ประวัติและวิวัฒนาการของแคคตัส

                                                  มีข้อสันนิษฐานว่า ต้นตระกูลของแคคตัสนั้นเริ่มเกิดขึ้นในช่วงปลายของยุค Mesozoic และ ช่วงเริ่มต้นของยุค Tertiary ซึ่งเป็นยุคที่พืชมีดอกมีการพัฒนามากที่สุด เดิมต้นแคคตัสมีลักษณะไม่ แตกต่างไปจากพืชอื่นมากนัก เช่น สกุล (genus) Pereskia ซึ่งยังคงมีใบที่แท้จริงและทรงต้นเหมือน พืชอื่นทั่วไป แต่ด้วยเหตุที่ต้องผจญกับสภาพอากาศซึ่งเลวลงตลอดเวลา โดยเฉพาะที่ปริมาณ น้ำฝนลดลงและอากาศร้อนแห้งแล้ง จึงมีผลกระทบต่อพืชในเขตอเมริกาใต้ซึ่งได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง และต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงตัวเองให้สามารถต้านทานต่อช่วงอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้การสะสมน้ำจำนวน มากไว้ที่ลำต้น ทำให้ลำต้นมีลักษณะอวบอ้วนและสั้นลง แคคตัสเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ ในทวีปอเมริกา และมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังแหล่งอื่นๆด้วยวิธีการต่างๆกัน เช่น แคคตัสสกุล Rhipsalis แพร่พันธุ์อยู่ในแอฟริกาและอินเดียโดยนก หรือแคคตัสสกุล Opuntia บางชนิดที่มีผู้นำเข้า ไปปลูกเลี้ยงในยุโรป เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยไม่มีบันทึกแน่ชัดว่ามีการนำแคคตัสเข้ามาปลูกเลี้ยง เมื่อใด แต่น่าจะยาวนานกว่า 30 ปี โดยในสมัยก่อนมีแคคตัสเพียงไม่กี่พันธุ์ เช่นที่เราเรียกกันว่า ใบเสมา (Opuntia) โบตั๋น (Rhipsalis) เป็นต้น

 

ลักษณะโดยทั่วไปของแคคตัส

                         โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักคิดว่า ต้นไม้ที่มีหนามมักเป็นแคคตัส ซึ่งในความเป็นจริง แล้วแคคตัสบางสกุล เช่น Lophophora หรือ Astrophytum บางชนิด (species) ก็ ไม่มีหนาม แต่ถูกจัดว่าเป็นแคคตัส ในขณะที่ไม้อวบน้ำ (succulent) บางสกุล เช่น Euphorbia ก็มีหนาม แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นแคคตัส  หลักพฤษศาสตร์กล่าวว่า พืชที่จัดว่าเป็นแคคตัสหรือจัดอยู่ในวงศ์ (family) Cactaceae นั้นเป็นไม้ยืนต้น และจะต้องมีบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า ตุ่มหนาม บริเวณดังกล่าวนี้จะเป็นที่ที่พบกลุ่มของหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่ และเรียงไปตามแนวซี่หรือสันสูง (rib) ของต้นอย่างเป็นระเบียบ อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้นอีกด้วย ส่วนในไม้อวบน้ำประเภทที่มีหนามนั้น หนามจะขึ้นเดี่ยวๆ กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ไปรอบๆ ต้น และไม่พบบริเวณตุ่มหนามเหมือนใน

แคคตัส อีกทั้งพืชทั้งสองกลุ่มที่มีหนามนั้นอยู่กันคนละวงศ์ สิ่งสำคัญคือ ในกลุ่มของ Cactaceae นั้นดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก และรังไข่จะอยู่ ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนกลุ่ม Euphorbiaceae ดอกจะไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก และรังไข่ จะอยู่เหนือส่วนอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั้นอยู่กันคนละวงศ์ สิ่งสำคัญคือ ในกลุ่มของ

 

ส่วนประกอบของแคคตัส

                        แคคตัสมีรูปร่างแตกต่างกันไปมากมาย เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และที่ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม ขนาดก็ต่างกัน ตั้งแต่ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร สูงไม่ เกิน 5 เซนติเมตร อย่างเช่นสกุล Lophophora จนถึงพวกที่มีลักษณะต้นสูงใหญ่กว่า 24 เมตร เช่น Pachycereus grandis แต่ทั้งนี้แคคตัสก็ยังคงมีส่วนประกอบของต้นที่คล้ายกัน คือ

-          ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ          

-          ผิวลำต้นคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง

-          มีส่วนประกอบที่เรียกว่า ตุ่มหนาม

-          ไม่มีใบที่แท้จริง เพราะใบลดรูปกลายเป็นหนาม เพื่อช่วยลดการคายน้ำของต้น ยกเว้นสกุล Pereskia ซึ่ง ยังคงมีใบแท้ให้เห็นอยู่ และยังช่วยดูดเอาไอน้ำในอากาศมาเก็บไว้

-          ดอกเป็นแบบไม่มีก้านดอก (sessile)

-          ดอกมักเกิดจากตาดอกที่บริเวณตุ่มหนาม

 ยกเว้น            : สกุล Echinocereus ซึ่งมีตาดอกเกิดที่ผิวต้นใกล้เนินหนาม

: สกุล Mammillaria และ Coryphantha ที่มีตาดอกเกิดระหว่างซอกเนินหนาม

                                : สกุล Melocactus, Discocactus และ Cephalocereus สามารถเกิดตาดอกขึ้นที่ส่วนยอดของ ลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นปุยนุ่มสีขาวหรือสีครีม (cephalium) บริเวณนี้พบว่ามีหนามขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มด้วย

 

ลักษณะดอกแบบต่างๆ ของแคคตัส

            สำหรับดอกของแคคตัสนั้นมีลักษณะและรูปร่างต่างกันมากมาย เช่น รูปกรวย (funnel-shaped) รูประฆัง (bell-shaped) รูปจาน (dish-like) หรือมีลักษณะเป็นหลอด (tubular) ลักษณะของดอกแคคตัส

ดอกของแคคตัสมี 2 แบบคือ

1.    ดอกแบบ actinomorphic

2.    ดอกแบบ zygomorphic

                   แต่ส่วนใหญ่ดอกของแคคตัสเป็นแบบ actinomorphic ยกเว้นสกุล Cochemiea, Bolivicereus และ Matucana ซึ่งมีดอกแบบ zygomorphic

