นานาทัศนะกับธรรมะพุทธองค์

ศีลธรรมนำสังคม

	 1. ศาสนา คือ คำสั่งสอนหรือการปกครอง ที่หมายถึงคำสั่งสอนได้แก่ คำสั่งสอนที่ให้เว้นความชั่ว ให้ตั้งอยู่ ในคุณความดี
ที่หมายถึงการปกครองได้แก่การปกครองตนเองด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตนเอง ไม่ต้องมีคนมาบังคับและกระทำ
ด้วยความสมัครใจ
	2. สถาบัน หมายถึงสิ่งที่ตั้งขึ้น สร้างขึ้น สถาปนาขึ้น โดยมีหลักการเป็นที่นับถือกันโดยทั่วไป สถาบันสำคัญของประเทศไทย 
คือ ชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์
	3. เหตุที่ต้องธำรงส่งเสริมสถาบันศาสนา เพราะช่วยทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยมีศีลธรรมกำกับ ไม่ข่มเหงเบียดเบียนกัน
 ละเว้นสิ่งที่ควรเว้น ประพฤติแต่สิ่งที่ควรประพฤติ ทำให้มีความสุขความเจริญ
 
การธำรง หมายถึง การทำให้ทรงอยู่ ได้ไม่สิ้นสภาพไป การส่งเสริม หมายถึง การทำให้เจริญรุ่งเรืองขยายตัวกว้างขวางออกไปกว่าเดิม
	4. ผู้ที่ทำหน้าที่ในการธำรงส่งเสริมสถาบันศาสนาคือ ศาสนิกชนของศาสนานั้นๆ การที่เราสามารถจะควบคุมกาย วาจา ใจ 
ของเราให้ทำ ให้พูด ให้เกิดในทางที่ถูกต้อง ไม่ทุจริต ก็ได้ชื่อว่าธำรงส่งสริมพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องสมบูรณ์

	วิธีธำรงส่งเสริมศาสนา
		1. ต้องมีการศึกษาศาสนาให้เข้าใจ ปฏิบัติให้ถูกต้อง
		2. ช่วยกันป้องกันและแก้ไขความเสียหาย หรือความเสื่อมที่เกิดขึ้นแก่ศาสนา
		3. สนับสนุนและเทอดทูนศาสนา

	นักเรียนหรือเยาวชนของชาติจะร่วมธำรงส่งเสริมศาสนาได้โดย
		1. ตั้งใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสนาที่ตนนับถือให้แจ่มแจ้ง
		2. ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา เท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้
		3. ไม่ทำการใดๆ รวมทั้งการพูดที่ล่วงเกินดูหมิ่นเหยียดหยามศาสนา
		4. เมื่อเข้าไปในสถานที่สำคัญทางศาสนา ไม่ควรส่งเสียงเอ็ดอึง ควรสำรวมกิริยามารยาท
		5. ไม่เล่น ขว้าง ปา เขียนหรือทิ้งสิ่งของ อันจะทำให้เสียหายหรือสกปรก
		6. ร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่โรงเรียนหรือทางวัดจัดขึ้นตามโอกาสอันควร
		7. เสียสละกำลังกายกำลังทรัพย์เท่าที่จะสละได้
		8. แสดงความเคารพต่อสิ่งควรเคารพตามคติของศาสนา
		9. ไม่หลงตกเป็นเครื่องมือของผู้ประสงค์ร้ายต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

	อิทัปปัจจยตา
		1. คำว่า อิทัปปัจจยตา แปลว่า "ความที่สิ่งเหล่านี้มีปัจจัย" หรือ "ปัจจัยของสิ่งเหล่านี้" หมายความว่า
 "สิ่งต่างๆ มิได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุมีปัจจัย"
		2. การทำเหตุผลในพระพุทธศาสนา สอนให้ไม่เชื่องมงาย ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดที่เหตุ ควรพิจารณาทำต้นเหตุให้ได้
		3. อิทัปปัจจยตา สอนให้รู้ต้นเหตุของทุกข์ และหนทางดับทุกข์ 
		4. พระพุทธเจ้าสอนให้มนุษย์ ละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดี และชำระใจให้บริสุทธิ์
		5. ความโง่ หรือ อวิชา เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งปวง ถ้าดับความโง่ได้ก็จะดับความทุกข์ทั้งปวง
		6. ผลพลอยได้จากความรู้เรื่อง "อิทัปปัจจยตา"
			1. ขจัดความโง่ โดยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้รู้จริง
			2. ทำทุกอย่างอย่างมีเหตุผล
			3. มีความรอบคอบ สุขุม
			4. สามารถทำงานได้ไม่ล้มเหลว

