The FireBall-The Meteor

   อุกกาบาต(meteorite) เกิดจากวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ผ่านบรรยากาศโลกระยะสูงราว120กม.และเสียดสีกับบรรยากาศทำให้เกิดความร้อน มากพอที่จะทำให้วัตถุ นั้นกลายเป็นไอสว่างวาบคืนเดือนมืดท้องฟ้ากระจ่างเราสามารถมองเห็นอุกกาบาตเฉลี่ย 5-6 ชิ้น มักจะเกิดหลังเที่ยงคืน

    สะเก็ดดาวหรือดาวตก มองเห็นวิ่งผ่านชั้นบรรยากาศของโลกเป็นแสงสว่างแล้วก็หายไป สะเก็ดดาวตกอาจเป็นวัตถุแข็งๆ มีขนาดไม่โตกว่าเม็ดทรายหรืออาจมีขนาดเท่าๆกับเม็ดถั่วลิสงเท่านั้น แสงสว่างเกิดขึ้นมาเพราะการเสียดสีระหว่างอะตอมของสะเก็ดดาวตก กับโมเลกุลของอากาศของโลก สะเก็ดดาวตกเช่นนั้นมองเห็นมีแสงสว่างสะเก็ดดาวตกเช่นนั้นจะหายไปใน บรรยากาศของโลกในระดับความสูงประมาณ 60 ไมล์(95 กิโลเมตร) เทห์แข็งๆของสะเก็ดดาวบางครั้งมีมวลเพียงไม่กี่ออนซ์ จนถึงมีนำหนักหลายตันอาจหล่นมาถึงผิวโลกเรียกว่า อุกกาบาต สะเก็ดดาวบางครั้งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงไม่กี่ไมครอน วิ่งผ่านบรรยากาศและหล่นมาถึงผิวโลก เหลือเป็นอนุภาคเล็กๆ เมื่อโคจรผ่านสะเก็ดดาว ซึ่งเคลื่อนไหว ในวงโคจรรอบๆดวงอาทิตย์ จะมีจำนวนดาวตก จำนวนมากวิ่งผ่านเข้ามาในบรรยากาศของโลกชั่วโมง หนึ่งหลายสิบครั้ง บางครั้งกลุ่มสะเก็ดดาวปรากฏตัวอยู่บนท้องฟ้า เป็นแผ่นหนาเหมือนหิมะกลุ่มละอองสะเก็ดดาวในวงโคจรบางครั้งมีลักษณะเหมือนกลุ่มละออง สะเก็ดดาวในดาวหาง เรื่องนี้เป็นหลักฐานแสดง ให้เห็นว่าดาวหางและกลุ่มสะเก็ดดาวมีความเกี่ยวพันกันนักดาราศาสตร์มีความเห็นว่าสสาร ของสะเก็ดดาว คือส่วนที่หลงเหลือจากการสลายตัวของดาวหางบางดวง

        ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอุกกาบาต เช่น
ฝนอุกกาบาต(meteor showers) คือขณะที่โลกโคจรไปพบอุกกาบาตที่มาด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่อุกกาบาตนี้จะตกลงมาในเวลาอันรวดเร็ว เป็นจำนวนมาก
กลุ่มอุกกาบาต(meteor warm) คืออุกกาบาตซึ่งโคจรเป็นกลุ่มมีวงโคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ไม่หนาแน่น ประมาณ 14 ชิ้น/2ล้านลูกบาศก์ไมล์
ธารอุกกาบาต(meteor steam) คือกลุ่มอุกกาบาตที่แผ่กระจายออกมาตามความโค้งวงทางโคจรทำให้ดูเหมือนว่าอุกกาบาตนั้นเคลื่อนที่ในอวกาศ

  ดาวหาง   

ดาวหางเป็นเทหวัตถุมีมวลน้อยมาก หมุนอยู่รอบดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับสมาชิกอื่นๆในระบบสุริยจักรวาลของเรา รูปร่างและความสว่างของดาวหางแต่ละดวงมีความแตกต่างกันออกไปตามระยะทางที่มันอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ ดาวหางดวงที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางไกลๆจะมีความสว่างน้อยมาก มองเห็นคล้ายๆว่าเป็นดวงดาวดวงหนึ่งเท่านั้น ส่วนประกอบสำคัญของดาวหางคือ เทหวัตถุขนาดเล็กๆอยู่ในบริเวณตอนหัวของมันเรียกว่า นิวเคลียส

  ปรากฏการณ์ของดาวหาง

ในอดีตมนุษย์มักจะมีความหวาดกลัวปรากฏการณ์ของดาวหางทั้งนี้เพราะมองเห็นว่าดาวหางปรากฏตัวขึ้นมาอย่าง กะทันหัน และมีแสงสุกใสมีเส้นทางโคจรลึกลับและบางครั้งดาวหางก็เปลี่ยนแปลงรูปร่างของมันไปอย่างรวดเร็ว

การโคจรของดาวหาง

วงโคจรของมันจะมีรูปทรงกรวยโดยมีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง ชนิดของรูปทรงกรวยขึ้นอยู่กับลักษณะ การโคจรไม่เป็นวงกลมของมันคือ 2 และขึ้นอยู่กับความเร็วของดาวหางที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ใกล้ที่สุดคือระยะทาง เส้นทางโคจรของดาวหางมีความซับซ้อนมากกว่าที่กล่าวมาแล้วเพราะว่าดาวหางจะถูกรบกวนขณะเดินทางจากแรงดึงดูด ของดาวเคราะห์ ซึ่งบางครั้งมีผลกระทบต่อเส้นทางโคจรของมันเพียงเล็กน้อย แต่บางครั้งก็จะมีผลกระทบต่อเส้นทางเดินของดาวหาง ดวงนั้นเป็นอย่างมาก ดาวหางยิ่งเดินทางผ่านดาวเคราะห์มากเท่าใด ดาวหางดวงนั้นย่อมได้รัยอิทธิพลจากแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ ดวงนั้นมากเท่านั้น ยิ่งดาวพฤหัสบดีซึ่งมีมวลมากส่งผลกระทบต่อวงโคจรของดาวหางมาก

ดาวหางเฮล-บอพพ์ ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง