pktmanual
คู่มือแพ็คเก็ตเรดิโอ
โดย....Larry Nenney.WB9LOZ
ภาษาไทยโดย.....สมลักษณ์ วันโย ,HS4DOR

บทที่ 1 ประวัติ Packet บทที่ 2 แพ็คเก็ตเบื้องต้น บทที่ 3 คำสั่ง TNC บทที่ 4 ดิจิพีทเตอร์/โหนด
บทที่ 5  BBS บทที่ 6 คำสั่ง BBS บทที่ 7 กำหนดตำบลที่อยู่ บทที่ 8 ข้อความแพ็คเก็ต
บทที่ 9  WHITE PAGES บทที่ 10    NODE บทที่ 11 NODE(ต่อ) บทที่ 12  NTS
บทที่ 13 คำสั่ง TNC บทที่ 14  คำสั่ง(ต่อ) บทที่ 15 แนะนำการใช้งาน บทที่ 16 ปัญหาแพ็คเก็ต
บทที่ 17  คำตอบ บทที่ 18  บทส่งท้าย
บทที่ 1ประวัติความเป็นมาของแพ็คเก็ตเรดิโอ
            แพ็คเก็ตเรดิโอกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร ?  ขอให้เราย้อนรอยอดีดกลับไปเมื่อปีพุทธศักราช 2523 ซึ่งเป็นปีที่
FCC(Federal Communication Comission) อันเป็นองค์กรมีหน้าที่ควบคุมการสือสารกลาง  ได้ให้การรับรองการ
ส่งสัญญาณแบบ ASCII ของวิทยุสมัครเล่นในสหรัฐ  ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาถัดมาหนึ่งปีครึ่งที่นักวิทยุสมัครเล่น
แตนาดาได้รับอนุมัติให้ส่งสัรญญาณการสือสาร "แพ็คเก็ตเรดิโอ" มาแล้ว  นักวิทยุสมัครเล่นแตนาดาเองก็ได้คิดต้น
โปรโตคอลแพ็คเก็ตเรดิโอขึ้นมาใช้งานสมบูรณ์เรียบร้อย( การอนุญาตเป็นทางการของแคนาดาจากเริ่มต้นจวบจน
บัดนี้เป็นเวลา 21 ปีครึ่ง สหรัฐ 20 ปี ส่วนประเทศไทย อนุญาตให้ทดลองมากว่า 5 ปีแล้ว
จวบจนบัดนี้ ยังไม่ได้อนุญาตเป็นอย่างถาวร ถือว่ายังไม่ได้นับหนึ่ง ล้าหลังกว่าสหรัฐ 20 กว่าปี  ฝากไว้อนุชนรุ่น
หลังได้ต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป.เรื่องราวความเป็นมาของแพ็คเก็ตเรดิโอ อ่านได้จาก"ประวัติแพ็คเก็ต
เรดิโอ".....ผู้แปล )
จุดเริ่มต้น
            คุณ Doug Lockhart สัญญาณเรียกขาน VE7APU แห่งเมืองแวนคูเวอร์ บริติชโคลัมเบีย ได้พัฒนาอุปกรณ์
แพ็คเก็ตเรดิโอที่เรียกว่า TNC  ซึ่งเป็นคำย่อของ Terminal Node Conktroller เพื่อนำมาใช้ร่วมกันโมเด็ม  เพื่อแปง
สัญญาณ ASCII ให้เป็นสัญญาณเสียง  แล้วแปลงสัญญาณเสียงให้กลับไปเป็นสัญญาณ ASCII ท่านผู้นี้เองยังได้
ก่อตั้งชมรมการสือสารระบบดิจิตอลแห่งเมืองแวนคูเวอร์ขึ้นว่า ให้ชื่อว่า VADCG:Vancouver Amateur Digital
Communication Group ขณะเดียวกันก็ได้ตั้งชื่อ TNC ของเขาว่า VADCG board
การก่อตัวของแพ็คเก็ตเรดิโอในสหรัฐ
            นักวิทยุสมัครเล่นสหรัฐเริ่มทำการทดลองหาประสพการณ์กับ TNC ชื่อว่า VADCG เรื่อยมา จวบจนระยะ
กาลผ่านไปถึงเดือนธันวาคม 2523 ได้มีนักวิทยุสมัครเล่นจากซานฟานซิสโก ชื่อ Hank Magnuski สัญญาณเรียก
ขาน KA6M ได้ทำการใส่ดิจิตอลรีพีทเตอร์ไว้ใน TNC ที่เขาได้พัฒนาขึ้นมา  นับต่อแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ได้มีกลุ่ม
นักวิทยุสมัครเล่นที่มีความสนใจใน TNC ของ Hak ได้พากันทดลองค้นคว้าและพัฒนาระบบแพ็คเก็ตเรดิโอ
ไม่เพียงแต่เท่านั้น พวกเขายังได้ตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นขึ้นมาสมาคมหสึ่งชื่อว่า Pacific Packet Radio Society
และอีกกลุ่มหนึ่งคือ AMRAD:the Amateur Radio Research and Development Corporation ในกรุงอวร์ชิงพัน ดีซี
จนกลายเป็นศูนย์กลางแพ็คเก็ตเรดิโอ มีเครือข่ายครอบคลุมตลอดชายฝั่งตะวันออกทั้งหมด
กำเนิด TAPR:
            พุทธศักราช 2524 กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นในเมือง Tucson และ Arizona ได้รวมตัวกันก่อตั้งองค์กรใหม่
ของพวกเขาขึ้นมา ขนานนามว่า The Tucson Amateur Packet Radio Corporation:TAPR(อ่ายว่า "ทัพเพอร์")
หลังจากที่กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นต่าง ๆ ได้รวมตัวกันปรับปรุงพัฒนาเวอร์ชั่นของโปรโตคอลที่ใช้อยู่ในแล้วใน
เชิงพานิช X.25 แล้วก็ให้ชื่อใหม่เป็น AX.25  คำว่า AX ก็มาจากคำว่า Amateur X.25 นั่นเอง
            ในเดือตพฤศจิกายน 2527 นั่นเอง TAPR ก็ได้จัดทำชุดคิตของ TNC เพื่อให้สมาชิกประกอบเองขึ้นมา
ให้ชื่อว่า TAPR TNC 1 ซึ่งก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักวิทยุสมัครเล่นทั้งหลาย จนไม่เพียงพอแก่
การสั่งจอง(จากบันทึกของคุณ  Stan Horzepa,WA1LOU ว่าได้ไปแย่งเขามาได้ชุดหนึ่ง..ผู้แปล)  การทดลอง
แพ็คเก็ตเรดิโอได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง  ได้มีการพัฒนาโปรแกรมของระบบศูนย์ข้อมูงที่เรียกว่า PBBS:
Packet Bulletin Board System ขึ้นมา  แพ็คเก็ตเรดิโอได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นทวีคูณและเป็นไปอย่างกว้าง
ขวางทั่วสหรัฐและแคนาดา
            แพ็คเก็ตเรดิโอเป็นตัวพัฒนาที่สำคัญยิ่งและได้รับความนิยมากที่สุดของวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก  มีนักวิทยุ
หลาย ๆ พันคินติดแพ็คเก็ตเรดิโอกันงอมแงมทีเดียว เราอาจจะมีเกิดความฉงนสนเท่ห์กันในใจว่า เหตุใดหนอก
คนทั้งหลายจึงได้สนใจกับแพ็คเก็ตเรดิโอกันนัก  อ่านต่อไปเถิดครับ ท่านจะได้รับคำตอบในหัวใจของท่านได้
เอง
แพ็คเก็ตเรดิโอแตกต่างจากวิทยุสมัครเล่นทั่วไปอย่างไร?
            ดูเหมือนว่าแพ็คเก็ตเรดิโอนั้นได้ให้อะไรแก่เราบางอย่างที่แตกต่างไปจากวิทยุสมัครเล่นทั่ว ๆ ไป
เป็นต้นว่า ทำให้เราสามารถติดต่อสนทนากับสถานีที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันไฟมล์ได้ ส่งจดหมายอีเล็ค
โทรนิค(อีเมล์)  ส่งข่าวสารทั่วๆ  ไป  การติดต่อต่อสือสารในภาวะฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ  การสือสารในโลกแห่ง
ระบบดิจิตอล  เป็นการแก้ปัญหาการรวกวนที่เกิดมามนุษย์ที่เรียกกันวา่ QRM ในแบนด์ต่ำ ๆ  เป็นโหมดใหม่
ที่ใช่อยู่ใน FM ซึ่งดีกว่าและเร็วกว่าที่เราเคยใช้กันในระบบ RTTY  เหมาะสำหรับส่งข้อความสำคัญ ๆ อัน
เกี่ยวกับการค้นคว้าและทดลชองต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานไม่ค่อยมีเวลาว่างมากนัก
องค์ประกอบของแพ็คเก็ตเรดิโอ
            แม้มีเงินเพียงเล็กน้อย  เราก็สามารถที่จะซื้อหาแพ็คเก็ตเรดิโอได้ สิ่งที่ต้องจัดหาก็คือ
            1.    วิทยุรับ/ส่ง
            2.    คอมพิวเตอร์
            3.    TNC หรือโมเด็มพิเศษสำหรับแพ็คเก็ตเรดิโอ พร้อมทั้งโปรแกรม
            เนื่องจากการรับ/ส่งข่าวสารทางแพ็คเก็ตเรดิโอส่วนมากก็ทำกันอยู่ในเขตพื้นที่นั้น ๆ การใช้วิทยุย่าน
ความถี่ 2 เมตร นับว่าดีที่สุด บางคนก็อาจจะมีวิทยุและคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว สิ่งที่จะต้องจัดหาเพิ่มก็คือ
TNC  ราคาก็ประมาณ 100 ดอลลาร์สหรัฐ  หรือถ้าซื้อโมเด็มพิเศษพร้อมโปรแกรมก็ราคาประมาณ 50 ดอลลาร์
สหรัฐ(สำหรับในประเทศไทยเรานั้น กระผมในนาม "ชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย" ได้ขออนุญาต
จากกลุ่ม Baycom แห่งเยอรมันี่ เพื่อจัดทำโมเด็มราคาถูกบริการสมาชิก ราคาประมาณ 1000 กว่าบาท ท่าน
ผู้ที่สนใจสอบถามได้ที่ชมรมฯตลอดเวลา....ผู้แปล)
TNC คืออะไร?
            TNC คือกล่องสีดำเล็ก  ๆ ต่อเชื่อมอยู่ระหว่างคอมพิวเตอรืกับวิทยุรับ/ส่ง มีโปรแกรมควบคุมการส่ง
สัญญาณเข้าออกสถานีของเรา  มีโมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ AFSK เพื่อส่งออก
อากาศ เปลี่ยนเสียงที่รับจากวิทยุเป็นข้อมูลส่งให้กับคอมพิวเตอร์  โมเด็ม TNC นั้นทำหน้าที่เหมือนโมเด็มทั่วไป
ที่เราใช้กับโทรศัพท์นั่นเอง เพียงแต่เสียบแลั๊กพร้อมแจ๊กสองอัน  แพ็คเก็ตเรดิโอก็พร้อมใช้งาน ในกรณีที่ใช้
โมเด็มเล็ก(ที่เรียกกันว่า Baycom) นั้น  เราจะต้องหาโปรแกรมพิเศษสำหรับโมเด็มมาใช้แทนโปรแกรม
TNC ทั้งสองแบบก็ทำงานได้ดีเหมือนกัน
Keyboard to Keyboard
            การติดต่อสือสารทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เราขนานนามว่า "แพ็คเก็ตเรดิโอ" สามารถที่จะติดต่อสนทนา
กันโดยตรงที่เรียกว่า keyboard to keyboard  หรือจะใช้เป็นไปรษณีย์อีเล็คโทรนิค  หรือศูนย์ข้อมูลเพื่อรับฝาก
ข้อความ และส่งข้อความก็ได้  การที่มีระบบตรวจสอบโดย TNC นั่นเอง ข้อมูลที่รับ/ส่งกันจึงไม่มีความผิดพลาด
เลย (คือถูกตามที่ผู้ส่งพิมพ์ส่งไปอย่างไรก็อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง) เพราะการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งเข้ามาจะรับ
เฉพาะข้อความทึ่ถูกต้องเท่านั้น  ถ้าผิดมันก็ไม่รับ   ดังนั้นจึงมีการส่งซ้ำจนกว่าจะรัยได้ถูกต้องสมบูรณ์
แพ็คเก็ตเรดิโอทำงานอย่างไร?
            การทำงานของแพ็คเก็ตเรดิโอนั้นก็คือ ข้อมูลที่ส่งออกไปจะถุกเก็บไว้ที่ TNC แล้วก็จะส่งออกไปเป็น
กลุ่ม ๆ หรือแพ็คเก็ต  แต่ละแพ็คเก็ตที่ส่งออกไปจะมีสัญญาณเรียกชานหรือที่อยู่ของผู้รับและส่งพร้อมกับระบุ
เส้นทางระหว่างคู่สถานีรวมอยู่ด้วย พร้อมกับช้อความที่ส่งซึ่งได้ตรวจสอบแล้ว  แต่ละแพ็คเก็ตกำหนดความจุ
สูงสุดไว้ 256 ตัวอักษร  จึงทำให้เราสามารถส่งข้อความได้มากว่า 3 บรรทัดภายในสองวินาที
            ในกรณ๊ที่มีสถานีต่าง ๆ มากมายใช้ความถี่เดียวกันและใช้ในเวลาเดียวกัน  หรือหากมีความสับสนวุ่น
วายเพราะเรื่องนี้ก็ขอให้ใจเย็น ๆ     เพราะว่า TNC หรือโมเด็มจะทำงานให้เราโดยอัตโนมัติ แรก ๆ นั้นอาจจะ
สับสนนิดหน่อย   แต่เมื่อใช้ไปสักสองสามวันก็จะรู้สึกดีขึ้น   บทความตอนนี้จะบอกให้ทราบถึงเรืองราว
แพ็คเก็ตเรดิโอทั่ว ๆ ไปก่อน  ส่วนวิธีการออกอากาศและการใช้งานพร้อมจะได้กล่าวถึงเจ้ากล่องสีดำเล็ก ๆ
ที่เรียกว่า TNC และบอกถึงความลี้ลับภายในทั้งหมดของมัน เราจะได้ศึกษาเรื่อง mailbox,bulletin board system
ระบบเครือข่ายแพ็คเก็ตเรดิโอ  ทำให้เราสามารถติดต่อได้หลายร้อยสถานี แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลออกไปหลายร้อย
หลายพันไมล์ก็ตาม  โดยการใช้พลังงานของเครื่อง 2 มิเตอร์ 220 หรือ 450 MHz.โลกแห่งแพ็คเก็ตเรดิโอกำลัง
รอคอยท่านอยู่นะครับ โชคดีครับ
บทที่ 1 นี้เขียนทบทวนใหม่เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539
บทที่ 2 แพ็คเก็ตเรดิโอเบื้องต้น     to the top


