ข้อมูลทั่วไปศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทรา
:: พื้นที่รับผิดชอบ::
:: ฉะเชิงเทรา
:: นครนายก
:: ปราจีนบุรี
:: สระแก้ว
:: ชลบุรี
:: ระยอง
:: จันทบุรี
:: ตราด




ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทรา
ข้อมูลพื้นฐาน

ทีตั้ง

...สำนักงาน ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 3259 (บ้านหนองคอก-คลองหาด) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 20 ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ม.8 ต. คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา โดยขออนุญาติใช้ประโยชน์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่

....พื้นที่เดิมบริเวณที่ตั้งสำนักงาน ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทราเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านมาก่อน แต่หลังจากการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในปี พ.ศ.2520 และมีการเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากป่าในช่วง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531-2534 ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) ของศูนย์เฉพาะกิจป้องกันรักษาป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่รกร้างและได้ถูกราษฎรแผ้วทางจนไม่มีสภาพเหลือเป็นพื้นที่ป่าอีกต่อไป จึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่และจัดตั้งหน่วยควบคุมไฟป่าขึ้นที่นี่ และได้ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานหลายครั้งจนเป็นศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทราในปัจจุบัน

ประวัติ

.
..เมื่อปี
2534 กรมป่าไม้ได้จัดตั้งหน่วยควบคุมไฟป่าขึ้นที่นี่ ครั้งแรกให้ชื่อว่าโครงการควบคุมไฟป่าภูไท

ภาพการออกปฏิบัติงานเมื่อสมัยยังเป็นโครงการควบคุมไฟป่าภูไท

ต่อมาในปีงบประมาณ 2540 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีควบคุมไฟป่าภูไท จากนั้นในปีงบประมาณ 2541 กรมป่าไม้ได้โอนสถานีควบคุมไฟป่าภูไทให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี โดยในปีงบประมาณถัดมาคือ ปีงบประมาณ 2542 ก็ได้โอนความรับผิดชอบ กลับมายังส่วนจัดการไฟป่าฯ ซึ่งได้ยกฐานะโดยกรมป่าไม้จัดตั้งเป็น สำนักควบคุมไฟป่า และสถานีควบควบไฟป่าภูไท ได้ปรับเปลี่ยนเป็น ศูนย์ควบคุมไฟป่าภาคกลางที่ 3 (ฉะเชิงเทรา) ก่อนที่จะได้เปลียนโครงสร้างสำนักควบคุมไฟป่าใหม่ ในปีงบประมาณ 2544 โดยได้เปลียนชื่อเป็น ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทราจนถึงปัจจุบัน

 




แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทราแสดงแนวเขตของป่าและที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทราโดยสังเขป

สภาพทั่วไป

สภาพภูมิประเทศ

...ภูมิประเทศของป่ารอยต่อ 5 จังหวัด มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด ความสูง 30 -150 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่บริเวณเขาสอยดาว สูงประมาณ 1,765 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

สภาพภูมิอากาศ

...พื้นที่บริเวณนี้นอกจากจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมที่พัดผ่านเป็นประจำแล้วยังได้รับอิทธิพลของอากาศทะเลเป็นส่วนประกอบด้วย ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็นสองแบบคือ 1.แบบสะวันนา ที่มีอุณหภูมิสูงตลอดปี น้ำฝนน้อยกว่าในมรสุมเขตร้อน และ2.แบบมรสุมเขตร้อน มีลักษณะชุ่มชื้นคล้ายภาคใต้ของประเทศ ฤดูกาลแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ช่วงพฤษภา - ตุลาคม ฤดูหนาว ช่วงพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ และฤดูร้อน ช่วงกุมภาพันธ์ - เมษายน น้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1990 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.8 องศา ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีประมาณ 75.7

ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน

ความสำคัญ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ส่วนหนึ่งของป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี) เป็นป่าลุ่มต่ำผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่จนถึงปัจจุบัน และอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียงร้อยกว่า กิโลเมตรเท่านั้น