	วงจรแห่งชีวิต กิเลส กรรม วิบาก
		1. วงจรแห่งชีวิตหมายถึงวัฏฏะ หรือวงกลมแห่งชีวิต กิเลสเป็นเหตุให้เกิดกรรม กรรมเป็นเหตุให้เกิดวิบาก
		2. กิเลส แปลว่า สิ่งที่ทำให้เศร้าหมอง หมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง
		3. กรรม แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำทาง กาย วาจา ใจ
		4. วิบาก แปลว่า ผล คือผลของการกระทำหรือ กรรม คนที่โชคดี มีลาภประสบแต่ความสุข ความเจริญ 
เพราะได้กระทำกรรมดี ตรงกันข้ามคนที่โชคร้าย เคราะห์ร้ายเพราะกรรมชั่วที่ตัวก่อขึ้นไว้
		5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนเรื่องนี้ คือ พระพุทธเจ้าสอนให้เราควบคุมตัวเองตามสมควร ไม่ตามใจอำนาจ
ฝ่ายต่ำทำทางบรรเทากิเลสให้ลดน้อยลง จนถึงขั้นที่จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
	
	ธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์

		1. คำว่า มนุษย์แปลว่า "ผู้มีใจสูง" หมายความว่า ผู้เป็นมนุษย์ย่อมรู้จักยกระดับจิตใจของตนให้สูงขึ้น
ในทางดีงาม มิใช่วุ่นวายแต่ในเรื่องเบียดเบียนริษยา ยื้อแย่ง หรือข่มเหงรักแกกันตลอดเวลา อันเป็นระดับจิตใจของสัตว์
		2. มนุษย์มี 4 ประเภท คือ
		1. มนุษย์ที่เปรียบเหมือนผู้ตกนรก ได้แก่ ผู้ที่ทำกรรมชั่วไม่ควรทำหลายอย่าง จึงถูกลงโทษต่างๆ ได้รับความทุกข์
ทรมานมาก
		2. มนุษย์ที่เปรียบเหมือนเปรต ได้แก่ ผู้ที่ทำกรรมชั่วไว้ในชาติก่อนจึงขาดแคลน อาหารเครื่องนุ่งห่ม 
ถูกความหิวกระหายครอบงำ มากไปด้วยความทุกข์ หาที่พึ่งมิได้เที่ยวเร่รอนไป
	    3. มนุษย์ที่เปรียบเหมือนสัตว์เดรัจฉาน ได้แก่ ผู้ที่ประพฤติตนเลวทรามไม่มีมารยาท จึงถูกคนอื่นคุกคาม 
ต้องหวาดกลัวมรณภัยเที่ยวหลบซ่อน
	   4. มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ ได้แก่ ผู้รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของตนเชื่อกรรมและผลของกรรม 
มีความละอายใจและเกรงกลัวต่อบาป มีความกรุณาสลดใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น บำเพ็ญบุญกริยาวัตถุ
	3. มนุษย์ธรรมตามความหมายทางโลก คือการไม่นิ่งดูดายเมื่อเห็นผู้อื่นตกอยู่ในความทุกข์ มีความอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ช่วยเหลือตามความเหมาะสม
	4. มนุษย์ธรรมตามความหมายทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ กุศลกรรม หรือทางแห่งการกระทำอันเป็ฯกุศล 10 ประการ 
ได้แก่ สุจริตกาย   วาจา  ใจ

