การใช้ถ้อยคำ
ถ้อยคำ หมายถึง คำพูด ที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันทั้งในด้านกิจธุระและในด้านกิจการอื่น ๆ มีรูปลักษณ์ต่างกันไป เช่น เป็นคำซ้อน คำประสม คำมูล เป็นต้น

ความหมายของถ้อยคำ
1. ความหมายเฉพาะของคำ แบ่งออกเป็น
             1.1 ความหมายตามตัว กับความหมายเชิงอุปมา เช่น
                          ลูกหม้อ เป็นคำเรียกชื่อลูกของปลากัด (ความหมายตามตัว)
                          เขาเป็นลูกหม้อกระทรวงนี้มานานแล้ว (ความหมายเชิงอุปมา หมายถึง ผู้ที่ทำงาน ในตำแหน่งขึ้นต้นจนตำแหน่งสูงขึ้น )
1.2 ความหมายโดยตรง กับความหมายในประวัติ
                          โบราณว่าเข้าป่าอย่าถามหาเสือ ( ความหมายนัยตรง)
                          คนบ้านนั้นเสือทั้งนั้น (ความหมายนัยประหวัด)

2. ความหมายเทียบเคียงกับคำอื่น แบ่งออกเป็น
             2.1 คำที่มีความหมายเหมือนกัน เข่น
                          ม้า = สินธพ แสะ หัย อัสดร อาชาไนย
                          หญิง = นารี สตรี อิตถี กัญญา
             2.2 คำที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น
                          สุจริต - ทุจริต อภิชาตบุตร - อวชาตบุตร
                          สัมมาชีพ - มิจฉาชีพ ตึง - หย่อน
                          อ่อน - แข็ง คลาย - ขัน
2.3 คำที่มีความหมายรวม เช่น
                          ตัด - หั่น วิ่ง - เต้น ผูก - มัด
2.4 คำที่มีความหมายแคบกว้างต่างกัน เข่น
                          เวชภัณฑ์ = เครื่องมือผ่าตัด ยา ผ้าพันแผล เข็มฉีดยา
                          เครื่องเขียน = สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด

 

วิธีการใช้ถ้อยคำ
             1. ใช้ให้ตรงตามความหมาย
             2. ใช้ให้ตรงตามความนิยมของผู้ที่ใช้ภาษาเดียวกัน
             3. ใช้ให้เหมาะกับบุคคลและกาลเทศะ
             4. ใช้คำไม่ซ้ำซาก ควรเลือกใช้คำให้แปลกออกไป เพื่อให้เกิดความไพเราะทางภาษา
             5. ใช้คำให้เห็นภาพ เช่น แดงแจ๋ หอมฟุ้ง อ่อนพลิ้ว กว้างใหญ่ไพศาล เป็นต้น

 

กลับหน้าหลัก