การอธิบาย การบรรยาย และการพรรณนา

การอธิบาย คือ การทำให้ผู้อื่นเข้าใจ ความจริงในเรื่องใดเรืองหนึ่งมี 5 วิธี

1.อธิบายตามลำดับขั้น ใช้อธิบายสิ่งที่เป็นกระบวนการหรือกรรมวิธี

2.ใช้ตัวอย่าง ใช้อธิบายในสิ่งที่เข้าใจยาก

3.เปรียบเทียบความเหมือนและต่างกัน ใช้อธิบายในสิ่งที่แปลกใหม่ หรือสิ่งที่ยังไม่คุ้นเคย

4.ชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน ใช้อธิบายเพื่อบอกเหตุผลหรือสาเหตู

5.นิยามหรือใช้คำจำกัดความ ใช้อธิบายความหายของคำศัพท์หรือข้อความ

การบรรยาย คือ การเล่าเรื่องราวให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านได้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพื่ออะไร อาจเป็นเรื่องจริง

เช่น ประวัติของบุคคล หรือเรื่องสมมติก็ได้ เช่น นิทาน นิยาย เป็นต้น


การพรรณนา คือ การให้รายละเอียดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีชีวิตหรือไม่ก็ได้ โดยมุ่งให้ผู้อ่าน หรือผู้ฟังนึกเห็นภาพเกิดจินตนาการ

ตามที่ผู้ส่งสารต้องการ มักใช้คำอุปมาเปรียบเทียบ


ทั้ง 3 อย่างนี้อาจใช้รวมกันได้ เช่น ในบทความหรือนิทานเรื่องหนึ่งอาจมีทั้งการอธิบาย บรรยาย และพรรณนาคละกันได้


หลักการพิจารณาคุณค่าของงานประพันธ์

ส่วนประกอบของงานประพันธ์ได้แก่

1.เนื้อหา คือ ใจความสำคัญที่ผู้ประพันธ์ถ่ายทอด ให้ผู้อ่านรับรู้

2.รูปแบบ คือ ลักษณะร่วม ของงานประพันธ์อันเป็นวิถีทางที่ผู้ประพันธ์เลือกใช้ในการนำเสนอเนื้อหาไปสู่ผู้อ่าน

มี 2 ประเภทคือ

- ประเภทร้อยแก้วมีรูปแบบเป็นบันทึก บทควา จดหมายเหตุ สารคดี นิทาน เรื่องสั้น นวนิยาย

-ประเภทร้อยกรองมีรูปแบบเป็นกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย ลิลิต เพลงยาว นิราศ

หากงานประพันธ์ที่มีรูปแบบเหมาะสมกับเนื้อหากลมกลืนกันอย่างมีศิลปะ ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้อ่านก็จะจัดได้ว่า

งานประพันธ์นั้นเป็นวรรณคดี ถ้าไม่ถึงขั้นก็จะเรียกว่าวรรณกรรม

 

กลับหน้าหลัก