การจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม

คำแนะนำ

  1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  2. ภาษีบำรุงท้องที่
  3. ภาษีป้าย

ôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôôô

ส่วนการคลัง
องค์การบริหารส่วนตำบลหันโจด  ตำบลหันโจด
 อำเภอหนองสองห้อง  จังหวัดขอนแก่น

โทรศัพท์/โทรสาร  0-4341-8108

“เงินภาษีมีคุณค่า
ร่วมพัฒนาท้องถิ่น

1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  คือ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินที่ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
อัตราภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ร้อยละ  12.5 ของค่ารายปี
ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1. ให้ผู้รับประเมิน(บุคคลผู้พึงชำระค่าภาษี)ไป
รับแบบพิมพ์เพื่อยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี (ภ.ร.ด.2) ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหันโจด
                2. ผู้รับประเมินหรือผู้เช่า หรือผู้ครอง  ยื่นแบบพิมพ์แสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
                3. พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องของรายการที่ยื่นตาม (2) และจะประเมินภาษีพร้อมทั้งแจ้งรายการประเมินภาษี(ภ.ร.ด.8) ไปยังผู้รับประเมิน
                4.  ผู้รับการประเมินจะต้องไปชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมิน
                5.  การอุทธรณ์ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
                - หากผู้รับการประเมินไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ต่อคณะผู้บริหาร ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

               
               

- ผู้ใดหลีกเลี่ยงการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินมีความผิดตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ตามมาตร  46  ปรับไม่เกิน  200 บาท,มาตรา 47 ปรับไม่เกิน 500 บาท , มาตรา 48 จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ภาษีบำรุงท้องที่
                ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากที่ดินทั้งเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
                อัตราการชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดิน(ภ.บ.ท.1) ซึ่งทางราชการกำหนดราคามาตรฐานประเมินภาษีบำรุงท้องที่ทุก 4 ปี
ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่
                1. ผู้เป็นเจ้าของที่จะต้องยื่นแบบ ภ.บ.ท. 5 เพื่อแสดงรายการแห่งทรัพย์สิน สำหรับการเสียภาษีบำรุงท้องที่
                2.  พนักงานเจ้าหน้าที่จะประเมินและคำนวณค่าภาษีพร้อมทั้งแจ้งการประเมินให้เจ้าของทรัพย์สินทราบ
                3.  เจ้าของทรัพย์สินต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่  ภายในเดือนเมษายนของทุกปี
                4. กรณีเจ้าของที่ดินใหม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายใน  30  วัน นับแต่วันที่เจ้าของที่ดินซื้อใหม่
                ผู้ใดหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่  มีความผิดตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่  พ.ศ.2508  ตามมาตรา  53  ผู้ใดรู้หรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จระวางโทษจำคุกไม่เกิน  6  เดือน  หรือปรับไม่เกิน  200  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  มาตรา 54  ผู้ใดจงใจไม่มาหรือยอมชี้เขตโทษจำคุก  1  เอน  หรือปรับไม่เกิน  1,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  มาตรา  55  ผู้ใดขัดขวางเจ้าพนักงานปฏิบัติฯ โทษจำคุก  1  เดือน  หรือปรับไม่เกิน  1,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  มาตรา  56  ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน  โทษจำคุก  1  เดือน  หรือปรับไม่เกิน  1,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  และมาตรา  57  “พร้อมใจเสียภาษี  เพื่อท้องที่พัฒนา
        เริ่มแต่มกรา         พ้นเมษาค่าปรับแพง”

  1. ภาษีป้าย

        ภาษีป้าย  คือ  ป้ายแสดงชื่อ  ยี่ห้อ  หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าอื่น  เพื่อหารายได้
     ป้ายที่ต้องเสียภาษี  มีลักษณะดังนี้

  1. ต้องเป็นป้ายแสดงชื่อ  ยี่ห้อ  หรือเครื่องหมาย
  2. ต้องใช้ในการประกอบการค้า  หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้  หรือโฆษณาการค้า  หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้
  3. ป้ายนั้นไม่ว่าจะแสดง  หรือโฆษณาไว้วัตถุใดๆ  ด้วยอักษร  ภาพ  หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก  จารึก  หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