ศีล 5 จัดเป็นมนุษย์ธรรมด้วย เพราะตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 4 ของศีล 5 นั้น ตรงกับกุศลกรรมบถ 
ฉะนั้นผู้รักษาศีล 5 จึงได้ชื่อว่าปฏิบัติหรือตั้งอยู่ในมนุษย์ธรรม

สรุปความเรื่องมนุษยธรรม หรือธรรมะที่ทำให้คนเป็นมนุษย์ หมายถึงคุณธรรมที่ยกจิตใจและความประพฤติของมนุษย์ให้สูงขึ้นกว่า
ระดับของสัตว์ อาจหมายถึงความไม่โหดร้าย ทารุณ รู้จักมีเมตตากรุณา ต่อกัน หรืออาจชี้ไปที่สุจริต กาย วาจา ใจ 
หรืออาจชี้ไปที่ศีล 5 ก็ได้ เพราะคุณธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นผู้มีใจสูง

	ชีวิต คือ การเดินทางจากความไม่รู้ไปสู่ความรู้แจ้งในสภาวธรรมทั้งปวงโดยมีคุณธรรมกำกับ คือการเว้นความชั่ว 
การประพฤติความดี และการชำระจิตใจให้สะอาด คนเราถ้าไม่ประมาท หรือเห็นผิด เข้าใจผิดอย่างรุนแรงจนเกินไปแล้ว
 ก็จะสามารถประคับประคองชีวิตของตนให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ ในที่สุดจะถึงจุดหมายปลายทางอันดีงาม
ที่พึงปรารถนาได้ในที่สุด

	"สภาวธรรม"  หมายถึง สภาพตามเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายประกอบด้วย
		1.  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับ ไปเป็นธรรมดา
		2. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน สิ่งใดไม่ใช่ตัวตนสิ่งนั้นไม่ใช่เรา

	สรุปความย่อๆ ว่า ให้เราคลายความยึดมันถือมั่น ทำให้คลายความคิด ความหลง ทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
ประโยชน์จาการเรียนรู้เรื่องนี้ ถ้าเราไม่ประมาทพยายามทำให้มีคุณธรรมกำกับตามสมควร ก็จะเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง
ที่ดีงามตามปรารถนาได้

	การแก้ไขชีวิตสังคมด้วยหลักธรรม

	การแก้ไข้ หมายถึง การทำสิ่งที่บกพร่องเสียหายหรือผิดพลาดให้กลับดีขึ้นหรือถูกขึ้น
	การแก้ไขชีวิตสังคมด้วยหลักธรรม หมายถึงการใช้หลักธรรมมาเป็นเครื่องแก้ไขหรือทำให้ดีขึ้น

	หลักธรรมสำหรับแก้ไขปัญหาชีวิต

	1. ทุฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ประโยนช์ในปัจจุบัน เป็นธรรมสำหรับผู้ที่ก่อร่างสร้างตัว และผู้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน
 ใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจหรือการเงินได้มี 4 ข้อ
		1. อุฏฐานสัมปทา การถึงพร้อมด้วยความหมั่น
		2. อารักขาสัมปทา การถึงพร้อมด้วยการรักษา
		3. กัลยาณมิตตตา การรู้จักคบเพื่อนที่ดี
		4. สมชีวิตา การครองชีวิตพอเหมาะสม ไม่ใช่จ่ายฟุ่มเฟือยหรือฝืดเคืองเกินไป

	2. อิทธิบาท ได้ชื่อว่าเป็นธรรมแห่งความสำเร็จกิจมี 4 ประการ
		1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
		2. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร
		3. จิตตะ เอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่วางธุระ
		4. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้น

	3. หลักธรรมที่พิจารณาแก้ปัญหาความเศร้าโศกเสียใจ มี 5 ประการ
		1. เรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
		2. เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้
		3. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
		4. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักชอบใจทั้งสิ้น
		5. เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

