นิทานธรรม

นายใหม่
 
                   

                   และถ้าที่ใช้กันอยู่กระดาษยังเลวเกินไปก็จะไปสั่งทำกระดาษและซองพิเศษการพิมพ์จะต้องรู้จักย่อหน้า เว้นบรรทัดในที่ที่ควรเว้น ถ้ามีผิดแม้แห่งเดียวจะต้องพิมพ์ใหม่ การใช้ถ้อยคำสำนวนต้องไพเราะรื่นหู รวมความแล้วคนที่ทำงานลวกๆ สุกเอาเผากินจะอยู่กับนายคนนี้ไม่ได้ พิทยาต้องปรับปรุงตัวเองอยู่นาน กว่าจะทำตนให้เข้ากับนายคนนี้ได้บางครั้งนายของพิทยายังได้ขอตรวจสมุดรับส่งหนังสือ ตลอดจนดูวิธีเก็บหนังสือเข้าแฟ้ม และตรวจจนกระทั้งโต๊ะทำงานของทุกๆ คนในบังคับบัญชา มิให้รกรุงรังเต็มไปด้วยเอกสารทั้งจำเป็นและไม่จำเป็น เมื่อมีเรื่องใหม่มาจะต้องมีเรื่องเก่าประเภทเดียวกันแนบเสนอไปเพื่อให้รู้เรื่องราวเกี่ยวโยงในอดีตทุกครั้ง  ใหม่ๆพิทยารู้สึกอึดอัดเพราะถูกดุถูกว่าอยู่เสมอแต่พอคุ้นมากเข้าพิทยาก็พลอยเห็นดีเห็นชอบไปด้วยว่านาย ของตนทำงานมีระเบียบและทำงานเป็นแต่ครั้นจู่ๆ นายก็ย้ายไปมีคนใหม่มาแทนนายคนใหม่นี ้ไม่เคยสนใจเลยกับระเบียบสารบรรณ ร่างหนังสือให้ไปอย่างไรไม่เคยติไม่เคยว่า ลงนามมาให้ทุกครั้ง นายคนใหม่นี้ไม่ดุใครเลย แต่ก็ดูเหมือนว่ายิ้มไม่เป็นเลยเหมือนกัน เป็นคนง่ายๆ ไม่จู้จี้ เมื่อเห็นนายใจดี
ทุกๆคนในที่ทำงานก็สบายใจ ความสนใจในระเบียบเริ่มน้อยลง รู้สึกเป็นอิสระแก่ตนเองมากขึ้น วันไหนนึกอยากจะหยุดก็ลาหยุดง่ายๆ บางครั้งก็มาทำงานจนสาย บางครั้งก็กลับก่อนเวลา เท่านั้นยังไม่พอ ยังเที่ยวพูดในที่ต่างๆด้วยซ้ำไปว่าเจ้านายของฉันใจดีทำอะไรเกินเลยไป นิดหน่อยไม่เป็นไรหนักเข้าความเคยชินในการทำอะไรหรือทำอย่างไรก็ได้นี้ก็มีมากขึ้น ถึงขนาดไม่เห็นการงานส่วนรวมเป็นสำคัญที่สำคัญที่สุดก็คือส่วนตัวเรื่องเล็กเรื่องน้อยไม่ว่าเรื่องอะไรถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวแล้ว แม้เพียงการซื้อของใช้ก็ต้องออกไปซื้อในเวลาทำงานครั้นถึงสมัยพิจารณาความดีความชอบ หลายคนอดนึกครึ้มๆ ไม่ได้ว่าเจ้านายใจดอย่างนี้ เงินเดือนขั้นเดียวนั้นไม่มีปัญหา แต่เงินเดือนสองขั้นนี้แหละไม่ใครก็ใครก็คงจะได้กันบ้างพิทยาตกตะลึงเมื่อ ปรากฏว่าเจ้านายใหม่ของตนไม่ยอมให้ใครได้เงินเดือนขึ้นแม่แต้ขั้นเดียว