อัตราการชำระภาษีป้าย
      1.  ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน  ให้คิดอัตรา  3  บาท  ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
      2.  ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพ  และหรือเครื่องหมายอื่น   ให้คิดอัตรา  20  บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตรา
      3.  ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย  ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่มีกับป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ  ให้คิดอัตรา  40  บาท  ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
      4.  ป้าย  ตาม (1) (2)  หรือ(3)  เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว
                -  ถ้าเศษเกินกึ่งหนึ่งของห้าร้อยตารางเซนติเมตร  ให้นับเป็นห้าร้อยตารางเซนติเมตร
                -  ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ  200  บาท  ให้เสียภาษีป้ายละ  200   บาท

ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
     1.  พนักงานเจ้าหน้าที่จะประกาศให้เจ้าของป้ายมายื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีป้าย  ( ภ.ป.1 )
      2.   ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย  ภายในเดือน  มีนาคม  ของทุกปี
      3.   กรณีติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมให้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีป้ายภายใน  15  วัน  นับตั้งแต่วันที่ติดตั้ง  หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข
      4.  กรณีโอนป้าย  ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนป้ายภายใน  30  วัน   นับแต่วันที่ได้รับโอน
      5.  พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจและประเมินภาษีป้าย
      6.  เจ้าของป้ายจะต้องไปชำระภาษีภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
                ผู้ใดหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย  มีความผิดตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย  พ.ศ. 2510  ตามมาตรา  34  ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ  โทษจำคุกไม่เกิน  1  ปี  หรือปรับตั้งแต่  5,000 – 50,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  มาตรา  35  ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโทษปรับ  5,000 – 50,000  บาท  มาตรา  36   ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายโทษปรับ  1,000 – 10,000  บาท  มาตรา  37  ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่  โทษจำคุก  6  เดือน  หรือปรับตั้งแต่  1,000 – 20,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  และมาตรา  38    

ข้อแนะนำ
ให้ท่านรีบไปดำเนินการชำระเสียภาษีต่างๆ  ภายในกำหนด  จึงงดเว้นค่าปรับการชำระภาษี
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ภาษีป้าย  ภายในเดือน  มีนาคม  ของทุกปี
ภาษีบำรุงท้องที่  ภายในเดือน  เมษายน  ของทุกปีชำระภาษีได้ที่
ส่วนการคลัง
องค์การบริหารส่วนตำบลหันโจด

  1. หมู่ที่  3  ตำบลหันโจดอำเภอหนองสองห้อง  จังหวัดขอนแก่น
    (ทุกวันในเวลาราชการ)

************************************

แผนปฏิบัติการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ประจำปี  2549
องค์การบริหารส่วนตำบลหันโจด
อำเภอหนองสองห้อง  จังหวัดขอนแก่น
*********************

แยกปฏิบัติตามห้วงเวลา

กันยายน                                -     คัดลอกบัญชีผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีในปีงบประมาณจัดเก็บ  จาก  ผ.ท.5

  1. ประชาสัมพันธ์เรื่องการเสียภาษี

ตุลาคม                                   -      สำรวจ  เตรียมแบบพิมพ์ต่าง  ๆ
ธันวาคม                               -      ออกหนังสือเวียนแจ้งผู้เสียภาษีให้ทราบล่วงหน้า
มกราคม – กุมภาพันธ์         -      รับแบบ  ภ.ร.ด.2  (ลงทะเบียนเลขที่รับ), ตรวจสอบความถูกต้อง

  1. ประเมินค่ารายปี / แจ้งผลการระเมิน / รับชำระภาษี

มีนาคม – พฤษภาคม           -      ประเมินค่ารายปี และแจ้งผลการประเมินแบบ  ภ.ร.ด.8   (ลงทะเบียน)