การออกอากาศด้วยแพ็คเก็ตเรดิโอ
            ในบทที่ 1 นั้นผมได้กล่าวถึงเรืองทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับแพ็คเก็ตเรดิโอ  บัดนี้จะได้กล่าวถึงวิธีกาาออกอากาศ
สนทนา ทำความคุ้นเคยกับสถานีแพ็คเก็ตต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นคนใหม่หรือว่าเคยใช้งานมาแล้วในระยะสั้นๆ
หรือว่าเป็นผู้"ชำนาญ"แล้วก็ตาม  ข้อความในบทนี้จะช่วยท่านได้เป็นอย่างดี  แม้ว่าบางท่านอาจจะยังไม่เคย
มีอุปกรณ์ใดๆ ที่จะออกอากาศเลย  ก็ควรจะได้เก็บข้อความนี้ไว้ เพื่อใช้งานในอนาคต  พนันได้เลยว่าท่าจะต้องอดไม่ได้ที่ต้องเข้ามาร่วมวงไพบูลย์กับเราเป็นแน่นอน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการออกอากาศคือ
    1.    วิทยุรับ/ส่ง
    2.    คอมพิวเตอร์ หรือเทอร์มินอล(คืออุปกรณ์ทำหน้าที่เหมือนคอมพิวเตอร์)
    3.    TNC:Terminal Node Controller ได้แก่เจ้ากล่องดำเล็ก ๆ ที่ผมกล่าวไว้ในบทที่ 1 พร้อมโปรแกรม
หรือถ้าท่านมีคอมพิวเตอร์อยู่เครืองหนึ่ง ไม่ใช่เทอร์มินอลนะครับ ก็สามารถใช้โปรแกรมพิเศษและ
โมเด็มเล็ก(เช่น Baycom) แทน TNC ที่บอกว่าเราต้องใช้โมเด็ม  อันคำว่า"โมเด็ม" นี้ไม่ใช่โมเด็มแบบ
เดียวกันกับที่ใช้กับโทรศัพท์นะครับ  เพราะว่าโทนเสียงที่ใช้ในโทรศัพท์แตกต่างกันกับที่ใช้ในแพ็คเก็ต
เรดิโอ  ผมขอแนะนำให้ใช้เครื่องรับ/ส่งวิทยุแบบ 2 มิเตอร์ แม้ว่าจะมีการรัง/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอใน 220,440 MHz.
และ HF ก็ตาม  แต่แบบ 2 มิเตอร์นี่ทำงานได้ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่
การติดตั้งสำหรับมือใหม่
            เมื่อซื้อ TNC หรือโมเด็มแพ็คเก็ตมาแล้ว เอาออกจากกล่อง จะพบสายไฟที่ใช้เชื่อมต่อกับวิทยุ
แต่เราจะต้องต่อสายไมค์ สายลำโพงให้ถูกต้องด้วย  เพื่อต่อกับวิทยุรับ/ส่งที่เราใช้งานเสร็จแล้ว
ให้ต่อ TNC เชื่อมกับคอมพิวเตอร์  หรือเทอร์มินอล โดยทั่วไปแล้ว TNC หรือโมเด็มนั้นจะต่อกับ
พอร์ทคอมพิวเตอร์ RS-232 ในเครืองคอมพิวเตอร์นั้น เราเรียกพอร์มนี่ว่า COM port  บางครั้งก็เรียก
ว่าพอร์ทสือสารคอมพิวเตอร์  เราจะต้องต่อสายเชื่อมตัวนี้ระหว่าง TNC กับคอมพิวเตอร์เอง  หรือไม่ก็
ไปหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป  เพราะอุปกรณ์เสริม  อาจจะซื้ออุปกรณ์ทั้งสอง
อั้นใดอันหนึ่ง หรือทั้งสองจากผู้ผลิตผู้จำหน่าย TNC ที่มีขั้วต่อจากโรงงานสำหรับวิทยุและคอมพิวเตอร์
ของเราโดยตรง
            หนังสือคู่มือที่ให้มากับ TNC หรือโมเด็มจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการต่อสายเคเบิลในคอม
พิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ  ไว้โดยละเอียด  ขอให้เราอ่านคู่มือและกรรมวิธีในการติดตั้ง TNC แต่ละชนิด
ต่าง ๆ โดยละเอียดถี่ถ้วน  บริษัทต่าง ๆ ก็มักจะให้หนังสือคู่มือมาด้วย  เราไม่ควรจะปล่อยให้ความ
สับสนและความไม่รู้ใด ๆ อันเกี่ยวกับการติดตั้งที่กล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนั้นๆ ค้างคาใจ  เมื่อได้ติด
ตั้งตามที่กล่าวไว้แล้วนั้น ก็เป็นอันว่าการติดตั้งระบบ hardware ได้เสร็จโดยสมบูรณ์
การติดตั้งโปรแกรม
            ต่อไปนี้เราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรืองของโปรแกรม(software) ถ้าใช้ TNC จะใช้
โปรแกรมเทอร์มินอล หรือ communication ใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์  โปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้กับโมเด็ม
โทรศัพท์ เช่น Procomm หรือ windows terminal ก็สามารถนำมาใช้กับแพ็คเก็ตเรดิโอได้ ยังมีโปรแกรม
ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นมาใช้กับแพ็คเก็ตเรดิโอโดยเฉพาะ  เป็นต้นว่า PC PACRATE,MFJCOM,PAKET,
PakcetGold,TPK ถ้าเราใช้โมเด็มเล็ก ๆ แทน TNC ก็ต้องใช้โปรแกรมแพ็คเก็ตเรดิโอพิเศษเขียนขึ้นมา
เพื่อใช้กับโมเด็มนั้น ๆ เช่น Baycom เป็นต้น ให้อ่านคำแนำนำในการติดตั้งโปรแกรมในคอมพิวเตอร์
ให้เข้าใจชัดเจน
BAUD RATE
            ไม่ว่าเราจะใช้โปรแกรมใด ๆ ก็ตาม เราจะต้องกำหนดพอร์ทสือสารให้ใช้งานได้ด้วยการตั้ง
baud rate หรือ data rate และ data parameters ที่ใช้กับพอร์ทนั้น ๆ  ขอให้เราสังเกตุว่าจะมี baud rate
อยู่ 2 แบบด้วยกันที่สัมพันธ์กันกับสถานีของเรา คือ
            1.    Baude rate ระหว่างคอมพิวเตอร์กับ TNC
            2.    Baud rate ของแพ็คเก็ตเรดิโอที่ออกอากาศ
ในที่นี่ผมจะนำเสนอถึง baud rate ในข้อที่ 1 ก่อน ส่วนข้อ 2 นั้นจะนำไปกล่าวใตบทที่ 3 ต่อไป
Baud rate ระหว่างคอมพิวเตอร์กับ TNC
            การตั้ง Baud rate และ data parameter นั้นจะต้องศึกษาให้เข้าใจจากหนังสือคู่มือที่กำหนดไว้
สำหรับโปรแกรมนั้น ๆ  baud rate ของคอมพิวเตอร์จะต้องประสานสอดคล้องเข้ากันได้กับ baud rate
ของ TNC  มี TNC บางตัวที่สามารถตั้ง baud rate ให้เข้ากันได้กับคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ ส่วน TNC
ทั่วๆ ไปนั้น จะต้องใช้คำสั่งของ TNC หรือใช้วิธีเปลี่ยนสวิทซ์เพื่อตั้ง baud rate  อย่างไรก็ตาม ก็ต้อง
ปฏิบัติตามคำแนำตำที่ใช้ไว้ในหนังสือคู่มือนั่นเอง
การตั้ง data parameter
            8-N-1
            8    : data bits มีค่าเป็น 8
            N    : parity เป็น none
            1    : stop bit เป็น 1
data parameter นั้นก็เหมือนกันกับ baud rate ค่าพารามิเตอร์ของคอมพิวเตอร์และ TNC จะต้องเท่ากัน
การสือสารจากคีย์บอร์ด
            อันดับต่อไปนี้จะได้ชี้แจงถึงรายละเอียดถึงระดับการสือสารต่าง ๆ     ที่เราสามารถทำได้จาก
คีย์บอร์ด
            1.    การติดต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อการติดตั้งโปรแกรม
            2.    การติดต่อกับ TNC หรือโปรแกรม
            3.    การส่งข้อความผ่านทางวิทยุ
            สิ่งสำคัญก็คือว่าเราจะต้องรู้ว่า เรากำลังทำงานอยู่ในระดับใด  เมื่อเข้าสู่ระบบแด็คเก็ตเรดิโอ
ต้องรู้ด้วยว่าเมื่อพิมพ์ลงไปแล้วข้อความจะไปทางไหน ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ TNC จะต้องทราบว่าโปรแกรม
ไหนใช้สำหรับการติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งานแพ็คเก็ตเรดิโอ ซึ่งมีรายละเอียดอธิบายไว้ในคู่มือการ
ใช้โปรแกรม
การใช้โปรแกรม
            เมื่อได้ติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว  ก็จะต้องทำงานในขั้นต่อไป ในกรณีที่เราใช้ TNC สิ่งที่จะ
ต้องติดตั้งก่อน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ
            1.    อันดับแรก เมื่อเปิดสวิทซ์ขึ้นมาแล้วจะเห็นคำทักทายที่เรียกว่า "greeting"  หรือข้อความ
จาก TNC ปรากฏบนจอภาพ บอกถึง ชื่อผู้ผลิต เวอร์ชั่นของโปรแกรม ข้อมูลต่าง ๆ  เป็นต้น ถ้าเห็น
ขยะ &tf$d.h#smn, หมายถึงค่าพารามิเตอร์ของ TNC และคอมพิวเตอร์ไม่เท่ากัน  จะต้องปรับเปลี่ยน
ใหม่  ถ้าไม่เห็นคำทักทาน หรือขยะ ให้ตรวจดูว่ามีสายไฟต่อเชื่อม ณ จุดต่าง ๆ ถูกต้องหรือไม่  คือ
ขาปลั๊กแต่ละอันถุกต้องตรงกันหรือไม่
            2.    ต่อไปกด control C(คือกด control ไว้แล้วต่อเนื่องด้วย C ) ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้ TNC เปลี่ยน
ไปอยู่ใน command mode ซึ่งเป็นระดับที่เราสามารถติดต่อกับ TNC ผ่านทางคีย์บอร์ดได้  เมื่อทำเช่นนี้
แล้วก็จะมีคำว่า cmd:  ขึ้นมาให้เห็นบนจอภาพ  เมือกด enter
            3.     MYCALL ---- ให้ใส่สัญญาณเรยกขานลงไปที่ตรงขีดเป็นช่องว่าเอาไว้ เช่น
                    MYCALL WB9LOZ ตามด้วย <CR> คือกด enter  หรือบางแห่งเขาก็เรียกว่า
return คำสั่งทุกคำสั่งที่ใช้หลังพิมพ์ลงไปแล้วจะต้องกด  enter ทุกครั้งไป แล้วมันก็จะบันทึกไว้ใน
หน่วยความจำของ TNC เพื่อใช้งานเมื่อออกอากาศต่อไป
            4.    ต่อไปให้พิมพ์  MYCALL กด enter ผลที่ปรากฏขึ้นนั้นจะมีสัญญาณเรียกชานของเรา
ขึ้นมาด้วย ถ้าเป็นเช่นนั้นก็แสดงว่า TNC ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ดี  ถ้าไม่เห็นหลังจากที่เราพิมพ์
ข้อความดังกล่าวลงไป ให้ทำดังต่อไปนี้คือ
            5.    ECHO ON กด enter  ถ้าพิมพ์อะไรลงไปแล้วออกมาเป็น 2 ตัว เช่น MMYYCCAALL
                   ECHO OFF กด enter
            6.    ต่อไปให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้
              MONITOR ON กด enter
                   MRPT ON  กด enter
            สำหรับผู้ใช้โปรแกรมแพ็คเก็ตเรดิโอและโมเด็มแทนการใช้ TNC ให้ป้อนสัญญาณเรียกขานเข้า
ในตอนที่ติดตั้งไฟล์ ในระหว่างการติดตั้งโปรแกรม  ถ้าไม่มี ก็ให้หาคู่มือการใช้โปรแกรมมาศึกษาเพื่อ
ติดตั้งไฟล์ให้แก่สถานีของเรา  จำเอาไว้ว่า  การใช้โปรแกรมแบบนี้จะไม่มีการกด Control C เพื่อเข้าสู่
Command mode เพียงแต่กด ESC ก็จะเข้าสู่จุดรับคำสั่งต่าง ๆ เบื้องต้นได้
พร้อมออกอากาศ
            ณ บัดนี้ เราก็พร้อมแล้วที่จะออกอากาศ ให้เปิดวิทยุ เร่งวอลลูมไปประมาณ 10 หรือ 11 นาฬิกา
ตั้ง wquelch ให้อยู่ ณ จุดที่เสียงซู่ซ่าหายไป เหมือนกับที่เราตั้งเมือพูดสนทนากันทั่ว ๆ ไป ปรับความถี่
เครื่องรับไปที่ 144.910 MHz.145.090 MHz. หรือ 145.610 MHz. และ 145.790 MHz.(ในสหรัฐ สำหรับ
ประเทศไทยคือ 145.825 MHz.) ตั้งวิทยุของเราให้อยู่ในระบบซิมเพล็คซ์  หรือเราอาจจะหมุนความถี่
หาดูว่ามีการใช้งานแพ็คเก็ตเรดิโออยู่ในช่องไหนบ้างก็ได้ ดูที่จอภาพ ไม่นานก็จะเห็นข้อความแพ็คเก็ต
ที่เขาส่งออกอากาศโดยสถานีอื่น ๆ บนจอภาพ  ขอให้เรามาดูซิว่าเราเห็นอะไรบ้าง บางทีอาจจะเห็น
ข้อความคล้ายตัวอย่างดังต่อไปนี้คือ
        WA9LOZ>W6PW-3,W6PW-1*:The meeting will be held at 8:00 pm.
เครืองหมาย * บอกให้รู้ว่าเรารับข้อความแพ็คเก็ตจาก W6PW-1 ไม่ใช่สถานีที่ส่งข้อความนั้น สถานีที่ส่ง
ข้อความนั้นคือ WB9LOZ ข้อความจะถูกถ่ายทอด  หรือทวนสัญญาณโดยสถานี W6PW-1 สถานีรที
ทำหน้าที่นี่เราเรียกว่า digipeater เราจะสังเกตุได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ สถานีรแระเภทนี้บางทีก็ใช้ชื่อ หรือ
ตัวอักษรต่าง ๆ แทนสัญญาณเรียกขาน  ตัวอย่างช่น
            SFW,BERKLY  หรือ BLUE
สถานีเหล่านี้นี้ถูกตั้งค่าพารามิเตอร์ให้ทำหน้าที่เป็น node ซึ่งเป็นสถานีที่ตั้งอยู่บนที่สูง  สามารถที่จะติดต่อ
สถานีอื่น ๆ ได้ง่าย ส่วนมาก็จะใช้ชื่อ ตัวอักษร สัญญาณเรียกขาน ชื่อเล่น เป็นตัวกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง
จะส่งชื่อเล่น สัญญาณเรียกขาน  ออกอากาศทุก ๆ 10 นาที เพื่อแจ้งให้เพื่อนได้ทราบ(เกี่ยวกับเรื่องดิจิพีท
เตอร์และ node จะได้กล่าวโดยละเอียดในบทต่อไป)
            เป็นที่น่าสังเกตุว่ามีตัวเลขต่อท้ายสัญญาณเรียกขานอยู่ด้วย เรื่องราวเป็นไปมาอย่างไร ในแพ็คเก็ต
เรดิโอนั้น สัญญาณเรียกขานเดียวสามารถตั้งแยกออกไปได้ถึง 16 สถานี เพื่อทำการออกอากาศได้ในเวลา
เดียวกัน  ตัวดังล่าวจะใส่ไว้ท้ายสัญญาณเรียกขาน ตัวอย่างเช่น
            W6PW,W6PW-1,W6PW-2,W6PW-3,W6PW-4 และ W6PW-5
เป็นสถานีส่วนบุคคลต่าง ๆ ภายใต้ใบอนุญาตเดียวกัน ส่วนสัญญาณเรียกขานที่ไม่ได้ใส่ตัวเลขท้ายคำก็คือ
มีตัวเลขเป็น 0 ตัวเลขเหล่านี้เรียกว่า
            SSID มาจากคำว่า Secondary Station IDs
ซึ่งก็ใช้แตกต่างกัไปในระหว่างสถานีต่าง ๆ ไม่ได้กำหนดตายตัว  แต่ไม่ควรที่จะใช้สัญญาณเรียกขานและ
SSID มากกว่าหนึ่งสถานีในการออกอากาศเวลาเดียวกัน
การติดต่อกับสถานีอื่น
            บัดนี้ ขอให้เรามาทำความคุ้นเคยกับสิ่งที่เราเห็นในแพ็คเก็ตเรดิโอ  เพราะมาถึงขั้นนี้แล้วก็แสดงว่า
พร้อมแล้วที่จะติดต่อสนทนากันทางแพ็คเก็ตเรดิโอได้ ถ้าใช้ TNC ก็ให้แน่ใจว่าเรามาอยู่ใน command mode
แล้ว(จำได้ไหมครับ เราต้องกด control C) ดูสัญญาณเรียกขานที่เรารู้จัก สังเกตุดูสัญญาณเียกขานที่เรามักจะเห็น
บ่อย ๆ ดูให้แน่ใจว่าเขาใช้ digipeater หรือ node หรือไม่  เมือเห็นว่าสถานีที่เราต้องการติดต่อด้วยเสร็จสิ้น
การติดต่อสนทนากันแล้วก็ให้ใช้คำสั่ง
        C ---------------- หรือ
        C  --------------- V ------------------
จะใช้แบบไหน อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้ digipeater หรือไม่ เมื่อพิมพ์ลงไปแล้วก็กด enter หรือที่เรียกว่า
<CR> พิมพ์สัญญาณเรียกขานของสถานีที่เราต้องการติดต่อด้วยลงในช่อง   ------------ แต่อย่างลืมเว้นวรรค
ก่อนด้วย ส่วน -------------ที่อยู่หลัง V นั้นให้พิมพ์สัญญาณเรียกขานของ digipeater ลงไป หลังจากเว้นวรรค
แล้วเช่นกัน   ถ้ามี SSID ก็อย่าลืมใส่ลงไปด้วย( SSID คือ ตัวเลขท้ายสัญญาณเรียกขาน)
        C        หมายถึงคำสั่งติดต่อคู่สถานีมาจากคำว่า connect
        V        หมายถึงผ่านสถานีทวนสัญญาณ มาจากคำว่า VIA
ตัวอย่าง
        C WB9LOZ V W6PW-1
เป็นคำสั่งเพื่อติดต่อกับสถานี WB9LOZ ผ่านทางสถานี W6PW-1 และหากการติดต่อเชื่อมได้สำเร็จจะมีข้อความ
        *** CONNECTED TO (สัญญาณเรียกขานที่ติดต่อได้)
แสดงว่าการติดต่อได้เชื่อมกันได้อย่างสมบูรณ์ ก็อยู่ในสภาพพร้อมที่จะสนทนากันต่อไปได้
การสนทนา
            บัดนี้ เราก็เข้ามาสู่ขั้นตอนที่ 3 ที่เรียกว่า converse mode เป็นการติดต่อกันระหว่างคีย์บอร์ดกับวิทยุ
ของเรา  ไม่ว่าข้อความอะไรที่เราพิมพ์ลงไปก็จะถูกส่งออกอากาศไป ทุกครั้งที่เรากด enter ข้อความก็จะ
ไปปรากฏที่จอภาพของคู่สถานี  จากนี้เป็นต้นไป เราก็หาความสนุกกับการรับ/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอได้แล้ว
ละครับ หากจะมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น  เพื่อน ๆ ที่มีประสพการณ์ก็จะให้คำแนะนำช่วยเหลือ ตอนเริ่มแรก
อาจจะมีปัญหาเรืองการติดตั้งคอมพิวเตอร์ TNC โปรแกรม วิทยุ  ก็จะมีผู้ชำนาญในการใช้แพ็คเก็ตเรดิโอ
ทั้งหลายซึ่งทุกคนก็มีความยินดี  พร้อมช่วยเหลือเพื่อน ๆ อยู่เสมอ จนกว่าเราจะสามารถออกอากาสได้
บทที่ 2 นี้เขียนทบทวนใหม่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539
บทที่ 3 คำสั่ง TNC     to the top


            ในบทที่ 2 ผมได้อธิบายเกี่ยวกับการออกอากาศและการสนทนาครั้งแรก ขอให้เรามาดูว่ามีคำสั่ง
อะไรบ้างที่ใช้กับ TNC หรือโปรแกรม  เพื่อช่วยปรับปรุงการทำงานของสถานี คำสั่งที่ใช้กับ TNC นั้น
มีมากว่า 100 คำสั่ง ให้เราเลือกใช้เอาเอง เราสามารถทำความคุ้นเคยกับคำสั่งเหล่านี้ด้วยการเปิดเป็น ON
หรือ OFF ก็ได้ตามใจปรารถนา  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า TNC ทุกตัวจะใช้คำสั่งเหมือนกันไปทั้งหมด
แต่ส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกัน  ผมจะใช้กลุ่มคำสั่งที่ใช้กับ TNC 2 และรุ่นอื่น ๆ ที่ใช้เหมือนกันมาเป็นตัวอย่าง
เราอาจจะตรวจดูรายชื่อที่มีอยู่ในหนังสือคู่มือก็ได้ ในกรณีที่มันเหมือนกันกับที่ผมกล่าวไว้ในที่นี่
            สำหรับผู้ใช้โปรแกรมแพ็คเก็ตเรดิโอร่วมกับโมเด็มแทน TNC นั้น ก็จะทราบรายชื่อคำสั่ง
ได้จากเอกสารคำแนะนำประจำโปรแกรมนั้น ๆ เราจะเห็นได้ว่า คำสั่งบางคำสั่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ขณะที่โปรแกรมกำลังใช้งานอยู่  บางคำสั่งก็เปลี่ยนในไฟล์ติดตั้ง(fonfiguration file) ขอให้ตรวจดูตามเอกสาร
คำแนะนำที่ให้เพื่อเปลี่ยนคำสั่งกับโปรแกรมนั้น ๆ โดยเฉพาะ
            ผมได้กล่าวแล้วสองสามคำสั่งในบทที่ผ่านมา เช่น CONTROL C เพื่อเข้าสู่ command mode
ยังมี MYCALL,MONITOR,ECHO,CONNECT,DISCONNET (ถ้าต้องการรายละเอียดก็ย้อนกลับไปดู
บทที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง) ตอนนี้ขอให้เรามาศึกษาผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการออกอากาศ
CONV (converse mode)
            TNC ของเราจะเปลี่ยนไปสู่โหมดนี้ทันทีที่เราเชื่อมการติดต่อกับคู่สถานีได้  แต่หากเราต้องการ
เราก็สามารถเปลี่ยนเข้าสู่โหมดนี้ได้เอง  โดยการใช้คำสั่ง CONV กด enter ณ จุดรับคำสั่ง cmd:
ขณะที่เราอยู่ใน converse mode และตอนนั้นก็ยังไม่ได้ติดต่อกับสถานีใด ๆ เลย ทุก ๆ ข้อความ
ที่เราพิมพ์ออกไป  ก็จะถูกส่งออกไปผ่านเส้นทางที่เราตั้งเอาไว้ในคำสั่ง UNPROTO( เรืองราวเกี่ยว
กับ UNPROTO จะได้ศึกษาในบทต่อไป) แพ็คเก็ตที่ส่งผ่าน UNPROTO นั้น เมื่อส่งออกไปแล้ว
ก็จะไม่มีการตอบรับ  จึงไม่มีการรับประกันว่าข้อความจะไปถึงใครหรือไม่เพียงใด  โหมดนี้ส่วนมาก
ใช้สำหรับส่ง CQ ส่วนโหมด UNPROTO นั้นออกแบบมาใช้เส้นทางเพื่อให้เราส่งเป็นแบบ beacon
หรือเมื่อเราเข้าสู่ converse mode และไม่ได้ติดต่อกับใคร ๆ เลย ให้ตั้งค่าพารามิเตอร์เป็น CQ แต่
ก็สามารถตั้งเป็นอย่างอื่นก็ได้ เช่น ชื่อของชมรม หรือกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
        CQ V WB6SDS-2,W6SG-1,AJ7L
        SFARC V W6PW-1,W6PW-4
        ถ้าเราต้องการรวมเส้นทางของ UNPROTO เข้าไว้ด้วย  จะต้องเปลี่ยนข้อความใช้สำหรับ
แต่ละความถี่ (เรือง beacon จะได้กล่าวต่อไปในภายหลัง)
FRACK
            FRACK เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ TNC คอบการตอบรับ  ก่อนจะส่งแพ็คเก็ตต่อไป  ไม่ควร
ตั้งให้ต่ำเกินไป  หรือเพียงแต่แทรกเข้าไปในความถี่  อีกทั้งไม่ตั้งสูงเกินไป มิฉะนั้นแล้ว ก็จะต้อง
คอยนานเกินไป  ผมเองนั้นใช้ค่าพารามิเตอร์ FRACK เป็น 7 ก็พบว่าเป็นค่าที่เหมาะสมดีมาก
DWAIT
            ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนและสับสน DWAIT เป็นตัวเลขบอกระยะเวลาที่ TNC รอคอย
หลังจากที่รับข้อความเข้ามา  ก่อนการส่งแพ็คเก็ตต่อไป ผมเองตั้งไว้ที่ 16 ก็พบว่ามันทำงานได้
ดีทีเดียว
PACLEN
            เป็นตัวกำหนดความยาวของแพ็คเก็ตที่ส่งออกอากาศ  มีความยาวจาก 0 ถึง  255 (ค่าพารามิเตอร์
0 เท่ากับ 256) ส่วนการส่งตัวอักษรมากหรือยาวเท่าใด  โอกาศการรบกวนกัน  คลื่นแทรกกัน หรือถูก
สถานีอื่นกลบไปเลย ก็มีมากขึ้นเท่านั้น  จากการทดลองก็พบว่าการใช้ความยาว PACLEN 80 ซึ่งเท่า
กับความยาว 1 บรรทัด นับว่ามีค่าดีมากค่าหนึ่ง  หากติดต่อกับสถานีใกล้ ๆ กันก็เพื่ม PACLEN ให้ยาว
ขึ้น  ถ้าติดต่อกับสถานีใกล ๆ ก็ลดความยาวลง
RETRY
            TNC จะส่งข้อความซ้ำออกไป  ในกรณีที่ไม่ได้รับการตอบรับจากคู่สถานี คำว่า RETRY นี้
บอกถึงจำนวนครั้งที่ TNC จะส่งข้อความซ้ำไปยังคู่สถานี  ก่อนที่จะยกเลิกการติดต่อ  ค่านี้สามารถตั้งได้จาก
0 ถึง 15  แต่ผมเองเห็นว่า 8 ถึง 10 กำลังดี  น้อยกว่านี้ก็ทำให้มีการยกเลิกการติดต่อเร็วไปโดยไม่จำเป็น
เว้นเสียแต่ว่ามีการใช้ความถี่หนาแน่น  แต้ถ้าหากตั้งสูงกว่านี้  จะทำให้มีความถี่หนาแน่น  แต่อย่าตั้ง
RETRY นี้เป็น 0 ซึ่งหมายถึงเป็นการยกเลิกการติดต่อตั้งแต่เริ่มต้นเสียแล้ว ไม่มีประโยชน์อันใด
MONITOR
            เมื่อเปลี่ยนคำสั่ง MONITOR เป็น  ON จะสามารถเห็นข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอจากสถานีต่าง ๆ
ได้  ข้อความแพ็คเก็ตจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับคำสั่งต่าง ๆ ในรายการที่จะกล่าวต่อไป  ถ้าเปลี่ยนเป็น OFF'
เราก็จะเห็นแต่ข้อความของคู่สถานีของเราที่เราติดต่อด้วยเท่านั้น
            ข้อสังเกตุ..... TNC บางรุ่น เช่น AEA PK-232 จะกำหนดขึ้นเป็นตัวเลขหลังคำว่า monitor เช่น
            MONITOR 4 หรือ
            M 3
รายละเอียดให้ดูจากหนังสือคู่มือของ TNC นั้น ๆ
MALL
            ถ้าเป็น ON สามารถรับข้อความแพ็คเก็ตต่าง ๆ ที่สถานีต่าง ๆ ติดต่อกันอยู่ในความถี่ที่เราใช้อยู่
รวมถึงแพ็คเก็ตที่ส่งออกอากาศในรูปแบบ UNPROTO ด้วย คำสั่งนี้ ควรจะตั้งเป็น ON เพื่อ่านข้อความ
แพ็คเก็ตอื่น ๆ ได้ ถ้าตั้งเป็น OFF จะสามารถรับข้อความแพ็คเก็ตที่ส่งในรูปของ UNPROTO  ได้เท่านั้น
MCOM
             ถ้าเป็น ON เราจะเห็นเครื่องหมายการติดต่อเป็น <C หรือ SABM> ยกเลิกการติดต่อ <D>
ตอบรับ <UA> ไม่ว่า <DM> ต่อจากข้อความแพ็คเก็ต  ถ้าเป็น OFF จะเห็นเฉพาะข้อความที่เป็นแพ็ค
เก็ตเรดิโอ
MCON
            ถ้าเป็น ON เราสามารถเห็นข้อความแพ็คเก็ตของสถานีอื่นขณะที่เราติดต่ออยู่กับอีกสถานีหนึ่งได้
ซึ่งอาจจะทำให้สับสนได้ แต่ก็เป็นประโยชน์เมื่อใดก็ตามที่เส้นทางการส่งของเราไม่ดี   และต้องการดู
ว่าแพ็คเก็ตของเราได้มีการทวนสัญญาณให้ได้ดีหรือไม่  ถ้าเปลี่ยนเป็น OFF การที่จะดูข้อความของ
สถานีอื่น ๆ นั้นหยุดชงักลงโดยสิ้นเชิง  เมื่อใดก็ตามทื่เราติดต่อกับคู่สถานีได้แล้ว
MRPT
            ถ้าเป็น ON จะแสดงสถานะภาพของสถานีต่าง ๆ ว่าสถานีไหนใช้ดิจิพีทเตอร์ สถานีใหนเป็น
สถานีต้นทางและปลายทาง  ถ้าเปลี่ยนเป็น OFF จะเห็นเฉพาะสถานีต้นทางและปลายทางเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น MRPT ON จะเห็นข้อความดังต่อไปนี้
        K9AT>WB6QVU,W6PW-5*:I'll be leaving for the meeting at about 7.30.
ถ้า MRPT เป็น OFF ข้อความเดียวกันกับที่ส่งออกอากาศอย่างข้างบนนั้นจะเป็นดังนี้คือ
        K9AT>WB6QVU:I'll be leaving for the meeting at about 7.30
ในตัวอย่างแรกนั้น เราจะเห็น W6PW-5 ทำหน้าที่เป็นดิจิพีทเทอร์ ปรากฏให้เห็นโดยสังเกตุมีเครืองหมาย
ดอกจันท์ * ส่วนตัวอย่างที่สองนั้นไม่มีการบอกให้ทราบว่ามีการใช้ดิจิพีทเตอร์หรือว่ารับข้อความ
จากสถานีใด
HEADERLN
            ถ้าเป็น ON หัวข้อเรื่องและข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอจะอยู่คนละแถวกัน  ถ้าเป็น OFF หัวข้อเรื่อง
กับข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอจะอยู่ในแถวเดียวกัน
MSTAMP
             ถ้าเป็น ON จะมีวันและเวลาบอกไว้ทุกครั้งที่รับช้อความแพ็คเก็ต  ถ้าเป็น OFF วันและเวลา
จะไม่ปรากฏ ต้องใส่ว้นและเวลาเข้าไปไว้ในหน่วยความจำของ TNC โดยใช้คำสั่ง DAYTIME ก่อน
ใช้คำสั่ง MSTAMP จึงจะทำงานได้ ผมใช้คำสั่งเหล่านี้ทำงานกับสถานีของผม  เว้นแต่คำสั่ง MCON
เปลี่ยนไปเป็น ON ก็จะเห็นข้อความต่าง ๆ ที่เขาส่งกันอยู่ในความถี่บนจอภาพ ลองใช้ดูหลาย ๆ กลุ่ม
คำสั่งกลุ่มไหนใช้งานได้ดีที่สุดก็เลือกใช้กลุ่มนั้น
            คำสั่งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นคำสั่ง TNC ขึ้นพื้นฐาน จะได้กล่าวถึงคำสั่งอืน ๆ อีก ที่นำมาใช้
งานแก่เพื่อน ๆ ในบทที่ 13 และ 14 ต่อไป
บทที่ 3 นี้ได้ทำการเขียนทบทวยใหม่เมือ 13 กุมภาพันธ์ 2540
บทที่ 4 GIDIPEATER  แลเะ NODE เบื้องต้น   to the top


