การอัดขยายภาพขาวดำ

 

น้ำยาในการอัดขยายภาพ

น้ำยาที่ใช้ในการอัดขยายภาพนั้นมี 3 ชนิด เช่นเดียวกับน้ำยาล้างฟิล์ม คือ น้ำยาสร้างภาพ (Developer) น้ำยาหยุดภาพ (Stop bath) น้ำยาคงสภาพ (Fixer) สองชนิดหลังคือ น้ำยาหยุดภาพและน้ำยาคงสภาพใช้สูตรเดียวกับน้ำยาล้างฟิล์ม จึงใช้แทนกันได้เลย ส่วนน้ำยาสร้างภาพจะเป็นคนละสูตรกัน ยกเว้นน้ำยาบางสูตรเท่านั้นที่อาจจะใช้ได้ทั้งล้างฟิล์มและล้างกระดาษ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้กัน คุณสมบัติของน้ำยาสร้างภาพนั้นจะมีผลต่อน้ำหนักสีของภาพที่ต้องการ และลักษณะของกระดาษบางชนิดต้องศึกษาคุณสมบัติของน้ำยาแต่ละสูตรว่ามีผลต่อภาพอย่างไร เช่น น้ำยาโกดัก D-52 ทำให้ภาพมีสีอุ่น D-72 ทำให้ภาพมีสีเย็น ถ้าเจือจางภาพจะมีสีอุ่น
DK-163 ทำให้ภาพมีสีดำปกติบนกระดาษขยาย เป็นต้น

 

 

ตัวอย่างน้ำยาสำหรับอัดขยายภาพ

ส่วนมากน้ำยาอัดขยายภาพที่มีขาย เป็นตัวยาผงผสมสำเร็จรูป บรรจุกระป๋องหลายขนาด สามารถนำมาผสมน้ำตามคำแนะนำแล้วก็ใช้ได้ทันที เช่น น้ำยา D-72 เดคตอล (dektol) ในที่นี้จะขอเสนอสูตรน้ำยาที่นิยมใช้กันมากบางสูตร สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปผสมใช้เอง ดังนี้

                สูตรน้ำยา D-2

      1. น้ำอุ่น (ที่อุณหภูมิ 52 oC) 500 ซี.ซี.

      2. อีลอนหรือเมทอล 3 กรัม

      3. โซเดียมซัลไฟท์ 45 กรัม

      4. ไฮโดรควิโนน 12 กรัม

      5. โซเดียมคาร์บอเนต 80 กรัม

      6. โปตัสเซียมโบรไมด์ 2 กรัม

      เติมน้ำเย็นจนกระทั่งมีปริมาตรครบ 1 ลิตร เวลาใช้ผสมน้ำยา : น้ำ เท่ากับ 1 : 1

      สูตรน้ำยา D-163

      1. น้ำอุ่น (ที่อุณหภูมิ 52oF) 750 ซี.ซี.

      2. อีลอน 2.2 กรัม

      3. โซเดียมซัลไฟท์ 75 กรัม

      4. ไฮโดรควิโนน 17 กรัม

      5. โซเดียมคาร์บอเนต 65 กรัม

      6. โปแตสเซียมโบรไมด์ของโกดัก 2.8 กรัม

      เติมน้ำเย็นให้ได้น้ำยาปริมาตรรวม 1 ลิตร เวลาใช้ผสมน้ำยา : น้ำ เท่ากับ 1 : 3

      สูตรน้ำยา D-52

1. น้ำอุ่น (ที่อุณหภูมิ 52 oC) 500 ซี.ซี.