  1. รับคำร้องอุทธรณ์ตามแบบ  ภ.ร.ด.9  (ลงทะเบียนเลขที่รับ) / พิจารณาคำร้อง

/ แจ้งผลการชี้ขาด

  1. รับชำระค่าภาษี  (ภายใน  30 วัน  นับแต่วันที่ได้รับผลการประเมิน)
  2. ออกหนังสือแจ้งเตือนกรณีผู้ไม่ยื่นแบบ  ภ.ร.ด.2  ภายในกำหนด  (2ครั้ง)
  3. แจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้ไม่มายื่นแบบ  ภ.ร.ด.2  ภายในกำหนด (ส่งให้นิติกร) ตามมาตรา  46  หรือ มาตรา  48  (ข)

มิถุนายน – สิงหาคม           -      สำรวจบัญชีผู้ค้างชำระภาษีปีปัจจุบัน

  1. รับชำระภาษี  กรณีผู้เสียภาษีชำระเกินกำหนด  (มีเงินเพิ่ม)
  2. มีหนังสือแจ้งเตือนกรณีผู้ไม่มาชำระภาษีภายในกำหนด   (  3  ครั้ง)
  3. ออกตรวจสอบ / ไปพบผู้ค้างชำระภาษี

กันยายน                                -      มีหนังสือแจ้งเตือนว่าจะดำเนินการยึดอายัดทรัพย์สิน  (นิติกร)  ตาม  มาตรา 44

  1. รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม

ตุลาคม                                   -      มีคำสั่งยึด  อายัด  เพื่อขายทอดตลาดทรัพย์สิน

ปฏิบัติตามขั้นตอนของกิจการรม

ขั้นเตรียมการ

1.    ตรวจสอบและคัดเลือกรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์เสียภาษี                                            กันยายน
       ในปีงบประมาณ  (บัญชีลูกหนี้ตามเกณฑ์ค้างรับ)
2.     สำรวจและจัดเตรียมแบบพิมพ์ต่าง  ๆ                                                                     ตุลาคม
3.     ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนและวิธีการเสียภาษี                                                          พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
4.     จัดทำหนังสือให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบเพื่อยื่นแบบ                                          ก่อนธันวาคม
         แสดงรายการทรัพย์สิน    และควรออกหนังสือเวียนแจ้งให้
         ผู้เสียภาษีทราบล่วงหน้า

ขั้นดำเนินการจัดเก็บ

1.      รับแบบแสดงรายการทรัพย์สิน   (ภ.ร.ด. 2 )  และ                               มกราคม – กุมภาพันธ์
          ตรวจสอบความถูกต้อง
2.      ประเมินค่ารายปีและกำหนดค่าภาษี / มีหนังสือแจ้งผล                     มกราคม – เมษายน
          การประเมินภาษี  (ภ.ร.ด8)

กรณีปกติ

            - รับชำระภาษี  (ชำระภาษีในทันทีหรือชำระภาษี                       มกราคม – พฤษภาคม
                ภายในกำหนดเวลา)

กรณีพิเศษ

  1. ชำระภาษีเกินเวลาที่กำหนด

(เกิน  30  วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน)
                -   รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม                                                              กุมภาพันธ์ – กันยายน

    • ผู้รับประเมินไม่พอใจในผลการประเมินภาษี
    • รับคำร้องอุทธรณ์ขอให้ประเมินค่าภาษีใหม่               มกราคม -  พฤษภาคม
    • ออกหมายเรียกให้มาชี้แจงหรือออกตรวจสถานที่      กุมภาพันธ์  -  มิถุนายน
    • ชี้ขาดและแจ้งผลให้ผู้ร้องทราบ                                     มีนาคม  -  กรกฎาคม

    4.    รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม                                                 มีนาคม  -   กันยายน
    5.     ปฏิบัติตามคำสั่งศาล  (กรณีนำคดีไปสู่ศาล)

    1. ขั้นประเมินผลและเร่งรัดการจัดเก็บ
    1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน  (ภ.ร.ด.2) ภายในกำหนดเวลา