	หลักธรรมสำหรับแก้ไขปัญหาสังคม
	1. สังคหวัตถุ เป็นคุณธรรมสำหรับยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ใช้แก้ปัญหาการแตกสามัคคี การเห็นแก่ตัว มี 4 ประการ
		1. ทาน การเอเฟื้อเผื่อแผ่ให้ปัน ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัว
		2. ปิยวาจา การพูดจาอ่อนหวานไพเราะ ไม่เอาแต่ดุดาว่าหรือพูดไม่น่าฟังอันเป็นการก่อศัตรู
		3. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน มีน้ำใจช่วยเหลือเมื่อพอจะช่วยได้
		4. สมานัตตตา การวางตัวให้เข้ากับคนทั้งหลายได้ ไม่เหยียดหยามผู้อื่น

	2. หลักธรรมเรื่องทิศทั้ง 6 เพื่อการปฏิบัติชอบต่อกันของบุคคลในสังคมมี 6 ประการ
		1. มารดา บิดา เป็นเสมือนหนึ่งทิศเบื้องหน้า บุตร ธิดา ควรปฏิบัติชอบต่อบิดามารดา และบิดา มารดาก็จะ
ปฏิบัติชอบต่อบุตร ธิดา
		2. ครูอาจารย์เป็นเสมือนหนึ่งทิศเบื้องขวา ศิษย์ควรปฏิบัติชอบต่อครูอาจารย์ครูอาจารย์ก็จะปฏิบัติชอบต่อศิษย์
		3. ภริยา เปรียบเสมือนทิศเบื้องหลัง สามีควรปฏิบัติชอบต่อภริยา ภริยาก็ปฏิบัติชอบต่อสามี
		4. มิตรสหายเปรียบเสมือนทิศเบื้องซ้าย บุคคลควรปฏิบัติชอบต่อมิตรสหายมิตรสหายก็จะปฏิบัติชอบต่อเขา
		5. ลูกจ้างหรือคนงานเป็นเสมือนทิศเบื้องล่าง นายจ้างควรปฏิบัติชอบต่อลูกจ้าง ลูกจ้างกฎจะปฏิบัติชอบต่อเขา
		6. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบ เป็นเสมือนหนึ่งทิศเบื้องบน บุคคลควรประพฤติชอบต่อสมณพราหมณ์ สมณ
พราหมณ์ก็จะประพฤติชอบต่อเขา

       3. หลักธรรมเรื่องพรหมวิหาร คือคุณธรรมประจำใจของคนประเสริฐ ผู้ใดปลูกฝังคุณธรรมเหล่านี้ในจิตใจของตน 
ผู้นั้นย่อมชื่อว่ามีคุณธรรมของผู้ประเสริฐทำให้เกิดความสุขความสงบแต่สังคม มี 4 ประการ
		1. เมตตา ไมตรีจิตคิดจะให้เป็นสุข ไม่คิดให้ใครถึงความพินาศ
		2. กรุณา คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ไม่คิดเบียดเบียน
		3. มุทิตา พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่ริษยา
		4. อุเบกขา วางใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียง

	ในพระพุทธศาสนา พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจัดไว้เป็น 3 ขั้น คือ
		1.  ปริยัติธรรม	คำสั่งสอนในการเล่าเรียนศึกษา
		2. ปฏิบัติธรรม คำสั่งสอนในขั้นการลงมือปฏิบัติ
		3. ปฏิเวชธรรม คำสั่งสอนในขั้นการได้รับผล

	วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขความเสื่อมเสีย

		1. สอดส่องดูแลว่ามีอะไรบ้าง จะเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียแก่พระพุทธศาสนาแล้วหาทางปิดโอกาส
 หรือปิดช่องทางที่จะเกิดความเสื่อมเสียเท่าที่สามารถจะทำได้
	2. ตรวจสอบพิจารณาการกระทำต่างๆ ของตัวเองด้วยว่า จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่พระพุทธศาสนาได้
หรือไม่ ถ้าเห็นว่าอาจเป็นไปได้ก็ระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่ถูกไม่ควรนั้นเสีย
	3. เมื่อความเสื่อมเสียเกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุอะไร หรือเพราะใครก็ตาม ควรรีบทำทางแก้ไข้ระงับความเสื่อม
เสียมิให้ลุกลามใหญ่โต
		4. ช่วยชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้อง
		5. ในการป้องกันแกละแก้ไขความเสื่อมเสีย จะต้องไม่กระทำการใดๆ ให้ผิดแผกจากแนวทางพระพุทธศาสนา

