:::   สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำกัด :::
     

หน้าหลัก
บทบาทในฐานะเป็น
  สมาชิกสหกรณ์
การกู้ยืมเงิน
การออมทรัพย์
การถือหุ้น
บทบาทในฐานะเป็น
  เจ้าของสหกรณ์
รายการที่ควรพิจารณา
ในงบการเงิน
  รายละเอียดอื่นๆ
   


สหกรณ์ออมทรัพย์
เป็นสถาบันการเงิน ของสมาชิก โดยสมาชิก เพื่อสมาชิก
ความสำเร็จของสถาบันการเงินนี้ขึ้นอยู่กับ บทบาทของสมาชิกเป็นสำคัญ

        :: สหกรณ์ออมทรัพย์ ::

มีผู้กล่าวว่า “สหกรณ์ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นเพียงวิธีการ หรือเครื่องมือที่จะบรรลุจุดหมายปลายทาง คือการกินดี อยู่ดี มีสันติสุข” เมื่อสหกรณ์เป็นเพียงเครื่องมือในการบรรลุจุดหมายปลายทาง ดังนั้นการที่สมาชิกจะใช้สหกรณ์ เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุจุดหมายปลายทาง จึงต้องมีบทบาทที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถแยกบทบาทได้เป็น 2 บทบาท คือ

  • บทบาทในฐานะเป็นสมาชิกสหกรณ์
  • บทบาทในฐานะเป็นเจ้าของสหกรณ์
::: บทบาทในฐานะเป็นสมาชิกสหกรณ์ :::

สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งเหมือนกับสถาบันการเงินรูปอื่นที่มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ เป็นแหล่งออมเงินและเป็นแหล่งกู้ยืมเงิน ดังนั้นบทบาทในฐานะสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์จึงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจใช้บริการของสหกรณ์ออมทรัพย์ 2 ประเภท คือ การออม การกู้ยืมเงิน

 
:: การกู้ยืมเงิน :::
โดยทั่วไปในช่วงอายุ 20 – 45 ปี จะเป็นช่วงที่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ เนื่องจากในระยะต้นของการทำงานรายได้จะยังไม่สูงมากนัก แต่รายจ่ายจะมีมากเพราะเป็นระยะเริ่มสร้างฐานะความเป็นอยู่ การกู้ยืมเงินจึงมีความจำเป็นเพื่อช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ และบำบัดความเดือดร้อนเป็นครั้งคราว ในการกู้ยืมเงินสมาชิกควรคำนึงถึง
            - ความจำเป็นในการกู้ยืมสมาชิกควรพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบถึงความจำเป็น
              ในการกู้ยืมเงิน ถ้ามิใช่ความจำเป็นอย่างแท้จริง ก็ควรงดหรือเลื่อนการกู้ยืมเงินออกไป
            - ภาระในการชำระคืน สมาชิกจะต้องวางแผนการกู้ยืมเงินว่า จะกู้เมื่อไร
              จำนวนเท่าไรและชำระคืนในระยะเวลานานแค่ไหนเพื่อมิให้เป็นภาระในการชำระคืน
              และเป็นหนี้ตลอดไป
   
::: การออมทรัพย์ :::

ทำให้เกิดความมั่นคงในอนาคต ในสหกรณ์ออมทรัพย์มีการออม 2 รูปแบบ คือ
การถือหุ้น  เป็นการออมทรัพย์ระยะยาวเพราะโดยทั่วไปเงินค่าหุ้นจะถอนคืนได้เมื่อลาออกจาก
สหกรณ์ออมทรัพย์เท่านั่น
การถือหุ้นนี้สมาชิกจะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น
ท่านเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งหนึ่งเมื่ออายุ 25 ปี และเป็นสมาชิกอยู่ 30 ปี จนถึงอายุ 55 ปี
ในช่วงที่ท่านเป็นสมาชิกอยู่ ท่านจะต้องถือหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสัดส่วนกับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น
ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ สมมติว่าถือหุ้นเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท
และสหกรณ์แห่งนั้นจ่ายเงินปันผลในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ท่านได้ตั้งเป้าหมายว่าจะไม่ยอมถอนหุ้น
ก่อนครบ 30 ปี และเงินปันผลที่ได้รับทุกปี จะซื้อหุ้นในสหกรณ์ต่อจนหมด เมื่อครบ 30 ปี
ท่านจะมีเงินทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท ซึ่งอาจเป็นเงินที่เอาไว้ใช้จ่ายหลังจากออกจากงาน
ประจำได้ โดยไม่เป็นภาระแก่บุคคลอื่น

