การใหว้ครูและครอบครู

teach1x1.jpg (9209 bytes)
(ครูมนตรี ตราโมท)

การใหว้ครู และครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์
ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี
การใหว้ครูและครอบครูของผู้ศึกษาเครื่องสายและคีตศิลป์ ครูผู้กระทำพิธีจะทำการครอบด้วยฉิ่งที่ศีรษะ และครอบเพียงครั้งเดียว
ส่วนการใหว้ครูและครอบครูสำหรับปี่พาทย์นั้นจะมีพิธีการขั้นตอนละเอียด เนื่องจากผู้เรียนปี่พาทย์จะต้องเรียนเพลงเถา  และเพลงหน้าพาทย์ ดังนั้นการครอบครู จึงมีพิธีการไว้เป็นระดับ ๆ ดังนี้  
pree21x1.jpg (5369 bytes)

ขั้นที่1    การเรียนเบื้องต้น ผู้เรียนจะต้องเรียนเพลงชุดโหมโรงเย็น ที่ขึ้นต้นด้วยเพลงสาธุการ ครูผู้ทำพิธี จะครอบด้วยการจับมือ
ให้ตีฆ้องวงใหญ่  เพลงสาธุการ

ขั้นที่2    ครูผู้ครอบจะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงตระโหมโรง แล้วให้เรียนเพลงต่างๆ ในชุดโหมโรงเย็นจนจบ

ขั้นที่3    ครูผู้ครอบจะทำพิธีด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงตระบองกัน แล้วจึงให้เรียนเพลงต่างๆในชุดโหมโรงกลางวันจนจบ

ขั้นที่4    ครูผู้ครอบ จะครอบด้วยการจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ เพลงบาทสกุณี ต่อจากนั้นในขั้นนี้ ผู้เรียนจะต้องเรียนในเรื่องเพลง
ที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงทุกเพลงจนจบ

ขั้นที่5    ผู้เรียน จะต้องศึกษาเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งนับเป็นเพลงที่อยู่ในระดับสูงสุด และถือเป็นการนำ
ความสิริมงคลมาสู่ผู้ครอบ และผู้ประกอบพิธีครอบในระหว่างประกอบพิธี ทั้งผู้ครอบและผู้ทำการครอบต้องถือเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด
และควรระมัดระวัง และต้องปฏิบัติดังนี้

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการครอบในขั้นนี้

1.     ผู้นั้นจะต้องผ่านการครอบขั้นต้นมาแล้ว 4 ขั้นดังกล่าวแล้ว ซึ่งหมายถึงผู้เข้ารับการครอบต้องได้เรียนเพลงหน้าพาทย์ในแต่ละ
ขั้นตอนของพิธีครอบขั้นต้นครบถ้วนแล้ว
2.     ผู้เข้ารับการครอบในขั้นที่ 5 นี้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี
3.    จะต้องอุปสมบทมาแล้ว 1 พรรษา (หมายถึงได้บวชเรียนแล้ว)
4.     หรือผู้นี้ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
tapol1x1.jpg (18508 bytes)

            เมื่อผ่านพิธีการครอบอย่างถูกต้องสมบูรณ์มีคุณสมบัติดีแล้ว จึงให้ปฏิบัติในการเรียนเพลงองค์พระพิราพดังนี้
                            1.     จุดธูปเทียน และดอกไม้เพื่อบูชาองค์พระพิราพก่อนที่จะเริ่มต้นเพลง
                            2.     ครูผู้กระทำพิธีจับมือศิษย์ให้ตีฆ้องวงใหญ่ทำนองเพลงตอนขึ้นต้นองค์พระ 3 ครั้ง
                            3.     ควรต่อเพลงหรือทบทวนเพลงในวันพฤหัสบดี
            เพื่อความเป็นสิริมงคลของทั้งผู้กระทำพิธี และผู้เข้าร่วมในพิธี จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ และต้องระลึกถึงความศักดิ์สิทธิ์
ของพิธีการโดยเคร่งครัดด้วย