DIGIPEATER
            ดิจิพีทเตอร์ก็คือแพ็ตเก็ตเรดิโอรีพีทเตอร์นั่นเอง  แต่ก็ไม่เหมือนรีพีทเตอร์ FM ที่เราใช้กันอยู่โดยทั่วไป
รีพีทเตอร์ส่วนมากที่ใช้งานอยู่เป็นแบบซิมเพล็คซ์  ไม่รับ/ส่งสัญญารต่อเนื่องไป จะรับข้อความระบบดิจิตอล
แล้วเก็บไว้ชั่วคราวระยะหนึ่ง   แล้วส่งออกไป ใคร ๆ ก็สามารถใช้ TNC ทำเป็นดิจิพีทเตอร์ได้  หากเราใช้
คำสั่ง DIGIPEATE เป็น ON
            การใช้ดิจิพีทเตอร์ทได้โดยการใส่สัญญาณเรียกขานของดิจิพีทเตอร์นั้น ๆ หลังอักษร V หรือ VIA
เป็นลำดับต่อกันไป ในขณะที่ทำการติดต่อ  ขอให้เรามาดูตัวอย่างดังต่อไปนี้
            C W6PW-3 V WB9LOZ-2
            C N6ZYX V WA6FSP-1,WD6EOB-3
            C W6ABY-4 V K6MYZ,N2WLP-2,AB6XO
            ในตัวอย่างแรกนั้น หมายถึงการติดต่อกับ W6PW-3 ผ่าน WB9LOZ-2 ซึ่งทำหน้าที่เป้นดิจิพีทเตอร์ TNC
จะอนุญาตให้เราใช้ดิจิพีทเตอร์ได้สูงสุดถึง 8 สถานีเท่านั้น  ในการติดต่อแต่ละครั้ง  หรือเป็นเส้นทางการส่ง
UNPROTO แต่การใช้เกินกว่า 3 ทำให้เกิดการรอคอยที่ยาวนานมากขึ้น  การใช้ดิจีพีทเตอร์มากเท่าใด ก็มี
โอกาศที่จะขชาดการติดต่อได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น  อันเนื่องจากการรบกวนในความถี่ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
            การใช้ดิจิพีทเตอร์นั้น จะต้องเรียงกันเป็นลำดับไป  มีลำดับแน่นอนที่ใช้งานโดยแยกลำดับกันด้วยเครื่อง
หมายคอมมาร์ (  ,  ) ต้องใช้สัญญาณเรียกขานให้ถูกต้อง  รวมทั้งตัวเลขท้ายสัญญาณเรียกขานที่เรียกว่า
SSID ด้วย  เราต้องรู้จักดิจิพีทเตอร์นั้น  ก่อนที่จะทำการติดต่อสถานีใด ๆ  จากนั้นเราก็เปลี่ยนคำสั่ง
MONITOR ให้เป็น ON เพื่อให้เราสามารถมองเห็นการติดต่อและการส่งข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอ  ถ้าเส้น
ทางการส่งข้อความไม่ดี  เราอาจจะรับสัญญาณขอติดต่อเข้ามาได้  แต่การส่งแพ็คเก็ตเรดิโอคงจะเต็ม
ไปด้วยความยากลำบาก  สัญญาณเรียกขานที่ขอติดต่อเข้ามาซึ่งเป็นสัญญาณสั้น ๆ โอกาศที่สัญญาณ
รบกวนต่าง ๆ จะทำลายน้อย  ต่างจากสัญญาณข้อความแพ็คเก็ต  ดังนั้น การทำให้สัญญาณส่งข้อความ
แพ็คเก็ตสั้น(ด้วยการตั้งค่าพารามิเตอร์ของ PACLEN เป็น 40 หรือน้อยกว่า)จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
NODES
            Net/Rom,TheNet,G8BPQ Packet switch และ Ka-Node เป็นชื่อของอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า NODE
เป็นมรรควิถีอีกทางหนึ่งในการติดต่อสถานีแพ็คเก็ตเรดิโออื่น ๆ ได้ บทท้ายของหนังสือเล่มนี้จะได้ทบทวน
เรืองการใช้งานของ NODE โดยสมบูรณ์ต่อไป ตอนนี้จะขอกล่าวเป็นพื้นฐานในการใช้เครื่อข่าย node ไปก่อน
ความแตกต่างที่น่าสังเกตุระหว่างดิจิพีทเตอร์กับ node ก็๕ือ เราติดต่อกั้บ node โดยตรง แทนที่จะติดต่อ
ผ่านดิจิพีทเตอร์เป็นเส้นทางผ่าน  บางสถานีก็ตั้งค่าพารามิเตอร์ของตนให้เป็นทั้งดิจิพีทเตอร์และ node
            อันดับแรกต้องรู้ด้วยว่าสถานี   node ใดอยู่ใกล้กับสถานีของเรา  ด้วยกาาเผ้าดู ID ท้ายชื่อ หรือดู
สถานีอื่น ๆ ที่เขาใช้อยู่ ส่วนมากแล้ว node จะมี ID ของชื่อเล่นเพิ่มเติมจากสัญญาณเรียกขาน  เมื่อรู้จัก
สัญญาณเรียกขานหรือชื่อเล่นที่เป็น node ในพื้นที่แล้ว  ก็ทำการติดต่อเข้าไป  เช่นเดียวกันกับสถานี
แพ็คเก็ตเรดิโอทั่วๆ ไป จะใช้สัญญาณเรียกขานหรือชื่อเล่นก็ได้ ในการติดต่อนั้น ขอยกตัวอย่างเช่น
มี node แห่งหนึ่งใช้ชื่อเล่นว่า BERKLY และมีสัญญาณเรียกขานเป็น WA9LOZ-2 เราสามารถติดต่อเข้า
ไปได้ดังนี้
            C BERKLY หรือ
            C WB9LOZ-2
เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง   หลังจากที่ติดต่อกับ node ได้แล้ว TNC ก็จะเปลี่ยนไปเป้น converse mode
เหมือนกันกับที่เราติดต่อกับสถานีแพ็คเก็ตเรดิโอทั่วไป  สิ่งใดที่เราพิมพ์ษลงไปก็จะุถูกส่งไปยัง node
และ node เองก็จะตอบรับข้อความแพ็คเก็ตนั้น ๆ กลับมายัง TNC ของเรา และ TNC ของเราก็จะติดต่อ
กับเฉพาะ node นี้เท่านั้น การใช้ node เครือข่ายเพื่อติดต่อไปยังสถานีในเขตพื้นที่อื่น ๆสามารถทำได้
ด้วยการติดต่อเขาไปยัง node นั้น  จากนั้นก็ใช้คำสั่งติดต่อไปยังสถานีปลายทางที่ต้องการ สมมติว่า
เราต้องการติดต่อกับ K9AT โดยใช้ WB9LOZ เป็น node อันดับแรกให้ติดต่อ WB9LOZ ก่อน ดังนี้
            C WB9LOZ-2
อันดับต่อไป ขณะที่เรายังคงติดต่ออยู่กับ node นั้นเอง ก็ให้ใช้คำสั่งขอติดต่อเข้าไปหา K9AT ดังนี้คือ
            C K9AT
โหนดจะส่งข้อความขอติดต่อไปยังสถานี K9AT  จากนั้นเราก็จะได้รับข้อความตอบกลับมา อย่างใด
อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ
            Connected to K9AT  หรือ
            Failure with K9AT
เมื่อติดต่อได้แล้ว ก็ทำการสนทนาเหมือนกันกับที่เราติดต่อผ่านทางดิจิพีทเตอร์  เมื่อสนทนาจบลง ต้องการ
ยกเลิกการติดต่อ ให้ไปที่ command mode โดยใช้ Control C แล้วใช้คำสั่ง
            D กด enter
ก็จะเป็นการยกเลิกการติดต่อกับ node และสถานีที่เราติดต่อด้วย  node บางสถานีจะมีคำอำลาว่า
            BYE
เป็นคำอำลาก่อนยกเลิกการติดต่อ  เราจะค้นหาการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ node ได้ด้วยการใช้คำสั่ง ?
คำสั่งที่ใช้กับ node ทั้งหมดจะได้นำมาเสนอโดยละเอียดในตอนต่อไป
ข้อสังเกตุ........
            ถ้า node ใดใช้ G8BPQ เป็น packet switch ซึ่งจะมีพอร์ทใช้ในหลายความถี่  เราจะต้องกำหนด
ตัวเลขชองพอร์ทนั้น ๆ ก่อน โดยใส่ระหว่าง C และสัญญาณเรียกขาน ในตอนติดต่อเข้าไป พร้อม
ความถี่ใช้งานด้วย ต้วอย่างเช่น
            C 2 K9AT
แล้วเข้าสู่พอร์ทที่มีความถี่กำหนดไว้
NODE NETWORK:ระบบ node เครือข่าย


            Node ในระบบแพ็คเก็ตเรดิโอนั้นทำหน้าที่พร้อม ๆ กันในรูปแบบของเครือข่ายโหนดแพ็คเก็ตเรดิโอ
จะมีการส่งรายชื่อโหนดออกอากาศชั่วโมงละหนึ่งครั้ง เพื่อให้เราได้รู้จักไว้ node ที่อยู่ใกล้เคียงกันจะใช้การ
ติดต่อนี้แจ้งให้ node อื่น ๆ ในเครือข่ายทราบ  ส่วนรายละเอียดนั้นจะได้นำมาเสนอต่อไป   การติดต่อกับ node
ทำได้ดังต่อไปนี้
            NODES กด enter  หรือ
            N>  กด enter
จากนั้นเราก็จะได้รับรายชื่อ node ที่เราสามารถตืดต่อในเครือข่ายที่เราต้องการใช้ได้ ขอให้สังเกตุด้วยว่า
รายชื่อ node นี้มีความยาวหลากหลาย  แม้ว่าในรายชื่อ สัญญาณเรียกขานเองก็ตาม จะเห็นได้เมือเรา
เปลี่ยนความถี่ไปเรื่อย ๆ  เนื่องจากความถี่ต่าง ๆ นั้นไม่ได้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน  รายชื่อดังกล่าวนั้น
ก็จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ID  ของชื่อเล่น และสัญญาณเรียกขานของแต่ละโหนด  ตัว ID ของ
สัญญาณเรียกขานนี่แหละจะทำให้เรารู้ว่า node นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ใด แต่ก็ไม่เสมอไป เพื่อให้ได้ราย
ชื่อ node ที่แน่นอน  เราอาจจะ copy เอาจาก BBS ต่าง ๆ ก็ได้ รายชื่อที่สมบูรณ์นี้จะบอกให้ทราบ
ถึงชื่อเล่น สัญญาณเรียกขาน สถานที่ตั้ง ความถี่ที่ใช้งาน และข้อมูลอื่น ๆ ของแต่ละโหนดใน
เครือข่าย
            การติดต่อกับสถานีใดสถานีหนึ่งนอกเขตพื้นที่ที่เราอยู่ ให้ใช้ผ่านทาง node เครือข่าย
อันดับแรกต้องกำหนดให้ด้ก่อนว่ามี node ไหนที่อยู่ใกล้สถานีที่เราต้องการติดต่อด้วย เพื่อแสดง
ภาพให้ชัดเจน  สมมติว่าเราตรวจดูรายชื่อ node แล้วปรากฏ node ในบัญชีรายชื่อว่า
            GOLD:W6ABC-3
ขณะที่เรากำลังติดต่อเชื่อมกันอยู่กับ node ในพื้นที่นั้นเอง ก็สามารถติดต่อกับ  node ทางไกลนั้นได้
ด้วยการใช้คำสั่งติดต่อเข้าไปตามปกติธรรมดาที่เราเคยทำ  ในกรณีนี้ให้ทำดังนี้
            C GOLD หรือ
            C W6ABC-3
TNC ก็จะส่งข้อความแพ็คเก็ตไปที่ node ในพื้นที่ และ node ในพื้นที่ของเราก็จะทำการตอบรับ
จากนี้เป็นต้นไประบบเครือข่ายก็จะทำงาน หาเส้นทางระหว่าง node ในพื้นที่และสถานีที่เรา
ต้องการติดต่อด้วยเอง  จำเอาไว้ประการหนึ่งว่า ด้วยการใช้ดิจิพีทเตอร์นั้น  เราจะต้องรู้ให้แน่
ชัดถึงลำดับที่ตั้งแต่สวถานีที่เราใช้ผ่าน  แต่ถ้าใช้ node ก็ไม่ต้องทำเช่นนั้นก็ได้  เพราะระบบ
เครือข่ายจะจัดการให้เราเอง  แต่เราจะต้องอดทนสักหน่อย เพราะบางครั้งจะต้องใช้เวลาสอง
สามนาทีกว่าขบวนการเชื่อมการติดต่อจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ขออย่าได้พิมพ์อะไรลงไปในขณะ
ที่กำลังคอบคำตอบ  เพราะคำใหม่ที่ node รับเข้าไปจะไปทับข้อความเดิม เมือได้เชื่อมการติดต่อได้
โดยสมบูรณ์แล้ว ก็จะมีข้อความใดข้อความหนึ่งขึ้นมาว่า
            Connected to W6ABC-3 หรือ
            Failure with W6ABC-3
หากติดต่อไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม  ให้พยายามอีกครั้งในภายหลัง ควรจะให้ W6ABC-3 หาย
ไปจากอากาศเสียก่อน  หรือเส้นทางการติดต่อหายไปไม่มีแล้ว
            ถ้าทุกอย่างเป็นไปในทางที่ราบรื่นดี  ก็กล่าวได้ว่า เรามีทางเลือกอันดับแรกและติดต่อ node
ได้เป็นผลสำเร็จ  เมื่อติดต่อกดับ W6ABC-3 ได้แล้ว ให้ใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
            C N6XYZ
TNC ของเราก็จะส่งข้อความแพ็คเก็ตนี้ไปยัง node ในพื้นที่ เมือ node ทำการตอบรับแล้วก็จะส่งเข้า
สู่เส้นทาง เพื่อนำไปสู่ W6ABC-3  จากนั้น W6ABC-3 ก็จะติดต่อไปยัง N6XYZ  จากนั้นเราก็จะ
ได้รับข้อความใดข้อความหนึ่งขึ้นมาว่า
            Connected to N6XYZ   หรือ
            Failure with N6XYZ
เมื่อติดต่อได้แล้วก็ทำการสนทนากันไปตามปกติ แต่ก็มีความแตกต่างสำคัญบางประการคือ...
TNC ของเรารับการตอบรับจาก node ในพื้นที่แล้ว และ N6ZYZ จะรับการตอบรับจาก W6ABC-3
ข้อความตอบรับกันนี้ จะไม่ต้องเดินทางผ่านตลอดทั้งสองสถานีปลายทางทั้งหมด  แต่ละ
node จะตอบรับซึ่งกันและกันเอง เพราะเหตุนี้เอง ทำให้สามารถแก้ไขการส่งซ้ำได้ และ
ทำให้ข้อความแพ็คเก็ตไปสู่สถานีปลาบยทางได้เร็วกว่าดิจิพีทเตอร์ เ มื่อการสนทนาสิ้นสุดลง ก็ทำการยกเลิกการติดต่อตามแบบที่เราเคยทำกัน  โดยใช้คำสั่ง
            BYE
ในกรณีที่โปรแกรมกำหนดไว้เช่นนี้ หรือไม่ก็เปลี่ยนไปสู่ command mode แล้ใช้คำสั่ง
            D กด enter
วิธีการทั้งสองนี้ทำให้เส้นทางการติดต่อทั้งหมดถูกยกเลิกไปโดยอัตโนมัติ  ตัว node เองนั้น
ก็มีคุณสมบัติมากมายนอกเหนือไปจาที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกับสาถนีอื่น ๆ
เราจะไปศึกษาเรื่องนี้โดยละเอียดในบทที่ 10 และ 11 ต่อไป
บทที่ 4 นี้เ้ขียนทบทวนใหม่ล่าสุดเมือวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2540
บทที่ 5 ระบบศูนย์ข้อมูล :BBS:Bulletin Board System   to the top


            ในบทนี้จะได้แนะตำให้รู้จักกับระบบศูนย์ข้อมูล( BBS ) ส่วนในบทที่ 6 นั้นจะได้เสนอรายละเอียด
เกี่ยวกับคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้กับ BBS เนื่องจากในปัจจับันนี้ได้มีโปรแกรมที่ใช้กับ BBS หลายอย่างแตกต่างกัน
ออกไป  ซึ่งเราก็ได้พบเห็นกันอยู่ในสังคมแพ็คเก็ตเรดิโอ  ในบางครั้งเราอาจจะเห็นการใช้คำสั่งที่แตกต่าง
กันออกไปเล้กน้อย  แต่ส่วนใหญ่แล้วก็เหมือน ๆ กัน เมื่อใดก็ตามที่เราพบว่าคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งใช้งานไม่ได้
ก็ให้ใช้คำสั่ง ? หรือ H -HELP เพื่อเข้าไปดูรายละเอียดของคำสั่ง BBS ที่กำลังใช้อยู่
            เราสามารถติดต่อเข้าไปสู่สถานี BBS ได้เช่นเดียวกันกับสถานีอื่น ๆ โดยทั่วไป แต่อย่างลืมว่า
SSID ของสัญญาณเรียกขาน BBS นั้นด้วย(เพราะใช้ต่างกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบว่าจะตั้งไว้อย่างไร)
เมื่อติดต่อเข้าไปได้แล้ว ก็จะมีคำตอบรับขึ้นมา พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับ BBS นั้น ๆ ตลอดจนคำแนะนำ
ขั้นพื้นฐานเบื้องต้น ให้ศึกษาและอ่านให้เข้าใจดีเสียก่อน ในครั้งแรกหรือครั้งที่สองที่เราติดต่อเข้าไป  อาจจะ
มีคำขอร้องให้เราใส่ชื่อ ที่อยู่ ระหัสไปรษณีย์ลงไปด้วย ตลอดถึง HOME BBS ที่เราใช้ประจำอยู่ด้วย
(Home BBS นั้น คือสถานี BBS ที่อยู่ใกล้เราที่สุด และเราเข้าไปใช้บริการเป็นประจำ จึงกำหนดให้สถานี
นั้นเป็นสถานี Home BBS ของเรา)
บทที่ 6 คำสั่ง BBS:การใช้แพ็คเก็ต BBS   to the top