เสียงซุบซิบไม่พอใจเริ่มมีมากขึ้นในระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา แต่เจ้านายก็คงนิ่งเฉยไม่แสดงอาการว่า
ชอบหรือไม่ชอบอะไรคนที่รู้ว่าตัวไม่ได้เงินเดือนขึ้นดูเหมือนจะพากันไถลมากขึ้น ลาหยุดมากขึ้น เพราะถือว่าไหนๆ เมื่อไม่ได้เงินเดือนขึ้นแล้ว ก็จะขยันเอาดีอะไรกันอีก ทำงานพอเป็นไปวันหนึ่งๆ ไม่ดีกว่าหรือพ้นปีใหม่ไปไม่ได้กี่วัน มีคำสั่งจากเจ้านายให้รวบรวมสถิติการทำงาน ของทุกคนว่าใครขาดกี่วัน ลากี่วัน มาสายกี่วัน ทุกคนตกใจที่เห็นว่าเจ้านายใจดี จะกลายเป็นผู้คอยจับผิดไป ผลของการสำรวจ ปรากฏว่าแทบทุกคนมีสถิติการปฏิบัติงานย่อหย่อน ไม่ก้าวหน้า ละทิ้งหน้าที่การงานบ่อยครั้ง ลาหยุดมากครั้งคราวนี้เองความเดือนร้อนใจก็ปรากฏขึ้น ครั้งแรกเป็นเรื่องของความโกรธที่เจ้านายไม่ให้เงินเดือนขึ้นเลย แต่คราวนี้กลายเป็นกลัวเพราะเจ้านายคนนี้ไม่ชอบพูดมากไม่ดุใคร แต่ก็ไม่ใช่หุ่นที่ใครๆ จะเชิดอย่างไรก็ได้ใครก็ไม่ทราบกระซิบบอกต่อๆ กันมาว่า "ท่าน"กำลังพิจารณาตัดเงินเดือน
ในฐานะทำงานไม่ได้ผลดี ย่อหย่อนไร้สมรรถภาพ จากข่าวลือ
นั้นโรคกลัวก็เริ่มระบาดทุกคนมาถึงที่ทำงานก่อนเวลา ไม่กล้าเลิกงานก่อนเวลาความย่อหย่อนที่เคยมีอยู่เก่าก่อนหายไป
ดังปลิดทิ้ง หลายคนเริ่มรู้รสของความกลัว ความวิตกทุกข์ร้อน และรู้ว่าคนไม่พูดไม่ดุนั้นก็มิได้หมายความว่าจะให้ใครตบตา
ได้ตามชอบใจ
หลายคนบอกงดที่จะลางานไปช่วยธุรกิจของผู้ที่รักใคร่ชอบพอ เพราะยังไม่แน่ว่าตนเองจะเพียงจะถูกตัดเงินเดือน
หรือได้รับพิจารณาโทษอย่างอื่นด้วย
ข่าวลือที่เคยพูดกันว่าเจ้านายใจดีที่สุด เริ่มเปลี่ยนแปลงใหม่ ว่าเจ้านายไม่พูดเลยไม่ดุเลย แต่เป็นคนเอาใจใส่ดูแล
ความเป็นไปของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิดที่สุด และไม่เห็นแก่หน้าใครเลย
วันหนึ่ง เวลาเช้าทุกคนได้รับคำสั่งให้เข้าห้องประชุม แต่เจ้านายก็ยังไม่เข้าไป ปล่อยให้ผู้รับคำสั่งนั่งอยู่ในห้อง
ประชุมนั้นด้วยสีหน้าท่าทางกระวนกระวายและวิตกทุกข์ร้อนดูเหมือนว่าแม้เสียงกระแอมหรือไอของใครสักคนหนึ่งก็จะเป็น
ที่ผิดสังเกต เพราะแต่ละคนก็นั่งนิ่ง ห่วงใยในโชคชาตาของตนอย่างเหลือเกิน บางคนถึงกับนึกเลยไปว่า ได้คนดุๆ มาเป็นเจ้านาย
เสียยังดีกว่าจะได้ระวังตัวไม่ประพฤติหละหลวมขณะที่ทุกคนกำลังคิดฟุ้งซ่านกันอยู่นั้น เจ้านายก็ปรากฏตัวในห้องประชุมทุกคน