    -   เมื่อใกล้จะสิ้นสุดเวลาที่ประกาศกำหนดให้ยื่นแบบ                               กุมภาพันธ์
        (ภ.ร.ด.2)ให้มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ที่ยังไม่ยื่นแบบ
    -   แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง  (อำเภอ)                           มีนาคม  -  พฤษภาคม
         เพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ไม่ยื่นแบบ
    -   รับชำระภาษี                                                                                                    เมษายน  -  กันยายน
    -   ประสานกับอำเภอขอทราบผลคดีเป็นระยะ  ๆ                                         มีนาคม  -  กันยายน
    หมายเหตุ   ในปีต่อไปหากไม่ยื่นแบบอีก  ให้ดำเนินการตาม มาตรา  48 (ข)
           2.  ยื่นแบบ  ภ.ร.ด .2 แล้วแต่ไม่ยอมชำระภาษี
                    -   มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ที่ยังไม่ชำระภาษี
                                    ครั้งที่   1                                                                                                พฤษภาคม
                                    ครั้งที่   2                                                                                                มิถุนายน  (ดำเนินการให้สอด 
                                                           คล้องกับการแจ้งผลการประเมิน   
                                                          ภาษี)
                                    ครั้งที่   3                                                                                                กรกฎาคม
                    -   รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม                                                                              พฤษภาคม  -  กันยายน

    แยกปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

    เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้

    1. สำรวจ  เตรียมแบบพิมพ์ต่าง  ๆ
    2. ตรวจสอบและจัดทำบัญชีผู้อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีในปีงบประมาณหน้า
    3. รับแบบ  ภ.ร.ด.2  (ลงทะเบียน)
    4. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารชั้นต้น
    5. รับชำระค่าภาษี / ส่งเงินรายได้ประจำวัน

    หัวหน้างานผลประโยชน์,หัวหน้าฝ่ายพัฒนารายได้  (เทศบาล)
    หัวหน้าส่วนการคลัง (สุขาภิบาล) หัวหน้างานจัดเก็บรายได้  (อบต.)

    1. ออกหนังสือเวียนแจ้งผู้เสียภาษีทราบล่วงหน้า
    2. สำรวจผู้มายื่นแบบ  ภ.ร.ด.2  ภายในกำหนด
    3. ประสานกับอำเภอขอทราบผลคดีทุกระยะ

    ผู้อำนวยการกองคลัง  (เทศบาล)  สมุห์บัญชี (สุขาภิบาล)/หัวหน้าส่วนการคลัง (อบต.)

    1. ตรวจสอบความถูกต้องของรายการตามแบบ  ภ.ร.ด.2 และเอกสารประกอบ
    2. แจ้งผลการประเมินตามแบบ ภ.ร.ด.8 (ลงทะเบียน)
    3. ออกตรวจสอบ / ไปพบผู้ค้างชำระภาษี
    4. แจ้งผลการชี้ขาดกรณีอุทธรณ์ภาษี

    ปลัดเทศบาล/ปลัดสุขาภิบาล/ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

    1. ประชารสัมพันธ์เรื่องการเสียภาษี
    2. ตรวจสอบความถูกต้องของแบบ  ภ.ร.ด.2
    3. ประเมินค่ารายปีตามหลักเกณฑ์กำหนดโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงประกอบ
    4. ออกหนังสือแจ้งเตือนกรณีไม่ยื่นแบบ  ภ.ร.ด.2  ภายในกำหนด
    5. ออกหนังสือเตือนผู้ไม่มาชำระภาษีภายในกำหนด
    6. ตรวจสอบ  ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานจัดเก็บรายได้

    คณะเทศมนตรี/คณะกรรมการสุขาภิบาล/คณะกรรมการบริหาร  อบต.

    1. พิจารณาคำร้องอุทธรณ์ภาษี (พิจารณาการประเมินใหม่)   
    2. ลงมติชี้ขาดตามคำร้อง  และแจ้งผลการชี้ขาดให้ผู้ร้องทราบ
    3. มอบอำนาจแจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้ไม่มายื่นแบบ  ภ.ร.ด.2  ภายในกำหนด
    4. มีคำสั่งยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สิน

    นิติกร  (เทศบาล)/(อบต.)