            ในบทที่ 5 ได้กล่าวถึงการใช้ BBS ขั้นพื้นฐษน  บัดนี้ขอให้เรามาดูคำสั่งที่ใช้กับ BBS ดังที่กล่าว
ไว้แล้วนั้น บางคำสั่งอาจจะแตกต่างกับที่เราได้ศึกษาในที่นี่  จงจำเอาไว้ด้วยว่าเมื่อพิมพ์คำสั่งเสร็จแล้ว
จะต้องกด enter ทุกครั้งไป
? หรือ  HELP        :BBS ทุกแห่งจะมีคำแนะนำให้แก่ผู้ใช้งาน เมื่อใดที่เราไม่าเข้าใจการใช้คำสั่ง  คำแนะ
                              นำนี้จะให้รายละเอียดทุกอย่าง สำหรับคำแนะนำเจาะจงเฉพาะเรื่องต่าง ๆ ใช้ดังนี้
? หรือ HELP        :ตามด้วยตัวอักษรคำสั่งที่ต้องการข้อมูลมากขึ้น ทั้ง ? หรือ HELP ใช้ได้ในบาง BBS
                            เท่านั้น แต่ BBS ส่วนมากจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น
?L หรือ HL        :เป็นการเรียกดูรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อคำสั่งต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง
A? หรือ H          :เป็นการเรียกดูข้อมูลทั่วไปและโครงสร้างเฉพาะวิธีใช้คำแนะนำใน BBS
คำสั่งเรียกดูหัวข้อเรื่อง
LIST                :เป็นคำสั่งเพื่อเรียกดูหัวข้อเรื่อง ซึ่งจะต้องใช้งานเป็นอันดับแรก เมื่อใดก็ตามที่เราติดต่อ
                        กับสถานี BBS เพื่อเรียกดูรายการข่าวที่มีอยู่ในขณะนั้น และคำสั่ง L นี้มักจะถูกนำมาใช้
                        อยู่เสมอ( L มาจากคำว่า LIST)
L(ist)                :เรียกดูรายชื่อข้อความใหม่ที่รับเข้ามาสู่ BBS ทันทีที่เราติดต่อเข้าไปสู่สถานี BBS นั้น
                        ยกเว้นข้อความส่วนบุคคล คำสั่งนี้จะแสดงรายการทั้งหมดที่มีอยู่ของข่าว bulletin และ
                        NTS(มาจากคำว่า National Traffice System) ที่มีอยู่ใน BBS เรายังไม่ได้อ่านมาก่อน
                        รวมทั้งข้อความส่วนบุคคลทีส่งไปจากเราเองและส่งมาถึงเรา ถ้าต้องการดูหัวข้อเรื่อง
                        โดยเฉพาะเจาะจง ก็อาจจะต้องใช้คำสั่ง L พร้อมกำหนดคำสั่งย่อเฉพาะเรื่องนั้น ๆ ต่อ
                        ท้ายคำสั่ง  ตัวอย่าง เช่น
LM                :มาจากคำว่า list mine คือเรียกดูข้อความที่ส่งมาถึงเรา
LL#               :เรียกดูรายชื่อข้อความล่าสุด  เครื่องหมาย # เป็นตัวเลขที่เราต้องการดู  โดยกำหนดจำนวน
                        ข้อความลงไป  ตัวอย่าง เช่น
LL 30            :คำสั่งนี้จะแสดงรายชื่อของ 30 ข้อความล่าสุดใน BBS ไม่รวมถึงข้อความส่วนบุคคล
L> สัญญาณเรียกขาน  หรือข้อความที่กำหนดขึ้นเอง
                       :เรียกดูข้อความที่ส่งถึงสัญญาณเรียกขานที่ระบุไว้  หรือข้อความที่กำหนดขึ้น ตัวอย่าง เช่น
                        L>N6XYZ      หรือ        L>SALE
L<สัญญาณเรียกขาน
                     :เรียกดูหัวข้อเรื่องที่ส่งมาจากสัญญาณเรียกขานที่กำหนดไว้นั้น ตัวอย่างเช่น
                     L<N6XYZ
L@ ข้อความที่กำหนดไว้
                    : เรียกดูข้อความที่กำหนดไว้หลังสัญลักษณ์ @ ใน BBS  ตัวอย่าง เช่น
                    L@NCA คำสั่งนี้จะเรียกดูข้อความที่ระบุชนิดไว้หลัง @ ใน BBS นั้น ในที่นี่คือ NCA
                    ยังมีคำสั่งย่ออื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ BBS นั้น ๆ จะกำหนดไว้อย่างไร ก่อนอื่นในการ
                    ใช้ BBS นั้น ๆ จะต้องใช้คำสั่ง ?L เพื่อตรวจดูคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้งานให้เข้าใจก่อน
การอ่านข้อความ
               การอ่านข้อความนั้น เราจะต้องใช้คำสั่ง R เว้นวรรค แล้วตามด้วยหมายเลขประจำข้อความนั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น เราต้องการอ่านข้อความหมายเลข 25723 ให้ทำดังต่อไปนี้คือ
                R 25723 กด enter
การอ่านข้อความที่มีหลายหมายเลขพร้อม ๆกัน เช่น หมายเลข 25723,25726 และ 25730 ให้ทำดังนี้คือ
                R 25723 25726 25730
หมายเหตุ....... ไม่าใส่คอมมาร์ ( , ) ในระหว่างวรรค ใช้เว้นวรรคแทน   เราอาจจะต้องอ่านข้อความในทำ
นองที่ต้องรวมเอารายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ทำการ forward เข้าไปด้วย  นอกเหนือเพียงแค่
สัญญาณเรียกขานอย่างเดียว หัวข้อการ forward นั้นจะแสดงให้เห็นถึงรายชื่อ BBS ที่ทำการรับข้อความ
และถ่ายทอดข้อความนั้น   จากต้นทางถึงสถานีที่เรากำลังใช้งานอยู่ พร้อมทั้งบอกวันเดือนปีเวลาที่รับ
เข้ามา ตำบลที่อยู่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  ทังนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของ software ที่ bbs นั้นใช้
อยู่  การอ่านในลักษณะนี้ จะใช้คำสั่งทั้งเป็นบบ RH และ V แทนคำสั่ง R ที่เราเคยใช้มาก่อน ตัวอย่างเช่น
           RH 25723   หรือ
            V 25723
ยังมีคำสั่งย่อใช้อ่านข้อความที่มีประโยชน์แก่เราอยู่อีก  นั้นก็คือ คำสั่ง
            RM
เมื่อเราใช้คำสั่ง RM นี้จะทำให้เราสามารถอ่านข้อความใด ๆ ก็ตามที่ส่งถึงเราและยังไม่ได้อ่านทันที
การลบข้อความ
            เมื่ออ่านข้อความส่วนบุคคลอันเป็นส่วนตัวของเราเสร็จแล้ว ก็ควรจะต้องลบออกด้วย  ผู้
ควบคุมระบบจะดีใจมากที่ช่วยทำความสะอาดด้วยการลบข้อความ"ที่ตายแล้ว" ออกไปด้วยคำสั่ง
K            :มาจากคำว่า KILL
K#          :เครื่องหมาย # เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเลขข้อความที่เราต้องการลบออก เช่นต้องการลบ
                ข้อความ 25723 ให้ใช้
K 25723 :จะลบข้อคตวามนั้นออกทันที  หรือจะใช้คำสั่ง
KM        :เพื่อลบข้อความส่วนบุคคลที่ส่งมาถึงเราก็ได้  ในกรณีที่เราใช้คำสั่ง KM สถานี BBS จะจัดการ
              ลำดับตัวเลขข้อความให้เราเองเมือเราลบแล้ว
คำสั่งส่งข้อความ
            คำสั่ง S ใช้เป็นคำสั่งส่งข้อความ ในทุก ๆ  BBS  แต่ในบางระบบ คำสั่ง S นี้ใช้เพื่อแสดง
STATUS  คือสถานภาพในขณะนั้นได้อีกด้วย ในระบบ BBS ของ W0RLI  อักษร S เป็นคำสั่ง
ใช้อ่าน status ของ BBS โดยแสดงสัญญาณเรียกขานของสถานีต่าง ๆ ที่ใช้ BBS นั้นอยู่ บอกราย
ละเอียดเกี่ยวกับ วัน เวลา ที่ติดต่อเข้ามากับพอร์ทต่าง ๆ  และภาระกิจที่ใช้ เป็นต้น  อีกทั้งยัง
แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ mail  ต่าง ๆ ที่รอผู้เข้าไปอ่าน  และข้อความที่จะต้อง forward ต่อไปยัง
BBS อื่น ๆ ในระบบแพ็คเก็ตเรดิโอบางระบบนั้น คำสั่ง S แสดงถึงจัดพร้อมรับคำสั่งในการที่เราจะ
ส่งข้อความ  หรือบางที่ก็ให้คำตอบเมื่อเราใช้ผิว่า "illigal command"(ใน BBS ของ FBB ส่วนมากจะ
ใช้เป็นเครืองหมาย ! )
การส่งข้อความ
            คำสั่ง S ใช้สำหรับส่งข้อความ  ปกติแล้วก็จะใช้ร่วมกับอักษรอื่น   เพื่อกำหนดเจาะจง
ชนิดของข้อความที่จะส่งออกไป ที่พบเห็นกันโดยทั่วไปใน BBS ต่าง ๆ ก็มีข้อความอยู่ 2 ชนิดคือ
            personal            :ข้อความส่วนบุคคล
            bulletin            :ข้อความสาธารณะที่เรียกว่า"กระดานข่าว"
            traffice            :ข้อความทั่วไป หมายถึง NTS:National Traffice System
SP        :ใช้ส่งข้อความส่วนบุคคลไปสู่บุคคลใดบุคคลหนึ่งในสถานีอื่น ๆ
SB        :ใช้ส่งข้อความ bulletin (เป็นข้อความสาธารณะที่ทุกคนอ่านได้)
ST        :ใช้ส่งข้อความที่กำหนดไว้เป็นข่าวสารแห่งชาติที่เรียกว่า NTS(มาจากคำว่า National
            traffice System)
เราสามารถส่งข้อความไปสู่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง หรือจะส่งไปให้ทุก ๆ คนใน
พื้นที่ของ BBS ได้อ่านโดยไม่เจาะจง  หรือจะส่งไปสู่ BBS ในพื้นที่อื่น ๆ ที่ห่างไกล  หรือจะส่ง
ข้อความไปเพื่อให้คนทั้งรัฐได้อ่าน  หรือว่าจะส่งไปให้คนทั่วประเทศอ่าน แม้กระทั่งส่งไป
ทั่วโลกให้คนทั่วโลกได้อ่าน สิ่งเหล่านี้ทำได้โดยไม่ยาก ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับตำบลที่อยู่ที่เราระบุ
เอาไว้ในคำสั่งนั้น ๆ นั่นเอง ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ
            Address    :ตำบลที่อยู่
            Subject    :หัวข้อเรือง
            Text        : เนื้อเรือง (ข้อความโดยละเอียด)
ตำบลที่อยู่ของข้อความส่วนบุคคล
            การส่งข้อความส่วนบุคคลให้ใช้คำสั่ง SP แล้วเว้นวรรค  จากนั้นตามด้วยสัญญาณเรียกขาน
ของผู้ที่เราต้องการให้รับข้อความนั้น เพื่อค้นหาสัญญาณเรียกขานนั้น ก็หาได้จากฐานช้อมูลที่เรียก
ว่า White Pages จะมี address อยู่ในนั้นด้วย (ผมจะชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเรืองของ white pages
ในท้ายหนังสือเล่มนี้) หากไม่ทราบสัญญาณเรียกขาน  เราจะต้องม่ address แพ็คเก็ตเรดิโอสมบูรณ์
ลงไป  รู้กันในนามของ hierachical address อันประกอบไปด้วย
            1.    สัญญาณเรียกขานของ BBS ที่เราต้องการส่งข้อความไปถึง
            2.    เขตพื้นที่
            3.    รัฐหรือจังหวัด
            4.    ประเทศ
            5.    ทวีป
ปกติแล้ว เขตพื้นที่จะนำหน้าด้วยเครื่องหมาย # อาจจะแตกต่างไปจากนี้บ้างในบางพื้นที่  แต่อย่างไร
ก็ตาม เพื่อให้การส่งข้อความตรงไปสู่จุดหมายปลายทางได้แน่นอนที่สุด  เราจำเป็นต้องใช้ระบบนี้
ชื่อย่อของรัฐหรือจังหวัดเขาใช้เป็นอักษร 2 ตัว ที่กำหนดโดยสำนักไปรษณีย์ทั่วๆป ชื่อย่อของประเทศ
จะมี 3 ตัว ชื่อทวีปจะมี 4 ตัว เราสามรถหาอักษรย่อเหล่านี้ได้จากสถานี BBS ที่เราใช้งานอยู่
หรือหาจาก help file ก็ได้ จะขอยกตัวอย่างการใช้ Address ที่ใช้กับข้อความส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้
            SP WB9LOZ @ W6PW.#NCA.CA.USA.NOAM
เป็นการส่งข้อความถึงผมในซานฟานซิสโก
            SP WM2D @ WA2NDV.#NLI.NY.USA.NOAM
สถานี WM2D เข้าไปใช้บริการสถานี BBS มีสัญญาณเรียกขานเป็น WA2NDV ซี่งตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะ
Northern Long Island(#NLI) อันเป็นพื้นที่อยู่ในรัฐนิวยอร์ค
            SP G8BPQ @ G3DAD.#32.GBR.EURO
เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า สถานี BBS ในสหรราชอาณาจักรอังกฤษ ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ หลาย
ประเทศใช้ตัวเลขบอกเขตพื้นที่  และไม่ได้บอกว่าเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของตำบลที่อยู่  ส่วน
รายละเอียดเกี่ยวกับลำดับแห่งตำบลที่อยู่ที่เรียกว่า hierachical address นั้นจะได้กล่าวใน
บทที่ 7 ต่อไป
ตำบลที่อยู่ข้อความ bulletin
            ตำบลที่อยู่ของ bulletin นั้นมีรูปลักษณะเป็นข้อความ  ข้อความนั้น ๆ จะมีการกำหนดไว้
ให้ความยาวไม่เกิน 6 ตัวอักษร  เป็นการบ่งบอกถึงลักษณะทางธรรมชาติของข้อความ  เป็นต้น
ว่า
            PACKET,INTO,SALE,WANTED,DEBATE,ARES
เป็นต้น  การส่งข้อความ bullitin เป็นข้อความทั่วไปสู่สถานีอื่น ๆ นอกเหนือไปจาก bbs ในพื้นที่
เราจะต้องเพิ่มข้อความที่กำหนดไว้นั้นด้วย เพื่อประโยชน์ในการ forward  อันเป็นการกำหนด
พื้นที่ว่า เราต้องการให้ข้อความของเรากระจายไปสู่พื้นที่ใด ซึ่งอาจจะเป็นเขตพื้นที่ของเราเอง
ตลอดทั่วรัฐ  บางส่วนของประเทศ ทั่วประเทศสหรัฐ หรือทั่วโลก  ข้อความที่กำหนดไว้นี้
ยังมีการกำหนดแตกต่างกันออกไป  เหตุเหตุนี้เอง  เราจึงต้องตรวจสอบกันกับสถานี bbs ที่อยู่
ในพื้นที่ของเราก่อน  เพื่อหาข้อมูลในรายละเเอียด  โดยการใช้คำสั่ง
?S  หรือ ?SB
เพื่อเรียกดูรายการ การกระทำดังกล่าวมานี้เป้นเพียงตัวอย่างวิธีหา address ของ bulletin
SB INFO     :    เป็นคำสั่งใช้กับ bulletin คำนี้จะให้ข้อมูลต่าง ๆ (เป็นหัรวข้อที่ให้ไว้ในนาม
                        "หัวข้อเรื่อง")มีไว้ให้ผู้ติดต่อกับ bbs ใช้เพราะว่าไม่ได้กำหนดพื้นที่การแพร่
                        กระจายข่าวไว้
SB SALE @ CA : คำสั่งของ bulletin คำสั่งนี้กำหนดเฉพาะว่าเป็นรายชือวัสดุที่มีไว้ขาย  และ
                        อาจจะถุกส่งไปยังสถานี bbs ทั้งหลายทั่วแคลิฟอร์เนีย(ขอให้สังเกตุคำว่า CA
                        ซึ่งเป็นคำย่อของ Californai แต่การออกแบบมาเพื่อให้กับรัฐของท่านอาจจะมีรูป
                        ที่แตกต่างไปจากนี้ก็ได้)
NATIONAL TRAFFIC SYSTEM:NTS
            ข้อความ NTS นี้จำต้องกำหนด address พิเศษลงไปเป็นรูปแบบหนึ่งอีกต่างหาก  ดูตัวอย่าง
            ST ZIPCODE@NTSXX
            Zipcode :เป็นระหัสไปรษณีย์ที่ข้อความของบุคคลต่าง ๆ จะส่งไปสู่ที่นั่น
            XX        :เป็นตัวย่อของอักษร 2 ตัว ข้อความที่กำหนดเป็น NTS นั้นจะถูกส่งไปสู่สหรัฐ
                          และแคนาดา เท่านั้น ตัวอย่าง
            ST 03452 @ NTSNH
            ST 60626 w NTSIL
            ST V71J3 @ NTSBC
หัวข้อเรื่อง:message subject
            เมื่อเราได้ใส่ตำบลที่อยู๕่เรียบร้อยแล้ว ก็กด enter <CR>จากนั้นก็จะได้รับข้อความบอกให้เรา
ใส่หัวข้อเรื่องที่เรียกว่า subject หรือ Title สำหรับข้อความส่วนบุคคลนั้นจะใส่อะไรก็ได้ตามต้องการ
แต่ต้องไม่เกินกำหนด 30 ตัวอักษร  ผมเองมักจะใช้ใส่เรื่องราวที่จะเขียนในเนื้อเรื่องที่จะกล่าวนั้นเอง
            สำหรับข้อความกระดานข่าวที่เรียกว่า bulletin นั้น จะใส่ข้อความย่อ ๆ (ไม่เกิน 30 ตัวอักษร)
ก็บอกเกี่ยวกับเร่องราวที่เขียนไว้ในเนื้อเรื่องทุก ๆ วัรน เราจะรับข้อความอันเป็น bulletin จำนวนมาก
ดังนั้น " หัวข้อเรื่อง" ของเราจะต้องทำให้คนทั้งหลายสามารถกำหนดเลือกได้ว่า ควรจะเลือกอ่าน
เรื่องชนิดนั้น ๆ หรือไม่ เนื้อเรื่องควรจะให้สั้นที่สุด แต่มีรายละเอียดมากที่สุด
SALE หรือ WANTED : เป็นเรื่องกำหนดให้เราทราบถึงอุปกรณ์รวมถึงยี่ห้อและรุ่นต่าง ๆ
INFO                            :ถ้าเราใช้คำว่า info ก็จะเป็นการบ่งบอกถึงเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
            ส่วนข้อความส่วนบุคคลนั้น หัวข้อเรื่องก็ไม่ค่อยจะสำคัญเท่าใดนัก  เพราะว่าเป็นข้อความที่
ส่งถึงกันและกันโดยตรงนั่นเอง สำหรับข้อความ bulletin  แม้ว่าหัวข้อเรื่องจะเป็นเรืองจำเป็นอยู่
เราก็ใช้ 30 ตัวอักษรนี่แหละครับ เพื่อสร้างงาน "ขาย" ให้แก่ผู้อ่าน(คือให้น่าสนใจ)
            ข้อความ NTS นั้นมีหัวข้อเรื่องเป็นพิเศษอีกต่างหาก มีชื่อเมือง รัฐ เลขเขตโทรศัพท์ เลขเขตใน
พื้นที่ ตัวอย่างเช่น
            Boston,MA 617-267
เนื้อเรื่อง:message text
            หลังจากที่ได้ทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เราก็จะถูกบอกให้เขียนหรือส่งข้อความได้
ตอนนี้เองที่เราจะใส่ข้อความต่ง ๆ ในรายละเอียดเข้าไป  การใส่ข้อความเข้าไปนั้น เราควรจะกด enter
เมื่อพิมพ์ไปจนสุดแถวหรือบรรทัดแล้วเหมือนกันกับพิมพ์ดีดนั่นเอง  โดยทั่วไปแล้ว แถวหนึ่งก็จะ
มีความยาวประมาณ 80 ตัวอักษร  อัรงนั้นเมื่อพิมพ์ไปได้ประมาณ 70 ถึง 75 ตัวอักษรแล้วให้กด enter
เพื่อพิมพ์ต่อไปในแถวต่อไป  ทำเช่นนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อความเกิดความสับสนวนเวียนไปมา  เพราะว่าบางโปรแกรมนั้นจะใส่บรรทัดว่างลงไปในเนื้อเรื่อง บางโปรแกรมก็ให้เรากด enter ทุกครั้ง
ไป  หรือไม่มีในกรณีที่เราพิมพ์เกินกว่า 80 ตัวอักษรในบรรทัดหนึ่งแล้วก็ทำให้อ่านไม่ได้
            สำหรับข้อความ NTS นั้นให้ใช้รูปแบบของ ARRL เป็นหลัก  ผมจะได้ชี้แจงในรายละเอียด
ให้ทราบเกี่ยวเรื่อง National Traffice System และข้อความ NTS ในบทที่ 12 ต่อไป
            เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จแล้วให้จบลงด้วยการใช้ CONTROL-Z(โดยการกด CONTROL เอาไว้
แล้วกด Z)หรือไม่ก็พิมพ์ /EX แล้วกด enter (ข้อควรจำก็คือ ให้พิมพ์ /EX ในอีกแถวหนึ่งต่างหากโดด ๆ
ไม่ปะปนกันกับข้อความอื่น ๆ คือในแถวนี้ จะต้องมีแต่ /EX อย่างเดียว)
            จากนั้น BBS จะส่งข้อความตอบรับบอกขนาด บรรทึกไว้แล้วแก่เรา  แต่บาง BBS ก็ไม่บอก
ชฃขนาด บรรทึกไว้แล้วแก่เรา  แต่บาง BBS ก็ไม่บอก  แต่เราก็ให้แน่ใจว่า bbs นั้นได้ส่งสัญญาณ
ตอบรับมายังเรา พร้อมแสดงจุดรับคำสั่ง แสดงว่า bbs ได้รับข้อความไว้แล้ว
FILE DIRECTORY COMMANDS
            Files ทั้งหลายที่อยู่ใน bbs ได้ให้รายละเอียดของเรืองราวการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
file ทีว่านี้ทำหน้าที่เหมือนห้องสมุดของ  bbs ซึ่งแต่ละแห่งก็มีกลุ่มของ file ที่ผู้ควบคุมระบบ
ได้กำหนดจัดทำเอาไว้(SYSOP ได้แก่ผู้ควบคุมระบบ มาจากคำว่า system operator) หัองสมุดที่ว่านี้ก็ยังมีอยู่
ตาม bbs ต่าง  ๆ อีกด้วย files ทั้งหลายเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในไดเร็คทอรี่ตามเนื้อเรื่องที่จัดรายชื่อเอาไว้
            หากต้องการทราบว่ามีไดเร็คทอรี่และไฟบ์ใดมีอยู่ใน bbs โดยใช้คำสั่ง W(WHAT) เมื่อใช้คำสั่ง
W ก็ได้ทราบถึงไดเร็คทอรี่ที่มีอยู่ใน bbs พร้อมด้วยอักษรตัวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  หรือว่าชื่อเรื่องและเรืองราวต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในแต่ละไดเร็คทอรี่ใดไดเร็คทอรี่หนึ่งโดยเฉพาะ ก็ให้ใช้คำสั่ง W ตามด้วยตัวอักษรที่บอกถึงไดเร็ค
ทอรี่ที่ต้องการ  หรือหัวข้อเรื่องที่รับมาจากบัญชีรายชื่อไดเร็คทอรี่  ตัวอย่างเช่น
            WA หรือ W ARRL
การที่จะใช้แบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่เรานำมาใช้ใน bbs ดังนั้นให้ใช้คำสั่ง
           ?W
เพื่อหาดูว่าในระบบของเรานั้นใช้รูปแบบใดแน่
การใช้คำสั่ง Download
            หากเราต้องการอ่านไฟล์ก็ให้ใช้คำสั่ง D(Download) เมื่อใช้คำสั่ง D แล้ว ก็ต้องตามด้วยอักษร  หรือ
ชื่อหัวข้อเรื่อง  ไดเร็คทอรี่ที่ไฟล์นั้นถูกเก็บเอาไว้  ซึ่งเราทราบมาจากรายชื่อของไดเร็คทอรี่  ต่อจากนั้น
ก็เป็นชื่อของไฟล์โดยตรง  ขอให้ดูตัวอย่างดังต่อไปนี้
            DF FCCEXAM.LST หรือ
            D FCC FCCEXAM.LST
            DM TS440S.MOD หรือ
            D MODES TS440S.MOD
ให้เราใช้คำสั่ง D เพื่อเรียกดูว่าเราจะใช้รูปแบบใดใน bbs ของเรา
การใช้คำสั่ง  U (Upload)
            การส่งไฟล์ไปสู่ bbs นั้นให้ใช้คำสั่ง U คำสั่งนี้จะใช้พร้อมด้วยตัวอักษร  หรือชื่อเรืองพร้อม
ไดเร็คทอรี่ที่เราต้องการเก็บไฟล์นั้นไว้  ตามมาด้วยชื่อไฟล์ที่เราตั้งขึ้น  ชื่อของไฟล์นั้นสามารถเขียนได้สูงสุด
ไม่เกิน 8 ตัวอักษร  แล้วใส่จุด (. ) จากนั้นก็ให้ใส่นามสกุล 3 ตัวอักษร(ใช้รูปแบบของ DOS ตามปกติ
นั่นเอง)  ขอให้เรามาดูตัวอย่างดังต่อไปนี้
            UG FLEADMKT.INF  หรือ
            U GENERAL FLEAMKT.INF
คำสั่งนี้จะทำการส่งคือ upload ไฟล์ชื่อ FLEAMKT.INF เข้าไปไว้ในไดเร็คทอรี่ G หรือ GENERAL
                UP BBSTIPS.01 หรือ
                U PACKET BBSTIPS.01
คำสั่งนี้จะส่งไฟล์ชื่อ BBSTIPS.01 ไปไว้ในไดเร็คทอรี่ P หรือ PACKET โปรแกรมระบบ bbs จะ
ไม่ยอมให้เรา upload ไฟล์ ที่มีชื่อเดี่ยวกันมีอยู่แล้วใน bbs นั้น แต่ก็มีบางไดเร็คทอรี่ที่ผู้ควบคุมระบบ
ตั้งไว้เพื่อการ download โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ส่งคือ upload โดยเฉพาะ  ดังนั้น จึงไม่
อนุญาตให้ส่งคือ upload ไฟล์ได้ ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่ง U?
คำสั่งอื่น ๆ
            มีคำสั่งอื่น ๆ อีกจำนวนมใากที่ใช้อยู่ใน bbs แต่จะใช้อย่างไร ที่ไหน เมื่อใด  ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรม
ที่นำมาใช้ จะได้อธิบายในรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ
A-ABORT    :ใช้คำสั่ง A(bort) เพื่อหยุดการส่งข้อความมาให้เราอีก  ไม่ว่าจะเป็นข้อความทั่ว ๆ ไป
                      ไฟล์ใด ๆ ก็ตาม เมื่อพิมพ์ A แล้วกด enter การไหลของข้อความจะหยุดลงทันที
COPY            :คำสั่ง copy นี้ก็คือ C ซึ่งใช้ในบางระบบเท่านั้น
SC(SEND COPY): บางระบบก็ใช้คำสั่ง copyi แบบนี้ คำสั่งเหล่านี้ใช้เพื่อ copy ข้อความแล้วส่งไปสู่สถานีอื่น
?C หรือ ?SC    :ใช้เพื่อเรียกดูรายละเอียดของคำสั่ง copy
C-CONFERENCE: BBS บางแห่งมีโหมดการประชุมโต๊ะกลมไว้บริการ  โดยจัดให้มีการติดต่อสนทนากัน
                        ในรูปของการประชุมโต๊ะกลมได้ด้วย
?C                :เป็นคำสั่ง download ข้อความของโปรแกรม FBB BBS ให้บริการเกี่ยวกับ FBB DOS
                    download พร้อมกับคุณสมบัติอื่น ๆ อีกในกรณีที่เราใช้โปรแกรม FBB
?D                :เป็นคำสั่งเรียกดูรายละเอียดต่าง ๆ ในระบบ DOS
E-EDIT        :เป็นคำสั่งเพื่อใช้แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในกรณีที่เราเข้าไปดูใน BBS มีข้อผิดพลาดอยู่
                    เช่นแก้สัญญาณเรียกขาน ตำบลที่อยู่ home bbs หรือต้องการเปลี่ยนแปลงชนิด จ่าหน้าซอง
                    ที่เรียกว่า TO ชื่อ bbs ตำบลที่อยู่ หัวข้อเรือง  แต่เราไม่สามารถเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
                    ของข้อความได้
?E                :เป็นคำสั่งเรียกดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่ง EDIT
F-SERVERS: คำสั่งในโปรแกรม FBB ให้บริการ Sever โดยใช้คำสั่ง F ต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่ง
                    นี้ให้ใช้คำสั่ง ?F เรียกดู
G-GATEWAY: เป็นคำสั่งมีใช้อยู่ใน bbs ทั่ว ๆ ไป ที่ช่วยให้เราสามารถติดต่อกับสถานีอื่น ๆ ใน bbs พอร์ท
                    ที่เพิ่มเติมเข้ามานอกเหนือจากที่เรากำลังใช้งานอยู่ ให้เราใช้คำสั่ง ?G เพื่อเรียกดูรายละเอียด
                    เกี่ยวกับคำสั่งนี้
I-INFO        :คำสั่งนี้จะเรียกดูรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะของ bbs พร้อมกับ hardware และ software ที่ใช้งาน
                    พร้อมอุปกรณ์ RF ของระบบที่กำลังใช้งานอยู่ หรือระบบอื่น ๆ  เรื่องราวที่ส่งเข้ามาใหม่ คำแนะ
                    นำต่าง ๆ หรือข้อมูลข่าวสารอันเป็นสาระน่าสนใจอื่น ๆ
คำสั่งที่ใช้กับระบบ BBS ของ W0RLIและ F6FBB    to the top