                                     

                                สำหรับผลของแคคตัส โดยมากจะมีสีสันสดใสสะดุดตา รูปร่างเป็นทรงกลม ทรงกระบอกหรือรูปไข่ ผิวเป็นมันเรียบ มีขนหรือหนามแข็งปกคลุม หรือมีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนทับกัน แต่บางชนิดก็มีหลายๆ ลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนทับกัน แต่บางชนิดก็มีหลายๆ ลักษณะดังกล่าวปนกัน เช่น มีทั้งเกล็ดและขน เป็นต้น ส่วนเนื้อในผลแคคตัสนั้นนุ่มใสคล้ายวุ้น มีเมล็ดปะปนอยู่ในเนื้อ บางชนิดเมื่อผลแก่เต็มที่ก็จะแห้งไปทั้งผล หากอยากเก็บเมล็ดมาเพาะคงต้องปลิดผลมาตอนผลเริ่มนิ่ม แต่บางพันธุ์ผลแก่จะปริแตกออก ซึ่งทำให้เมล็ดกระเด็นหายไปได้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า หนามของแคคตัสเกิดจากการลดรูปของใบกลายเป็นหนาม เพื่อช่วยลดการคายน้ำ และยังมีหน้าที่ป้องกันอันตรายจากคนและสัตว์ด้วย

หนามและการเกิดหนามของแคคตัส

หนามแคคตัสมี 2 ส่วนคือ

1.    หนามกลาง (central spine)

2.    หนามข้าง (radial spine)

 

                   จำนวนและลักษณะหนามของแคคตัสจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์ เช่น หนามรูปหวีหนามแข็ง หนามอ่อน นุ่มคล้ายขนสัตว์ หรือมีปลายงอคล้ายตะขอ โดยมากหนามกลางมักจะแข็งแรงและยาวกว่าหนามข้าง แคคตัส บางชนิดมีเพียงหนามกลาง บางชนิดมีเพียงหนามข้างและบางชนิดไม่มีหนามเลย สีของหนามมีมากมายแล้วแต่พันธุ์ บางครั้งยังเปลี่ยนแปลงสีไปตามสภาพการปลูกเลี้ยงด้วย

 

การจำแนกพันธุ์แคคตัส 

                        แคคตัสเป็นพืชในวงศ์ CACTACEAE มีอยู่ประมาณ 50-150 สกุล สองพันกว่าชนิด (ซึ่งในที่นี้ แบ่งตามวิธีของ Gordon Rowley ในหนังสือ The lilustrated Encyclopaedia of Succulents)

 

กลุ่ม Pereskia

ยังคงมีใบที่แท้จริงอยู่ แต่ไม่มี glochids เมล็ดมีสีดำ ไม่มี aril

สกุล : Mailhuenia และ Pereskia

 

กลุ่ม Opuntia

มีใบขนาดเล็ก มี glochids เมล็ดมีปีก และมี aril

สกุล : Opuntia, Pereskiopsis, Pterocactus, Quiabentia และ Tacinga

 

กลุ่ม Cereus

          ไม่มีใบหรือ glochids เมล็ดมีสีดำหรือน้ำตาล ต้นเป็นทรงกระบอก มีสันและหนามมากมาย ในส่วนของ โคนดอกด้านนอกอาจมีหนามปกคลุมหรือไม่มีก็ได้

สกุล : Armatocereus, Arrojadoa, Bergerocactus, Brachycereus, Browningia, Calymmanthium . Carnegiea, Cephalocereus, Cereus, Corryocactus, Dendrocereus, Echinocereus, Erdisia, Escontria, Eulychnia, Harrisia, Jasminocereus, Lemaireocereus, Lophocereus, Machaerocereus, Micranthocereus, Monvillea, Myrtillocactus, Neoraimondia, Nyctocereus, Pachycereus, Peniocereous, Pilosocereus, Rathbunia, Stetsonia และ Wilcoxia

 

กลุ่ม Echinopsis

                คล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่ต้นจะมีขนาดเล็กกว่า และผิวด้านนอกของดอกที่มีลักษณะเป็นหลอดมักมีขนหรือเกล็ดสั้น ปกคลุม

สกุล:Acanthocalycium,Arequipa,Arthrocereus,Borzicactus,Cephalocleistocactus,Chamaecereus,Cleistocactus,Danmosa,Echinopsis,Espostoa,Haageocercus,Hildewintera,Lobivia,Matucana, Mila,Oreocereus,Oroya,Rebutia,Sulcorebutia,Thrixanthocereus,Weberbauerocereus และ Weingartia

 

กลุ่ม Hylocereus

คล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่จัดว่าเป็นพืชพวก epiphytic มีระบบรากอากาศ (aerial roots) ต้นมีลักษณะเป็นสัน หนามค่อนข้างอ่อนแอ

สกุล :Aporocactus,Cryptocereus,deamia,disocactus,Epiphyllum,Heliocereus,Hylocereus,Nopalxochia,Pfeiffera,Rhipsalidopsis,Rhipsalis,Schlumbergera,selenicereus,Weberocereus,Wittia และ Zygocactus

 

กลุ่ม Neopoteria          

ทรงต้นค่อนข้างเล็ก มีลักษณะกลมแป้นหรือทรงกระบอก มีลักษณะของสันต้นชัดเจน ด้านโคนของหลอดดอกมีลักษณะเป็นปุยนุ่ม และมีหนาม

สกุล:Austrocactus,Blossfeldia,Eriosyce,Frailea,Neoprteria,Notocactus,Parodia,UebelmanniaและWigginsia

 

กลุ่ม Melocactus

            ลักษณะคล้ายกลุ่ม Neopoteria  บริเวณโคนของหลอดดอกจะมีปุยนุ่มหรือไม่มีก็ได้  แต่จะไม่มีหนามขึ้นปกคลุม ดอกเกิดทางด้านของส่วนที่เรียกว่า cephalium  ยกเว้น สกุล Buiningia  ดอกจะเกิดบริเวณด้านข้างของ cephalium

            สกุล : Buiningia, Discocactus  และ Melocactus

 

กลุ่ม Echinocactus

                          ลักษณะคล้ายกลุ่ม Melocactus แต่ดอกจะเกิดบริเวณกลางต้นทางด้านบนสุดของต้นทางด้านบนสุดของ ต้นและไม่มี cephalium