ยืนขึ้นแสดงคารวะ ด้วยใจคอผิดปกติ ไม่รู้ว่าจะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น
แต่ทุกคนก็โล่งอก เมื่อเห็นยิ้มของเจ้านายเป็นครั้งแรก เพราะตั้งแต่ย้ายมาอยู่ก็ดูเหมือนท่านจะไม่เคยยิ้มเลย
"
ท่าน" กล่าวขึ้นต่อที่ประชุมว่า
"
การที่เชิญมาประชุมวันนี้ ก็ด้วยต้องการจะแสดงความยินดีที่เห็นทุกคนปฏิบัติหน้าที่การงานดีขึ้น ไม่ขาดบ่อยๆ 
เหมือนเมื่อก่อน เวลามาและเวลากลับก็ดีขึ้นความตั้งใจทำงานก็ดีขึ้นโดยไม่ต้องตักเตือนกันเลย"
"
ผมไม่ชอบพูดมาก ไม่ชอบดุใคร แต่ขอเสนอให้ทุกคนคิดว่าการจะคอยให้ผู้บังคับบัญชาต้องดุว่าหรือคอยจับตาดู
ความผิด ความบกพร่องนั้น ควรเป็นเรื่องของเด็กๆ แต่พวกเราเป็นผู้ใหญ่ด้วยกันแล้ว ควรตั้งตนเป็นนายของตัวเอง ตรวจตรา
ดูแลตัวเอง แก้ไขตัวเอง พยายามทำตัวเองให้ดีขึ้น โดยวิธีนี้แม้จะเปลี่ยนแปลงผู้บังคับบัญชาสักกี่คนเราก็จะไม่ต้องเดือนร้อน
 
คอยสังเกตความชอบความไม่ชอบของผู้บังคับบัญชา เพราะผู้บังคับบัญชาใหญ่คือตัวเราเองนั้นจะคอยตักเตือนเราให้ดีเสมอ
ต้นเสมอปลายอยู่เสมอ คนที่มีความหมั่นขยันตั้งใจทำงานดี มีความประพฤติดีเสมอต้นเสมอปลายนั้นเป็นผู้ได้เปรียบคนอื่นๆ
 
ที่เหลิงเมื่อรู้สึกว่าผู้บังคับบัญชาไม่สนใจกวดขัน แต่ความจริงผู้บังคับบัญชาอาจจะมองดูโดยไม่พูดก็ได้
"
เพราะฉะนั้นผมขอมอบผู้บังคับบัญชาใหม่ให้แก่ทุกคน คือขอให้ทุกคนเป็นผู้บังคับบัญชาตัวเอง จะได้คุมกันใกล้ชิด
ตลอดเวลา ผมขอรับรองว่าถ้าทุกคนตั้งใจปฏิบัติตนให้ดีขึ้นอย่างในระยะหลังนี้ ทุกคนก็จะได้รับการพิจารณาความดีความชอบ
 
ไม่ต้องถูกงดขึ้นเงินเดือนอย่างที่แล้วอีก ผมขอพูดสั้นๆเพียงเท่านี้ หวังว่าทุกคนคงเข้าใจดีแล้ว จึงขอเลิกประชุมและขออวยพรให้
มีความสุขความเจริญและความก้าวหน้าโดยทั่วกัน"
ลีลาชีวิต   (สุชีพ   ปุญญานุภาพ)

ขาดแบบ

อุปกรณ์จำเป็นในการก่อสร้างอย่างหนึ่ง คือแบบ ไม่ว่าจะสร้างบ้านสร้างวัดลืมไม่ได้เฉพาะอย่างยิ่งงานก่อสร้างที่
คนหนึ่งคิดคนหนึ่งทำ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแบบไว้เป็นหลักประกันข้อตกลงกันระหว่างคนทั้งสองฝ่าย ถ้าสิ่งก่อสร้างนั้น