I สัญญาณเรียกขาน : คำสั่งนี้จะแสดงสัญญาณเรียกขาน QTH ระหัสไปรษณีย์ home bbs ของคนอื่นๆ
                                พร้อมสัญญาณเรียกขาน ถ้ามีอยู่ใน white pages ตัวอย่างเช่น
                                I K1TGZ
IZ zipcode            :คำสั่งนี้จะแสดงรายชื่อสถานีแพ็คเก็ตเรดิโอต่าง ๆ ที่กำลังออกอากาศในขณะนั้นพร้อม
                            ระหัสไปรษณีย์ที่เก็บไว้ใน white pages เครื่องหมายดอกจันท์ที่อยู่ท้ายตัวเลขบอกให้ทราบ
                            ว่าเป็นพื้นที่โดยกว้าง ๆ  ตัวอย่างเช่น
                            IZ 94114 ; จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานีมีระหัสไปรษณีย์ 94114 เท่านั้น
                            IZ941*   : จะให้รายละเอียดเกี่ยวสถานีมีระหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วย 941
I@BBS                :คำสั่งนี้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาณเรียกขานที่อยู่ใน white pages ซึ่งเจาะจง BBS
                           นั้น ๆ ให้เป็น home bbs ตัวอย่าง เช่น
                            I@W6PW
IH ตำบลที่อยู่    :เรียกดูสัญญาณเรีกขานต่าง ๆ ใน white pages ที่กำหนดพื้นที่เอาไว้ ตัวอย่าง เช่น
                           IH CA
                           IH GBR
                           ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสั่งนี้ใช้ ?I
J                        :เป็นคำสั่งเรียกดูรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานีต่าง ๆ ที่สถานี bbs รับได้  หรือที่ติดต่อ
                          เข้ามาใช้บริการใน bbs คำสั่งนี้จะต้องใช้ร่วมกับอักษรพอร์ทด้วย ตัวอย่าง เช่น
                          JA,JB เป็นต้เน ถ้าเรียกดู฿ในสถานีตนเอง คำสั่ง J นี้จะแสดงชื่อพอร์ทให้เราทราบ
                          หรือไม่ก็แสดง error message เราจะพบคำสั่ง J ใช้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของโปรแกรม
                          ที่ใช้ ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งยนี้ให้ใช้คำสั่ง ?J เรียกดู
M                    : เรียกดูข้อความในวันนั้น
N                    :คำสั่งนี้มีหลายแบบ  ใช้สำหรับใส่ชื่อ QTH ระหัสไปรษณีย์ home bbs การใช้คำสั่งนี้
                        เมื่อต้องการบันทึกชื่อของเราลงไปให้ใช้คำสั่ง N เว้นวรรค แล้วตามด้วยชื่อของเรา
                        ตัวอย่างเช่น
                        N Larry
                        การใส่ QTH ให้ใช้คำสั่ง NQ เว้นวรรค ตามด้วยชื่อเมือง คำย่อของรัฐ ตัวอย่าง เช่น
                        NQ San Francisco,CA
NZ                :ใช้ใส่ชื่อระหัสไปรษณีย์ ใช้ NZ เว้นวรรคแล้วใส่ระหัสไปรษณีย์ ประกอบด้าวย 5 ตัวเลข
NH                :เป็นคำสั่งเพื่อใส่ home bbs ของเรา ซึ่งเป็นผังช่วยให้การส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเป็นไป
                     อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้แน่ใจว่าระบบ bbs สามารถให้บริการได้โดยสมบูรณ์ ไม่ใช่เพียง
                    mailbox ส่วนตัวเท่านั้น เพราะว่ระบบที่สามารถให้บริการเต็มที่นั้น  จะต้องมีเครือข่ายช่วยการ
                    forward ข้อความ การใส่ home bbs นั้นให้ใช้คำสั่ง NH  เว้นวรรคแล้วตามด้วยสัญญาณเรียกขาน
                    ของ bbs ตัวอย่าง เช่น NH W6PW
ข้อสังเกตุ......SSID จะไม่ถูกนำมาใช้ในการทำงานของ bbs เว้นแต่ในกรณีที่ใช้ในตอนเริ่มต้นการติดต่อ
                   เท่านั้น โปรแกรม BBS ส่วนใหญ่จะไม่ให้ความสนใจในเรืองของ SSID (คือตัวเลขท้าย
                   สัญญาณเรียกขาน)
REBBS      :เป็นคำสั่งใช้สำหรับขอลงทะเบียน จากนั้นก็จะมีจุดรับคำสั่งขึ้นมา เพื่อใส่ชื่อและข้อมูลอื่น ๆ
                   ระบบ FBB นั้นจะมีการขอให้เราใส่ชื่อและข้อมูลอื่น ๆ โดยอัตโนมัติ  ใน bbs ทั้ง 2 ชนิด
                    นี้ เราสามารถใช้เพียงคำสั่ง N เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลของเราได้  ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะถูก
                    เก็บไว้ใน bbs พร้อมกันนั้นก็จะถูกส่งไปยังศูนย์ข้อมูลระดับชาติที่เรียกว่า National White
                    pages Directory ทุก ๆ คนสามารถที่จะเข้าไปดูได้ คือเข้าไปค้นหา ชื่อ QTH,home bbs ของ
                   เพื่อน ๆ  ส่วนวิธีการใช้ National White Pages จะนำมาอธิบายในบทที่ 9
O-OPTION:ระบบ bbs มีตัวเลือกให้เราใช้มากมายด้วยกัน เช่น ภาษา หน้ากระดาษ รายชื่อ ข้อความ
                   ตัวเลขข้อความ ต้องการคำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่ง ?O เรียกดู
                   ได้ในขณะที่เรากำลังใช้บริการ bbs นั้นอยู่
P-PATH    :ใช้คำสั่ง P ตามด้วยสัญญาณเรียกขานที่ต้องการให้เป็นเส้นทางส่งข้อความในการติดต่อเข้า
                    สู่ bbs ตัวอย่าง เช่น
                    P W6PW
B-BYE    :หลังจากที่ใช้บริการ bbs แล้วให้ใช้คำสั่ง B เพื่อยกเลิกการติดต่อ  ควรใช้คำสั่ง B แทนคำสั่งยก
                เลิกด้วย TNC DISCONNECT ใน bbs ทั่วๆไป เมื่อเราใช้คำสั่ง B แล้ว จะมีการ update
                ไฟล์ด้วย  ถ้าไม่ได้ใช้คำสั่ง B แล้วก็ก็จะไม่มีการ update ดังนั้น คำสั่ง L ก็จะใช้งานไม่ได้ในการ
                ติดต่อ bbs ครั้งต่อไป
ข้อควรจำ..... ไม่จำเป็นต้องค้นหาคำสั่งทั้งหลายเหล่านี้ใน bbs ต่าง ๆ  ควรค้นหาเพียงคำสั่งใด ๆ     ที่ผมไม่ได้
                กล่าวไว้ในที่นี่เท่านั้น  ขอให้ตรวจดูเอกสารคู่มือใน bbs เพื่อให้ได้รายชือคำสั่งโดยครบถ้วน
บทที่ 6 นี้ทำการเขียนทบทวนใหม่ในวันที่  3  ธันวาคม 2539
บทที่ 7 การกำหนดตำบลที่อยู่ของแพ็คเก็ตเรดิโอ:Packet Message Addressing to the top


            ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอที่ส่งผ่านเครือข่ายกระจายไปทั่วโลกนั้น  จำเป็นต้องใช้ตารางที่เรียกว่า
Hierarchical Addressing ซึ่งมีรูปแบบดังต่อไปนี้คือ
        address-call@BBS-call.#local-area.state-province.country.continent
จากรูบแบบข้างบนนี้  เราสามารถนำมาเขึยนเปรียบเทียบเป้นแบบ hierarchical packet address ดังนี้
        WB9LOZ@W6PW.#NCA.CA.USA.NOAM
สับสนไหมครับ คงไม่สับสน  อันดับแรกก็ให้สังเกตุส่วนต่าง ๆ ของรูปแบบ  ซึ่งแยกกันโดยใช้เครื่องหมาย
จุด ( . ) ระหัสของรัฐและจังหวัดยอมให้ใช้เป็นอักษร 2 ตัว ซึ่งทางกรมไปรษณีย์ของสหรัฐและแตนาดา
ใช้กันอยู่   เราหาข้อมูงเหล่านี้ได้จากหนังสือ call book หนังสือรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์  บัญชีรายชื่อระหัส
ไปรษณีย์  ถ้าไม่แน่ใจอย่าเดาเอานะครับ  ว่าจังหวัดนั้น รัฐนี้ควรจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้  และต้องให้แน่ใจ
ว่าเราได้ใช้อักษรเพียง 2 ตัวเท่านั้น ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอของเราก็จะถูกส่งไปผิดรัฐ
หรือจังหวัด หรือไม่ก็เก็บไว้ แทนที่จะ forward ออกไปด้วยกัน
            ให้ใช้ระหัสประจำประเทศและทวีปเป็นแบบมาตราฐานที่ยอมรับกันทั่วโลก  ซึ่งเราพอจะหาดูได้
จากคำแนะนำที่อยู่ตามสถานี bbs ต่าง ๆ ระหัสประจำประเทศมี 3 ตัวอักษร ระหัสประจำทวีปมี 4 ตัวอักษร
(ระหัสประจำทวีปแบบโบราณซึ่ง bbs บางแห่งใช้อยู่เป็นแบบ 2 ตัวอักษร)
            ระหัสประจำพื้นที่นั้น ๆ เป็นระหัสที่เลือกใช้ได้ เพราะไม่มีข้อบังคับว่ารัฐ New York จะต้องใช้เป็น
อักษรพิมพ์ใหญ่ หรือ Iowa City เป็น  IA  ไม่ต้องใส่ลงไปแบบนี้ก็ได้  แต่ถ้าหากว่าเราไม่ทราบจะใช้แบบไหน
จึงจะถูก  ก็ให้ใช้ไปอย่างไรก่อนก็ได้ครับ ไม่เป็นไร  อย่างน้อยก็ทำให้ข้อความแพ็คเก็ตของเราเดินทางไป
สู่ที่หมายใกล้ที่สุด ถุกต้องที่สุด
            สำหรับข้อความที่ส่งออกไปต่างประเทศสหรัฐหรือแคนาดา  ในส่วนของรัฐและจังหวัดไม่ค่อยจะได้ใช้
มากนัก  การใช้รูปแบบของ hierarchical address มีตัวอย่างให้ดูดังต่อไปนี้
            KB6KQV@N6ZGY.#CCA.CA.USA.NOAM
            KC6NVL@K6VE.#SCA.CA.USA.NOAM
            KC3XC@N4QQ.MD.USA.NOAM
            VE3XYZ@VE3RPT.ON.CAN.NOAM
            JA1ABC@JA1KSO.#42.JPN.ASIA
จะสังเกตุเห็นว่าระหัสประจำเขตพื้นที่นั้นนำหน้าด้วยเครื่องหมาย # เราคงจะต้องทำความเข้าใจกับเครือง
หมายตัวเลข และเครื่องหมาย $ ซึ่งก็ได้ให้เหตุผลเอาไว้ว่า ในสหรราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และพื้นที่อื่น ๆ
เขาจะใช้ตัวเลขบอกเขตพื้นที่ใน routing ซึ่งบางทีก็อาจจะสับสนกับตัวเลขระหัสไปรษณีย์ได้ การใช้
เครื่องหมาย # จึงช่วยแก้ปัญหาการ Forward ได้ทางหนึ่ง
            ขอเน้นจุดที่สำคัญอีกจุดหนึ่งก้คือว่า  hierarchical address นั้นไม่ได้บ่งบอกถึงเส้นทางการ forward
ข้อความ และควรมีเพียงสัญญาณเรียกขานของ bbs เดียวเท่านั้นที่ใส่ไว้ใน address นั้น รายชื่อสัญญาณ
เรียกขาน bbs ถูกแยกด้วยเครืองหมายจุด ( . ) จะทำให้ข้อความของเราไม่ถึงสถานีปลายทางได้  ที่จริง
แล้ว  มันจะทำให้ข้อความถูกครอบไว้ระหว่าง bbs และไม่สามารถส่งต่อไปได้
            ตาราง address นี้ กล่าวได้ว่ามันเป็นพื้นที่หนึ่งที่อยู่ในอีกพื้นที่หนึ่ง(คือพื้นที่เล็กอยู่ในพื้ที่ใหญ่)
ขอให้มาดู฿ตัวอย่าง hierarchical address ของผม ดังต่อไปนี้คือ
           WB9LOZ @ W6PW.#NCA.CA.USA.NOAM
ในที่นี่จะเห็นได้ว่า WB9LOZ ซึ่งมี W6PW เป็น home bbs เป็นที่อยู่ซึ่งอยู่ในแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ (NCA)
แคลิฟอร์เนียเองก็อยู่ในสหรัฐ คือ USA สหรัฐเองก็อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ (NOAM)
การใช้ HIERARCHICAL ADDRESS
            ในข้อความต่อไปนี้จะได้อธิบายเกี่ยวกับขบวนการของการทำงานของโปรแกรม BBS ใช้ร่วมกับ
ตาราง hierarchical address ได้อย่างไร  ผมขอยกตัวอย่าง เช่น ผมส่งข้อคยวามไปหาเพื่อนชื่อ Richard,KA7FYC
ผู้มีปกติใช้สถานี bbs ชื่อ KD7HD ใน Missoula,MT เป็น home bbs ของเขา  ผมก็จะใช้ address ดังนี้
            SP KA7FYC @ KD7HD.#MSL.MT.USA.NOAM
ทุก ๆ bbs จะมีรายชื่อ routing มี่ชื่อว่า forward file เหมือนกับว่าเป็นที่ทำการไปรษณีย์  ซึ่งตัวนี้เองจะทำ
ให้เรารู้เรืองเกี่ยวกับรายละเอียดของ routing ในพื้นที่นั้น ๆ แต่เพราะเหตุที่สถานีปลายทางอาจจะอยู่
ไกลมาก  จึงจำเป็นจะต้องรู้จักกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่วก้างไกลออกไปอีก  การที่่ข้อความที่อยู่
ใน bbs ของผมจะ forward ไปเพียงสู่ bbs อื่น ๆ ในเขตพื้นที่แคลิฟอร์เนียซึ่งมีคำย่อของรัฐ ประเทศ
ระหัสทวีประบุเอาไว้ ทีนี่ก็ขอให้เรามาดูว่าข้อความจะถุก forward ไปได้อย่างไร นั่นก็คือโปรแกรม
bbs จะพยายามหาความเหมาะสมที่เข้ากันได้ระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ใน bbs เพื่อช่วยในการ forward file
ด้วยการค้นหา hierarchical address เพื่อทำการส่งข้อความ  ถ้ามันส่งไปทาง .#MSL ไม่ได้ก็จะหาทาง
ต่อไปใน forward file เเมือพบว่า MT เหมาะสมและสามารถส่งได้มันก็จะ forward ผ่านเส้นทางนั้น
ทันที
            ใน forward file นั้นจะบอกสัญญาณเรียกขานของสถานี bbs ถัดไป  ให้รับข้อความที่ส่งไปสู่
MT  เมื่อสถานี bbs ถัดไปรับข้อความแล้ว ขบวนการส่งข้อความก็จะดำเนินต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
จนกว่าจะถึงสถานีปลายทางในที่สุด
บทที่ 7 ได้เขียนทบทวนใหม่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2539
บทที่ 8 ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอ(รายละเอียดข้อความ)   to the top