    1. แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง (อำเภอ) เพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ไม่มายื่นแบบ ภ.ร.ด.2

    ภายในกำหนด

    1. ประสานกับอำเภอขอทราบผลคดีเป็นระยะ ๆ

     

    ***************************************

    ปฏิบัติตามขั้นตอนของกิจกรรม

    ขั้นเตรียมการ

    1.   ตรวจสอบและคัดลอกรายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีในปีงบประมาณ                       กันยายน
           (บัญชีลูกหนี้ตามเกณฑ์ค้างรับ)
    2.   สำรวจและจัดเตรียมแบบพิมพ์ต่าง ๆ                                                                                ตุลาคม
    3.   ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนและวิธีการเสียภาษี                                                                    พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
    4.   จัดทำหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
           (ภ.ป.1)                                                                                                                                  ธันวาคม

    ขั้นตอนดำเนินการ

    1. กรณีมีป้ายก่อนเดือนมีนาคม

    -   รับแบบ ภ.ป.1  และตรวจสอบความถูกต้อง                                                               มกราคม-มีนาคม
    -   ประเมินค่าภาษีและมีหนังสือแจ้งผลการประเมิน (ภ.ป.3)                                    มกราคม-เมษายน
            2.   กรณีมีป้ายหลังเดือนมีนาคม                                                                                               เมษายน – ธันวาคม
                    -    รับแบบ ภ.ป.1 และตรวจสอบความถูกต้อง                                                               เมษายน – ธันวาคม
                    -    ประเมินค่าภาษีและมีหนังสือแจ้งผลการประเมิน (ภ.ป.3)
             3.   การชำระค่าภาษี
                    กรณีปกติ
                    -   รับชำระภาษี  (ชำระในวันยื่นแบบหรือชำระภาษีภายในกำหนดเวลา)             มกราคม-พฤษภาคม
                    กรณีพิเศษ

    1. ชำระภาษีเกินเวลาที่กำหนด (เกิน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน)
    2. รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม
    3. ผู้รับประเมินไม่พอใจในผลการประเมินภาษี

    1.   รับคำร้องอุทธรณ์ขอให้ประเมินค่าภาษีใหม่ (แบบ ภ.ป.4)          กุมภาพันธ์-พฤษภาคม
    2.   ออกหมายเรียกให้มาชี้แจงหรือออกตรวจสถานที่                          กุมภาพันธ์-มิถุนายน
    3.   ชี้ขาดและแจ้งผลให้ผู้ร้องทราบ (แบบ ภ.ป.5)                                มีนาคม – กรกฎาคม
    4.   รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม                                                                    มีนาคม – กันยายน
    5.   ปฏิบัติตามคำสั่งศาล (กรณีนำคดีไปสู่ศาล)

     

    1. ขั้นประเมินผลและเร่งรัดการจัดเก็บ
    2. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ป.1) ภายในกำหนดเวลา

    -  มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ที่ยังไม่ยื่นแบบ                                                                            มีนาคม
        (เมื่อใกล้จะสิ้นสุดเวลาที่ประกาศกำหนดให้ยื่นแบบ)
    -   มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ที่ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา
                    -   ครั้งที่ 1                                                                                                              เมษายน
                    -   ครั้งที่ 2                                                                                                              พฤษภาคม
    -   แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง (อำเภอ)                                            เมษายน-กันยายน
        เพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ไม่ยื่นแบบ
    -   รับชำระภาษี  และเงินเพิ่มตาม มาตรา  25                                                  เมษายน-กันยายน

    1. ยื่นแบบ  ภ.ป. 1 แล้ว  แต่ไม่ยอมชำระภาษีภายในกำหนดเวลา

    -   มีหนังสือแจ้งเตือนผู้ที่ยังไม่ชำระภาษี
                    -   ครั้งที่  1                                                                                                             พฤษภาคม
                    -   ครั้งที่  2                                                                                                             มิถุนายน
                    -   ครั้งที่  3                                                                                                             กรกฎาคม
    -   รับชำระภาษีและเงินเพิ่ม                              พฤษภาคม-กันยายน
    -    ดำเนินการบังคับจัดเก็บภาษี (ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน)
          กรณีหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระภาษี                                                                 ตุลาคมเป็นต้นไป