2. อีลอน 1.5 กรัม

3. โซเดียมซัลไฟท์ 22.5 กรัม

4. ไฮโดรควิโนน 6 กรัม

5. โซเดียมคาร์บอเนต 17 กรัม

6. โปตัสเซียมโบรไมด์ 1.5 กรัม

เติมน้ำเย็นให้ได้น้ำยาปริมาตรรวม 1 ลิตร เวลาใช้ผสมน้ำยา : น้ำ เท่ากับ 1 : 3

 

ขั้นตอนในการอัดขยายภาพ

ขั้นตอนในการอัดขยายภาพ อาจปฏิบัติตามลำดับคือ การเตรียมเครื่องมือและน้ำยา
การฉายแสง การล้างกระดาษ และการทำให้กระดาษแห้งหรือขัดมันภาพ

    1. การเตรียมเครื่องมือและน้ำยาล้างกระดาษ (โปรดดูภาพประกอบ)

1. เตรียมน้ำยาใส่ถาดในห้องมืด ตั้งไว้ในบริเวณส่วนเปียก ซึ่งอยู่ห่างจากเครื่องขยายพอสมควร จัดเรียงถาดน้ำยา 3 ถาดตามลำดับ คือ น้ำยาสร้างภาพ น้ำยาหยุดภาพและน้ำยาคงสภาพ ถ้าน้ำยาหยุดภาพไม่มีก็ใช้น้ำเย็นแทนก็ได้ (a)

2. นำฟิล์มเนกาตีฟใส่ในที่ยึดฟิล์ม (Negative carrier) โดยให้ด้านอิมัลชั่นอยู่ด้านล่างและหันด้านมันขึ้นด้านบน ให้ด้านบนของภาพหันเข้าหาตัวเรา (b)

3. ดึงคานยก Condenser lens ขึ้น แล้วสอดแผงยึดฟิล์มเข้าไปในช่องด้านล่าง จนเข้าล็อค (c)

         4. ปิดไฟในห้อง เปิดเฉพาะไฟนิรภัย (safelight)

5. เตรียมกรอบยึดกระดาษ (Easel) ให้มีขนาดช่องกระดาษเท่ากับขนาดกระดาษ และจัดกรอบภาพให้เท่ากันทั้ง 4 ด้าน โดยยกกรอบทับกระดาษขึ้น สอดกระดาษเข้าไปในกรอบ ขีดเส้นตามแนวกรอบด้านในทั้งกรอบบนและกรอบซ้ายมือ

เสร็จแล้วกลับกระดาษด้านที่ขีดเส้นไว้หันออกด้านนอก ปรับแขนของกรอบด้านล่างและด้านขวาให้ขอบด้านในทาบกับเส้นที่ขีดไว้พอดีทั้ง 2 ด้าน แล้วดึงกระดาษแบบออกก็จะได้ขนาดของกรอบภาพที่พอดีทั้ง 4 ด้าน สำหรับกระดาษในกล่องนั้น เมื่อเปลี่ยนใช้กระดาษกล่องใหม่ก็จะต้องเตรียมกรอบยึดกระดาษใหม่ตามวิธีเดิมนี้ เพราะกระดาษแต่ละกล่องนั้นขนาดกว้างยาวไม่เท่ากันทุกกล่อง เมื่อเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำไปวางบนพื้นแท่นเครื่องอัดขยายภาพ(e)

        1. หมุนวงแหวนเปิดรูรับแสง ตั้ง f / number กว้างสุด เพื่อฉายแสงไปตกบนกรอบยึดกระดาษให้สว่างที่สุด ทำให้สะดวกในการโฟกัสภาพ ( f )

        2. ปรับโฟกัสภาพบนกรอบยึดกระดาษโดยหมุนที่ Focusing knob (g)

        3. ในกรณีที่ภาพมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไปให้หมุน Elevator control crank ขึ้น-ลง ขณะเดียวกันให้หมุนปุ่ม Focusing knob ตามไปด้วย จนกว่าจะได้ภาพคมชัดตามที่ต้องการแล้วจึงเปิดไฟเครื่องขยาย ( h )

การฉายแสงและการล้างกระดาษ

1. นำกระดาษทดสอบที่ฉายแสงแล้วนี้ใส่ลงในถาดน้ำยาสร้างภาพ แล้วใช้คีมคีบภาพพลิกกลับไป – มา และแกว่งในน้ำยาประมาณ 1 ? นาที ก็จะเห็นภาพขึ้น
เต็มที่ ( f )

