Home/Precis Writing/ความหมายและเทคนิคในการย่อความ
ความหมาย/กฎ 4 ข้อสำหรับการย่อความ/บันได 5 ขั้นสำหรับการย่อความ

ความหมายของการย่อความ

การย่อความคือการเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหนึ่งอย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่องแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่เป็นข้อความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

 

 

 

กฎ 4 ข้อ สำหรับการย่อความ

1. เปลี่ยนรายละเอียดต่าง ๆ ให้เป็นคำ ๆ เดียว

--หากพบว่ามีชื่อรายการต่าง ๆ เช่น eyes, neck, arms หรือ legs ในบทความ เวลาย่อความก็ให้ใช้คำที่เรียกแทนรวม ๆ ว่า body parts คำเดียวเรียกแทนรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านั้นไปเลย

--หรือรายชื่อเหล่านี้ ice skating, skiing หรือ sledding ก็ให้ใช้คำว่า winter sports เรียกแทนคำทั้งกลุ่ม

2. ใช้ topic sentences

--ผู้เขียนมักจะเขียนประโยคประโยคหนึ่งซึ่งจะเป็นใจความหลักของย่อหน้าทั้งย่อหน้า หรือทั้งบทความซื่งเรียกว่า topic sentence หรือ main idea

--ถ้าพบว่ามี topic sentence อยู่ในบทความ ให้ยกประโยคนั้นมาใช้ได้(ใช้ทำความเข้าใจนะ ห้ามลอกไปเขียนในข้อสอบเด็ดขาด เพราะจะตกแน่นอน)

--บางย่อหน้าของบทความจะพบว่าไม่มี topic sentence หรือ main idea ก็ให้คิดขึ้นมาเอง

3. ตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเช่นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

--ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการกล่าวซ้ำ ซึ่งอาจจะกล่าวเป็นตัวเลข หรือวิธีที่แตกต่างออกไป

--ข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่มีความสำคัญ ซึ่งการย่อความคือการย่อให้สั้น เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่ไม่มีความสำคัญก็ให้ตัดออกไป

4. รวมย่อหน้าบางย่อหน้าเข้าด้วยกัน

--ย่อหน้าแต่ละย่อหน้ามักจะมีความเกี่ยวเนื่องกัน

--บางย่อหน้าจะขยายความไปอีกหลายย่อหน้า ซึ่งย่อหน้าอื่น ๆ เป็นเพียงการขยายความเท่านั้น ฉะนั้น จะมีเพียงบางย่อหน้าเท่านั้นที่สำคัญจริง ๆ

 

 

 

บันได 5 ขั้น สำหรับการย่อความ

ขั้นที่1 ต้องอ่านเรื่องให้เข้าใจเสียก่อน

--ถามตัวเองว่า "บทความนั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?" และ "ผู้เขียนได้พูดถึงสิ่งใดบ้าง?"

--พูดกับตัวเองถึงเนื้อหาทั่ว ๆ ไปของบทความนั้นแล้วคิดสรุปเนื้อหาต่าง ๆ ในใจ

ขั้นที่2 มองย้อนกลับไป

--อ่านบทความซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าได้เข้าใจ theme ของเรื่อง และส่วนสำคัญต่าง ๆ จริง ๆ

--ขีดเส้นใต้ส่วนสำคัญต่าง ๆ เอาไว้

--ตอนนี้ก็เริ่มใช้ กฎ 4 ข้อด้านบน เพื่อลงมือเขียนย่อความ

ขั้นที่3 กลับมาคิดดูอีกทีซิ

--ลองอ่านบทย่อความที่ได้ย่อเสร็จแล้ว

--พูดกับตัวเองถึง theme ของบทย่อความ แล้วดูว่าลืมสิ่งสำคัญไปหรือเปล่า หรือเขียนอะไรเกินมาหรือเปล่า

ขั้นที่4 ตรวจทาน และก็ตรวจทาน

--ดูว่าเรายังเขียนเป็น list รายการอยู่หรือเปล่า อย่าลืมนะว่าบทย่อความจะต้องไม่มีลิสต์ รายการต่าง ๆ เด็ดขาด

--ดูให้แน่ใจว่าไม่ได้เขียนข้อมูลซ้ำ กัน

--ข้ามอะไรไปหรือเปล่า

--ดูให้แน่ใจว่ามีใจความสำคัญครบถ้วน

ขั้นที่5 ขัดเกลาบทความ

--เมื่อข้อมูลต่าง ๆ ถูกย่อลง บทความมักจะฟังดูไม่เป็นธรรมชาติ เพราะฉะนั้น แก้ไขซะ เลือกใช้คำที่เป็นธรรมชาติ

--อาจเพิ่มเติมบางสิ่งบางอย่างเพื่อความเหมาะสม แต่ห้ามเยิ่นเย้อ

--ที่เราขีดเส้นใต้ไว้ในบทความตั้นฉบับก็จะมีประโยชน์ตอนนี้ 2 ประการ คือ เพื่อให้เราจำวัตถุดิบต่าง ๆ ที่จะมาเขียนเพิ่มเติมได้ และก็จะได้ไม่ใช้คำพูดซ้ำกับผู้เขียน (ถ้ายกประโยคเขามา ก็จะสอบตกนะเออ)