	การธำรง ส่งเสริม และเทอดทูนพระศาสนา
		1. ช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตามกำลังความสามารถ
		2. ส่งเสริมการศึกษาและการปฏิบัติให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
		3. ไม่กระทำการใดๆ ให้เกิดความเสียหายทางวัตถุ หรือเสื่อมเสียเกียรติคุณแห่งพระศาสนา
		4. แสดงความเคารพในพระรัตนตรัย ไม่ส่อแสดงการขาดคารวะ
		5. ช่วยกันดูแลปูชนียวัตถุ และปูชนียสถาน มิให้ถูกทำลายหรือสกปรกรุงรัง
		6. สนับสนุนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อขยายความเข้าใจที่ถูกต้อง
		7. ร่วมมือกับทางวัด จัดกิจกรรมต่างๆที่ถูกที่ควรตามความสามารถ
		8. ไม่ลืมที่จะดูแลตนเองให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมฝึกหัดตนเองให้มีความสงบ และให้มีปัญญารู้แจ้งตาม
หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
	ทำไมจึงต้องประพฤติธรรม?
		เพราะคนในโลกนี้มีสองจำพวก คือคนดีกับคนชั่ว  เพราะการพระพฤติธรรมเป็นการทำให้เราเป็นคนดี
	คนเรานี้เกิดมาแต่กำเนิดเป็นเพียงกลางๆ คือ เป็น "คน" เท่านั้น เมื่อเกิดมาแล้วใครทำดีใส่ตัวก็เป็นคนดี ใครทำชั่วใส่ตัว
คนนั้นก็เป็นคนชั่ว อุปมาเหมือนแก้ว 1 ใบ มันก็สักแต่ว่าเป็น "แก้ว" เท่านั้นเอง
		ถ้าใส่น้ำ	เขาก็เรียกว่าแก้วน้ำ
		ถ้าใส่ยา	เขาก็เรียกว่าแก้วยา
		ถ้าใส่เหล้า	เขาก็เรียกว่าแก้วเหล้า
	มูลฐานของความดี เหมือนการปลูกต้นไม้   ต้นไม้มีหลายร้อยหลายพันชนิด ปลูกขึ้นในที่ต่างๆ กัน เช่นในนา ในสวน ในไร่ 
ในกระถาง ในฤดูกาลต่างกัน แต่ทุกชนิดก็ต้องอาศัยน้ำและอากาศ จึงจะงอกงามได้ โดยในนี้น้ำและอากาศจึงเป็นสิ่งที่มีอุปการะ
แก่พืชทั้งปวง
	ฉันใดก็ฉันนั้น คุณความดีที่คนเราควรจะปลูกฝังขึ้นในตนมีอยุ่เป็นอันมากเป็นความดีเฉพาะบรรพชิตก็มี เฉพาะคฤหัสถ์ก็มี
 เฉพาะผู้เยาว์ก็มี เฉพาะผู้ใหญ่ก็มีเฉพาะที่เป็นประโยชน์ปัจจุบันก็มี เฉพาะที่เป็นประโยชน์ชาติหน้าก็มี เฉพาะที่เป็นประโยชน์
อย่างยิ่งคือนิพพานก็มี แต่การทำความดีทุกอย่างนั้น จะต้องอาศัยธรรมคู่หนึ่ง คือ สติกับสัมปชัญญะจึงจะเจริญงอกงามขึ้นได้ 
สติ-สัมปชัญญะท่านจึงแสดงว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก หรืออุปการธรรม 

พระธาตุพนม | นครพนม | หาเพื่อน | โฆษณาฟรี | สบายดี | หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์| อสังหาริมทรัพย์ | Ads5 | Bangkokpost | ศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าออนไลน์ |