                สกุล : Ancistrocactus, Ariocarpus, Astrophytum, Aztekium, Cochemiea, Coloradoa, Copiapoa, Coryphantha, Dolichothele, Echinocactus, Echinomastus, Echinofossulocactus , Encephalocarpus, Epithelantha, Escobaria, Ferocactus, Gymnocalycium, Hamatocactus, Homalocephala, Islaya, Leuchtenbergia Lophophora, Mamillopsis, Mammillaria, Neobesseya, Neogomesia, Neolloydia, Ortegocactus, Pediocactus, Pelecyphora, Sclerocactus, Solisia, Strombocactus, Thelocactus, Toumeya และ Utahia

 

ลักษณะนิสัยและความชอบ

                          คนส่วนใหญ่คิดว่าแคคตัสเป็นพืชที่ชอบขึ้นอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอากาศร้อนแห้งแล้งเช่นในทะเลทรายแต่ในความจริงแล้วแคคตัสสามารถเจริญเติบโตได้ในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณชายฝั่งทะเล เช่นสกุล Pachycereus ที่ขึ้นอยู่แถบชายฝั่งทะเลในประเทศเม็กซิโก บริเวณทุ่งหญ้า ในป่าที่มีความชื้นสูง ที่ความสูงระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ซึ่งมีระดับความสูงกว่า 4,000 เมตร อากาศหนาวเย็น อย่างเช่นทางตอนเหนือและตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่อากาศร้อนแห้งแล้ง เช่น ทะเลทราย บริเวณที่ราบ แม้แต่ตามซอกหินไหล่เขาซึ่งมีดินอุดมสมบูรณ์หรือเป็นหินแข็ง นอกจากนี้ยังพบว่ามีแคคตัสหลายชนิดที่เจริญเติบโตได้โดยอาศัยพืชอื่น เช่น แคคตัสพวก Ephithelantha bokei ที่เจริญเติบโตขึ้นจากเมล็ดโดยอาศัยร่มเงาและความชื้นจากพืชในกลุ่ม xerophyte พวก Selaginella lepidophylla (Re-surrection Plant) จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้นย่อมแสดงว่า แคคตัสสามารถเจริญอยู่ได้ในทุกสภาพพื้นที่และสภาพอากาศของโลกเกือบทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะแถบทะเลทรายเท่านั้น อย่างไรก็ตามแคคตัสแต่ละพันธุ์ก็ย่อมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแตกต่างกันไป

 

การปลูกเลี้ยงแคคตัสเครื่องปลูก

             ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า คนส่วนมากมักเข้าใจว่าแคคตัสเป็นพืชทะเลทราย จึงคิดกันว่าทรายเป็นวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับแคคตัส ที่จริงๆ แล้วแคคตัสก็เหมือนกับพืชอื่นทั่วๆ ไป ที่ต้องการวัสดุปลูกที่อุดมสมบูรณ์ หรือเป็นดินผสมที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ โปร่งร่วน น้ำไหลผ่านได้สะดวก ไม่อุ้มน้ำ รักษาความชื้นได้ดี

             สำหรับส่วนผสมของวัสดุปลูกแคคตัสนั้น โดยมากนิยมใช้

             ดินร่วน                              2           ส่วน

             ทรายหยาบ                                  3           ส่วน

             ถ่านป่น                              1           ส่วน

             ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก                 1           ส่วน

             นอกจากนี้อาจผสมกากถั่ว ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก อิฐหัก หรือกระดูกป่นปนเข้าไปด้วยก็ได้ การเลือกภาชนะปลูก ควรเลือกกระถางให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของต้น โดยมากพิจารณาจากเนื้อที่ว่างระหว่างผิวต้นกับขอบกระถาง หากเหลือน้อยกว่า 1 นิ้ว แสดงว่าแคคตัสโตเกินไปสำหรับภาชนะ ควรเปลี่ยนกระถางใหม่ ทั้งนี้ไม่ควรเลือกกระถางที่ใหญ่เกินไป จะทำให้ต้นโตช้า เพราะวัสดุปลูกอุ้มน้ำมาก และบางครั้งรากอาจเน่าตายได้การเปลี่ยนกระถางปลูกทำได้ง่ายๆ โดยใช้ผ้าหรือกระดาษหุ้มรอบต้นเพื่อป้องกันอันตรายจากหนาม และเพื่อไม่ให้ต้นกระทบกระเทือน เคาะกระถางเบาๆ ให้ต้นหลุดออกมา นำต้นไปปลูกในกระถางใหม่ต่อไป

 

น้ำ

             ดูเหมือนว่าแคคตัสเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก แต่ถ้าแคคตัสขาดน้ำ แม้ไม่ตายเพราะในต้นมีน้ำเลี้ยง แต่ก็จะไม่เจริญงอกงาม เพราะน้ำไม่พอ

             วิธีการรดน้ำที่ถูกต้อง คือ รดให้โชกถึง และรดครั้งต่อไปเมื่อดินเริ่มแห้ง ระวังอย่าให้น้ำขังหรือดินแฉะ แคคตัสอาจเน่าหรือเป็นโรคตายได้

             แคคตัสแต่ละพันธุ์มีความต้องการปริมาณน้ำและความถี่ในการรดน้ำต่างกันไป จึงมีวิธีทดสอบง่ายๆ โดยการปักไม้แห้งเล็กๆ ลงไปให้ลึกถึงโคนกระถางในวันที่รดน้ำ จากนั้นคอยสังเกตว่าไม้นั้นยังชื้นน้ำอยู่หรือไม่ หากไม้แห้งเมื่อใดแสดงว่าต้องให้น้ำครั้งต่อไป เมื่อนับระยะเวลาจากวันรดน้ำครั้งแรกจนถึงวันที่ไม้ที่ปักนั้นแห้ง ก็จะได้ช่วงเวลาเหมาะสมในการให้น้ำแก่แคคตัสพันธุ์นั้นๆ

 

 แสง

             ช่วงแสงที่เหมาะสมกับแคคตัสนั้นควรเป็นช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายที่แดดไม่ร้อนเกินไปนัก หากแคคตัสได้รับแสงพอเหมาะ ต้นจะเจริญเติบโตได้ดี เกิดสีสันของหนามและต้นสวยงาม ถ้าได้รับแสงมากเกินไป ต้นจะแห้งเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นต้องให้ร่มเงาหรือพรางแสงให้แก่สถานที่เลี้ยงแคคตัสหรือโรงเรือนบ้าง ให้เหลือแสงประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์

