โรควัวบ้า:สาเหตุ
โรควัวบ้าหรือบีเอสอี BSE (Bovine Sponigform Encephalopathy) ซึ่งกำลังเป็นข่าวที่สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงวัวในประเทศอังกฤษจนทำให้รัฐบาล อังกฤษต้องประกาศทำลายวัวจำนวนหลายล้านตัวใน ประเทศของตนลงนั้น ความจริงได้มีรายงานการพบโรคนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ในประเทศอังกฤษและประเทศอื่น โดยมีวัวเป็นโรคนี้ประมาณ 158,000 ตัว วัวที่เป็นโรคจะมีอาการทางระบบประสาท น้ำหนักตัวลด เดินโซเซ ปริมาณ น้ำนมลดลงและตายในที่สุด การตรวจวินิจฉัยโรคทำได้วิธีเดียวคือการผ่าดูเนื้อ สมอง วัวที่ตายแล้ว สำหรับวัวที่ยังมีชีวิตอยู่ยังไม่มีวิธีการตรวจอื่นๆ
เชื้อสาเหตุของโรควัวบ้าหรือ บีเอสอี เป็นเชื้อโรคชนิดหนึ่งเรียกว่า พริออน (PRION) ไม่ใช่ไวรัสดังที่รู้จักกันพริออนเป็นเชื้อโรคติดต่อได้มีคุณสมบัติเป็นโปรตีนที่มีความสามารถ ในการเพิ่มจำนวนได้ด้วยตัวเองอย่างช้าๆ และก่อโรคได้โดยเฉพาะโรคทางสมอง สมมุติฐานเกี่ยวกับการก่อโรคของพริออน คือเมื่อพริออนติดเชื้อเข้าสู่สมอง และสัมผัสกับผิวของเซลล์สมอง จะไปทำให้โครงสร้างการจัดเรียงตัวของโปรตีนของเซลล์สมอง ผิดปกติไป ทำให้เกิดความผิดปกติในสมอง โรคที่เกิดจากพริออน นอกจากโรควัวบ้าแล้วยังมี โรคสเครปี่ (SCRAPIE) ซึ่งเป็นโรคสมองฝ่อในแพะ แกะ รวมทั้งโรคสมองฝ่อในมนุษย์ หรือ ซีเจดี (CJD ย่อมาจาก CREUTZFELD-JAKOB-DISEASE)
โรคสเครปี่และโรคซีเจดีมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากและมีคุณสมบัติทนต่อความร้อนสูงคือ จะถูกทำลายลงเพียงบาง ส่วนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส การจะทำลายเชื้อพริออนต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 120 องศาเซลเซียส หรือ การเผาทำลาย นอกจากนี้เชื้อพริออนยังทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างและสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อทั่วไปอีกด้วย
โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อสารมวลชน ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ Mad Cow Disease : Causative agent


--------------------------------------------------------------------------------

โรควัวบ้า : การติดต่อสู่มนุษย์
การที่มีการตื่นกลัวกันว่าโรควัวบ้าหรือ BSE สามารถก่อโรคสมองฝ่อหรือ CJD ในมนุษย์เริ่มต้นมาจากข้อสันนิษฐานของคณะกรรมการที่ดูแลเกี่ยวกับโรคสมองฝ่อของ ประเทศอังกฤษ ได้สืบสวนหาสาเหตุการโรคสมองฝ่อ CJD แบบผิดปกติที่เกิดกับผู้ป่วยจำนวน 10 ราย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ผู้ป่วย CJD ที่พบ มีอายุน้อยกว่าเดิมประมาณ 2 เท่าคือใช้เวลา 1 ปี (เดิม 6 เดือน) จากการสืบสวนหาสาเหตุการเกิดโรค CJD แบบผิดปกติที่เกิดขึ้นคณะกรรมการสรุปว่าอาจจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยทั้ง10รายกินเนื้อวัวที่มี สมองหรือไขสันหลัง จากวัวที่เป็นโรควัวบ้าปะปนอยู่ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะมีการห้าม ใช้อาหารสัตว์ที่ผสมโปรตีนจากเนื้อสัตว์และ กระดูกป่นในประเทศอังกฤษ
ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนว่าเชื้อBSEสามารถติดต่อสู่มนุษย์ได้และเชื้อ โรควัวบ้านอก จากจะอยู่ในสมองและไขสันหลังวัวที่เป็นโรคแล้ว จะยังปะปนอยู่ในส่วนของเนื้อวัวหรือในน้ำนมด้วยหรือเปล่า ดังนั้น จึงพอสันนิษฐานได้แต่เพียงว่าผู้ที่ติดเชื้อน่าจะเป็นพวกที่บริโภคเนื้อวัวที่ปนด้วยสมองและไขสัน หลังวัวเป็นโรคได้มีการวิจัยเกี่ยวกับโรควัวบ้าในประเทศอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และจะสรุปผลการทดลองได้ในต้นปีพ.ศ.2540ซึ่งวัวที่ใช้ในการทดลองจะถูกฆ่าเพื่อตรวจดูเนื้อ สมองของมัน ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 เกี่ยวกับการทดลองในหนูโดยใส่สารพันธุกรรมของอะไรเข้าไปให้สร้างโปรตีนพริออนของ มนุษย์ในหนู จากนั้นทดลองฉีดเชื้อ CJD เข้าไปพบว่าหนูจะเกิดโรค CJD ขึ้นมาได ้แต่ไม่เกิดความผิดปกติในโปรตีนพริออน ส่วนที่เป็นของมนุษย์ จากการทดลองนี้ทำให้ทราบว่า เชื้อวัวบ้าหรือ BSE อาจจะไม่ก่อโรคในมนุษย์ อย่างไรก็ดีคณะนักวิจัยได้ทดลองเพิ่มเติม โดยคราวนี้ใช้หนูที่ใส่สารพันธุกรรมที่สร้าง เฉพาะโปรตีนพริออนของมนุษย์ไม่มีโปรตีน พริออนของหนู และทำการฉีดเชื้อ BSE เข้าไป ขณะนี้หนูชุดนี้ยังไม่แสดงอาการโรคหลังจากฉีดเชื้อเข้าไปแล้วประมาณ 1 ปี การทดลองนี้คงต้องรอสังเกตผลต่อไปอีกประมาณ 2 ปี ถ้าหนูไม่แก่ตายไปก่อนก็คงจะ สรุปผลการวิจัยได้
โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อสารมวลชน ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ Mad Cow Disease : Transmission