การฝากเงิน
สหกรณ์มีบริการทั้งเงินฝากออมทรัพย์ซึ่งฝาก-ถอน ได้ตลอดเวลาและเงินฝากประจำ
ซึ่งมีระยะเวลาในการถอนคืน เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน เป็นต้น
การที่สมาชิกจะตัดสินใจในเรื่องการกู้ยืมเงินและการออมทรัพย์ได้อย่างถูกต้องนั้น
สมาชิกจะต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ นั่นคือ สมาชิกจะต้องจัดทำบัญชี รับ-จ่าย
เป็นประจำทุกเดือน ในการจัดทำบัญชี รับ-จ่าย ควรแยกประเภทรายรับรายจ่ายให้ชัดเจน
เช่น รายได้จากเงินเดือน และรายได้อื่น ส่วนรายจ่ายจะเป็น ค่าอาหาร ค่าเครื่องแต่งกาย
ค่าเช่าบ้านหรือค่าผ่อนส่งบ้าน ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากบัญชี รับ-จ่าย
จะใช้วางแผนการใช้จ่ายเงินการกู้ยืมเงิน การออมทรัพย์ต่อไป
 
::: บทบาทในฐานะเป็นเจ้าของสหกรณ์:::

ในฐานะเป็นเจ้าของสหกรณ์ สมาชิกคงต้องการให้สหกรณ์ของตนเองเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง มีเสถียรภาพ สามารถอำนวยประโยชน์ ให้กับสมาชิกได้อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถทำได้หลายประการ แต่ที่สำคัญคือ การเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์ เนื่องจากเป็นโอกาสที่สมาชิกจะได้ใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องต่าง ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสหกรณ์และสมาชิกโดยส่วนรวมการประชุมใหญ่ดังกล่าว โดยทั่วไปจะมีวาระที่สำคัญดังต่อไปนี้
     1. รับทราบรายงานกิจการประจำปีสหกรณ์เพื่อวิเคราะห์ว่าในรอบปีที่ผ่านมาการบริหารงาน
          ของสหกรณ์เป็นอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายในการบริหารงานต่อไป
          และเป็นการดูแลผลงานของกรรมการที่เราเลือกเข้าไปด้วยว่าบริหารงานเป็นอย่างไร
      2. พิจารณาและอนุมัติงบการเงินเป็นการพิจารณาฐานะของสหกรณ์ที่วัดออกมาในรูปของตัวเงิน
          ว่าเป็นอย่างไร ประกอบด้วย
- งบดุล แสดงว่า ณ วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ สหกรณ์มีทรัพย์สินเท่าไร
ทรัพย์สินของสหกรณ์ออมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นลูกหนี้เงินให้กู้แก่สมาชิก นอกจากนั้นยังแสดงว่า ทรัพย์สินที่มีนั้นมาจากทุนของสหกรณ์เท่าไร จากการเป็นหนี้เท่าไร ดังสมการ
          ทรัพย์สิน = หนี้สิน + ทุน
- งบกำไรขาดทุน แสดงว่าในรอบปีที่ผ่านมาสหกรณ์มีรายได้เท่าไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร มีกำไรเท่าไร ดังสมการ
          รายได้ = ค่าใช้จ่าย + กำไรสุทธิประจำปี

รายการที่ควรพิจารณาในงบการเงินคือ
- หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อให้รู้ข้อมูลที่สำคัญ
- ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นไปตามงบประมาณที่อนุมัติหรือไม่ มีรายการใดที่ผิดปกติหรือไม่
- ดอกเบี้ยค้างรับ หนี้สงสัยจะสูญ สำรองหนี้คลาดเคลื่อน เป็นรายการที่อาจแสดงถึงประสิทธิภาพในการให้สินเชื่อของสหกรณ์ ควรสอบถามในที่ประชุมใหญ่ให้ชัดเจน
ตัวเลขในงบการเงินอาจนำมาคำนวณค่าต่าง ๆ ได้ เช่น

      1. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = ทรัพย์สินหมุนเวียน
                                                   หนี้สินหมุนเวียน
แสดงถึงสภาพคล่องของสหกรณ์ในการชำระหนี้สินระยะสั้น ค่าที่สูงจะดีกว่าค่าที่ต่ำ แต่ถ้าสูงเกินไปอาจจะเป็นปัญหาได้ เช่น ถือเงินสดไว้มากเกินความจำเป็น ทำให้สหกรณ์ขาดรายได้
      2. ร้อยละของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้
            ค่าใช้จ่ายที่ไม่รวม ด/บจ่าย x 100
                               รายได้
แสดงว่าในรายได้ 100 บาท สหกรณ์มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกี่บาท ค่าที่ต่ำจะดีกว่าค่าที่สูง
      3. อัตราส่วนเงินกู้ยืมต่อทุนของสหกรณ์ = เงินกู้ยืม
                                                                      ทุนของสกรณ์
แสดงว่าเงินกู้ยืมเป็นกี่เท่าของทุนของสหกรณ์ ถ้าค่าคงที่ได้สูงสหกรณ์ก็จะมีความเสี่ยงใน
การดำเนินธุรกิจมากขึ้น
       4. อัตราผลตอบแทนต่อทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์
            กำไรสุทธิประจำปี_ x 100
            ทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์
แสดงถึงประสิทธิภาพในการหาผลตอบแทนจากทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ ค่าที่สูงจะดีกว่าค่าที่ต่ำ