 

อุณหภูมิ

             แคคตัสส่วนใหญ่เป็นพืชเมืองร้อน บางชนิดอยู่ได้ในทะเลทราย สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอากาศค่อนข้างร้อนนั้น เลี้ยงแคคตัสได้ผลดีเกือบทุกฤดู ในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิราว 27-32 องศาเซลเซียสหรือในเดือนเมษายนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียสก็ ไม่มีปัญหาใด ในต่างประเทศช่วงฤดูหนาวแคคตัสจะพักตัว แต่ในเมืองไทยสำหรับต้นที่พึ่งปักชำก็อาจเพียงแค่ออกรากช้าไปบ้าง ต้นที่อยู่ตัวเดียวดีแล้วก็เติบโตช้าลงบ้างเท่านั้น

 

ธาตุอาหารหรือปุ๋ย

                โดยมากนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพราะมีสูตรให้เลือกมากมาย ซึ่งทำให้กำหนดชนิดและปริมาณธาตุอาหารได้ ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักไม่นิยมใช้กันมากนัก เนื่องจากเป็นสาเหตุทำให้แคคตัสเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย เพราะอาจมีเชื้อโรคหรือแมลงปลอมปนมากับปุ๋ยเหล่านั้น และหากนำไปอบผ่านความร้อนก่อน ประสิทธิภาพของธาตุอาหารและปุ๋ยก็ลดลงไปด้วย             ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับแคคตัสก็เหมือนกับปุ๋ยไม้ดอกไม้ประดับทั่วๆ ไป ปริมาณการให้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแคคตัสแต่ละพันธุ์ ขนาดต้น รวมทั้งสภาพแวดล้อมในการปลูก แต่ถ้าให้ปุ๋ยมากเกินไป ต้นอาจเจริญเติบโตผิดปกติ สีต้นเปลี่ยนหรือเป็นสีเขียวมากขึ้น ต้นยืดยาวผิดลักษณะ หรือ

ต้นอ่อนแอเปราะบาง ดังนั้นอาจให้ปุ๋ยทุก 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง โดยระมัดระวังไม่ให้ปุ๋ยเข้มข้นเกินไป

 

โรงเรือนปลูกแคคตัส

                         สิ่งที่สำคัญในการปลูกแคคตัส คือต้องจัดวางกระถางไว้ในที่ป้องกันฝน  มีการะบายถ่ายเทอากาศได้ดี และพรางแสงให้เหลือประมาณ 70- 80 เปอร์เซ็นต์ ถ้าปลูกจำนวนมากควรทำในโรงเรือนโปร่ง  หลังคาสูง ในพื้นที่ที่แสงไม่แรงมากนัก  มุงหลังคาด้วยพลาสติกใส แต่โดยทั่วไปมักนิยมใช้ตาข่ายสีดำพรางแสง (SARAN)

                        ควรทำยกพื้นสำหรับวางแคคตัสให้สูงจากพื้นดินพอประมาณ เพื่อให้เกิดการระบายอากาศโดยรอบและภายใต้กระถาง ส่วนขนาดของโรงเรือนนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่และความพอใจของผู้ปลูก

 

การขยายพันธุ์แคคตัส

 

การขยายพันธุ์แคคตัสสามารถทำได้ 3 วิธี

1.    เพาะเมล็ด

                    โดยใช้เมล็ดเล็กๆ ที่มีเป็นจำนวนมากใบผลที่สุกเต็มที่ สังเกตว่าผลสุกเต็มที่หรือไม่ โดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของผล ผลนุ่มขึ้นหรือแห้ง วิธีการเพาะเมล็ดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งยังให้จำนวนต้นใหม่ในปริมาณมาก

                    เมล็ดที่จะนำมาเพาะนั้นต้องนำมาผึ่งให้แห้งในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเท จากนั้นโรยเมล็ดลงบนวัสดุเพาะที่เป็นส่วนผสมระหว่างทรายและฮิวมัส (humus) หรือปุ๋ยใบไม้ผุ แล้วโรยทรายทับอีกชั้นหนึ่งวัสดุเพาะนี้ต้องอบฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใช้งาน หรือรดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อราเข้มข้นที่ทำให้เจือจางแล้ว จะเพาะในกระบะ ตะกร้า หรือในกระถางก็ได้ ที่สำคัญคือ ต้องรักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่อยู่เสมอ สำหรับอากาศร้อนอย่างบ้านเราควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์คลุมทับ หรือใช้ถุงพลาสติกห่อกระถางเพาะเพื่อช่วยรักษาความชื้นไว้

                    ความชื้นที่สูงเกินไปจะทำให้เมล็ดหรือต้นอ่อนเน่า เช่น โรคเน่าคอดิน (damping-off) ซึ่งมีอาการโคนต้นช้ำเน่าเละ หรือติดเชื้อที่เกิดจากแมลง ชนิดหลังนี้ควรกำจัดด้วยยาฆ่าแมลงประเภทสัมผัสตาย ไม่ควรใช้ประเภทดูดซึม เพราะจะส่งผลถึงต้นเมื่อต้นดูดน้ำและธาตุอาหารเข้าไป ควรเลือกใช้ยาฆ่าแมลงให้เหมาะสมกับชนิดและอายุของต้นแคคตัส

                    สำหรับเปอร์เซ็นต์การงอกและระยะเวลาในการงอกของแคคตัสนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการเพาะด้วย

 

 

2.    การตัดแยก

                   เป็นวิธีง่ายๆ ใช้อุปกรณ์เพียงมีดคมเท่านั้น แคคตัสส่วนใหญ่เมื่อถูกแยกจากต้นแล้วมักเกิดรากได้ง่าย เช่น สกุล Echinopsis, Epiphyllum, Opuntia, Zygocactus (ChristmasCacti) ควรตัดแยกแคคตัสในช่วงฤดูฝน เพราะสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เมื่อตัดต้น กิ่งหรือหัวย่อยออกมาแล้ว ควรผึ่งให้แห้ง หรือจุ่มในผงอลูมิเนียม (aluminium powder) หรือ ฮอร์โมนเร่งราก เช่นNAA, IAA, IBA ทั้งนี้เพื่อช่วยป้องกันโรคด้วย จากนั้นนำลงชำหรือเพาะในวัสดุปลูกที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ระบายน้ำดี แต่ต้องเก็บความชื้นได้สม่ำเสมอ โดยวิธีที่กล่าวมาในเรื่องการเพาะเมล็ด ควรวางกระถางไว้ในที่ที่มีร่มเงาอากาศถ่ายเท เมื่อรากใหม่งอกแล้วควรรดน้ำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