เป็นของสำคัญหรือใหญ่โต และมีลวดลายห้องหับสลับซับซ้อนมาก เขาต้องเขียนแปลนพิมพ์เขียวใส่กระดาษให้ชัดเจนก่อน
ลงมือทำ ที่เราเรียกว่าแบบแปลน แล้วช่างกับเจ้าของงานก็ยึดแบบแปลนนั้นเป็นหลักตกลงกัน ป้องกันการทะเลาะกันภายหลัง
 สุภาษิตโบราณที่เราถือมาแต่โบราณว่า "การปลูกเรือนตามใจคนอยู่" นั้น เป็นข้อที่ช่างก่อสร้างจะต้องยึดถืออย่างมั่นคงอย่าง
น้อยก็ช่วยให้นายจ้างไม่โยกโย้เวลาจ่ายเงิน แต่การตามใจคนอยู่นั้นก็ไม่ใช่ของง่าย ถ้าเกิดไปโดนเอาคนอยู่ใจกลับกลอกเข้า
ช่างก็หัวหมุนเหมือนกัน สั่งให้แก่เท่าไรก็แก้หมดแล้ว ก็ยังบอกว่าช่างไม่ได้ความอยู่นั่นเอง ยิ่งถ้าปลูกเรือนหลังเดียวแต่ "คนอยู่"
 หลายคน  การตามใจคนอยู่ก็ยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีกเป็นสองเท่าสามเท่า สิ่งที่จะช่วยช่างได้ก็คือ "แบบ"  เท่านั้น
	เป็นเวลานานร่วมยี่สิบปีแล้ว ที่วงการศึกษาหรือครุบาอาจารย์ต้องประสบคำตำหนิติเตียนอย่างซ้ำๆ ซากๆ เกี่ยวกับ
การเสริมสร้างความประพฤติ และนิสัยใจคอของเยาวชน ทั้งจากประชาชน จากหนังสือพิมพ์ จากกองราชการ และจากบุคคล
ในวงการศึกษานั่งเอง เท่าที่ข้าพเจ้าเฝ้าสังเกตมานานพอสมควร บางคราววงการกระทรวงศึกษาธิการก็รับว่าเป็นความบกพร่อง
จริง และจะได้หาทางแก้ไขต่อไป แต่บางครั้งก็ทำท่าปฏิเสธแข็งขัน ว่าการประพฤติเกเรของเด็กๆ มิใช่ความผิดของกระทรวงศึกษาธิการ
 หากเป็นความผิดของบิดามารดาและผู้ปกครองเด็กต่างหาก และมีบางครั้งอีกเหมือนกันที่เจ้าหน้าที่ในวงการศึกษาทำท่าจะตกกะได
พลอยโจน คือยอมรับเสียเลยว่า บางสิ่งบางอย่างในความประพฤติของเด็กที่คนทั้งหลายทักท้วงนั่น เป็นความเจริญก้าวหน้าของเด็ก
ในยุคใหม่ และตีกลับไปหาคนทักท้วงว่า เป็นคนหัวเก่าล้าสมัย แต่ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ในวงการศึกษาจะรับหรือปฏิเสธอย่างไรก็ตาม เสียง
ทักท้วงก็มิได้สร่างซาลงไป มีแต่หนาหูมากขึ้นไปอีกเสียด้วยซ้ำ พาลจะลามปามเอาผิดกับกระทรวงศึกษาธิการ และผู้รับผิดชอบทาง
การศึกษาเสียอีกด้วย มิไยว่ากระทรวงศึกษาธอการเองก็ได้เพียรพยายามแก้ไขตัวเป็นเกลียวอยู่แล้ว
	ข้าพเจ้าจะไม่วินิจฉัยในแง่ที่ว่า ระหว่างผู้ตำหนิกับผู้ถูกตำหนินั้นใครผิดใครถูก เพราะในปัจจุบันนี้รัฐบาลได้ยอมรับอยู่
