1. การจัดเรียงโมเลกุลของของเหลวเป็นดังข้อใดต่อไปนี้

ก. ข.

ค. ง.

 

2. เครื่องปรุงรสในครัว ข้อใดต่อไปนี้เป็นของเหลว

ก. น้ำส้มสายชู ข. ซีอิ้วขาว ค. น้ำมันพืช ง. น้ำปลา

3. แรงลัพธ์ที่ดึงอนุภาคของเหลวบนผิวหน้ามีทิศทางไปทางใด

ก. ขึ้นตั้งฉากกับพื้นโลก ข. ลงตั้งฉากกับพื้นโลก ค. อัดเข้าทุกทิศทาง ง. เท่ากับ 0

4. แรงเชื่อมแน่นคืออะไร

ก. แรงเชื่อมแน่นคือแรงที่ยึดเหนี่ยวระเหนี่ยวอนุภาคของเหลวกับอนุภาคของเหลว

ข. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของเหลวกับสิ่งอื่นๆ

ค. แรงตึงผิวที่อยู่บนผิวหน้าของของเหลว

ง. ผิดทุกข้อ

5. จงเปรียบเทียบความตึงผิวของ ปรอท น้ำ น้ำมัน

ก. ปรอท > น้ำมัน > น้ำ ข. ปรอท < น้ำ < น้ำมัน ค. ปรอท > น้ำ > น้ำมัน ง. น้ำ > ปรอท > น้ำมัน

6. ทำไมผ้าเปียกน้ำ

ก. เป็นไปตามกฎของการเปียก

ข. แรงเชื่อมแน่นของน้ำ มากกว่าแรงยึดติดระหว่างน้ำกับผ้า

ค. ผ้ามีช่องว่างมาก ทำให้โมเลกุลน้ำเข้าไปอยู่ได้

ง. แรงเชื่อมแน่นของน้ำน้อยกว่าแรงยึดติดระหว่างน้ำกับผ้า

7. ถ้ากดน้ำร้อนมา 50 cc ใส่ในภาชนะใด จะเย็นเร็วที่สุด

ก. ถ้วยกาแฟ ข. ชามใส ค.. จาน ง. ท่อระบายน้ำ

8. จะหาค่าความดันไอได้เมื่อใด ที่อุณหภูมิห้อง

ก. เมื่อปล่อยของเหลวทิ้งไว้ในภาชนะเปิดจนผิวหน้านิ่ง

ข.เมื่อของเหลวอยู่ในภาชนะปิดโดยที่ความดันอากาศภายนอกเท่ากับความดันรวมภายใน

ค.เมื่อของเหลวอยู่ในภาชนะเปิดและปริมาตรเป็น 3 ใน 4 ของภาชนะ

ง.เมื่อของเหลวอยู่ในภาชนะปิด และอัตราการระเหยเท่ากับอัตราการควบแน่น

9. อะไรมีผลต่อความดันไอ

1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค 2. ความดันบรรยากาศหรือความดันภายนอก

3 มวลอะตอมหรือมวลโมเลกุล 4 .อุณหภูมิ

ข้อใดถูก

ก. 1 2 และ 4 ข. 1 และ 4 ค. 1 และ 2 ง. 1 3 และ 4

 

10. ความดันไอจะ

ก. แปรผกผันกับจุดเดือด แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และ อุณหภูมิ

ข.แปรผกผันกับจุดเดือด แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และมวลโมเลกุล

ค.แปรผกผันกับจุเดือด แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค แต่ แปรผันตรงกับอุณหภูมิ

ง.แปรผันตรงกับอุณหภูมิ แต่แปรผกผันกับจุดเดือด แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และความหนาแน่น

11. การเดือดเกิดขึ้นเมื่อใด

ก. เมื่อความดันบรรยากาศต่ำกว่าความดันไอ ข. เมื่ออัตราการระเหยสูงกว่าอัตราการควบแน่น

ค. เมื่อความดันไอมีค่าเท่ากับ 760 mmHg ง.เมื่ออนุภาคที่ผิวของเหลว หลุดออกมาจากของเหลว

12. ถ้าต้มเนื้อหมูบนหิมาลัย จะได้ผลอย่างไร

ก. เกรียม ข.อดกิน ค. น้ำจะไม่เดือด ง. สุกปกติดี

13. ดูข้อมูลที่นี่ ของเหลว

ของเหลว 1 ที่อุณหภูมิ 60 องศา มีความดันไอ 200 mmHg

ของเหลว 2 ที่อุณหภูมิ 60 องศา มีความดันไอ 700 mmHg

ของเหลว 3 ที่อุณหภูมิ 70 องศา มีความดันไอ 900 mmHg

ถ้าสารทั้ง 3 มีอุณหภูมิ ที่ 65 องศา ณ ความดัน 1 บรรยากาศ สารใดมีโอกาสเดือดบ้าง

ก. 1 2 และ 3 ข. 2 เท่านั้น ค. 3 เท่านั้น ง. 2 และ 3

14. ของเหลว A มีความดันไอ 730 mmHg ที่ อุณหภูมิ 90 องศา ถ้าของเหลวนี้มีอุณหภูมิ 100 องศา

ที่ความดัน 1 บรรยากาศ จะเกิดอะไรขึ้น

ก. เดือด ข. ไม่เดือด ค. แข็ง ง. สรุปไม่ได้

15. จงเปรียบเทียบอัตราการระเหยของ น้ำ น้ำมัน แอลกอฮอล์

ก. น้ำมัน > น้ำ > แอลกอฮอล์ ข . น้ำมัน > แอลกอฮอล์ > น้ำ

ค. แอลกอฮอล์ > น้ำ > น้ำมัน ง. แอลกอฮอล์ > น้ำมัน > น้ำ

16. เส้นกราฟของความดันไอกับอุณหภูมิส่วนใหญ่เป็นลักษณะใด

ก. ข. ค. ง.

17. กราฟของความดันไอกับอุณหภูมิมีความชันเป็นลบได้หรือไม่

ก. ได้ ข. ไม่ได้ ค. ยังไงก็ได้ ง. เป็นศูนย์เท่านั้น 18. ทำไมปรอทในหลอดทดลองเป็นรูปนี้

ก. แรงยึดติดมีมาก ข.แรงดึงดูดโลกดูดข้างๆลงจนตรงกลางนูน

ค. แรงเชื่อมแน่นมีมากง. ง. แรงตึงผิวมีมาก

 

19. การที่เข็มลอยน้ำได้ทั้งๆที่ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ เพราะอะไร

ก. แรงลอยตัว ข.แรงยึดติด ค..แรงตึงผิว ง.เข็มเล็กจนแรงโน้มถ่วงดูดไม่โดน

20. น้ำในทะเลทั้งโลกมีลักษณะ

ก. มีระดับสูงเท่ากันทั้งหมด ข. มีระดับสูงไม่เท่ากัน

ค. เป็นของเหลว ง. เป็นก๊าซ