 

3.    การต่อยอด

                   ปัจจุบันนิยมทำกันมากกับแคคตัสพันธุ์ที่มีสีสันต่างๆที่ไม่ใช่สีเขียว เช่น สกุล Cereus, Trichoceeus หรือ Opuntia ซึ่งมีสารคลอโรฟีลล์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ดูดน้ำและแร่ธาตุไปเลี้ยงต้นที่มีสีที่หาอาหารเองไม่ได้การต่อยอดช่วยร่นเวลาการออกดอก ซึ่งปกติแคคตัสใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปีกว่าจะเติบโตจนผลิตดอกบางสกุลใช้เวลา 10-20 ปีทีเดียว  การต่อยอดจะช่วยให้ต้นแตกกิ่งก้านเร็วกว่าปกติ

                   ยกเว้นบางสกุลที่มี cephalium เช่น Melocactus  ,Discocactus ที่ไม่ค่อยได้ผลในการร่นระยะเวลาการออกดอกนัก

การต่อยอดแคคตัส

             1.   เฉือนต้นตอ ให้หน้าตัดที่เฉือนเรียบเสมอกัน ควรเฉือนด้วยมีดที่คมและสะอาด

             2. เฉือนมุมต้นตอแต่ละด้านให้ลาดเอียงประมาณ 45 องศา เพื่อระบายน้ำให้ไม่ขังอยู่เป็นแอ่งบริเวณรอยต่อ

             3. เฉือนส่วนโคนของต้นพันธุ์ให้เรียบเสมอกัน และให้พื้นที่หน้าตัดเหมาะสมกับต้นตอ

             4. นำต้นพันธุ์มาวางซ้อนบนต้นตอ 

             5. ยึดทั้งสองส่วนให้ติดกันด้วยเทปใสหรือด้าย

             6. ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ต้นพันธุ์และต้นตอก็จะเชื่อมติดกัน

 

 

โรคและศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคจากแมลง

                   โดยมากแมลงศัตรูพืชของแคคตัสมักมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ยาก เพราะมักซ่อนตัวอยู่ระหว่าง รอยต่อของหัวย่อย บริเวณตาดอก ซอกเนินหนาม หรือในดินปลูก ผู้เลี้ยงจึงควรตรวจดูตามบริเวณดังกล่าว นั้น หากพบว่าแคคตัสมีอาการผิดปรกติซึ่งเกิดจากแมลงศัตรูพืชแล้ว ก็ควรจะแยกต้นนั้นออกไปทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด แมลงดังกล่าว ได้แก่

1. เพลี้ยแป้ง (mealy bug)

เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของแคคตัส มีลักษณะคล้ายปุยสำลีสีขาว ซึ่งมีตัวอ่อนของเพลี้ยแป้ง อยู่ภายใน ปกติจะรวมกันอยู่ในพื้นที่ที่ยากจะค้นหา เช่น รอบๆฐานของตุ่มหนาม ซอกหนาม โคนต้น บริเวณเหนือผิวดิน และราก อาการขั้นรุนแรง คือ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต การแก้ไขทำได้โดยใช้ ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น มาลาไทออน (malathion) หรือพวกไพรีทรอยด์ (pyrethroid) บางครั้งเมื่อใช้ยาแล้วก็ยังอาจพบเพลี้ยแป้งได้ โดยเฉพาะเมื่อย้ายหรือเปลี่ยนกระถาง บางครั้งอาจเกิดเป็นกลุ่มสีเทารอบราก กำจัดได้โดยใช้ยาฆ่าแมลง และควรใช้ซ้ำอีกครั้งราว 7-10 วันหลังจากใช้ยาครั้งแรก

2. เพลี้ยอ่อน (aphids)                

มีลักษณะลำตัวอ่อนนุ่ม สีเขียวคล้ำ อาศัยอยู่ตามตาดอก การเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนนั้นจะทำให้ ต้นแคคตัสเจริญผิดรูปร่างไป แก้ไขโดยฉีดพ่นด้วยสารละลายนิโคตินซัลเฟต(nicotine sulphate)

3. เพลี้ยแป้งที่ราก (root mealy bug)

เป็นแมลงที่อันตราย ลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้ง พวกนี้จะกัดทำลายรากในกระถาง และทำลายระบบทำงานของราก ต้นจะเหี่ยวและตายในที่สุด กำจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น มาลาไทออน

4. เพลี้ยหอย (scale insect)

รูปร่างคล้ายหัวเข็มหมุด สีน้ำตาล แข็งเหมือนเปลือกหอย กำจัดโดยแคะออกด้วยไม้จิ้มฟัน ถ้าอาการรุนแรงใช้มาลาไทออนหรือนิโคตินซัลเฟต

5. ไรแดง (red spider mites)

เป็นแมลงที่พบมากในที่แห้งและมีอากาศร้อน ไรแดงเห็นได้ด้วยตาเปล่า คล้ายจุดสีน้ำตาลแห้งบนต้น ทำให้ต้นชะงักการเติบโต กำจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม และฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่อครบ 10 วัน

6. เพลี้ยอ่อน (wooly aphids)

ลักษณะคล้ายถูกเคลือบด้วยขี้ผึ้ง มักอยู่เป็นรวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการทำลายคล้ายเพลี้ยอ่อน คือ ทำให้แคคตัสเจริญผิดรูปร่าง แมลงชนิดนี้มักทำลายส่วนเนื้ออ่อนและโคนหนาม กำจัดโดยใช้แปรงเล็กๆ จุ่มเมทิลแอลกอฮอล์ (methylated spirit) ปัดพวกกลุ่มก้อนเล็กๆ ที่ปกคลุมอยู่ออกก่อน และใช้ยาประเภทดูดซึมในบริเวณที่พบอาการมาก

7. เพลี้ยไฟ (thrips)

มักจะทำให้เกิดจุดสีขาวและสีเหลืองบนใบ แก้ไขโดยฉีดพ่นด้วยสารนิโคตินซัลเฟต

8. ไส้เดือนฝอย (nematodes)