            ข้อความต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เราเห็นกันประจำอยู่ใน bbs ทั้งหลาย แต่บางแห่งก็อาจจะแสดงรายการแตกต่าง
ไปจากนี้  แต่ขัอมูลส่วนใหญ่จะเหมือนกัน
14723 PN 1084 WD5TLQ QA6XYZ N5SLE 0604/1240
                Software working great !
14722 B$771 PACKET WB9LOZ WUSA 0604/1154
       INTRO TO PACKET-part 7 of 20
14717 BF 2387 EXAMS W6NLG NCA 0603/1020 FCC Exams:March-June
14715 TN 275 94114 W1AAR 0604/0959 San Francisco 415-281
14714 BF 1663 BEBATE N2DEQ WW 0602/3214 CW REALLY NEEDED?
14712 BF 918 INFO N6ZYX NCA 0603/1845 9600 BAUD DEMONSTRATION
ตัวเลขข้อความที่กำหนดโดยโปรแกรม bbs เมื่อรับข้อความเข้ามาและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตัวเลข
หัวข้อเรื่องจะเรียงลำดับกันไป สถานะภาพของข้อความ จำนวน bits ที่แตกต่างกัน  อักษรตัวแรกจะแสดง
ชนิดของข้อความ
   :ใช้พับ bulletin
   :ใช้กับข้อความส่วนบุคคล(personal)
   :ใช้กับ traffice คือ National Traffice System
            Bulletin นั้นเป็นข้อความที่น่าสนใจของคนทั่ว ๆ ไป ทุกคนสามารถเข้ามาอ่านได้ ส่วนข้อความส่วน
บัฃุคคลนั้น จัดทำรายชื่อให้แก่ผู้ส่ง ผู้รับ และผู้ควบคุมระบบ เท่านั้นที่อ่านได้ รายชื่อที่แสดงไว้ข้างบนนี้นั้น ทาง WD5TLQ,WA6XYZ หรือผู้ควบคุมระบบเป็นผู้เรียกดู  ต่อข้อถามที่ว่า ทำไมจึงสามารถอ่านได้ ?
            คำตอบก็คือว่า หัวข้อเรื่องส่วนบุคคลที่ส่งออกไป(ข้อสัเกตุ.... แม้ว่าจะเป็นข้อความส่วนตัว คนอื่น
อ่านไม่ได้  แต่ผู้ที่เผ้าดูอยู่ที่จอภาพก็อาจเห็นได้ขณะที่ส่งออกอากาศไป)
            T: ข้อความที่เป้น traffice ให้พิมพ์ T เพื่อเรียกดูข้อความอันเป็นหัวข้อเรื่องของทุก ๆคน และทุกคน
อ่านได้  ที่ขจริงแล้วทุกคนสามารถเข้าร่วมใช้งานในการส่งข้อความ NTS ในพื้นที่ของตนได้(ขอให้ดูบทที่ 12
ของหนังสือนี้ที่เกล่าวเกี่ยวกับข้อมูลของข้อความ NTS)
    STATUS: จะแสดงให้เราทราบว่าข้อความต่าง ๆ ได้ถูกอ่านหรือ forward ไปสู่สถานีที่ระบุปลายทางไว้
แล้วหรือยังม่ได้ forward หรืออย่างไรกันแน่  เราอาจจะเห็นตัวอักษร
            N-no    :ข้อความยังไม่ได้อ่าน
            Y-yes  :ข้อความที่อ่านแล้ว
            F        :ข้อความที่ forward แล้ว
            $        :ข้อความที่ยังไม่ได้ forward
            I        :ข้อความอยู่ในระยะเวลาทำการ forward
    SIZE        :แสดงจำนวนรวมของตัวอักษร รวมถึงเครืองหมายต่าง ๆ หัวข้อการ forward(จะได้อธิบาย
                    ต่อไป)ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่อง  และทั้งหมดก็รวมไว้ในขนาดนั้นด้วย สิ่งที่เริ่ม
                    ส่งออกไปนี้เป็นข้อความสั้น ๆ อาจจะเพิ่มขึ้นได้ เมื่อผ่ายจาก bbs หนึ่งไปสู่อีก bbs หนึ่ง
    T            :คือสัญญาณเรียกขานใช้กับข้อความส่วนบุคคล  ชนิดหรือกลุ่มที่น่าสนใจที่ใช้ bulletin ระหัส
                    ไปรษณีย์ ใช้กับข้อความที่เป็น NTS บางทีเราก็อาจจะเห็นข้อความส่งถึง TO AMSAT,
                    TO PACKET,หรือTO SALE ซึ่งความจริงแล้วก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ AMSAT เกี่ยวกับ PACKET
                    เกี่ยวกับอุปกรณ์มีไว้จำหน่าย SALE เราสามารถเลือกดูคอลัมน์ TO จาก ALL,USERS,EXAMS,
                    SALE,WANTED,DEBATE,SAT.PACKET เป็นต้น
                    ส่วนต่าง ๆ ของข้อความที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อเราใช้คำสั่ง L(ist) เพื่อดูรายละเอียดของ
                    ข้อความเพิ่มขึ้น  เป็นต้นว่า ข้อความเกี่ยวกับ ID และ Hierarchical address เต็มรูปแบบ  ตัวเลขบอก
                    จำนวนครั้งที่อ่าน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น  LL 35 ;
    FROM    :แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาณเรียกขานของสถานีต้นทาง
    @BBS    :ใช้สำหรับ forward ข้อความส่วนบุคคลไปสู่คนใดคนหนึ่งในสถานี BBS อื่น ๆ สำหรับการ
                    forward ข้อความที่เป็น NTS และการกระจายข้อความที่เป็น bulletin ให้ใช้คำระบุพื้นที่กำหนด
                   ไว้  ตามรายชื่อที่แสดงไว้ข้างบน  ข้อความส่วนบุคคลจะถูก forward ไปสู่ WD5TLQ ที่สถานี
                    N5SLE ด้วยการระบุข้อความอันเป็นเขตพื้นที่เอาไว้ เช่น CA ในบรรทัดที่เป็นคอลัมน์ของ @BBS
                    ข้อความอันเป็น bulletin ก็จะถูก forward ไปสู่เขตนั้นตามที่กำหนดไว้(ให้ดูบทที่ 6 และ 7 ของหนังสือ
                    เล่มนี้ สำหรับรายละเอียดการ forward ข้อความส่วนบุคคละ bulletin และข้อความระบุเขตพื้นที่
                    forward การส่งอบบ NTS จะได้อธิบายในบทที่ 12)
    วัน และ เวลา
                    ต่อไปก็เป็นเรื่องวันและเวลาที่รับข้อความเข้ามาสู่ bbs นั้น ๆ  หรือเมื่อข้อความนั้นถูกเขียนขึ้น
                    (ซึ่งแตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่นำมาใช้งาน) ถ้ามีข้อความต้นทางอยู่ในสถานี bbs
                    หนึ่ง ก็จะแสดงวันเวลาบอกไว้ด้วย  เมื่อใดก็ตามที่ได้ใส่ข้อความนั้นไว้ในหัวข้อเรืองของข้อความ
                    forward ไป ตามที่ได้กล่าวไว้เบื้องล่าง  และจะแสดงไว้ด้านบน  เมื่อเราอ่านข้อความนั้น วันและเวลา
                    นั้นจะบอกทั้งเวลาที่เป็น GMT(เวลา Zulu) หรือที่เราเรียกว่าเวลา UTC ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเวลาที่สถานี
                    bbs นั้นใช้อยู่
    SUBJECT: หรือ TITLE:  จะเป็นการกำหนดเนื้อหาข้อความโดยย่อ หรือที่เราเรียกว่า "หัวข้อเรื่อง" นั่นเอง
                    สำหรับข้อความที่เป็น bulletin จะกำหนดลงไปเป็นข้อความทั่วไป ใครจะอ่านหรือไม่ก็ตาม เป็น
                    ข้อความสั้น ๆ มีรูปแบบชัดเจน  เพื่อบอกกล่าวให้คนอื่น ๆ ทราบเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีความ
                    ยาวไม่เกิน 30 ตัวอักษร
                    หากมีข้อความ forward มาจากสถานีอื่น หัวข้อในการ forward ก็จะถูกเพิ่มเข้าไปส่วนบนของ
                    ข้อความ  ข้อความนี้จะถูกเพิ่มเข้าไปทุก ๆ bbs ที่รับข้อความนั้นเข้ามาจากสถานีต้นทาง
                    สู่สถานีปลายทาง แต่าละ bbs ก็จะเพิ่มเวลาที่รับข้อความเข้ามา รวมถึงสัญญาณเรียกขาน
                    บลที่อยู่ QTH ระหัสไปรษณีย์ ตัวเลขลำดับข้อความ  และข้อมูลอื่น ๆ
                    หากเราใช้คำสั่วง RH หรือ V (จะใช้แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่เราใช้งานอยู่)  นอกเหนือ
                    ไปจากการใช้คำสั่ง R ขณะที่อ่านข้อความนั้น เราก็จะเห็นไปถึงหัวข้อเรื่องด้วย ถ้าใช้คำสั่ง
                    เพียง R อย่างเดียว มันก็จะลดหัวข้อเรืองออกไป จากสัญญาณเรียกขายของ bbs นั้น หัวข้อเรื่อง
                    โดยสมบูรณ์นั้นมีประโยชน์ หากเราต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางการส่งข้อความ
                    ว่าผ่านมาอย่างไร  จนกระทั่งมาถึงเราได้  หรือทราบว่ามัรนใช้เวลายาวนานเพียงใดในการ
                    forward จากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง จากสถานีต้นทางจนถึงสถานีปลายทาง
    TEXT    :ข้อความที่บรรจุข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องส่งไปสู่ผู้อ่าน  จะยาวเพียงใดก็ได้  แต่ถ้าข้อความจะต้อง
                    เดินทางสู่สถานี BBS ระยะไกล  โดยมากแล้วก็จะ forward ผ่านทางเครือข่ายย่านความถี่ HF
                    ซึ่งมี gateway เพื่อให้ข้อความเคลือนที่ไปได้อย่างราบรื่น แต่ก็มีข้อจำกัดทำได้เพียงไม่เกิน
                    2.5 k เท่านั้น  ข้อจำกัดนี้ตั้งไว้โดยผู้ควบคุม gateway ในย่านความถี่ HF เพื่อให้ข้อความส่ง
                    ไปถึงปลายทางด้วยความราบรื่น  แม้ว่าสภาพอากาศไม่ดี และ QRM   ข้อความที่ยาวมาก ๆ
                    นั้น ทำให้การ forward คับคั่งโดยไม่จำเป้น  ดังนั้น ขอแนะนำให้ตัดความยาวข้อความ
                    ออกเป็นส่วน ๆ
                    ได้กล่าวไว้ในบทที่ 6 แล้วว่า เมื่อใดก็ตามที่เราส่งข้อความเข้าไปใน bbs จะต้องกด enter
                    ณ ท้ายบรรทัด  รวมกับว่าเราใช้เครื่องพิมพ์ดีดอย่างนั้นแหละ  ความกว้างของหน้ากระดาษ
                    ก็บรรจุข้อคยวามแถวละ 80 ตัวอักษร ดังนั้นให้กด enter ก่อนครบ 80 ตัวอักษรในแต่ละ
                    บรรทัด  ข้อความที่พิมพ์ลงไปโดยไม่กด enter จะทำให้อ่านยาก  เพราะว่าถ้อยคำจะถูกตัด
                    ออกไปในช่วงที่ไม่เหมาะสม  แต่ละบรรทัดก็ยาวไม่เท่ากัน  มันจะเกิดแถวว่างขึ้นใน
                    ระหว่างเนื้อเรื่อง  โปรแกรมเทอร์มินอลบางโปรแกรมนั้น  ถ้าแถวใดยาวเกินกว่า 80 ตัว
                    อักษรแล้วจะมองไม่เห็น  หรือไม่ถูกพิมพ์ออกมา
                    ในเนื้อเรื่องนั้น เราจะต้องใส่ชื่อ สัญญาณเรียกขาน ตำบลที่อยู่ ทางแพ็คเก็ตไว้ที่ท้ายข้อความ
                    ของเรา เพื่อให้คนอ่านสามารถที่จะส่งข้อความตอบมายังเราได้ ถ้าเชาต้องการจะตอบ
                    เมือพิมพ์ข้อความจบลงแล้ว ให้กด CONTROL-Z หรือ /EX ตอนขึ้นบรรทัดใหม่(ห้ามใช้
                    /EX ร่วมกับข้อความอื่น ๆ ในแถวเดียวกัน ในแถวนี้จะต้องให้มีแต่ /EX เท่านั้น) เป็นการ
                    บอกให้ bbs บันทึกเก็บข้อความไว้  อย่าเพิ่งยกเลิกการติดต่อจนกว่าจะได้รับการตอบรับ
                    พรัอมจัดรับคำสั่งจาก bbs มิฉะนั้นแล้ว เราก็ไม่ทราบว่าข้อความได้ถูกบันทึกเก็บไว้แล้ว
                    หรือยัง
 บทที่ 8 นี้เขียนทบทวนใหม่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2539
บทที่ 9     WHITE PAGES DATABASE ของแพ็คเก็ตเรดิโอ to the top


            ในบทนี้เราจะมาทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง WHITE PAGES  ไม่ใช่เรื่องหนังสือรายชื่อผู้ใช้
โทรศัพท์นะครรับ  แต่เป็นรายชื่อผู้ใช้แพ็คเก็ตเรดิโอมีชื่อว่า WHITE PAGES  ช่วยให้เราส่งข้อความ
ไปสู่ปลายทางได้  เราส่งข้อมูลของเราไปเก็บไว้ใน white pages  หรือหาข้อมูลเพื่อน ๆ อันเกี่ยวกับ
QTH ระหัสไปรษณีย์ แชะชื่อต่าง ๆ ในแพ็คเก็ตเรดิโอได้จากที่นี่ได้ด้วย
            White pages นี้ออกแบบมาใช้งานโดย คุณ Eric Williams,WD6CMU แห่ง Richmond แคลิฟอร์เนีย
ภายหลัง คุณ Hank Oredson, W0RLI ได้ใส่ white pages นี้เข้าไว้ในโปรแกรม bbs ของเขา ในปัจจุบันนี้
โปรแกรม bbs ต่าง ๆ ได้ใส่ white pages นี้ไว้ในฐานของมูบที่เก็บและแสดงรายชื่อ home bbs,QTH และ
ระหัสไปรษณีย์ พร้อมทั้งมีการ update อยู่ตลอดเวลา  พร้อมให้บริการแก่สถานีแพ็คเก็ตเรดิโอต่าง ๆ เข้ามา
เลือกใช้ได้ตลอดเวลา
            เมื่อใดก็ตามที่นักแพ็คเก็ตเรดิโอทั้งหลายใส่ชื่อของเขาพร้อมด้วยข้อมูลอื่น ๆ เข้าไปไว้ในไฟล์ของ
bbs ม้นก็จะนำไปเก็บไว้ใน white pages ตัว white pages ของแต่ละ bbs จะตรวจหาหัวข้อเรื่อง ข้อความ
ทั้งหมดที่รับเข้ามา ตรวจดูข้อมูลสัญญาณเรียกขาน แล้วใส่เข้าไปไว้ในฐานข้อมูล  โปรแกรมเองก็จะทำการ
update ข้อความใหม่ของ white pages นี้ว้นละครั้ง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายใน 24 ชั่วโมง
ข้อมูลที่ update แล้วก็จะถุกส่งไปยัง server ของ white pages ของ bbs ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เหมือนกัน
กับที่ N6IYZ BBS ใน Fulton แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็น server ระดับชาติ  ผลที่ได้รับก็คือ  เราก็ได้ฐานข้อมูล
ที่ใหญ่ เก็บข้อมูลแพ็คเก็ตเรดิโอไว้บริการผู้ใช้งานทั่วโลก  ด้วยการเข้าไปค้นหาใน WP เราก็จะพบชื่อ
home bbs, QTH ระหัสไปรษณีย์ ของสถานีแพ็คเก็ตเรดิโออื่น ๆ
            เมื่อ bbs ของเราใช้งานด้วยฐานข้อมูล white page ของตนเอง  เราสามารถเรียกดูข้อมูลด้วยการใช้
คำสั่ง I หรือ Q จะใช้อย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่เราใช้งาน เพียงเราใช้คำสั่ง I หรือ Q ตามด้วย
สัญญาณเรียกขานที่เราต้องการทราบขอมูลของเขา  ตัวอย่างเช่น  เราต้องการดูข้อมูลของ WB9LOZ
ให้ใช้คำสั่งดังนี้คือ
            I WB9LOZ หรือ
            Q WB9LOZ
ก็สามารถตรวจเช็คเรื่องนี้ได้ใน bbs ของเรา  เพื่อดูว่าคำสั่งใดควรจะใช้ตอนนี้  ในบาง bbs ก็ให้เราใช้
คำสั่งเพื่อหาข้อมูลจาก white page ด้วยการดูจากรายชื่อในเขตพื้นที่ที่เราอยู่  หรือจากข้อมูลทางระหัส
ไปรษณีย์ ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งนี้ ให้ใช้คำสั่ง
            ?I  หรือ ?Q  หรือ ?WP
เพื่อเรียกดูก็ได้  ถ้าสถานี bbs ในพื้นที่ไม่มีช้อมูลให้เราหาดูได้  ก้ต้องไปหาจาก WP server ในเขตพื้นที่
ของเรา  หรือไม่ก็ WP server แห่งชาติ เนื่องจากข้อความที่ต้องการนั้นถูกมามาอ่านและตอบโดย
โปรแกรม white page ไม่ใช่ตัวบุคคล  ดังนั้นเราควรจะใช้คำสั่งให้มีรูปแบบทีถูกต้อง เช่น
            สัญญาณเรียกขาน ?
เมือเราเรียกเข้าไปที่ WP@ สัญญาณเรียกขานที่ต้องการ   การใช้ QUERY จะใส่เข้าไปในหัวข้อเรื่อง
จากนั้นก็รวมเอาคำร้องขอที่เราต้องการเข้าไป  เป็นเนื้อความแต่ละเรือง  แต่ละเรืองนั้นต้อง
แยกกันอยู่คนละแถว  เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ขอให้เรามาดูตัวอย่างข้อความที่ส่งไปถึง
N6IYA ที่ National White page server
            SP WP @ N6IYA.#CCA.CA.USA.NOAM
(รูปแบบเหมือนกับกับข้างบนนี้ใช้กับหัวข้อเรือง :Query เพื่อส่งคำร้องขอเข้าไปดูเนื้อเรื่องใน regional
WP database)  KA9AT? WA6DDM? NG2P? W1KPL ?เมือส่งข้อความเสร็จแล้วใช้ Control-Z หรือ /EX
            จะใช้อักษรพิมพ์ใหญ่หรือเล็กก็ได้ในการเขียนข้อความ ซึ่งก็เหมือนกับการเขียนข้อความแพ็คเก็ต
เรดิโออื่น ๆ   ข้อความที่ส่งถึง white page จะ forward จาก bbs หนึ่งไปสู่อีก bbs หนึ่งจนถึงสถานี
ปลายทาง  ถ้า bbs ใดใช้ server ของ W0RLI WP เมื่อใช้คำสั่งเรียกดู มันก็จะตอบสนองกลับมาด้วยข้อมูล
ที่มีอยู่  ผลก็คือ เราอาจจะได้รับข้อความมากกว่าที่เราต้องการก็ได้
            ถ้าข้อมูลอันเป็นสัญญาณเรียกขานนั้นไม่ได้ update มันจะถูกลบออกเมื่อครบเวลาที่กำหนดไว้
โดยผู้ควบคุมระบบ  โดยปกติแล้วก็ประมาณ 90 ถึง 180 วัน แม้ว่ระบบ bbs บางแห่งเก็บข้อมูลไว้ถึง
หนึ่งปีก็ตาม
            สิ่งสำคัญที่ควรจะต้องจดจำในที่นี่ก็คือว่า เราจะต้องเลือกเพียงสถานีร bbs แห่งเดียวเท่านั้น
ให้เป็น home bbs ของเรา ซึ่งเป็นสถานีเดียวที่ให้การรับ/ส่งข้อความ  และต้องให้แน่ใจว่าสถานี bbs
ที่ให้บริการครบวงจร ไม่ใช่เป็นเพียง mailbox ส่วนบุคคลหรือสถานีที่ไม่มีการ forard ข้อความถึงเรา
ได้  เมื่อใดก็ตามที่เราเข้าสู่ home bbs ทักจะถูกถามหาสัญญาณเรียกขาน  แม้ว่าเราใช้ระบบอื่นอยู่
ก็ตาม
            เมื่อข้อความมาถึงสถานี bbs ปลายทาง ก็จะให้คอลัมน์เป็น @ BBS โปรแกรม bbs บางแห่ง
จะทำการครวจสอบข้อมูล white page เพือให้แน่ใจว่าข้อความนั้นได้ส่งมาสู่สถานีที่ถูกต้องแน่นอน
ถ้าพบว่าเป็นตำบลที่อยู่ที่แตกต่างกัน มันก็จะใส่สัญญาณเรียกขานของ bbs นั้นเข้าไปในข้อความนั้น
แล้วส่งต่อไปยังปลายทาง ถ้าหากเราใส่ home bbs ไว้หลายแห่ง ข้อความเหล่านั้นก็จะถูกส่งไปสู่
bbs ต่าง ๆ เรือยไป  ไม่มีทางที่จะมาถึงเราได้เลย
            ถ้าเปลี่ยนหรือย้าย home bbs ก็ต้องให้แน่ใจว่าเราได้ทำการ update ข้อมูลสัญญาณเรียกขาน
ของเราในฐานข้อมูล white page ถูกต้อง  ซึ่งจะช่วยให้เราได้รับข้อความที่ส่งมาถุกต้องตาม bbs นั้น
บทที่ 9 เขียนทบทวนใหม่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2539
บทที่ 10 ระบบเครือข่าย NODES      to the top


