วิธีการสั่งซื้อ/ชำระเงิน หน้าร้านโฮลิสติก ร้านหนังสือ สั่งสินค้า สั่งหนังสือ

สาระมาฝาก

โรคอื่น>>

ตาพร่า ตามัว

สาเหตุของตาพร่า ตามัว วิธีการรักษาและป้องกัน
  1. ต้อเนื้อ เกิดจากถูกแสงแดด ลม ฝุ่น และความร้อนนาน ๆ ทำให้เยื่อบุตาเสื่อม และหนาตัวขึ้น เห็นเป็นแผ่นเนื้อสามเหลี่ยมสีแดง ๆ เหลือง ๆ ที่บริเวณตาขาวชิดตาดำ ส่วนมากเกิดที่ด้านหัวตา (ส่วนที่ใกล้จมูก) เมื่อมีการอักเสบจะทำให้ดูแดงขึ้น มีอาการเคืองตา น้ำตาไหล ปกติไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นนานต้อเนื้ออาจยื่นเข้าไปถึงกลางตาดำ ทำให้บดบังการมองเห็น เกิดตาพร่ามัวได้

    การรักษา  :  ถ้าเป็นมากแล้วก็ควรผ่าตัดลอกต้อเนื้อออก

    การป้อง  :  สวมแว่นป้องกันลมปะทะสายตาในที่ลมแรง หรือเคลื่อนที่ปะทะลม

  2. ต้อกระจก คือการที่เลนส์ตาหรือแก้วตาขุ่นขาวขึ้นจากปกติ ที่มีลักษระโปร่งใสแบบกระจกทำให้ทึบแสง แสงผ่านเข้าสู่ลูกตาไปที่จอตาได้น้อยลงทำให้ตาพร่ามัว ส่วนใหญ่เป็นในคนสูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เพราะจะเป็นภาวะเสื่อมของเลนส์ตาตามวัยจะมีอาการตามัวเหมือนมีหมอกบังมองที่มืดชัดกว่าที่สว่าง

    การรักษา : ถ้าเป็นน้อย ๆ ก็ยังไม่ต้องทำอะไร รอจนกว่าต้อสุก แล้วจึงผ่าต้อ เอาเลนส์ตาที่ขุ่นออก ใส่เลนส์เทียมเข้าไปแทน ก็จะทำให้มองเห็นได้ดี

    การป้องกัน : วิตามินซี และอี มีบทบาทสำคัญเพราะเป็นส่วนที่คงความยืดหยุ่นใสของเลนส์ การขาดวิตามินซี และอี ย่อมทำให้เลนส์ตาเลื่อมสภาพก่อนอายุขัย

  3. ตาบอดไก่ เกิดจากการขาดวิตามินเอ ทำให้จอตาเสื่อมมีอาการมัวเฉพาะเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมองเห็นได้เป็นปกติ เป็นไม่รักษาจะทำให้ตาบอดได้

    การป้องกัน : ควรรับประทานวิตามินเอ ซึ่งมีมากในสาหร่ายเกลียวทอง มะละกอ มะเขือเทศ เป็นต้น

  4. ต้อหิน คือภาวะที่มีความดันภายในลูกตาสูงกว่าปกติ สาเหตุเกิดจากน้ำเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำเลี้ยงลูกตาเป็นผลให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าทิ้งไว้ก็จะทำลายประสาทตา ทำให้ตามัวและตาบอดได้

    การรักษา : ให้ยาลดความดันในลูกตา หรือผ่าตัด

  5. ตามัวจากเบาหวาน ถ้าเป็นเบาหวานมานาน และไม่ได้รับการรักษา จะมีโรคแทรกซ้อนได้ เช่น ต้อกระจก ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ซึ่งทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อย ๆ และตาบอดได้
  6. ตามัวจากความดันโลหิตสูง เกิดจากภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดง ภายในลูกตาอย่างช้าๆ ในระยะแรกหลอดเลือดจะตีบ ต่อมาอาจแตกมีเลือดออกที่จอตาทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อย ๆ จนบอดได้
  7. ตามัวจากสายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาคนสูงอายุ

สารอาหารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเลนส์ตา คือ วิตามินซี และวิตามินเอ การได้รับเพียงพอทุกวัน จะช่วยให้เลนส์ตาคงความยืดหยุ่น ปรับแสงได้ดีอันหมายถึง อาการสายตาสั้น สายตายาว เกิดช้าลงไปนั่นเอง และพบว่า ว่านหางจระเข้ก็มีสารอาหารที่บำรุงสายตาอยู่ด้วย สาหร่ายเกลียวทองมีเบต้าแคโรทีน (แหล่งของวิตามินเอ) สูงกว่าแครอทถึง 20 เท่า วิตามินอีก็มีส่วนช่วยให้เลนส์ตายืดหยุ่น ยับยั้งการเสื่อมสลายของเซลล์


Copy right 2000 by Holisticthai.com co., ltd. All right Researve.
บริษัท โฮลิสติก จำกัด 600/479-80 หมู่ 14 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130
โทร.9922138-9 แฟกซ์ 9922140 อีเมล holistic@asiaaccess.net.th