เป็นศัตรูพืชสำคัญในโรงเรือน ทำลายแคคตัสโดยทำให้เกิดปมที่ราก ซึ่งมีผลต่อการดูดน้ำ และสามารถแพร่กระจายไปยังต้นอื่นได้ทางดินปลูก

9. หอยทากและทากดิน (snails & slugs)

เป็นศัตรูพืชที่ก่อปัญหามากเช่นกัน แก้ไขโดยโรยสารเมทัลดีไฮด์ (metaldehyde) เป็นเหยื่อล่อบนผิวดิน และนำไปกำจัด จากนั้นจึงรดน้ำตาม

10. แมลงเปลือกแข็งบางชนิด

พวกนี้มักจะเข้าทำลายลำต้น และใบที่อยู่โคนต้น ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต และเกิดรอยสีดำ คล้ายเขม่า กระจายไปตามลำต้นอย่างรวดเร็ว การรักษาทำโดยใช้ยาฆ่าแมลง

 

โรคจากเชื้อโรค

เชื้อไวรัส (Virus)

เกิดกับแคคตัสบางสกุล โดยเฉพาะสกุล Epiphyllum มีลักษณะเป็นจุดสีเหลือง หรือสีม่วงและทำลายดอกด้วย กำจัดโดยตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งและเผาทำลาย

เชื้อ Corky Scab

อาการที่พบคือ เป็นฝุ่นสนิมหรือจุดบนลำต้น ซึ่งเกิดจากการเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ต้นเหี่ยวและยุบลง มักเกิดกับสกุล Opuntia และ Epiphyllum ไม่มีวิธีป้องกัน เมื่อพบต้องทำลายทิ้งทันที

เชื้อรา

อาการเป็นรอยแผลถลอกหรือช้ำเน่า กำจัดโดยตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง (fungus diseases) และทำลาย ปิดปากแผลด้วยผงซัลเฟอร์หรือยาฆ่าราอื่นๆ

 

โรคทางกายภาพ

             เกิดจากสภาพการปลูกเลี้ยงที่ไม่ถูกต้อง เช่น ถ้าให้น้ำมากเกินไปต้นจะยุบและเน่าทันทีโดยเฉพาะในฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและพืชชะงักการเจริญเติบโต

 

 ยอดต้นจะเริ่มเปลี่ยนสีและยุบลงพบมากในสกุล Mammillaria

 

 สรุปอาการต่างๆ ของโรคดังนี้

 

อาการ

สาเหตุ

การแก้ไข

ต้นไม่เจริญเติบโต

น้ำมากเกินไป  ดินอัดแน่น หรือรากเน่า

เปลี่ยนดินใหม่  ใช้ดินผสมและปรับปรุงการให้น้ำ

ลำต้นหรือใบเหลือง

ต้นได้รับความร้อนหรือแห้งเกินไป

เปลี่ยนระบบระบายอากาศและความชื้น

ลำต้นหรือใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

ดินมีฤทธิ์เป็นด่าง และขาดธาตุเหล็ก

ตรวจสอบความเป็นกรดเป็นด่างของดินและเติมธาตุเหล็ก

ต้นมีสีซีดจาง

รากเป็นแผล

ตัดรากที่ตายหรือถูกทำลายนั้นทิ้ง เปลี่ยนกระถางใหม่

ต้นมีลักษณะยืดยาว

แสงไม่เพียงพอ

ย้ายกระถางไปตั้งในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ

ตาดอกไม่ผลิดอก

อุณหภูมิต่ำหรือเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ย้ายกระถางไปตั้งในที่ที่อุณหภูมิสูงขึ้น

ดอกน้อยหรือไม่บาน

ต้นได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป หรือไม่ได้พักตัวในช่วงฤดูหนาว

ให้ธาตุไนโตรเจนน้อยลง เพิ่มธาตุฟอสฟอรัสและให้พืชพักตัวในช่วงฤดูหนาว

ต้นอ่อนนุ่ม

ความชื้นสูงเกินไป  อุณหภูมิต่ำ

ลดความชื้น  ตัดส่วนที่อ่อนนุ่มทิ้ง และใช้ย่ากันราโรย

ต้นเป็นรอยย่น

เป็นการพัฒนาของต้นแคคตัสบางชนิดขึ้นอยู่กับอายุ

-

ต้นใส

อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

ต้องย้ายต้นไปไว้ในที่แห้ง และที่ที่อุณหภูมิไม่ต่ำมากนัก

  

ประโยชน์ของแคคตัส

                       

                        ปัจจุบันนี้มีผู้ปลูกเลี้ยงแคคตัสกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้คงเนื่องมาจากลักษณะ ทรงต้นของแคคตัสที่แตกต่างไปจากพืชอื่นๆ คือ มีหนามขึ้นโดยรอบต้น การเรียงตัวของตุ่มหนาม ที่เป็นระเบียบสวยงามเช่น Mammillaria หรือ Astrophytum asterias ที่มีลักษณะตุ่มหนามเป็น ปุยนุ่มเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เป็นต้น

                        นอกจากทรงต้นของแคคตัสที่แปลกตาต่างจากพืชอื่นๆแล้ว แคคตัสยังเป็นพืชที่มีดอก สวยงาม สีสันของดอกสดใสดึงดูดสายตา ไม่ว่าจะเป็นดอกสีแดงสดของ Rebutia wessneriana หรือดอกสีขาวของ Obregonia denegrii หรือสีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีม่วง หรือสีส้ม รวมทั้งรูปทรงของดอกที่แตกต่างกันออกไป แคคตัสบางสกุล เช่น สกุล Mammillaria นั้นจะออกดอกเล็กๆ พร้อมกันทั้งต้นดูละลานตา หรือในสกุล Melocactus ที่จะออกดอกบริเวณที่เรียกว่า cephalium ซึ่งเป็นลักษณะ ที่พืชอื่นไม่มีทั้งรูปร่างลักษณะของต้น จะเรียงตัวของตุ่มหนาม สีสัน และรูปร่างของดอกแคคตัสนี้ คงเป็นเสน่ห์ ดึงดูดให้มีผู้นิยมปลูกเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั่นเอง