2. ใช้คีมคีบภาพจากน้ำยาสร้างภาพ ใส่ในถาดน้ำยาหยุดภาพ 2-3 วินาที ( g ) แล้วจึงคีบไปใส่ในถาดน้ำยาคงสภาพจนภาพอยู่ตัว (ปกติใช้เวลา 15 – 20 วินาที) คีมคีบภาพควรใช้เฉพาะในถาดใดถาดหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้ปนกันเพราะจะทำให้น้ำยาเสื่อมเร็ว ( h )

3. เปิดไฟขาวในห้องมืดแล้วนำภาพทดสอบนั้นมาพิจารณาดูว่าส่วนของภาพในแถบไหนที่มีความเข้มของภาพพอเหมาะ ก็จะทราบเวลาฉายแสงที่พอดี สำหรับแถบนั้น ถ้าส่วนของภาพที่พอดีอยู่ระหว่างสองแถบ ก็ให้ลดเวลาจากแถบที่ดำกว่ามาใช้เวลาที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 แถบนั้นได้

การทดสอบค่าการฉายแสงนี้อาจใช้วิธีตัดกระดาษไวแสงออกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปทดสอบ โดยทดลองฉายแสงบริเวณที่สำคัญของภาพนั้น ตั้ง f / stop และเวลาที่กำหนด แล้วลองนำมาล้างในน้ำยาสร้างภาพดู พิจารณาภาพที่ได้ว่าค่าการฉายแสงมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าภาพเข้มหรือดำเกินไป ก็ให้ลดเวลาฉายแสงลงมา

เมื่อตัดสินใจเลือกค่าการฉายแสงที่เหมาะสมแล้ว ท่านก็พร้อมที่จะอัดขยายภาพในกระดาษไวแสงจริงๆ ได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

         - ปิดไฟห้อง เปิดเฉพาะไฟนิรภัย เปิดสวิทซ์ไฟเครื่องขยายแล้วตั้ง f / stop ที่เลนส์ขยายให้กว้างที่สุด ปรับโฟกัสภาพให้คมชัดอีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงตั้ง f / stop ตามค่าการฉายแสงที่ได้จากการทดสอบ ( a )

         - ตั้งเวลาฉายแสงที่เครื่องตั้งเวลา (Timer) ตามเวลาที่ได้จากการทดสอบ แล้วปิดไฟเครื่องขยาย นำกระดาษไวแสงออกจากกล่อง (b)

         - ยกกรอบโลหะของกรอบยึดกระดาษ (easel) ขึ้น แล้ววางกระดาษไวแสงเข้าไป หันด้านเยื่อไวแสงขึ้นด้านบน (คลำดูด้านเยื่อไวแสงจะมีลักษณะมันลื่น) โดยให้ขอบกระดาษชิดแผ่นกั้นทั้งด้านบนสุดและด้านซ้ายมือสุด (c)

         - เปิดสวิทซ์เครื่องตั้งเวลา (timer) เมื่อครบเวลาสวิทซ์จะตัดไฟโดยอัตโนมัติตามเวลาที่ตั้งไว้ เสร็จแล้วจึงยกกรอบขึ้นและดึงกระดาษออกจากกรอบยึดกระดาษ

         - นำกระดาษที่ฉายแสงแล้วใส่ลงในถาดน้ำยาสร้างภาพ (Developer) โดยคว่ำภาพด้านเยื่อไวแสงลง ให้น้ำยาท่วมภาพทั้งหมด ใช้คีมคีบภาพ จับภาพแกว่งในน้ำยาและพลิกกลับภาพตลอดเวลา ภาพจะค่อยๆ ปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ ภายในเวลา
1
? นาที ถ้าทิ้งไว้นานกว่านี้ภาพจะค่อยๆ คล้ำหรืดมีสีเหลืองในส่วนขาว ถ้าภาพขึ้นเร็วเกินไปแสดงว่า เวลาฉายแสงยังไม่พอเหมาะ (e)

