Home ยา ผู้หญิง เด็ก เครื่องสำอาง ปฐมพยาบาล โรคทั่วไป อื่นๆน่าสนใจ สอบถามปัญหา

ไมเกรน Migraine 

Last update : 22/11/42

วิเชียร อัศวดากร ภ.บ.

บทนำ อาการ สาเหตุ ยารักษา ยาป้องกัน Link

บทนำ

เป็นกลุ่มอาการปวดศรีษะที่มีลักษณะเฉพาะตัว เกิดได้กับทุกชนชาติ ทุกอาชีพ โดยทั่วไปผู้ที่เป็นมักจะเริ่มมีอาการตั้งแต่เป็นเด็ก หรือวัยรุ่น และหญิงเป็นมากกว่าชาย เมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศรีษะจะค่อยๆลดลง

ครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นไมเกรนจะมีประวัติในครอบครัวด้วย

ลักษณะของการปวดหัวแบบไมเกรน

การวินิจฉัยเบื้องต้น

ลองตอบคำถาม 6 ข้อข้างล่างนี้ ถ้าท่านตอบ "ใช่" มากกว่า 2 ข้อใน 4 คำถามแรก และ 1 ข้อ ใน 2 คำถามหลัง มีความเป็นไปได้มากว่าอาการปวดหัวที่ท่านเป็นน่าจะเป็นไมเกรน

4 ข้อแรก
  • อาการปวดศรีษะของท่านมักเป็นข้างเดียว ?
  • มีความรู้สึกปวดแบบตุบๆ หรือ ตื้อๆ ?
  • อาการปวดศรีษะค่อนข้างรุนแรง จนรบกวนการทำงาน หงุดหงิด ?
  • อาการปวดศรีษะรุนแรงขึ้นถ้าท่านต้องมีกิจกรรม ?
2 ข้อหลัง
  • ท่านมีความรู้สึกไม่สบายในท้อง อยากอาเจียร ?
  • ท่านมีความรู้สึกว่า ความร้อน เสียงดัง แสงสว่างจ้า แสงวับๆแวมๆ กลิ่นฉุนบางอย่าง รบกวนท่าน และมักทำให้ท่านปวดหัว ?

สาเหตุของไมเกรน ?

ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่พอจะเข้าใจกลไกการเกิดอยู่บ้าง กล่าวคือ สมองของคนที่เป็นไมเกรนรับรู้และตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นมากกว่าปรกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงในสรีรวิทยาของสมอง โดยเฉพาะในบริเวณฮัยโปธาลามัส (hypothalamus) เป็นผลให้หลอดเลือดแดงในสมอง และหนังศรีษะหดตัว สลับกับการขยายตัว ซึ่งระยะที่หลอดเลือดขยายตัวนี้เองเป็นสาเหตุให้เกิดการปวดศรีษะ

พบว่าสารเคมีในสมองตัวหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้หลอดเลือดขยายตัวคือ Serotonin

ปัจจัยกระตุ้น

พบว่าผู้ที่เป็นไมเกรนแต่ละคนๆจะมีปัจจัยกระตุ้นที่แตกต่างกันไป รายการปัจจัยกระตุ้นข้างล่างจัดทำเป็น guideline เพื่อพิจารณาคร่าวๆ

หมวดอาหาร
คาเฟอีน
แอลกอฮอล์
อาหารประเภทนม
ของขบเคี้ยว
เนื้อ
กาแฟ ชา ชอกโกแล็ต น้ำอัดลมสีดำ
ไวน์แดง แชมเปญ เบียร์
ชีส นมสด sour cream
ถั่ว งา Peanut butter, pickle, เมล็ดพืช
อาหารที่ใส่สารไนไตรต์ ได้แก่ hot dogs, sausages, แฮม เบคอน
หมวดสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ทางสายตา
เสียง
กลิ่น
อากาศ
บรรยากาศ
แสงสว่างจ้า ระยิบระยับ
เสียงดัง จอแจ
กลิ่นฉุนๆ
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น
การเดินสารเครื่องบิน การเปลี่ยนแปลงความสูง
อารมณ์

ความเครียด โกรธ ความเศร้า กระวนกระวาย เพลีย ตื่นเต้น

กิจวัตรประจำวัน

การออกกำลังกายอย่างหักโหม นอนหลับไม่สนิท ใช้สายตามาก การกระทบกระเทือนสมอง ทานอาหารไม่เป็นเวลา

ยา

ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตบางตัว Nitroglycerin
ยาคุมกำเนิด โดยเฉพาะที่มี ปริมาณ estrogen มาก
Estrogen Supplement

ฮอร์โมน

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนช่วงมีรอบเดือน

การรักษา

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น
  2. ใช้ยารักษา
  3. กรณีที่เป็นบ่อยมาก พิจารณาใช้ยาป้องกันไมเกรน ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ผล 100 % แต่ก็ช่วยลดความถี่ ความรุนแรงได้

ยาที่ใช้รักษา Migraine

ยาป้องกันไมเกรน

ส่วนใหญ่ เป็นยาที่ใช้รักษาโรคอื่นๆมาก่อน แต่มาปรับใช้เป็นยาป้องกันไมเกรนภายหลัง

ผลการใช้ป้องกันยังไม่ได้ผล 100 % แล้วแต่การตอบสนองของคนไข้แต่ละราย และมักจะต้องใช้เวลารอในการหวังผลประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังไม่มีขนาดการใช้ที่แน่นอน ทราบเพียงว่าควรใช้ขนาดต่ำที่สุดที่ได้ผล โดยค่อยๆเพิ่มขนาดตัวยามากขึ้นค่อยเป็นค่อยไป

Link


Post a Message in My Message Board!

ถ้าท่านชอบ web  นี้ 
ท่านที่ต้องการสอบถาม เสนอแนะ เชิญครับ mailto:vichiena@yahoo.com
ขอขอบคุณ Geocities.com ที่ให้พื้นที่ฟรีสำหรับการจัดทำ Web Site นี้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่สำคัญ discoveryhealth | mediconsult | mayohealth | medscape.com | healthylives | สมาคมแพทย์โรคผิวหนัง USA | fda.gov | my.yahoo.com