                        อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีแคคตัสสักชนิดเดียวที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเลย หลายชนิดมีการใช้ประโยชน์ บ้างตามท้องถิ่นที่ขึ้นอยู่ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่นั้นใช้ลำต้นแห้งของแคคตัสสกุลของ Cereus ทำเสาปลูก เพิงกระท่อมหรือเสาบ้านเตี้ยๆได้ ขณะเดียวกันในแหล่งที่เลี้ยงสัตว์แต่ไม่มีทุ่งหญ้านั้น กิ่งของ Opuntia เมื่อเอาหนาม ออกแล้วใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ นอกจากนั้นกิ่งอ่อนของ Opuntia บางชนิดสามารถขจัดหนามออกได้ง่าย นำมาทอด รับประทานในประเทศแม็กซิโกและญี่ปุ่น ส่วนในรัฐเท็กซัสนั้นนิยมนำมาต้มรับประทานแทนผัก เนื่องจากสามารถเก็บได้นาน เป็นเดือนอีกทั้งช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้อีกด้วย ผลของ Opuntia ficus-indica ที่มีดอกสีเหลืองนั้น สามารถนำมารับประทานได้ ผลมีลักษณะคล้ายลูกแพร์ จึงเรียกกันว่า Pricky Pear ผลมีสีต่างกันไปขึ้นกับพันธุ์ เช่น var.serotima ผลสีเหลือง var.rubar ผลสีแดง Asperma ผลเล็กสีเหลืองและมีขนาดเล็ก var.serotima มีผลสีเหลือง แต่ออกผลช้ากว่าพันธุ์อื่น หรืออาจมีชนิดที่ ผลมีสีเหลืองอมแดงหรือลายเหลืองแดง น้ำที่อยู่ในผลจะมีสีเดียวกันกับเปลือกภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กและแข็ง แต่จัดว่าเป็นไม้ผลที่มีรสหวานอร่อยมาก ผลไม้นี้พบในเขตชื้นของสหรัฐอเมริกา แต่นิยมปลูกในเขตกึ่งร้อนและพบว่า ขึ้นตามธรรมชาติในเขตเม็กซิโก เป็นพืชที่ปลูกในแถบเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกาใต้เพื่อส่งเป็นสินค้าออก มีขายทั่วไป ในสหรัฐอเมริกา นอกจากรับประทานผลแล้วยังใช้ทำแยม เยลลี่แผ่นใช้เลี้ยงวัวและหมู นอกจากชนิดที่กล่าวมาแล้วยังมีชนิดอื่นๆที่ทานได้อีก เช่น O.phaeacantha ผลสีม่วงแดง ปลูกแถบเม็กซิโก และในรัฐอื่นๆที่ใกล้เคียง จึงมีชื่อสามัญว่า New Mexico Pricky Pera หรือ Purple-fruited ประโยชน์ของแคคตัสอีกประการหนึ่งก็คือ นำไปเป็นที่พักอาศัยได้ สกุล Cereus นำมาทำรั้วทึบโดยที่คนหรือสัตว์ ลอดผ่านไม่ได้ สกุลที่เหมาะมาทำรั้วคือ Pachycereus และ Stenocerus เพราะเป็นพวกที่มีลำต้นตั้งตรง ชื่อสามัญว่า Organ Pipe หรือกกุล Opuntia ก็นำมาปลูกเป็นรั้วเช่นกัน

สรุปประโยชน์ที่ได้จากแคคตัส

1)      นำมารับประทานเป็นอาหาร เช่น รับประทานผลสด รับประทานส่วนของต้นที่นำมาเปลี่ยนรูป คือ นำมาเชื่อม ต้ม หรือ ทอด อีกทั้งนำมาใช้เลี้ยงสัตว์

2)      นำมาทำที่พักอาศัย นำมาทำเป็นเสา ทำแนวรั้ว หรือผนัง

3)      ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีกรรมทางศาสนาของชาวพื้นเมืองอเมริกัน และเม็กซิกัน

4)      ใช้ในการประดับตกแต่งสถานที่ เช่น ตกแต่งกับสวนหิน หรือ สวนทะเลทราย

5)      ปลูกเลี้ยง สะสมพันธุ์ ต่างๆ ให้เกิดความเพลิดเพลิน

 

ความหมายศัพท์ต่างภาษาของแคคตัส

 (  GLOSSARY  )

 

actinomorphic              ลักษณะของดอกที่แบ่งตามแนวเส้นผ่าศูนย์กลางได้เป็น 2 ส่วน มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ และแบ่งได้มากกว่า 1 ครั้ง

aerial roots                  รากอากาศ เป็นรากที่เกิดบริเวณข้อต้นเหนือพื้นดิน

aphids                          เพลี้ยอ่อน แมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช

areole                          ตุ่มหนาม เป็นบริเวณที่เกิดหนาม ตาดอก หรือแตกกิ่งของแคคตัส

aril                               เยื่อหุ้มเมล็ด

bell-shaped                  ลักษณะของดอกที่มีรูปร่างคล้ายระฆัง

berry                            ผลเบอร์รี่ ลักษณะของดอกที่มีเนื้อนุ่ม

central spine                หนามกลาง เป็นหนามที่อยู่ตรงกลางของตุ่มหนาม ส่วนมากจะมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าหนามอื่น ในตุ่มหนาม เป็นได้หลาย  ลักษณะ เช่น หนามแบน หนามกลม ปลายโค้งงอเป็นตะขอ เป็นต้น

cephalium                    บริเวณที่หนามหรือขนแข็งสั้น ขึ้นรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น อาจพบอยู่ด้านข้างหรือปลายยอดของต้นแคคตัสสกุล Melocactus, Buiningia เป็นบริเวณที่เกิดดอกและติดผล

cleistogamous flower   ลักษณะเฉพาะของดอกแคคตัส สกุล Cleistocactus ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ภายในดอกที่หุบอยู่

columnar                     ลักษณะทรงต้นแคคตัสที่เป็นทรงกระบอกสูง

Corky Scab                  โรคของแคคตัสทิ่เกิดจากจากเชื้อโรค ลักษณะเป็นฝุ่นสนิมหรือจุดบต้นเชื้อจะเข้าทำลายเนื้อเยื่อภายใน ทำให้ต้นเหี่ยวและยุบลง

Damping-off                 โรคเน่าคอดิน เป็นโรคที่เกิดกับต้นอ่อนของพืชในบริเวณโคนต้นเหนือพื้นดิน มีลักษณะช้ำ ฉ่ำน้ำ เปราะหักง่าย เกิดจากการที่ต้นได้รับน้ำหรือธาตุไนโตรเจนมากเกินไป

