กระบวนการเรียนการสอน
ใน CAI (Computer Assisted Instruction)
โดย
ดร.ไพจิตร สดวกการ

ศูนย์นวัตกรรมและการนิเทศทางไกล
หน่วยศึกษานิเทศก์
กรมสามัญศึกษา

 

CAI (คอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
ที่สมบูรณ์ พิจารณาจากอะไรบ้าง ?
เชิญเลือกคลิกคำตอบต่อไปนี้ตามดุลพินิจของคุณครับ


   

CAI (คอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ที่สมบูรณ์ พิจารณาจาก
4 I's

ชื่อเรื่อง |  ลักษณะที่สำคัญของ CAI |  แนวคิดการสร้างปัญญา |  ศูนย์นวัตกรรมฯ | แสดงความคิดเห็น แสดงความคิดเห็น

 

การนำเสนอเนื้อหาสาระ

             CAI มีการนำเนื้อหาสาระมาจัดกระทำและนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ตามหลักการที่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผู้ออกแบบใช้เป็นฐานในการออกแบบ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
Download ตัวอย่างการนำเสนอที่นำผู้เรียนไปสู่การสร้างความรู้ใหม่

แสดงความคิดเห็นที่นี่ค่ะ           กดปุ่ม Back ที่ Menu Bar ด้านบนเมื่อต้องการกลับที่เดิมค่ะ

 

การสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล

CAI มีการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะให้ผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนรู้แตกต่างกันมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเอง หรือเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนได้ โดยมีรายการ มีปุ่มควบคุมต่าง ๆ มีฮอตเวิร์ด (hotword) หรือข้อความหลายมิติ (hypertext) ให้ผู้เรียนมีอิสระในการสืบไปในบทเรียนด้วยเวลาที่แตกต่างกัน มีอิสระในการเลือกเนื้อหา เลือกลำดับของการเรียน เลือกการฝึกปฏิบัติ หรือเลือกการทดสอบ ที่สอดคล้องกับระดับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน หรือมีการออกแบบให้ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันต้องผ่านขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน เป็นต้น

แสดงความคิดเห็นที่นี่ค่ะ           กดปุ่ม Back ที่ Menu Bar ด้านบนเมื่อต้องการกลับที่เดิมค่ะ

 

การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

          CAI มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ประหนึ่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนอย่างต่อเนื่องและอย่างมีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ ตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่ออกแบบให้เอื้อต่อการเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

แสดงความคิดเห็นที่นี่ค่ะ           กดปุ่ม Back ที่ Menu Bar ด้านบนเมื่อต้องการกลับที่เดิมค่ะ

 

การให้ผลป้อนกลับทันที

          CAI มีการให้ผลป้อนกลับทันที ซึ่งเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง และให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตน การให้ผลป้อนกลับมีได้หลายรูปแบบ เช่น การบอกว่า ถูก - ผิด การให้คำชม การขอให้ลองคิดดูใหม่ การให้คะแนน และการประเมินผลการทดสอบ ถ้าออกแบบกิจกรรมเป็นเกม ผลป้อนกลับอาจเป็นการแพ้ - ชนะ ถ้ากิจกรรมเป็นการแก้ปัญหา ผลป้อนกลับอาจเป็นสภาพที่ปัญหาถูกคลี่คลายเป็นเปลาะ ๆ ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจในความสามารถของตน และเป็นแรงจูงใจภายในให้มีความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาอื่น ๆ อีก ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างทางปัญญาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

แสดงความคิดเห็นที่นี่ค่ะ           กดปุ่ม Back ที่ Menu Bar ด้านบนเมื่อต้องการกลับที่เดิมค่ะ

 

แนวคิดการสร้างปัญญา

        นักการศึกษาในกลุ่มรังสรรคนิยม (constructivism) ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการสร้างปัญญาไว้ดังนี้

  1. สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
  2. ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในให้เกิดกิจกรรมไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น
  3. การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์ และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมกระตุ้นให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาที่สามารถขจัดความขัดแย้งนั้น

ดังแผนภาพ ต่อไปนี้

ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ความขัดแย้งทางปัญญา
(แรงจูงใจภายใน)
สถานการณ์ที่ เป็นปัญหา

วงจรการสร้างปัญญา

        โครงสร้างใหม่ทางปัญญาจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างเดิมเมื่อเผชิญกับ ปัญหาใหม่ต่อไป

ชื่อเรื่อง | ลักษณะที่สำคัญของ CAI | แนวคิดการสร้างปัญญา | ศูนย์นวัตกรรมฯ |


 

กิจกรรมไตร่ตรอง
(Reflective Activities)

กิจกรรมไตร่ตรองเป็นกิจกรรมของการตรวจสอบและขจัดความขัดแย้งทางปัญญา
  • ระหว่างบุคคล
  • ภายในตนเอง
  • ระหว่างความเชื่อกับการประจักษ์

ดูตัวอย่างกิจกรรมไตร่ตรองได้ในโอกาสต่อไป

แสดงความคิดเห็นที่นี่ค่ะ           กดปุ่ม Back ที่ Menu Bar ด้านบนเมื่อต้องการกลับที่เดิมค่ะ

 

โครงสร้างทางปัญญา
(Cognitive Structure)

โครงสร้างทางปัญญาเป็นความรู้ที่อยู่ในระดับนัยทั่วไป ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเฉพาะ แบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ มโนทัศน์ และกระบวนการ      มีคำที่ใช้เรียกหลายคำ เช่น scheme, schema, structure, frame และ script     บุคคลที่เรียนรู้ในระดับโครงสร้าง จะสามารถนำโครงสร้างเดิมไปใช้ในกรณีอื่น ๆ ได้มากมาย และเป็นฐานในการสร้างโครงสร้างใหม่ด้วย     ดูตัวอย่างที่นี่ค่ะ !

แสดงความคิดเห็นที่นี่ค่ะ           กดปุ่ม Back ที่ Menu Bar ด้านนบนเมื่อต้องการกลับที่เดิมค่ะ


 

ความขัดแย้งทางปัญญา
(Cognitive Conflict)

หมายถึงสภาวะอสมดุลย์ (disequilibrium) อันเกิดจากการเผชิญกับความไม่สอดคล้องกันในความคิด ความเชื่อบางอย่างที่ยึดถืออยู่ ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ความไม่สมเหตุสมผล สภาวะที่ตัดสินใจไม่ได้ หรือสภาวะที่โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ไม่สามารถแก้สถานการณ์ที่เผชิญอยู่ บุคคลที่อยู่ในสภาวะเช่นนี้จะเกิดแรงขับที่เป็นความอยากรู้อยากเห็น (curiousity) ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายในให้บุคคลค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนองแรงขับนั้น

แสดงความคิดเห็นที่นี่ค่ะ           กดปุ่ม Back ที่ Menu Bar ด้านนบนเมื่อต้องการกลับที่เดิมค่ะ

1