            ในบทนี่เราจะได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ NODE อันเป็นระบบเครือข่ายแพ็คเก็ตเรดิโออย่าง
ละเอียดต่อไป ในบทที่ 4 นั้น เราก็ศึกษามาแล้วในเรืองที่ว่าเราสามารถใช้เครือช่ายเพื่อติดต่อกับสถานี
อื่น ๆ ได้อย่างไร มาบัรดนี้ เราจะศึกษาคุณสมบัติอื่น ๆ ว่า NODE นั้นได้ให้บริการอะไรแก่เราบ้าง
            Node แพ็คเก็ตเรดิโอนั้น ส่วนมากก็ยังคงติดตั้งในรูปแบบของ digipeater ดังนั้ เราก็คงใช้เป็น
digipeater ตามปกตินั่นเอง แต่กากรติดต่อกับสถานีอื่น ๆ ส่วนมากแล้ว เราก็ต้องใช้ในลักษณะที่เป็น
node เมื่อใดก็ตามที่เราใช้ digipeater ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอของเราก็จะสามารถไปถึงสถานีปลาย
ทางเสมอ  โดยที่ TNC เมื่อรับข้อความเข้ามาแล้วก็จะต้องส่งสัญญาณตอบรับที่เรียกว่า ack กลับมา
สู่ TNC ของเรา ทำเช่นนี้เรือย ๆ ไปจนกว่าวงจรแห่งการรับ/ส่งเสร็จสิ้นสมบูรณ์
        เมื่อเราเพิ่มสถานี digipeater เข้าไปในเส้นทางการส่งข้อความ  โอกาศที่จะส่งข้อความได้สำเร็จ
ยิ่งน้อยลงไปทุกที ๆ เพราะความถี่ที่ส่งออกมาจากสถานีอื่น ๆ และสัญญาณรบกวนต่าง ๆ จะเป็น
เหตุให้ต้องส่งซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่า(เพราะการรับไม่สมบูรณ์จึงไม่ได้รับการตอบรับ)  อย่างไรก็ตาม
เมื่อเราหันมาใช้ node ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอของเราจะไปถึงสาถนีปลายทางก่อนที่สถานีของเรา
จะได้รับสัญญาณตอบรัรบกลับมายัง TNC ของเรา  เพราะว่า node แต่ละตัวจำทำการตอบรับเอง
พร้อมกันนั้นก็จะส่งต่อไปยังสถานีปลายทาง
            การนำระบบเครือข่าย node มาใช้งาน ทำให้เวลาการรับ/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอของเรามีความ
สนุกสนานมากขึ้น  พร้อมกันนั้นก็ยังสามารถขยายพื้นที่การรับ/ส่งให้กว้างไกลออกไป เครือ
ข่ายของ node ต่างๆ เป็นต้นว่า NET/ROM,TheNet,G8BPQ,และ KAM ได้ขยายตัวออกไปเร็ว
มากและบัดนี้ก็ครอบคลุมไปทั่วประเทศแล้ว  node ใหม่ ๆ ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นมารัรบใช้บริการ
ทุก  ๆ วัน
            ขอขอบพระคุณสถานีต่าง ๆ ที่ได้ให้ความร่วมมือในการเชื่อมเครือข่าย  ขณะนี้เราสามารถ
ติดต่อกับสถานีอื่น ๆ แม้จะอยู่ในที่ห่างไกลมาก ๆ ได้(ติดต่อได้ทั่วโลก) ด้วยการใช้วิทยุ
ย่าน 2 เมตร กำลังส่งต่ำ ๆ  มี node เป็นจำนวนมากที่ตั้งขึ้นมามีวัตถุประสงค์ในการใช้ crossband
และมีการนำเอา node มาใช้ในย่าน 10 เมตรโหมด FM จึงทำให้การทำงานของสถานีครอลคลุม
ไปได้หลายพื้นที่
            หากเราได้เผ้าดูที่จอคอมพิวเตอร์แล้ว ก็จะสังเกตุเห็น node ต่าง ๆ กำลังทำงานกัน
อยู่ เราอาจจะแปลกใจว่าทำไมหนอเขาจึงส่งสัญญาณประหลาด ๆ (ตัวยึกยือ) เช่น @fx/<~/.
กันเต็มไปหมด  สิ่งที่เราเห็นนี่แหละครับ  คือการติดต่อสือสารซึ่งกันและกันของ node ต่าง     ๆ
เพื่อ update บัญชีรายชื่อของ node ซึ่งเราจะเห็นสัญญาณเรียกขานพร้อมด้วยตัวเลขท้าย
สัญญาณเรียกขานนั้น ที่เรียกว่า SSID เป็นต้นว่า
            WB9LOZ,WA6DDM-15,W6PW-12
node ทั้งหลายจะทำการเปลี่ยนแปลง SSID ของสถานีต่าง ๆ  เพื่อให้ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอ
สามารถส่งผ่านเครือข่าย  ไม่เหมือนกับการส่งข้อความโดยตรงสู่สถานีปลายทาง หากเราใช้
node ติดต่อสถานีอื่นในพื้นที่ของตนเอง ก็อาจจะเป็นไปได้ที่เราจะรับข้อความตอบรับทั้ง
จากคู่สถานีโดยตรงและจากสถานีที่เป็น node  ถ้าหากว่าสัญญาณเรียกขานที่ผ่านไปทาง
node ไม่ได้ถูกเปลี่ยนไป TNC ต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องร่วมกันอยู่ก็จะเกิดอาการงุนงง  ดังนั้น
node จึงทำการเปลี่ยน SSID ให้โดยอัตโนมัติโดยใช้สูตร
            15-N
            N    : คือ SSID ตามปกติของเราเอง
การใช้ NODE
            การใช้ node นั้นทำได้ง่าย ๆ ตามที่ผมได้อธิบายไว้ในบทที่ 4 แล้ว  การใช้ node นั้น อันดับ
แรกให้ติดต่อกับ node ในพื้นที่ของเราก่อน  ต้องเป็นสถานีที่เราติดต่อได้ดี  ด้วยความเข้มของสัญญาณ
ที่แรงพอ  เมือติดต่อได้แล้วก็มีตัวเลือกหลายอย่าง คือ
            1.    ติดต่อกับสถานีอื่นที่ node ครอบคลุมไปถึง
            2.    ติดต่อกับสถานี node ต่อไป
            3.    ติดต่อกับสถานี  BBS
            4.    เรียกดูรายชื่อ node ต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่ในขณะนั้น
            5.    ตรวจดูเส้นทางของ route และสถานภาพของผู้ใช้งานต่าง ๆ
ส่วนnode ที่เป็น NET/ROM และ TheNet สามารถใช้รับ/ส่ง CQ ได้อีกด้วย
คำสั่ง NODE แพ็คเก็คเรดิโอ
            มีคำสั่งใช้งานอยู่ใน node ประจำพื้นที่เป็นจำนวนมาก เช่น CONNECT,NODES,ROUTES,และ
USERS ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของ node ที่เรากำลังใช้  อาจจะพบคำสั่ง  เช่น  BBS,BYE,CQ,INTO,PARMS,
หรือ PORTS เป็นต้น
CONNECT:คำสั่งติดต่อ(คำย่อคือ C)ใช้เหมือนกันกับที่เราติดต่อกับ TNC เป็นการติดต่อกับสถานี
                  ในเขตพื้นที่อื่นผ่านทาง node ด้วยการใช้คำสั่ง C ตามด้วยสัญญาณเรียกขาน  การติดต่อ
                   กับ node อื่น ๆ นั้นสามารถใช้ได้ทั้งสัญญาณเรียกขาน และชื่อเล่นที่เรียกว่า  alias เช่น
                  เราสามารถติดต่อกับ W6AMT หรือจะติดต่อกับ alias ของเขาคือ SFO ก็ได้ทั้งสองอย่าง
                 ใช้ได้เหมือนกัน
                 ได้มีการพิจารณาเป็นพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง  เมื่อมีการติดต่อมาจาก node ที่ใช้โปรแกรม G8BPQ
                packet switch เพราะnode เองมีความสามารถที่จะติดต่อได้หลายย่านความถี่  โดยใช้ node
                ตัวเดียว เราจะต้องกำหนดขัดลงไปว่าเราต้องการติดต่อ port ที่ใช้ในย่านความถี่ใด คำสั่ง
                port โดยย่อก็คือ P เพื่อเรียกดูรายชื่อ port ต่าง ๆ ที่มีอยู฿่ใน node นั้น ตัวอย่าง เช่น
                SF:WB9LOZ-2} Ports:
                1 223.52 MHz.
                2 144.99 MHz.
                3 443.15 MHz.
                จากนั้นเราก็ใส่ตัวเลข port เข้าไประหว่าง C และสัญญาณเรียกขาน ตัวอย่าง เช่น
                C 2 W6RFN
                กรณีนี้ port 2 ใช้ความถี่ 144.99 MHz.
NODE    :เป็นคำสั่ง(มีคำย่อเป็น N) จะให้รายชื่อ NODE ต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าไปใช้งานและติดต่อได้
               มันจะแสดงให้เราได้เห็นทั้งชื่อที่เรียกว่า alias และสัญญาณเรียกขานของแต่ละ node ที่รู้จัก
               รายชื่อที่พบเห็นในแต่ละ node ก็จะมีความยาวต่างกันและมีสัญญาณเรียกขานต่างกัน เนื่อง
               จากความถี่ต่าง ๆ ไม่ได้เชื่อมถึงกัน
บทที่ 11 NODE เครือข่าย(ต่อ)   to the top


            คำสั่ง node ยังมีคุณลักษณะอื่นที่ช่วยให้เราค้นหาว่ามี node ใดบ้างที่เราสามารถเข้าไปใช้งานได้
ถ้ามีก็เป็นเส้นทางหรือ routing ที่ดีที่จะนยำมาใช้  การตรวจเช็คดูคุณภาพของ route ที่จะติดต่อไปยัง
node อื่นได้นั้น ทำได้ง่ายขึ้น เพียงเราใช้คำสั่ง N ตามด้วยสัญญาณเรียกขานหรือ alias ของ node
นั้น ๆ ที่เราต้องการตรวจสอบ ตัวอย่าง เช่น
            N FRESNO หรือ
            N W6ZFN-2
เราจะใด้รับรายงานแสดงเส้นทางของ routing 3 เส้นทางที่สามารถติดต่อ node ได้ตามที่เราต้องการ เส้น
ทางที่เป็น routing เหล่านี้ จะดีเพียงใดหรือไม่  ก็ขึ้นอยู่กับว่าได้มีการ update ข้อมูลกันทุกวัรนหรือไม่
หากไม่มีข้อมูลใดจะแจ้งให้ทราบได้ เราก็จะได้รับข้อความทั้งคำว่า Not Found หรือรายชื่อ NODE
ทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของ node หรือ switch ที่เราใช้อยู่
        ขอให้เรามาดู report ชนิดต่าง ๆ ที่รับเข้ามาหลังขากทีเราใช้คำสั่ง N FRESNO แล้ว  ถ้าเราติดต่อกับ
node  ที่เป็น NET/ROM หรือ TheNet จะได้รับข้อความกลับมดังนี้คือ
         SFW;W6PW-1}Routes to:RESNO:W6ZFN-2
         105 60 WB9LOZ-2
         78 6 0 WW6L-1
         61 5 0 WA8DRZ-7
        ในกรณีที่เราติดต่อกับ node ชื่อ G8BPQ packet switch เราจะเห็นคอลัมน์น้อยลงหนึ่งคอลัมน์ใน report
ที่รับเข้ามาคือ
        SF:WB9LOZ-2}Routes to:FRESNO:W6ZFN-2
        126 6 W6PW-10
        61 3 WW6L-1
        60 4 W6PW-1
ดรรชนี route ที่นำมาใช้งานได้


1.    ตัวเลขกลุ่มแรกบอกให้ทราบถึงคุณภาพของ route
        ค่าตัวเลข255 เป็นตัวแสดงถึงคุณภาพดีที่สุดหมายถึงกาาติดต่อโดยตรงกับnode
       ผ่านได้ง่ายเหมือนอยู่ในสถานีเดียวกัน
        ค่าตัวเลขเป็น 0 แสดงว่าแย่ที่สุดคือไม่สามารถจะติดต่อได้เลย
       ค่าตัวเลขเป็น 192 เกือบดีที่สุดในการออกอากาศที่พอจะหาได้  นั่นก็คือ node ที่อยู่ห่างจากเราเพียง
        1 hop ( 1 hop หมายถึงคลื่นกระจายออกไปกระทบชั้นยรรยากาศไอโอโนสเฟียแล้วสะท้อนสู่ผิวโลก
        หนึ่งครั้งในย่านความถี่ HF)
        ถ้าเห็นค่าตัวเลขน้อยกว่า 80 แสดงว่าการติดต่อรับ/ส่งข้อมูลข่าวสารเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก
        ผ่านทาน route นั้น
2.     ต้วเลขกลุ่มที่ 2 แสดงว่าเป็น routing ที่ล้าสมัยไปแล้ว  ตัวเลข  6 นี้แสดงขึ้นให้เห็นก็ต่อเมื่อ routing
        ผ่านเวลาไปแล้วหนึ่งชั่วโมง  เพราะว่าจะมีการ update ระบบ routing ที่ไม่ได้แจ้งเข้ามา(ปกติแล้วโปร
        แกรมจะทำการ update ระบบ routing นี้อยู่เป็นระยะ)ตัวเลขนี้จะลดลงไปเรื่อย ๆ ที่ละ 1  ยกตัวอย่าง
        เลข 5 ก็หมายถึงข้อมูลนี้ล้าหลังไปแล้ว 1 ชั่วโมง ตัวเลข 4 หมายถึงข้อมูลนี้ล้าหลังไปแล้ว 2 ชั่วโมง
3.    ตัวเลขกลุ่มต่อไปจะแสดงให้เห็นเฉพาะใน node ที่เป็น NET/ROM และ TheNet เท่านั้น แสดงให้ทราบ
        ถึงชนิดของพอร์ท
        ตัวเลข 0 คือ port ชื่อ HDLC
        ตัวเลข 1 คือ port ชื่อ RS-232
        เราไม่ต้องเอาใจใส่กับตัวเลขนี้มากนัก
4.    ต่อไปก็เป็นสัญญาณเรียกขานของ node ที่อยู่ใกล้ที่สุดปราฏอยู่ใน route
5.    ต่อไปก็เป็นสัญญาณเรียกขานของ digipeater ถ้าเราเลือกใช้  เพื่อให้สามารถติดต่อ node ที่ใกล้ที่สุดได้
        เหล่านี้เป็นการตรวจเช็คดู node ที่เราต้องการติดต่อ เป็นการประหวัดเวลาของเรา เราจะรู้ได้ท้นทีว่า
node พร้อมใช้งานได้หรือไม่  ถ้ามีก็แสดงถึบงการใช้ routing ของเราจะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากนั้น เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพยายามเสาะแสวงหา node อื่น ๆ มาใช้งาน หรือมีเป็น node ที่มีคุณภาพ
ต่ำ
        ถ้าพบว่ามี routing ที่จะติดต่อกับ node หรือ switch พอใช้ได้  ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่เราคงต้องเลือกเป็น
แนวของเครือข่ายนี้เพื่อทำการติดต่อ  ด้วยการใช้คำสั่งติดต่อกับ alias หรือสัญญาณเรียกขานที่ต้องการ  นอก
เหนือไปจากการใช้คำสั่งติดต่อกับแยกกันแต่ละ node ตาม routing ที่มีอยู่ด้วยตัวเราเอง
        ถ้า routing มีอยู่ แต่คุณภาพไม่ดีมากนัก  เราก็คงต้องติดต่อกับ node ที่ใกล้เคียงเพื่อหา route ที่ดีที่สุด
จากนั้น ก็ทำการตรวจเช็คดูคุณภาพ  ดำเนินการตามขบวนการนี้จนกว่าเราจะพบ route ที่พอใช้ได้จริง ๆ
แล้วก็ควรจะหาไปถึง node ที่อยู่ห่างไกลด้วย   โดยการใช้วิธีการเดียวกันนี้  ถ้ามีเวลาและความอดทนพอ
ROUTES: คำสั่ง ROUTES(คำย่อคือ R) ใช้เพื่อเรียกดูรายชื่อ routing โดยตรงจาก node เพื่อนำมาใช้ติดต่อ
                 กับ node อื่น nodes เหล่านี้ก็สามารถดู฿ได้โดยตรงจาก nodeที่เราใช้งานอยู่นั่นเอง คุณภาพ
                ของ node ก็จะปรากฏให้เห็นตามด้วย route ที่เก่าล้าสมัยไปแล้วด้วย ตามที่ได้อธิบายมาแล้ว
                Route ใด ๆ ก็ตามที่มีเครืองหมายอัศเจรีย์ (! ) อยู่ด้วย  หมายถึงต่าของ route นั้นเข้าของ node
                เป็นผู้ใส่เข้าไปเอง  ปกติแล้วก็หมายถึง route ที่ไม่ได้นำมาใช้ได้จริง ๆ นักนั่นเอง
USERS: คำสั่ง USERS(คำย่อก็คือ U) จะแสดงเมื่อเราติดต่อเข้าไปแล้ว
UPLINK :แสดงว่าสถานีนั้นติดต่อเข้ามาได้โดยตรงกับ node
DOWNLINK:  node ได้ทำการเชื่อมการติดต่อจากสถานีแรก กับสถานีที่ 2  ตัวอย่าง เช่น
                DOWNLINK (K9AT-15 N6UWK)
                หมายความว่า node ได้ติดต่อกับ N6UWK ตามคำร้องขอจาก K9AT
CIRCUIT : แสดงให้เห็นว่า สถานีได้รับการติดต่อจาก node อื่น  ซึ่งจะแสดงชื่อและสัญญาณเรียกขาน
                ของ node ก่อนหน้าที่จะมาถึงสัญญาณเรียกขานของผู้ใช้งาน ตัวอย่าง เช่น
                circuit (SFW;W6PW-1 WA6DDM)
                หมายความว่า WA6DDM จะเข้าไปใช้ nodeนี้  แต่แล้วเขาก็ตติดต่อเข้าไปจาก node ชื่อ
                SFW;W6PW-1
CQ COMMAND: คำสั่ง CQ (ไม่มีคำย่อ) ใช้สำหรับเรียก CQ และยังสามารถใช้ตอบ CQ ของสถานี
                อื่นได้อีกด้วย  คำสั่ง CQ นี้มีใช้เฉพาะกับเวอร์ชั่นล่าสุดของ NET/ROM และ TheNet เท่านั้น
การใช้คำสั่ง CQ
               คำสั่ง CQ นั้นใช้สำหรับส่งข้อความสั้น ๆ จาก node ทั้งยังใช้เืพื่อช่วยให้สถานีต่าง ๆ ที่รับ
               ข้อความนั้นติดต่อกับสถานีต้นทางได้ ใช้คำสั่งดังต่อไปนี้คือ
               CQ (ข้อความ)
               ข้อความที่ส่งนั้นใช้ความยาวไม่เกิน 77 ต้วอักษร(รวมถึงระยะเว้นวรรคและเครืองหมายต่าง ๆ ด้วย)
                ในการตอบสนองต่อคำสั่ง CQ นี้  node เองจะทำการส่งข้อความออกอากาศในรูปโหมด
                UNPROTO (คือส่งข้อความออกอากาศโดยไม่มีการเชื่อมการติดต่อกับสถานีอื่นใด) ด้วยการ
                ใช้สัญญาณเรียกขานของสถานีต้นทาง  พร้อมกับแปลง SSID เป็นต้นกำเนิดของผู้ส่ง และ
                CQ เป็นปลายทาง   ตัวอย่าง เช่น ถ้าสถานี W6XYZ ติดต่อกับ node ใด node หนึ่งพร้อมกับ
                ใช้คำสั่ง
                CQ Anybody around tonight"
                node เองก็จะส่งข้อความออกอากาศในรูปแบบนี้คือ
                W6XYZ-15>CQ: Anybody around tonight?
                หลังจากที่ได้ส่งข้อความออกอากาศไปแล้ว เพื่อสนองตอบต่อคำสั่ง CQ ตัว arms อันเป็นระบบ
                กลไกของ  node ก็จะให้สถานีรอื่น ๆ ตอบ CQ นั้นเข้ามา สถานีใดก็ตามที่ต้องการตอบ
                CQ ก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงแต่ติดต่อเข้ามาหาสถานีต้นทางตามที่สัญญาณเรียกขานปรากฏให้เห็น
                ในข้อความ CQ นั้น(ตามตัวอย่างที่ให้ไว้ก็คือสถานี W6XYZ-15) คำสั่ง CQ นั้นก็ยังคง amed คือ
                อ้าแขนรับข้อความที่ตอบกลับมาเป็นเวลา 15 นาที หรือจนกว่าสถานีต้นทางออกคำสั่งเป็น
                อย่างอื่น  หรือยกเลิกการติดต่อกับ node  สถานีใด ๆ ก็ตามที่ติดต่อเข้ามาหา node อาจจะกำหนด
                ข้อความด้วย ถ้ามี คือ
                (Circuit,Host หรือ Uplin)<->CQ(สัญญาณเรียกขานผู้ใช้)
                สถานีดังกล่าวนี้อาจจะตอบ CQ ที่รออยู่  ด้วยการใช้คำสั่ง CONNECT กับผู้เรียก CQ มีสัญญาณ
                เรียกขานปรากฏในจอภาพ CQ ของเจ้าของสถานีที่ดูอยู่  ไม่จำเป็นจะต้องเป้นสถานีที่ยกเลิก
                การติดต่อติด node หรือกลับติดต่อเข้าไปใหม่
ตัวอย่างการติดต่อ
                ต่อไปนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าการติดต่อกันในระบบ node นี้เป็นอย่างไร (เครืองหมาย * เป็นการ
ใส่เข้าไปโดยเข้าของสถานี(user))
                * cmd:C KA6YZS-1
                cmd:***Connected to KA6YZS-1
               * USERS
               501SJC:KA6YZS-1}NET/ROM 1.3(669)
               Uplink(WB9LOZ)
               Uplink(K1HTV-1>      < ~~~~~~> CQ(K1HTV-14)
               Circuit(LAS:K7WS-1 W1XYZ)  < ~~~~~~ >CQ(W1XYZ-15)
               Uplink(N4HY)
               *CONNECT W1XYZ-15
               501SJC:KA6YZS-1}Connected to W1XYZ
               *Hello! This is George in San Jose
               Hi George ! Thainks for answering my CQ เป็นต้น
ผู้ใช้คำสั่ง CQ นี้ควรจะต้องมีความอดทนรอคอยต่อการสนองตอบข้อความ CQ อาจจะต้องอยู่ใน armed
เป็นเวลา 15 นาที เราทั้งหลายก็จะได้เห็นผู้ใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่ node ในช่วงนั้น  ขอให้คอยเป็นเวลา
อย่างน้อย 5 นาที  ก่อนที่จะใช้คำสั่ง CQ อย่างอื่น  เพื่อเปิดโอกาศให้สถานีอื่น ๆ ได้ตอบ CQ อันแรก
ของเราก่อน
BBS    :เป็นคำสั่งติดต่อกับ node ของโปรแกรม G8BPQ ซี่งเกี่ยวพันกับระบบการใช้งานของ bbs
            เมื่อใดก็ตามที่ใช้คำสั่ง BBS ก็จะเป็นการติดต่อเข้าสู่ BBS ที่เกี่ยวข้องกันทันที(ระบบที่ตั้ง
            เอาไว้แล้วในโปรแกรม)
BYE    :เป็นคำสั่งที่ใช้อยู่ใน node ชื่อ G8BPQ ใช้เพื่อยกเลิกการติดต่อ node ใช้เหมือนกับการยกเลิก
            การติดต่อทั่วไป
IDENT :คำสั่งนี้ใช้อยู่ใน node ชื่อ NET/ROM เป็นการแสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ของ node ที่เราใช้งานอยู่
INFO    :เป็นคำสั่งที่ใช้อยู่ใน node ชื่อ TheNet และ G8BPQ เพื่อเรียกดูรายละเอียดเกี่ยวกับ node นั้น
            ปกติแล้วก็เกี่ยวกับชื่อ(alias) สัญญาณเรียกขานและเขตที่ตั้งสถานี
PARMS: เป็นคำสั่งเกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ จะพบได้ใน NET/ROM NODE มีไว้เพื่อให้เจ้าของสถานี
            กำหนดค่าพารามิเตอร์ว่าจะให้สถานีทำงานอย่างไร
บทที่ 12 ระบบ National Traffic System:NTS    to the top