        1. เมื่อภาพขึ้นเต็มที่แล้ว จึงใช้คีมคีบภาพจับภาพจากถาดน้ำยาสร้างภาพมาลงในน้ำยาหยุดภาพ (Stop bath) ให้น้ำยาท่วมทั้งภาพ จับภาพเขย่าประมาณ 1 นาที จึงใส่ลงในถาดน้ำยาคงสภาพ (f)

        2. แช่ภาพไว้ในน้ำยาคงสภาพ (Fixer) ประมาณ 10 นาที ระวังให้ภาพท่วมน้ำยาตลอดเวลา มิฉะนั้นส่วนที่ไม่ท่วมจะมีสีเหลือง (g)

        3. เมื่อครบเวลา 10 นาทีแล้ว จึงนำภาพไปแช่ในอ่างน้ำไหลเป็นเวลา 30 นาที เพื่อล้างน้ำยาเคมีต่างๆ ออกให้หมด ก่อนนำไปทำแห้งและขัดมันต่อไป (h)

การทำแห้งและการขัดมันภาพ

เมื่อแช่ภาพในน้ำไหลจนครบเวลาแล้วก็นำภาพมาผ่านขั้นตอน ทำให้ภาพแห้งและ
ขัดมัน วิธีทำให้ภาพแห้งต้องใช้เครื่องทำแห้ง (Heated print dryer) มีลักษณะเป็นลูกกลิ้งขนาดใหญ่ ผิวหน้าเป็นแผ่นโลหะเรียบมัน เป็นตัวนำความร้อนและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังมีมอเตอร์ขับเคลื่อน ควบคุมการหมุนของลูกกลิ้งให้หมุนเร็วหรือช้า และมีสายพานผ้าใบทนความร้อน นำภาพเข้าเครื่องขัดมันทำให้ภาพสัมผัสกับผิวหน้าโลหะจนครบ
1 รอบ

วิธีทำให้ภาพแห้งและขัดมันภาพ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

         - เปิดสวิทซ์มอเตอร์ให้ลูกกลิ้งหมุนและเปิดสวิทซ์ควบคุมอุณหภูมิของแผ่นขัดมันภาพให้อยู่ในระดับปานกลาง (ปกติจะมีขีดตัวเลขบอกระดับความร้อนไว้ที่หน้าปัด) รอให้แผ่นขัดมันร้อนประมาณ 5 นาที

         - นำภาพที่ล้างในน้ำไหลแช่ในน้ำยาโฟโตโฟล (Photo Flo) ประมาณ 1 นาที (ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยา)

         - นำภาพออกจากโฟโตโฟล เอียงกระดาษให้น้ำหยดออกให้หมดแล้ววางภาพบนผ้า ถ้าเป็นกระดาษมันให้หงายกระดาษด้านเยื่อไวแสงเข้าหาแผ่นขัดมัน ถ้าเป็นกระดาษด้านให้คว่ำหน้าภาพลง

         - สายพานผ้าใบจะค่อยๆ นำกระดาษเข้าไปในเครื่องขัดมัน ครบ 1 รอบ ภาพจะหลุดออกมาจากแผ่นขัดมันเอง

ข้อควรระวังในการใช้เครื่องทำแห้งและขัดมันภาพ ก็คือ ควรล้างน้ำยาคงสภาพ (Fixer) ออกให้หมดก่อนเข้าเครื่องขัดมัน และไม่ควรใช้ของมีคมเขี่ยหรือแกะกระดาษออกจากแผ่นขัดมัน เป็นอันขาด เมื่อใช้เสร็จแล้วควรปิดสวิทซ์ควบคุมความร้อนไปที่ “OFF” และปล่อยให้มอเตอร์ทำงานต่อไปจนกว่าแผ่นขัดมันจะเย็นจึงค่อยปิดเครื่อง

ในกรณีที่ไม่มีเครื่องทำแห้งและขัดมัน อาจใช้วิธีวางภาพไว้ในที่ไม่มีฝุ่นละอองและที่ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก จนกว่าภาพจะแห้ง แต่วิธีนี้ผิวหน้าภาพจะไม่เรียบมัน

HOME