โดย
Home ยา ผู้หญิง เด็ก เครื่องสำอาง ปฐมพยาบาล โรคทั่วไป อื่นๆน่าสนใจ สอบถามปัญหา
 

วิธีการกินผักเพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมี

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ผักที่มีขายอยู่ในท้องตลาดนั้น ยังเป็นผักที่มีสารเคมีตกค้างอยู่เป็จำนวนมาก แม้แต่ผักที่ระบุว่าเป็น "ผักที่ปลอดสารพิษ" ก็ตาม ยังตรวจพบการตกค้างของสารเคมีอยู่ เนื่องจากเกษตรกรหรือผู้ผลิตยังผลิตผักที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ หรือถึงขั้นแอบอ้างก็มี ดังนั้น ในฐานะผู้บริโภคก็ควรจะมีทางเลือกในการกินผักอย่างปลอดภัย ลดการเสี่ยงภัยจากสารเคมีในผัก โดยมีวิธีการง่ายๆดังนี้

  1. อย่ากินผักซ้ำซาก/ควรกินผักตามฤดูกาล

  2. หันไปกินผักพื้นบ้าน

  3. ล้างผักลดสารพิษ

  4. เลือกซื้อผักปลอดภัยจากสารพิษหรือผักเกษตรอินทรีย์

  5. ปลูกผักกินเอง

1. อย่ากินผักซ้ำซาก/ควรกินผักตามฤดูกาล 

โดยเฉพาะผักจีน การกินผักน้อยชนิดบ่อยๆอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เรามีโอกาสรับสารเคมีจากผักชนิดนั้นมากขึ้น เพราะถ้ากินผักที่ไม่อยู่ในฤดูกาลของมัน การปลูกผักชนิดนั้นก็มีโอกาสที่จะต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมากขึ้น ควรกินผักที่หลากหลายชนิด รวมถึงผักพื้นบ้าน และควรกินผักตามฤดูกาลของมัน ถ้าผักที่ปลูกตามฤดูกาลของมัน มันจะแข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลงมากกว่า เมื่อนำมาปลูกนอกฤดู ดังนั้นจึงควรพิจารณากินผักตามฤดูกาลดังนี้

ฤดูกาล ชนิดของผัก
กุมภาพันธ์- พฤษภาคม (ฤดูร้อน) คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา บวบ ผักกาดหอม ชะอม ผักบุ้ง ดอกแค
มิถุนายน- กันยายน (ฤดูฝน) คะน้ำ กวางตุ้ง แตงกวา บวบ ผักกาดหอม ชะอม ผักบุ้ง ตำลึง หน่อไม้ ถั่วฝักยาว มะระ ต้นหอม ผักชี
ธันวาคม-มกราคม (ฤดูหนาว) ฟักทอง ฟักแฟง กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดขาว หัวไชเท้า สลัดแก้ว ผักกาดฮ่องเต้ ถั่วแขก ถั่วพู กะหล่ำดอก บร็อคเคอรี่ ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา หอมหัวใหญ่ กระเทียม พริกชี้ฟ้า พริกหวาน

2. หันไปกินผักพื้นบ้าน

ผักพื้นบ้านของไทยมีอยู่หลายร้อยชนิด แต่ละชนิดล้วนมีรสชาติอร่อย คุณค่าทางอาหารสูง และมีสรรพคุณทางยาป้องกันและรักษาโรคที่สำคัญ ผักพื้นบ้านเป็นผักที่แข็งแรง ปลูกง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน จึงไม่ต้องพื่งพิงสารเคมีในการปลูก

3. ล้างผักลดสารพิษ

การให้ความใส่ใจต่อการล้างผักที่ซื้อมาจากตลาด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตจะช่วยลดสารพิษที่ปนเปื้อนไปได้มาก แม้แต่ผักปลอดสารพิษ หากไม่มั่นใจก็ควรล้างก่อนทุกครั้ง วิธีการล้างผักช่วยลดสารพิษก็ง่ายๆดังนี้

วิธีการล้างผัก ปริมาณสารพิษที่ลดได้ร้อยละ
1. ใช้โซเดียมไปคาร์บอเนต (ผงฟู) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง ( 20 ลิตร ) แช่นาน 15 นาที 90-95%
2. ใช้น้ำส้มสายชู (5%) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 กะละมัง แช่นาน 10-15 นาที 60-84%
3. ล้างผักโดยให้น้ำไหลผ่าน ใช้มือช่วยคลี่ใบผัก นาน 2 นาที 54-63%
4. ลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผักออกทิ้ง เด็ดผักเป็นใบๆแล้วแช่น้ำสะอาดนาน 10-15 นาที 27-72%
5. ต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน 48-50%
6. ใช้ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 1 กะละมัง แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกที 35-43%
7. ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 กะละมังแช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกที 29-38%

4. เลือกซื้อผักปลอดภัยจากสารพิษหรือผักเกษตรอินทรีย์

ถ้าเป็นไปได้อาจเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยจากสารพิษที่มีการรับรองจากทางราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร หรือ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นผักที่ถึงแม้มีการใช้สารเคมีแต่ถูกควบคุมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน หรือเลือกซื้อผักเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นผักที่ปลุกโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแปลงเลย ซึ่งมีสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นผู้ตรวจสอบและรับรอง

5. ปลูกผักกินเอง

มีวิธีการมากมายที่จะปลูกผักกินเองแม้คนที่อยู่ในเมื่องหรือมีพื้นที่จำกัดก็ทำได้ไม่ยาก เช่น ปลูกผักในกระถาง ปลูกผักลอยฟ้า ปลูกผักริมรั้ว ปลูกผักสวนครัว

Post a Message in My Message Board!

ถ้าท่านชอบ web  นี้ 
ท่านที่ต้องการสอบถาม เสนอแนะ เชิญครับ mailto:vichiena@yahoo.com
ขอขอบคุณ Geocities.com ที่ให้พื้นที่ฟรีสำหรับการจัดทำ Web Site นี้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่สำคัญ discoveryhealth | mediconsult | mayohealth | medscape.com | healthylives | สมาคมแพทย์โรคผิวหนัง USA | fda.gov | my.yahoo.com