โดยปริยายแล้วว่า คำทักท้วงที่ว่าเด็กทุกวันนี้มีความประพฤติโน้มเอียงไปทางที่น่าเป็นห่วงมากอยู่นั้นเป็นความจริง หรืออย่างน้อย
ก็มีมูล การยอมรับดังกล่าวได้แสดงออกหลายทาง อาทิเช่นรัฐบาลได้ตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติขึ้น ตั้งกรรมการวิจัยความประพฤติ
ของเยาวชนตั้งกรรมการวิเคราะห์เกี่ยวกับความประพฤติของเด็ก และในหลายโอกาสที่เดียว ที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้กำชับเรื่อง
ความประพฤติของเด็กในคำปราศรัยของท่าน ยิ่งกว่านั้นท่านที่สนใจฟังพระบรมราโชวาทก็คงจะรำลึกได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวได้ทรงปรารภถึงความเสื่อมโทรมด้านจริยธรรมของเยาวชนหลายวาระด้วยกัน รวมความว่าคำทักท้วงของประชาชน เกี่ยวกับ
ความประพฤติของเด็กสมควรที่ผู้เกี่ยวของในวงการศึกษาอบรมเยาวชน จะพึงรับฟังโดยเคารพอย่างไม่มีปัญหา ทั้งนี้รวมทั้งข้าพเจ้า
ผู้เขียนด้วย 
	ความจริงชั่วระยะเวลาร่วมยี่สิบปี ที่ผ่านมานี้กระทรวงศึกษาธิการและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทางด้านการศึกษาของรัฐ
 ได้เพียรพยายามยักย้ายถ่ายเทวิธีการอบรมจริยธรรมของเยาวชนตลอดมา แต่มีปัญหาว่าเหตุไฉนจึงไม่เป็นที่พอใจของผู้ทักท้วงจน
แล้วจนรอด? ผิดกับงานของรัฐทางด้านอื่นๆ
	ข้าพเจ้าคิดว่าการสร้างจริยธรรมของเยาวชน ก็คล้ายๆ กับการสร้างอาคารบ้านเรือนนั่นเอง คือประกอบด้วยคนสองฝ่าย 
เจ้าของกับช่าง บรรดาบิดามารดาและผู้ปกครองเยาวชนเปรียบเหมือนเจ้าของ กระทรวงศึกษาธิการคือผู้รับเหมาก่อสร้าง พวกครูบา
อาจารย์เปรียบเหมือนช่างฝีมือต่างๆ กัน เวลานี้ผู้รับเหมาก็เจตนาดีคือคิดอยากจะปลูกเรือนตามใจคนอยู่ ให้ต้องตามสุภาษิตโบราณเรา 
ช่างหรือก็ฝีมือดีๆ ทั้งนั้น ถ้าจะว่ากันให้สุดแถวจริงๆ แล้ว ค่าก่อสร้างก็ดีพอสมควรอยู่ไม่ต้องห่วงว่าจะขาดทุนขาดรอนกี่มากน้อย 
เมื่อเป็นเช่นนี้ให้รู้สึกมีความสงสัยว่า ข้อผิดพลาดจะอยู่ตรงที่เราไม่มี "แบบ" ละกระมัง งานก่อสร้างไม่มีแบบนั้นก็อย่างที่พูดแล้วนั่นแหละ
 ปวดศรีษะด้วยกันทั้งสองฝ่าย ยิ่งรายใดเจ้าของงานก็จู้จี้ช่างก็หัวดื้อด้วย ไม่พ้นทะเลาะกันได้เลย
คิดดูดีๆ แล้วเวลานี้การสร้างจริยธรรมของเยาวชนนั้นเราไม่มีแบบจริงๆคือไม่ได้ตกลงกันให้เป็นที่เด็กขาดว่า "เยาวชนไทย" ต้องมี