อาณาเขตและพื้นที่

ลักษณะพืชพรรณ

พืชพรรณที่พบในป่าผืนนี้หากจำแนกตามลักษณะของพืชพรรณที่พบแล้วสามารถจำแนก ได้เป็น 4 ลักษณะ คือ

  • ป่าดงดิบ ป่าดิบแล้งเป็นชนิดป่าที่ปกคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พรรณไม้เด่น ได้แก่ ตะแบก แดง กะบก มะค่าโมง ไม้อื่นๆที่พบ เช่น
  • ป่าเบญจพรรณชื้น ป่าเบญจพรรณชื้น พบเป็น พื้นที่เล็กๆ บริเวณเชิงเขา และบริเวณหินโผล่ พรรณไม้เด่น ได้แก่ ประดู่ป่า กาสามปีก ไข่เน่า งิ้วป่า ไม้อื่นๆที่พบ เช่น ตะแบกแดง ปออีเก้ง อะราง พรรณไม้พื้นล่างคล้ายกับป่าดิบแล้งแต่ขึ้นไม่หนาแน่น
  • ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชที่เป็นย่อมขนาดเล็ก กระจายอยู่ในผืนป่าพรรณไม้เด่นที่พบ ได้แก่ ยางกราด ธนนไชย ส้านใหญ่ ติ้วแดง ไม้อื่นๆ ที่พบ เช่น ไผ่ป่า ไม้พื้นล่าง ได้แก่ พุดน้ำ ขี้ครอก กระเจียวขาว เป็นต้น
  • ไร่ร้างและป่าใส ไร้ร้างและป่าใสคือบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านมาก่อน และเมื่อถูกปล่อยทิ้งไว้ก็เกิดกระบวนการทดแทน ทางสังคมพืช พรรณไม้ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ หญ้าคา หญ้าขจรจบ หญ้าพง และแขม พรรณไม้อื่นที่เป็น ไม้เบิกนำที่ขึ้นทดแทน เช่น สาบเสือ พังแพรใหญ่ อะราง กระทุ่มน้ำ เป็นต้น

ทรัพยากรป่าไม้ ป่าแห่งนี้กว่า 90 % เป็นป่าดิบแล้ง ถือเป็นป่าดิบลุ่มต่ำผืนใหญ่ที่สุดในประเทศจึงพบความหลากหลายทางชีวภาพสูง ความหลากหลายของสภาพถิ่นที่อยู่ ทำให้มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สูงเช่น มีพรรณไม้ที่เป็นพืชอาหารสัตว์ป่าหลายชนิด โดยเฉพาะไม้สกุลไทรและไม้ผล ผลัดกันออกดอก ออกผลตลอดปี พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ ตะแบกใหญ่ มะค่าโมง และผลไม้ป่าต่างๆ เช่น ลิ้นจี่ป่า กระท้อน พืชชั้นล่างที่พบมากได้แก่ เร่วต่างๆ และระกำป่า รวมไปถึงกล้วยไม้หลายชนิด จากการสำรวจพบกล้วยไม้แล้วถึง 100 ชนิด ในจำนวนนี้พบ Taeniophylium radiatum ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่เล็กที่สุดในประเทศไทย และเพชรหึง (Grammatphylium speciosum) ซึ่งมีช่อดอกใหญ่ที่สุดในโลก คือยาวกว่า 2 เมตร

ทรัพยากรสัตว์ป่า ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนยังมีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะสัตว์ในประเภทมีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 596 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 122 ชนิด นก 310 สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 29 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 88 ชนิด และปลา 47 ชนิด

 

Home | Data | Plan | Staff | Activity | Station | Knowledge | Music Band | Statistic | News

ต้องการประชาสัมพันธ์/เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับไฟป่า/ข้อมูลหน่วยงาน/กิจกรรมต่าง
ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าฉะเชิงเทรา โทร 0-3850-2029
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ : Forest Fire Coordination Center