้นต่างๆ เข้าชมห้องเรียน ห้องสมุดที่ทันสมัยที่สุดมินิทรรศการที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง คือ 1. นิทรรศการประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ 2. นิทรรศการประวัติการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ 3. นิทรรศการในการรับพระบรมสารีริกธาตุ ทั้งหมด 4. นิทรรศการ การพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย 5. นิทรรศการ สมเด็จพระสังฆราชทุกองค์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมฉลอง พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ โดยทั่วกันเทอญ ชั้นต่างๆ ของพระมหาเจดีย์ ชั้นที่ 1 ภุมมาเทวา เป็นสถานที่จัดนิทรรศการ ห้องเรียนเด็กยากจน ห้องประชุมใหญ่ ห้องฉายสไลด์เกี่ยวกับพุทธศาสนา ชั้นที่ 2 จาตุมหาราชิกาเทวา เป็นชั้นระเบียงที่ตั้งศาลาแปดหลังใช้บูชาพระพุทธรูปปางค์ต่างๆ ดังนี้ ศาลากวนอิม, ศาลาสังกัจจาย, ศาลาเชียงแสน, ศาลาสุโขทัย, ศาลาพระอาจารย์มั่น, ศาลาพระเจ้าอโศกฯ, ศาลาพระทราวดี, ศาลาอู่ทอง ชั้นที่ 3 ดวงดังษาเทวา เป็นชั้นวิหาร ชั้นที่ 4 ยามาเทวา เป็นห้องสมุด ชั้นที่ 5 ดุสิตาเทวา เป็นห้องเรียนสำหรับพระปริยัติธรรม ชั้นที่ 6 นิมานรดีเทวา เป็นห้องสมาธิ ชั้นที่ 7 ปรินิมิตสวัสดีเทวา เป็นห้องคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ชั้นที่ 8 มหาพรหมา เป็นห้องสมาธิ ชั้นที่ 9 ปริตตาภาพรหมา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม ชั้นที่ 10 อาภัสสราพรหมา เป็นห้องสมาธิแนะนำกรรมฐาน ชั้นที่ 11 เวหัปผลาพรหมา และ ชั้นที่ 12 สุทัสสพรหมา เป็นชั้นพิพิธภัณฑ์ของโบราณ ชั้นที่ 13 สุทัสสีพรหมา เป็นชั้นที่แสดงปฏิจจสมุปบาท และอริยสัจสี่ ชั้นที่ 14 อกนิฏฐาพรหมา เป็นชั้นที่สูงสุดใช้ประดิษฐาน เส้นพระเกศา พระอุรังคธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่บูชาสูงสุด อุปสรรคยิ่งใหญ่ระหว่างการสร้างพระเจดีย์ การรับพระบรมสารีริกธาตุนั้นได้เกิดอุปสรรคขึ้นมากมาย แต่ก็ได้ฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านั้น จงประสบความสำเร็จในการสร้างพระมหาเจดีย์ตามที่ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ ดังเอกสารที่ปรากฏและได้เก็บรักษาไว้เป็นเวลาหลายปี จนมาถึงวันนี้เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติการก่อสร้าง ดังนี้ 1. เอกสารคัดค้านไม่ให้ไปรับพระบรมสารีริกธาตุครั้งที่สอง 2. โทรเลขยืนยัน ให้รีบเดินทางไปเพื่อรับพระบรมสารีริกธาตุครั้งที่สองให้ทันตามหมายกำหนดเดิม 3. ยืนยันว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุแท้จริง 4. หนังสือห้ามไม่ให้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อรับพระบรมสารีริกธาตุจนกว่าจะพบความจริง

พระธาตุพนม | นครพนม | หาเพื่อน | โฆษณาฟรี | สบายดี | หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์| อสังหาริมทรัพย์ | Ads5 | Bangkokpost | ศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าออนไลน์ |