 
ค่าต่าง ๆ ที่คำนวณได้สามารถนำไปเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในปีก่อน ๆ
หรือค่าที่คำนวณจากงบการเงินของสหกรณ์อื่น เพื่อใช้วิเคราะห์โดยละเอียดต่อไป
  3. พิจารณาและอนุมัติการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี เป็นการพิจารณาจัดสรรผล
       ประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินงานของสหกรณ์ในรอบปีทางบัญชีที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมาย
      กำหนดให้ต้องจัดสรร 3 ข้อ คือ
             - จัดสรรเป็นเงินสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของกำไรสุทธิ
             - เป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยร้อยละห้าของกำไรสุทธิแต่ต้องไม่
               เกินหนึ่งหมื่นบาทกำไรสุทธิประจำปีที่เหลือ ที่ประชุมใหญ่อาจจัดสรร เป็นเงินปันผล
               ตามหุ้นเป็นเงินเฉลี่ยคืน เป็นเงินโบนัส เป็นทุนสะสมต่าง ๆ
             - เงินปันผลตามหุ้น ในปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้จ่ายไม่เกินร้อยละสิบต่อปี
               และ สหกรณ์ควรจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 1 ปี เฉลี่ยในรอบปี
ี               ทางบัญชีที่ผ่านมา
             - เงินเฉลี่ยคืนตามดอกเบี้ยเงินกู้ ถ้าสหกรณ์เก็บอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราต่ำอยู่แล้ว
               อาจจะไม่มีเงินเฉลี่ยคืนอีกก็ได้
             - เงินโบนัส เป็นค่าตอบแทนแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่บริหารให้สหกรณ์มีกำไร
               เป็นการถือปฏิบัติตามธรรมเนียมของธุรกิจโดยทั่วไปกฎหมายกำหนดให้จ่ายไม่เกินร้อย
               ละสิบของกำไรสุทธิ
             - ทุนสะสมต่าง ๆ เป็นประโยชน์แก่สมาชิกโดยส่วนรวม เพื่อทำให้สหกรณ์สามารถจัด
               สวัสดิการต่าง ๆ ให้สมาชิกได้
  4. พิจารณาและอนุมัติรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์รายจ่ายประจำปีเป็นเครื่องมือที่สมาชิก
      ใช้ควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการเพื่อดูว่า แผนงาน โครงการ เป้าหมาย
      ในปีนั้น ๆ มีความเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายเพียงใด สมาชิกจึงต้องพิจารณา ถึง

       ก. แผนงาน โครงการ เป้าหมาย ในปีนั้น ๆ
       ข. หมวดรายจ่ายต่าง ๆ ในปีก่อนมีการตั้งเท่าไร และใช้จ่ายจริงเท่าไร ในปีนี้
           ขอตั้งเท่าไร พร้อมทั้งเหตุผลและความจำเป็น
           ถ้าสหกรณ์ดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ เป้าหมายต่าง ๆ โดยการใช้จ่ายเงินอย่าง
           ประหยัดเหมาะสม จะทำให้สมาชิกได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานของสหกรณ์สูงสุด             
           ดังนั้นสมาชิกจะต้องให้ความสนใจต่อรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์ และพิจารณาอนุมัติ
           ด้วยความละเอียดรอบคอบ
5. พิจารณาเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ คณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้แทนของสมาชิกใน
      การดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์ที่สำคัญ คือ การดูแลทรัพย์สินทั้งหมดของสหกรณ์
      การกำหนดนโยบาย รวมทั้งระเบียบและวิธีปฏิบัติงานต่าง ๆ ควบคุมดูแลฝ่ายจัดการ
      อันประกอบด้วยผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ เพื่อให้นโยบายต่าง ๆ บรรลุผลดังนั้น
      ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้สหกรณ์ประสบความสำเร็จ ก็คือ คณะกรรมการดำเนินการนั้นเอง       สมาชิกจึงไม่ควรนอนหลับทับสิทธิ์ และควรเลือกกรรมการที่มีความซื่อสัตย์ เสียสละ
     ไม่แสวงหาผลประโยชน์ในสหกรณ์มีความรู้เรื่องสหกรณ์ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ มีความคิดริเริ่ม
      ในการพัฒนางานต่าง ๆ
6. พิจารณาเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการ เนื่องจากสมาชิกทุกคนไม่สามารถเข้าไปบริหารงานของ
     สหกรณ์ได้ จึงต้องเลือกคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้แทนในการบริหารงานแทนตน
     นอกจากนั้นควรจะต้องมีผู้ตรวจสอบกิจการซึ่งจะเป็นหูเป็นตาแทนสมาชิก เพื่อตรวจสอบการ
     ปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมการดำเนินการ ตลอดจนประเมินผลประสิทธิภาพของการ
     ปฏิบัติงานนั้น ๆ และแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อประโยชน์ของสหกรณ์และสมาชิกโดย
     ส่วนรวม ผู้ตรวจสอบกิจการควรเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการเงิน
     การบัญชี กฎหมาย การบริหารงาน
   :::::::::::::: กลับขึ้นด้านบน :::::::::::::::::
::::: 302/341 อาคารสงเคราะห์สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ถ.พระรามหก  ::::::
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400 โทร.02-278-1746
:::::: © All rights reserved, Best view with 800*600 pixels. :::::