Dish-like                       ลักษณะของดอกที่มีรูปร่างคล้ายจาน

Epidermis                     เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์

Epiphytic                      พืชดำรงชีวิตอยู่โดยอาศัยพืชอื่น แต่ไม่ทำอันตรายหรือแย่งอาหารพืชอาศัยนั้น

Fungus disease           โรคของแคคตัสที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ต้นจะเป็นรอยแผลถลอกหรือฉ่ำน้ำ

Genus                          สกุล เป็นลำดับขั้นหนึ่งของระบบการจัดจำแนกพืชหรือสัตว์ เป็นคำเอกพจน์ ส่วนพหูพจน์คือ genera

Glochids                      หนามหรือขนแข็งที่มีปลายงอโค้ง อาจเป็นกระจุก เช่น หนามของแคคตัสบางชนิด

IAA                               เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มออกซินที่พืชสร้างขี้นเองโดยธรรมชาติมีผลในการแบ่งเซลล์ นิยมนำมาใช้เป็นสารชักนำให้เกิดราก ย่อมาจาก indole Butaric acid

IBA                               เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มออกซินเช่นเดียวกับ IAA มีผลในการแบ่งเซลล์ นิยมนำมาใช้เป็นสารชักนำให้เกิดราก ย่อมาจาก Indole Butaric Acid

Malathion                     มาลาไทออน สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของแคคตัส ทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช

Methylated spirit           เมทิลแอลกอฮอล์

NAA                              เป็นสารสังเคราะห์อีกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มออกซิน มีผลในการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของเซลล์ นิยมนำมาใช้เป็นสารชักนำให้เกิดราก ย่อมาจาก Nethaplene Acetic Acid

Nematodes                  ไส้เดือนฝอย ศัตรูพืชที่สำคัญบางชนิดที่อยู่ในดินและในน้ำ ทำให้พืชเกิดปมที่ราก

Nicotic sulphate           นิโคตินซัลเฟต เป็นสารเคมีชนิดที่อันตรายร้ายแรงสูง

Offset                           ต้นพืชเล็ก ที่เกิดจากปลายลำต้นเหนือดินชนิดไหล

Pyrethroid                    สารสังเคราะห์ไพรีทอยด์ มีพิษต่อคนและสัตว์ต่ำ แต่มีประสิทธิภาพฆ่าหนอนได้ดี

Redial spine                 หนามข้าง เป็นหนามที่อยู่รอบ หนามกลาง ส่วนมากจะสั้นและเล็กกว่าหนามกลาง เป็นได้หลาย ลักษณะ เช่น โค้งงอ ตั้งตรง หรือแนบไปกับผิวต้น เป็นต้น

Red spine mites           ไรแดง เป็นแมลงศัตรูพืชที่ทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก

Resurreection plant     เป็นพืชชั้นต่ำชนิดหนึ่ง คล้ายเฟิน อยู่ในสกุล

Rib                               ลักษณะของต้นแคคตัสที่ผิวต้นจะนูนเป็นสัน อาจสูงหรือเตี้ยก็ได้

Root mealy bug            เพลี้ยแป้งที่ราก เป็นแมลงศัตรูพืชที่พบว่าอาศัยอยู่บริเวณรากพืช ทำลายพืชโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากบริเวณรากของพืช

Scale insect                 เพลี้ยหอย เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลห่อหุ้ม ทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงดีที่ไม่ใช้นำมาต่อยอด

Scion                           ต้นพันธุ์ดีที่ใช้นำมาต่อยอด

Sessile                         ไม่มีก้าน เช่น sessile flower คือ ดอกที่ไม่มีก้านดอก

Snail & slugs                หอยทากและทากดิน เป็นแมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชโดยการกัดกินส่วนต่าง ของพืช

Species                        ชนิด เป็นลำดับขั้นหนึ่งของระบบการจำแนกพืชหรือสัตว์ ซึ่งต่ำกว่าสกุล

Stamens                       เกสรตัวผู้ อวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างละอองเกสรตัวผู้ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ อับเรณู และก้านชูอับเรณู

Stock                           ต้นตอพืช ซึ่งทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารเลี้ยงต้นพันธุ์ดีในการต่อยอด

Stolon                          ส่วนของลำต้นเหนือดินที่ทอดนอนไปตามพื้น และแตกหน่อใหม่พร้อมกับรากที่ข้อ เช่น ต้นสตรอเบอร์รี่

Thips                            เพลี้ยไฟ เป็นแมลงศัตรูพืชที่ดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบและดอกไหม้

Tubercles                    ลักษณะเป็นเป็นเนินหนาม อาจสูงหรือเตี้ยก็ได้

Tubular                        ลักษณะของดอกที่มีรูปร่างเป็นหลอดท่อ

Varieties                       การจำแนกพืชที่อยู่ต่ำกว่าระดับชนิด

Vascular tissue            เนื้อเยื่อพืชที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการลำเลียงน้ำและอาหาร

Wooly aphids               แมลงศัตรูพืช มีลักษณะคล้ายเพลี้ยอ่อน ทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง

Xerophyte                    พืชที่พัฒนาตัวเองให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพที่มีน้ำจำกัด

Zygomorphic                ลักษณะของดอกที่แบ่งตามแนวเส้นผ่าศูนย์กลางได้เป็น 2 ส่วน มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ และแบ่งได้เพียง 1 ครั้ง

 

บรรณานุกรม

             ขจี วสุธาร. แคคตัสและซัคคิวเลนท์ . [..: .., 252-?]  .63 หน้า  

คณะอาจารย์วิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ตำราปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์ แคคตัสและไม้ใบอวบ . กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2534

พัฒน์  พิชาน.แคคตัส.กรุงเทพฯ , 2547. พิมพ์ครั้งที่ 1, 80 หน้า

ชาง ตันสกุล. แคคตัส .กรุงเทพฯ : ฐานเกษตรกรรม, 2534 .พิมพ์ครั้งที่ 1 , 95 หน้า

วชิรพงศ์ หวลบุตตา . แคคตัส : ไม้ดอกไม้ประดับ .กรุงเทพฯ : บ้านและสวน, 2537 .พิมพ์ ครั้งที่ 1 , 166 หน้า