Unit 2 การใช้โปรแกรม ToolBook /ส่วนประกอบ

วิธีการเข้าโปรแกรม ToolBook 5

1.คลิกที่ ปุ่ม Start =>Program จากนั้นเลือกไปยังกรุ๊ปไอคอน ToolBook II Instructor ซึ่งจะมีไอคอนย่อยให้เลือก ดังนี้

New Features Book คือ ข้อมูลเกี่ยวกับ ToolBook ใน Version ใหม่ว่ามีอะไรเป็นอุปกรณ์เสริม และดีกว่ารุ่นเก่าอย่างไร ซึ่งอาจจะศึกษาเป็นข้อมูลได้
Release Notes คือ ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน และกล่าวถึงความเป็นมาของบริษัทผู้ที่ทำการผลิต ToolBook 5 โดย Asymetrix ซึ่งหากถามถึงรายละเอียดคร่าวๆ ก็คงบอกได้ว่าประมาณปี 1992-1996
ToolBook II Instructor คือ ตัวใช้สำหรับในการเปิดเข้าโปรแกรม ToolBook II เพื่อใช้งาน
ToolBook II Learning Center คือ นอกจากจะเป็นตัวที่ใช้สำหรับในการศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมแล้ว ยังเป็นตัวที่ทำการรวม Utilities เช่น ตัวที่ใช้สำหรับในการ Setup แผ่นหลังจากทำการคอมไพล์ เพื่อไปติดตั้งยังเครื่อง เราต้องการ จึงทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

สรุปวิธีการใช้งาน Start => Program => ToolBook II Instructor =>ToolBook II Instructor

เริ่มต้นการใช้งาน ToolBook 5

หลังจากที่ทำการเข้าโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ จะเห็น Dialog box ขึ้นมาให้ทำการเลือก ดังรูป

New Blank Book
เมื่อ
คุณทำการเลือก " New Blank Book " จะเป็นการเปิดงานขึ้นมาใหม่ โดยจะขึ้นหน้าจอ ดังรูปนี้

ส่วนประกอบของ ToolBook 5
Title Bar เป็นส่วนในการบอกชื่อของไฟล์ /โปรแกรม ว่าชื่ออะไร เช่น หากยังไม่ทำการตั้งชื่อ จะอยู่ในสถานะ "Untilted" แต่หากทำการตั้งชื่อแล้ว จะเป็นชื่อไฟล์ ที่ตั้ง เช่น "Exam1.tbk" (นามสกุล ToolBook จะเป็น TBK)
Menu Bar เป็นส่วนที่แสดงถึงคำสั่งที่ใช้สำหรับในการใช้งาน เช่น การเปิดแฟ้มข้อมูลใหม่ , การบันทึก ,การสั่งพิมพ์ ,การคัดลอก เป็นต้น อาจจะรวมถึง การสร้าง Effect สำหรับในการนำเสนองาน
Tool Bar เป็นส่วนที่แสดงรูปแบบคำสั่ง ในรูปแบบของไอคอน ยกตัวอย่างเช่น

การแนะนำการใช้งาน ของไอคอน ToolBar จะอธิบายพร้อมกับการใช้งาน เพื่อที่จะได้เข้าใจรูปแบบการใช้งานไปในตัว และวิธีการใช้งาน ในรูปแบบคำสั่งต่างๆ แบบประยุกต์
Tool Box เป็นส่วนที่ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ เช่นการสร้างเส้น การสร้างปุ่ม หรือ Ratio Button และเครื่องมือที่ใช้งานเกี่ยวกับการวาดรูป , List Box , 3D Button หรือฉากหลังในการสร้าง BackGround เป็นต้น

Windows Page เป็นส่วนในการแสดงพื้นที่ ที่ใช้สำหรับในการทำงาน โดยเราสามารถทำการนำเอา Object ต่างมาวางบน Windows นี้ได้ ซึ่งลักษณะการทำงานของส่วนนี้ สามารถแสดงได้ 2 สถานะ คือ

ForeGround พื้นหน้าที่สำหรับในการแสดงรูปแบบต่างๆ เช่น ข้อความ ,รูปภาพ ต่างเป็นต้น โดยสามารถทำการเปลี่ยนแปลงข้อความ , รูปภาพ ได้ทุกหน้า (เพราะส่วนนี้จะทำการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ที่มีการใช้งาน)
BackGround พื้นหลังที่ใช้สำหรับในการกำหนด ลวดลาย และพื้นหลัง ที่ต้องการใช้งานร่วม กับ Page อื่นๆ ซึ่ง อาจจะมีมากกว่า 1 BackGround ก็ได้ โดยสามารถทำการ Share ได้มากกว่า 1 อยู่แล้ว

Status Bar เป็นส่วนที่ใช้แสดงสถานะของการทำงาน ใน ตำแหน่งที่ 6 จะแสดงสถานะ บอกตำแหน่งว่าขณะนี้มีจำนวน 1 หน้า (กรณีมี 1 หน้า) หากมากกว่า จะแสดงสถานะของหน้าที่ใช้อยู่ หรืออาจจะแสดงสถานะของ Object ที่ใช้อยู่ก็ได้ในขณะนั้น


Position เป็นส่วนแสดงในการเลื่อนตำแหน่งของเมาส์ โดยค่าที่ได้จะแสดงในรูปแบบของตัวเลข เช่น หากเมาส์เลื่อนไปตำแหน่งบนสุด แต่ยังอยู่ในขอบของ Windows Page ก็จะแสดงตัวเลข เช่น 84,155,625 เป็นต้น สังเกตุจากการเลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆ (แต่การเลื่อนจะต้องอยู่บนพื้นที่ของ Windows Page)


Go to Page เป็นส่วนที่ใช้สำหรับในการแสดงหน้า ว่าต้องการจะไปในหน้าไหน โดยทำการ Double Click ที่ (1 of 6) ยกตัวอย่าง จากนั้นทำการป้อนตัวเลขหน้าที่ต้องการจะไป (โดยสมมติว่ามี 6 หน้า)
Foreground /Background เป็นส่วนที่แสดงสถานะการทำงานว่าในขณะนั้น ToolBook แสดงสถานะเป็น Foreground (พื้นหน้า) หรือ Background (พื้นหลัง) วิธีการเปลี่ยน Foreground /Background (โดยการกด F4 ) จะเปลี่ยนสถานะทันที เมื่อต้องการใช้งาน

 

ส่วนในบทต่อไป กล่าวถึงการออกแบบ Background ไว้ใช้เอง

Unit 1 | Unit 2 | Unit 3 | Unit 4 | Unit 5 | Unit 6 | Unit 7 | Unit 8 | Unit 9 | Unit 10 | Unit 11