--------------------------------------------------------------------------------

โรควัวบ้า : มาตรการป้องกัน
แม้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดว่าเชื้อโรควัวบ้าหรือ BSE จะก่อโรคสมองฝ่อ CJD ในมนุษย์แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าเชื้อBSEจะปลอดภัยต่อมนุษย์ดังนั้นรัฐบาลอังกฤษจึงได้ออกมาตรการ การควบคุมโรควัวบ้า ในประเทศคือ
1. ฆ่าวัวทุกตัวที่เป็นโรควัวบ้า
2. ห้ามใช้อาหารสัตว์ที่ประกอบด้วยโปรตีน จากสัตว์เช่น จากเนื้อแพะแกะวัวหรือกระดูก
ป่นจากสัตว์อื่น 3.เผาทำลายซากวัวที่เป็นโรค
อย่างไรก็ดีมาตรการเหล่านี้ก็อาจ สายเกินไปเมื่อเกิดความตื่นกลัวของประชากรทั่วโลกที่ทราบข่าว ทำให้มีการงดการบริโภคเนื้อวัวจากอังกฤษจนทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องจำใจฆ่าวัวจำนวนหลายล้านตัว ในประเทศลง ทั้งที่วัวจำนวนมากไม่ได้เป็นโรควัวบ้า ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจใดๆ ที่จะพิสูจน์ว่าวัวตัวนั้นติดเชื้อ BSE เข้า ไปแล้วหรือยัง เพราะระยะฟักตัวของโรคในวัวนานมากนั่นเอง (2-8 ปี)
ผลจากการห้ามใช้อาหารเลี้ยงวัวที่ประกอบด้วยโปรตีนจากเนื้อสัตว์อื่นตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 เป็นต้นมา ทำให้อัตราการพบโรควัวบ้าลดลง เรื่อยๆ ทุกปี ปีละประมาณ 30-40% ทำให้เป็นการยืนยันข้อสมมุติฐานที่ว่า โรควัวบ้าติดจากอาหารเลี้ยงวัวที่ประกอบด้วยโปรตีน จากเนื้อสัตว์อื่น ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นการฝืนธรรมชาติ เนื่องจากวัวเป็นสัตว์กินพืชแต่ไปบังคับให้มันกินเนื้อสัตว์จนเกิดโรคร้ายขึ้นดังนั้นถ้ามีการ ควบคุมการใช้อาหาร สัตว์อย่างเข้มงวดน่าจะกำจัดโรควัวบ้าให้หมดสิ้นไปได้
โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อสารมวลชน ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อภาษาอังกฤษ Mad Caw Disease : Protection


อ.ถวิล หินวิเศษ

น้องมายด์ ทายาทตัวน้อยๆของหินวิเศษฟาร์ม
Contact us@Hinvisesfarm 225 ม.8 บ.ขามป้อม ต.ขามป้อม อ.พระยืน จ.ขอนแก่น 40320 โทร.06-7237962