รู้จักโรงพยาบาล หน่วยงานของเรา
ระหว่างที่มีการจัดตั้งศูนย์การฝึกกำลังทดแทน ค่ายธนะรัชต์ ขึ้น ณ พื้นที่บริเวณ ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นสถานที่ทำการฝึกทหารให้แก่หน่วยทหาร
ในกองทัพบก ในขณะนั้น ( ปี 2501 ) มีกำลังพลเหล่า พ. มาประจำเป็นส่วนล่วงหน้า 1 หมวดเสนารักษ์ เมื่อการก่อสร้างศูนย์การฝึกกำลังทดแทน เสร็จสมบูรณ์ในปี 2503
จึงได้ขยายหมวดเสนารักษ์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์การฝึก กำลังทดแทน เพื่อปฏิบัติภารกิจการรับผิดชอบและดำเนินกิจการ ในเรื่องการรักษาพยาบาล และการ เวชกรรม
ป้องกันสนับสนุนในด้านการ แพทย์แก่กรมฝึกทั้งหมดของศูนย์การฝึกกำลังทดแทน ในการส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อ และการส่งกลับ ประสานงานติดต่อกับเจ้าหน้าที่อนามัย
ท้องถิ่นเกี่ยวกับสุขาภิบาล ตลอดจนให้การรักษาพยาบาล บุคคลภายนอกบริเวณใกล้เคียงด้วย สำหรับการดำเนินการนั้น โรงพยาบาลศูนย์การฝึกกำลังทดแทนจัดแบ่งส่วน
ราชการในการปฏิบัติภารกิจ ดังนี้
1. แผนธุรการและกำลังพล
2. แผนกส่งกำลังบำรุง
3. แผนกรังสีกรรม
4. แผนกสุขาภิบาล
5. แผนกเภสัชกรรม
6. แผนกทะเบียน
7. แผนกทันตกรรม
8. แผนกพยาธิวิทยา
9. แผนกอายุรกรรม
10.แผนกศัลยกรรม
11.แผนกสูตนารีกรรม
12. แผนกสูทกรรม
13.หมวดพยาบาล 4 หมวด
ในปี 2510 ทางกองทัพบกยกเลิกราะบบการฝึกทหารใหม่ที่ค่ายธนะรัชต์ ศูนย์การฝึกกำลังทดแทนจึงหมดภารกิจ กองทัพบกมีคำสั่งให้
ศูนย์การทหารราบ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี ย้ายเข้ามาตั้ง ณ ค่ายธนะรัชต์แทน โรงพยาบาลศูนย์การฝึก
กำลังทดแทน จึงเป็นหน่วยสมทบกับศูนย์การทหารราบต่อไป และคงมีภารกิจและการจัดเช่นเดิม

ต่อมาเมื่อปี 2511 โรงพยาบาลศูนย์การฝึกกำลังทดแทน ได้รับพระราชาทานชื่อใหม่ว่า โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์หลังจากที่ศูนย์การทหารราบ
ได้เข้าที่ตั้งใหม่ ณ ค่ายธนะรัชต์เรียบร้อยแล้ว ได้พิจารณาเห็นว่า โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ ที่มีอยู่เดิม มีภารกิจกว้างขวางและเป็นที่เลื่อมใส
ของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ได้มาขอรับการรักษาพยาบาลอยู่เป็นประจำ ที่ตั้งของโรงพยาบาลนี้อยู่ห่างจากโรงพยาบาลประจำจังหวัดเพชรบุรี
และโรงพยาบาลประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในรัศมีถึง 80 กิโลเมตร ประกอบกับอาคารโรงพยาบาลธนะรัชต์อยู่ในสภาพเก่า ชำรุด และมีจำนวน
จำกัด ไม่อาจขยายออกไปอีกได้

ศูนย์การทหารราบ จึงได้นำความเข้าหารือผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้บังคับบัญชาก็เห็นชอบด้วย จึงได้มีแผนการก่อสร้างโรงพยาบาลขึ้น
ที่บริเวณหน้าค่ายธนะรัชต์ ติดกับถนนเพชรเกษม ซึ่งนายรัฐมนตรีในขณะนั้นได้อนุมัติเงินจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นค่าก่อสร้าง
ในโครงการปีแรก เป็นจำนวนเงิน 6,618,300 บาท ( หกล้านหกแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสามร้อยบาทถ้วน ) และเริ่มดำนินการก่อสร้างเมื่อปี 2514

ในปี 2516 ทางกองทัพบกได้เปลี่ยนชื่อ โรงพยาบาลธนะรัชต์ เป็น โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ และได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างตามโครงการปีที่ 2
อีก เป็นจำนวนเงิน 3,242,989 บาท ( สามล้านสองแสนสี่หมื่นสองพันเก้าร้อยแปดสิบเก้าบาทถ้วน )ในปี 2517 ได้รับงบประมาณ เพิ่มเติม จาก
กองทัพบกเป็นโครงการปีที่ 3 เป็นจำนวนเงิน 17,622,700 บาท ( สิบเจ็ดล้านหกแสน สองหมื่นสองพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน ) และ ในปี่ 2517 นี้
ทางกองทัพบก ได้ขยายอัตราโรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์นี้เป็นอัตรา 200 เตียง และสามารถ ขยายรับคนไข้ได้ถึง 300 เตียง เมื่อมีสถานการณ
์จำเป็น โดยมีแผนการจัดต่างจากเติด คือ เพิ่มหมวดบริการ และกองร้อยพลเสนารักษ์

โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ ได้เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งเดิมมาปฏิบัติงานและบริการผู้ป่วยเจ็บ ณ โรงพยาบาลสร้างใหม่ เมื่อ 19 ธ.ค. 2518
ภารกิจของโรงพยาบาลใหม่นี้ นอกจากจะให้การรักษาพยาบาล ทหาร ข้าราชการ และครอบครัวแล้ว ได้ให้การรักษาพยาบาลแก่บุคคล
พลเรือนทั่วไป และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ

นอกจากนี้โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ ยังได้มีส่วนในการรักษาผู้ติดยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของชาติ ตลอดจนร่วมมือในการ บรรยาย
และจัดหาผู้บริจาคโลหิต และดวงตาให้แก่สภากาชาดไทย โดยมีจำนวนผู้บริจาคโลหิตมากเป็นลำดับหนึ่งในหน่วยทหารด้วยกัน และได้ร่วม
งานแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นประจำอีกด้วย

 
กลับหน้าหลัก Home
Thanarat Hospital : Tel. 0 3262 2155 . 0 3262 1341 E-mail : hosreport@hotmail.com . thanarat@amed.go.th
webmaster : hosarmy@hotmail.com