คุณลักษณะอย่างไรบ้าง  เมื่อแบบที่ประสงค์ไม่มี เราต่างคนต่างคิดและต่างคนต่างทำมันจะถูกใจของคนทุกคนได้อย่างไร เวลานี้แม้
จะทดสอบความประพฤติของเด็ก เราก็ไม่ทราบว่าจะเอาหลักอะไรมาตัดสินว่าเขาผิดเขาถูกดีหรือไม่ดี นอกจากการกระทำนั้นโจ่งแจ้ง
ชัดเจนจริงๆ  เช่นเด็กไปขโมยของเขาแล้วทุกคนลงความเห็นว่าผิด อย่างนี้หมดปัญหา ถ้าเป็นความประพฤติธรรมดาที่ทำกันอยู่ทั่วไปแล้ว
ความเห็นของผู้ใหญ่เองก็ขัดแย้งกัน เด็กชอบเต้นร๊อคร้องเพลงฝรั่ง ทำท่าเหมือนคนเป็นสันนิบาตกระตุกๆ ผู้ใหญ่บ้างคนตำหนิว่าไม่ดี 
แต่บางคนกลับให้รางวัลชมเชยว่าแกทันสมัย เด็กแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์บางคนตำหนิว่าเด็กหัวแข็ง แต่บางคน
ก็ชมว่านั่นแสดงว่าเด็กมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ปัญหาเรื่องความสัมมาคารวะ การดื่มเหล้าดื่มเบียร์และการคบเพื่อนต่างเพศในวัยเรียน
 เหล่านี้เป็นต้น ผู้ใหญ่เราก็ยังเห็นไม่ตรงกัน แล้วอย่างนี้จะให้พวก "ช่าง" ครูบาอาจารย์ทั้งหลายทำอย่างไร เรื่องของเรื่องข้าพเจ้าจึงคิดว่า
 สถาบันต่างๆ ควรจะได้ร่วมกันออกแบบเยาวชนไทยเสียที ตกลงให้แน่นอนว่า เราจะปั้นคนของเราให้เป็นอย่างไรแน่เสียก่อน ถ้ามีแบบไว้แล้ว
 ข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่าฝีมือ "ช่างไทย" ของเราทุกวันนี้ ทำสำเร็จแน่
	แบบเยาวชนไทยนั้น เมื่อก่อนเราก็มีคือหนังสือสมบัติผู้ดีและธรรมจริยา นั่นท่านว่าไว้ชัดเจนทำอย่างไรผิดทำอย่างไรถูก เปิดดู
อึดใจเดียวก็ตัดสินได้ และเป็นคำตัดสินที่เด็ดขาด ป่วยการไปอ้างท่านโน่นพาทำท่านนี้พาทำ เพราะแม้ท่านเองก็ยึดสมบัติผู้ดีเป็นหลัก
เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะวาดแบบเยาวชนไทยไว้เป็นหลักฐานและแบบที่จะออกมานั้นขอให้เป็นแบบไทยแท้ๆ คือเลือด
เนื้อเป็นไทยจิตใจมีศาสนาอาจเรียกแบบนั้นว่า "แบบไทยพุทธ" ก็ได้
มุมสว่าง  พ..ปิ่น   มุทุกันต์) 


  
พระธาตุพนม | นครพนม | หาเพื่อน | โฆษณาฟรี | สบายดี | หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์| อสังหาริมทรัพย์ | Ads5 | Bangkokpost | ศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าออนไลน์ |