            National Traffice System นี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ NTS ซึ่งเป็นเครือข่ายของนักวิทยุสมัครเล่น
สนับสนุนโดย ARRL ซึ่งแพ็คเก็ตเรดิโอมีบทบาทสำคัญเป็นอันมากในเครือข่ายนี้  ดังนั้น ก่อนอื่นขอ
ให้เรามาดูว่าเป็นอย่างไร และให้คำแนะนำในการส่งข้อมูลข่าวสาร NTS ดดยผ่านทางแพ็คเก็ตเรดิโอ
            การส่งข้อความถึงบุคคลที่ 3 เป็นประเพนีดั้งเดิมของวิทยุสมัครเล่น ระบบ Natinal Traffic
system ได้มีการประชุม net ประจำภาคต่าง ๆ หลายร้อยครั้งเป็นประจำวัน เพืออำนวยความสะดวก
ในการรับส่งข่าวสารออกไป  ข้อความต่าง ๆ ที่เขียนขึ้น ถ่ายทอด และรับ/ส่งกันออกไปมากมาย
หลายหลากโดยอาศัยแพ็คเก็ตเรดิโอ หากเราต้องการหาความสนุกกับการรับ/ส่งข่าวสารนี้ก็ทำได้โดย
ไม่ยาก  ในการที่จะส่ง NTS ผ่านทางแพ็คเก็ตเรดิโอ ในกรณีที่เรามีแพ็คเก็ตเรดิโออยู่แล้ว แต่ก็ไม่รู้
อะไรเลยเกี่ยวกับ NTS บทนี้จะบอกให้เราทราบถึงวิธีการเริ่มต้นที่ดี ในท้ายบทก็จะมีข้อความอ้าง
อิงที่สามารถค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ NTS ได้ด้วย
            สถานี bbs ในพื้นที่ใด ๆ ก็ตามจะทำการตรวจสอบข้อความต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องรับ/ส่ง
และถ่ายทอดกันเป็นประจำทุก ๆ วัน การตรวจสอบดูการทำงานของ bbs ในพื้นที่ของเรานั้นทำได้ด้วย
การใช้คำสั่ง
NT        :หมายถึง list traffic คือขอให้แสดงรายการต่าง ๆ ของข้อคยวาม NTS ที่รอคอยการส่ง ซึ่งมี
ลักษณะดังต่อไปนี้คือ
MSG#STAT SIZE TO FROM@BBS DATE/TIME SUBJECT
7893 T 486 60625 KB6ZYZ NTSIL 1227/0612 QTC1 CHICAGO,IL 312-267
7802 T 320 60625 K6TP NTSCT 1227/0665 QTC1 NEW HAVEN,CT
7854 T 588 93432 KA4YEA 1227/0625 QTC1 CRESTON,CA 93432
7839 T 412 94114 KK3K 1227/0311 QTC1 SAN FRANCISCO 415-821
7781 T 298 94015 W1KPL 1226/2356 QTC1 DALY CITY .CA 415-992
            จะเห็นได้ว่าข้อความที่ถ่ายทอดโดยสถานี bbs ในพื้นที่ไปสู่ส่วนอื่นๆ ของประเทศจะมีมากพอ ๆ
กันกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ คำว่า Subject หรือ Title ที่อยู่ในรายการนั้นแสดงให้เห็นถึงปลายทาง
ของข้อความที่เรียกว่า traffic หากเราเห็นข้อความเหล่านี้ที่เป็นของเราเอง ขอให้เราช่วยกันส่ง
ต่อๆ กันไปถึงปลายทางด้วย  ดดยอาศัยตัวเลขข้อความเป็นหลัก
            ตามรายการข้างบนนั้น R 7839 จะมาให้เราจากสถานี KK3K ที่อยู่ในซานฟรานซิสโก
จะเห็นได้ว่า ข้อความจะอยู่ในรูปแบบเฉพาะของ NTS RADIOGRAM อันประกอบด้วย
ข้อความเบื้องต้น ตำบลที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์  เนื้อความ  และลายเซ็นต์ ที่อยู่ในลักษณะ
พร้อมแล้วในการส่ง หลังจากที่ข้อความได้บันทึกเอาไว้ ที่เครื่องพิมพ์หรือในดิสก์แล้ว ก็ควร
จะลบข้อความนั้นออกจาก bbs โดยใช้คำสั่ง
KT : ซึ่งหมายถึง Kill Traffic ตามด้วยหมายเลขประจำข้อความนั้น ในกรณีตัวอย่างที่ให้ไว้ใหใช้คำสั่ง
KT 7839 : เพื่อลบข้อความที่เอามาจากสถานี bbs ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันจากการส่งซ้ำโดยผู้ใดใคร
คนหนึ่งเกิดทำการส่งขึ้นมา
            นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนสามารถเขยนข้อความแทนผู้อื่น ไม่ว่าผู้นั้นจะมีใบอนุญาต
ของวิทยุสมัครเล่นหรือไม่ก็ตาม  แต่อย่างไรก็ตาม  ก็เป็นความรับผิดชอบของนักวิทยุ
สมัครเล่น  ผู้เขียนข้อความนั้นเองที่จะพิจารณาว่า  ข้อความเหล่านี้นเหมาะสมที่จะส่ง
ออกอากาศหรือไม่ ซึ่งก็มีแบบฟอร์มพิเศษเฉพาะเพื่อใช้กับข้อความ NTS เผื่อว่าข้อความนั้น ๆ
สามารถส่งไปตลอดทั้งหมดทั่วระบบเครือข่าย  แต่ละข้อความมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้คือ

ตัวเลขข้อความ คำนำหน้า ลำดับคำแนะนำ(ตัวเลือก) สถานีต้นทาง ตรวจเช็ค สถานที่ส่ง
เวลาบันทึกเข้าไฟล์ วัน เดือน ปี  ตำบลที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์ เนื้อเรือง ลงนาม(ลายเซ็นต์)

เมื่อข้อความเรียบร้อยแล้วก็ส่งเข้าสู่สถานี bbs โดยใช้คำสั่ง
ST ซึ่งหมายถึงการส่ง Traffic ตามด้วยระหัสไปรษณีย์ของเมืองปลายทาง จากนั้นก็ใส่ @ NTS
อักษรย่อชื่อรัฐไม่เกิน 2 ตัวอักษร  มีรูปแบบดังนี้คือ
            ST SIPCODE @ NTSxx
            ข้อความที่ส่งไปสู่ boston ให้ใช้  MA 02109 ดังรูปแบบดังต่อไปนี้คือ
            ST 02109 @ NTSMA
ถ้าข้อความส่งไปที่เมือง Iowa ซึ่งมีคำย่อเป็น IA 52245 ทำดังนี้
            ST 52245 @ NTSIA
            หัวข้อเรื่อง Subject หรือ Title ควรใส่คำ CTC1 ตามด้วยเมือง รัฐ เลขเขตพื้นที่ และเลข
ดทรศัพท์ปลายทางถ้ามี  ขอให้ดูตามรายการที่ให้ไว้ข้างบนนั้นเป็นแบบ  แต่ละข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอ
นั้นควรจะมีข้อความ NTS เพียงเรื่องเดียว  วิทยุโทรเลขจริง ๆ นั้นควรจะรวมทุกสิ่งทุกอยางเข้าไว้
ในเนื้อเรื่องของแพ็คเก็ตเรดิโอ รวมไปถึงส่วนประกอบอันเป็นรายการตามที่แสดงไว้ข้างบนนั้นด้วย
จบข้อความแล้วใช้ Control-Z เช่นเดิม
ในภาวะฉุกเฉิน
            ระบบ National Traffic System นั้นทำหน้าที่การบริการแก่สาธารณะแก่ทั้งนักวิทยุสมัครเล่น
และสาธารณะชนทั่วไปเป็นพื้นฐานอีก ทั้งยังทำหน้าที่อื่น ๆ อีกด้วย ระบบ NTS นี้ให้การสนับสนุน
ส่งเสริมและเป็นระบบฝึกนักการสือสารข้อความให้มีประสพการณ์ให้มีความสามารถรับใช้ประเทศชาติ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
            ผู้ที่สนใจรายบะเอียดเกี่ยวกับเรืองนี้ให้หาดูได้จากหนังสือ ออกโดย ARRL ชือ
" An Introduction to Operating an Amateur RAdio Station" ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับการส่งและการ
เตรียมวิทยุโทรเลข NTS ส่วนไฟล์ชื่อ HOWTO.NTS นั้นจะให้รายละเอียดอย่างสมบูรณ์
เกี่ยวกับวิธิการเตรียมและส่งข้อความ NTS ทางแพ็คเก็ตเรดิโอ  ตรวจดูได้จากหมวดไฟล์
ของ bbs ในเขตพื้นที่ของเราเองเพื่อเรียกดํรายละเอียดในนั้น  และควรจะหาดูในไฟล์อื่น
ด้วยเช่นไฟล์ชื่อ DELIVERY.NTS และ WHATIS.NTS จะมีข้อมูลให้ศึกษาได้อย่างมากมาย
หากเราจำเป็นจะต้องใช้แล้วก็อย่าชืมเช็คดู  ทุกแห่งจะให้คำแนะนำท่านด้วยความยินดียิ่ง
บทที่ 13 คำสั่งใช้กับ TNC ทั่วไป      to the top



            ในบทนี้เราจะเข้าไปดูคำสั่งที่ใช้กับ TNC ทั่วไปที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทที่แล้วมา
ต่อแต่นี้ไปจะได้อธิบายเกี่ยวกับคำสั่งที่ใช้อยู่ใน TAPR TNC2 และ TNC2  clones (อันคำว่า
TNC 2 clones นี้ได้แก่ TNC ที่ผลิตออกมาแบบเดียวกันกับ TNC 2 ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในท้องตลาด
เรียกชื่อต่าง ๆ นานา ตามแต่ผู้ผลิตจะตั้งกันขึ้นมา) บางทีเราก็อาจจะพบคำสั่งที่ไม่มีใช้ในบาง
TNC หรือไม่ใช้ในลักษณะที่แตกต่างกันไปนอกเหนือจากที่ได้อธิบายไว้ในที่นี ขอให้เพือน ๆ
ได้ศึกษาดูจากหนังสือคู่มืออันมีรายละเอียดโดยเฉพาะถึงวิธีการใช้คำสั่งนั้น ๆ ใน TNC
ด้วยตนเองเถิด
8BITCONV    :คำสั่งนี้ทำให้การส่งข้อความใน converse mode ได้ ณ ความเร็ว 8-bit ใช้กับ
            AWLEN ดูตัวอย่างข้างล่างประกอบ  สำหรับการรับ/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอตามปกติ
            เช่นการรับ/ส่งคีย์ต่อคีย์(คือคุยกัน) การส่งข้อความสาธารณะแบบกระดานข่าว
            ที่เรียกว่า bulletin boards การส่อง ASCII files เหล่านี้ คำสั่ง 8 BIT COINV ต้องเปลี่ยน
            ไปเป็น OFF หากต้องการส่งข้อมูลแบบ 8 bit ก็ให้ตั้ง 8BITCONV เป็น ON
            และตั้งค่าพารามิเตอร์ของ AWLEN เป็น 8 เพื่อให้แน่ใจว่า TNC จะรับข้อความได้
            ในที่สุดก็ต้องตั้งแบบนี้ ขบวนการนี้ใช้สำหรับการส่งไฟล์  หรือกลุ่มข้อมูลพิเศษ
            ที่ไม่ใช่ ASCII ตามปกตินั่นเอง
AWLEN : ค่าพารามิเตอร์นี้ใช้กำหนดความยาวของข้อความ input/output ของ TNC ที่เรียก
            ว่า serail port(อันคำว่า serial port นี้ก็ไๆด้แก่จัดต่อแบบอนุกรม)ในการใช้งานแพ็คเก็ตเริดิโอ
            ตามปกตามที่ได้กล่าวไว้ข้างบนนั้น ค่าพารามิเตอร์ของคำสั่ง AWLEN นี้ควรจะตั้งไว้ที่ 7 จะ
            ตั้งไว้ที่ 8 ก็ต่อเมื่อเราต้องการส่งข้อมูล ณ ความเร็ว 8 bit เท่านั้น
AX25L2V2 : คำสั่งนี้เป็นการกำหนดว่เราจะใช้ AX.25 protocol ระดับใด(คำว่า่ AX.25 มาจาก
            คำว่า Amateur Radio X.25 ซึ่งใช้สือสารในเชิงพานิชนั่นเอง ส่วนคำว่า protocol นั้นก็
            ได้แก่ขั้นตอนสือสารในข่ายคอมพิวเตอร์ อันได้แก่ สัญญาณเริ่มส่งข้อมูล สิ้นสุดการส่ง
            ข้อมูล  จำนวนที่ส่งในแต่ละครั้ง  การจัดลำดับการส่งข้อมูล) ถ้าเปลี่ยน OFF ตัว TNC
            จะใช้ AX.25 level 2,version 1.0 แต่ถ้าจะเปลี่ยนเป็น ON ตัว TNC จะใช้ AX.25 level 2,
            version 2.0 ข้อควรจะก็คือว่า TNC รุ่นแรก ๆ จะไม่มีแพ็คเก็ต version 2.0
            ขณะใดก็ตามที่เราเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์เป็น AX25L2V2 OFF แม้ว่าเราจะส่งข้อความแพ็คเก็ต
            เรดิโอไปและไม่ได้รับการตอบรับเป็นครั้งแรกที่ส่ง ม้นก็จะส่งไปอีกครั้งแล้วครั้งเล่า
            จนกระทั่งวได้รับการตอบรับกลับมา หรือ TNC ก็จะยกเลิกไปเอง  แต่ในกรณีที่เราตั้ง AX25 ON
            เมื่อ TNC ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอไป  และไม่ได้รับการตอบรับกลับมาเป็นครั้งแรก มันก็จะส่งไปอีก
            แต่การส่งนี้แทนที่จะส่งแพ็คเก็ตเรดิโอยาวๆ  ไป มันก็จะส่งกรอบสั้น ๆ ไปเตือนคู่สถานี
            (เตือนคู่สถานี)วิธีการนี้ทำให้สามารถลดความคับคั่งช่องการใช้งานลงได้มาก  ในการใช้งานใน
            ย่านความถี่ VHF/UHF ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้ง TNC ให้ค่าพารามิเตอร์ของ
            AX25L2V2  เป็น ON ผู้ใช้แพ็คเก็ตเรดิโอทั้งหลายก็ได้ให้คำแนะนำว่า  ไม่ควรใช้ version 2.0
            นี้ในบย่านความถี่ HF ซึ่งทำให้มีแนวโน้มในการสร้างความคับคั่งในการเรียกกัน(ระหว่าง
            คู่สถานีความถี่หนาแน่น)ขอให้ดูและตรวจสอบคำสั่งข้างล่างนี้ เพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ
            ที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันอยู่
BEACON: ใช้กับ every หรือ after เพื่อสั่งให้ beacon ส่งข้อความออกอากาศ
BEACON EVERY n : ส่ง beacon ตามลำดับเวลาที่ตั้งไว้ คือระยะเวลา n (คือเวลา นาที ชขั่วโมง)
BEACON AFTER n : ส่ง beacon  หลังเวลาที่กำหนดไว้โดย n ขณะที่ไม่มีการส่งแพ็คเก็ต
            n = 0 ถึง 250 กำหนดเวลาเป็นวินาที เช่น
           1 = 10 วินาที    2 = 20 วินาที    30 = 300 วินาที หรือ 5 นาที    180 = 800 วินาทีหรือ 30 นาที
            ตัวอย่าง เช่น
            BEACON EVERY 180 ( B E 180 )
TNC จะส่ง beacon  ออกไปทุก ๆ 30 นาที  ถ้าเราตั้งเป้น
            BEACON AFTER 180 ( B A 180 )
TNC จะส่ง beacon ออกไปหลังจากที่ฟังดูแล้วไม่มีการใช้แพ็คเก็ตเรดิโอเป็นเวลา 30 นาที ถ้าเราตั้งเป็น
            B E 0
เป็นการปิดระบบ beacon
ข้อความ BEACON
            เนื้อความที่จะส่งเป็น beacon ออกไปนั้นจะกำหนดไว้ในคำสั่ง BTEXT ซึ่งจะมึความยาว 120
ัวอักษร  หรือประมาณ 1 แถวครึ่ง  ส่วน path ที่ใช้ในการส่ง beacon นั้นจะกำหนดโดยใช้คำสั่ง
            UNPROTO
เราควรใช้ beacon ด้วยความระมัดระวัง  เพราะข้อความ beacon นั้นมักจะเป็นจุดสร้างความขัดแย้ง
ในชุมชนแพ็คเก็ตเรดิโอนี้เสมอ เพราะถ้าหากใช้ถี่มากเกินไป ก็จะทำให้ความถี่แออัดยัดเยียดคับคั่ง
เราควรจะทำข้อความ beacon แบบสั้น ๆ และไม่ถี่นัก  ควรจะเป็นข้อความที่กระทัดรัดกินความกว้าง
ส่วนสถานี bbs นั้นใช้ beacon เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แก่เพื่อน ๆ ว่ามีข้อความถึงเขารออยู่ ส่วนชมรม
ต่าง ๆ ใช้ beacon เพื่อประกาศการประชุมต่าง ๆ และใช้ beacon เพื่อเตือนภัยทางอากาศ เป็นต้น
CHECK N    : เป็นคำสั่งเพื่อตั้งค่าพารามิเตอร์เกี่ยวกับเวลาการติดต่อ การทำงานของคำสั่งนี้ขึ้นอยู่กับการ
                    ตั้งค่าของ AX25L2V2 เป็นตัวกำหนดเวลา สามารถตั้งค่าได้จาก 0 ถึง 250 ถ้าเราตั้งค่า
                    เป็น 0 ถือว่าเป็นการยกเลิกคำสั่งนี้ หากการติดต่อระหว่างสถานีของเรากับสถานีอื่น
                    ดำเนินไปอยู่ และไม่ช้าไม่นานก็ดูเหมือนว่าสถานีนั้น"หายไป" เนื่องจากการเปลี่ยน
                    แปลงของการแพร่กระจายคลื่นหรือตัวเชื่อมของสถานีที่เรียกว่า digipeater เกิดการขาด
                    หายไป TNC ของเราก็จะยังคงรักษาระดับการติดต่อเช่นนั้นไว้เรื่อยไป  ถ้าคำสั่ง
                    CHECK นี้ตั้งค่าไว้เป็นค่าอื่น ๆ นอกจาก 0 ตัว TNC จะพยายามที่ติดต่อกลับเข้าไปใหม่
                    เพราะฉะนั้น  การตั้งค่าพารามิเตอร์ษของคำสั่ง AX25L2V2 จะต้องคำนึงด้วยว่าจะให้ทำ
                    หน้าที่ในลักษณะใด  ถ้าเราตั้ง AX25L2V2 เป็น ON แล้ว TNC ก็จะส่งคำสั่งตรวจสอบ
                    ที่เรียกว่า check packet เพื่อพิสูจน์ดู๕ว่าสถานี่นั้นยังคงอยู่และรับข้อความได้  ขณะที่
                    การติดต่อยังคงดำเนินอยู่  หากไม่ได้รับการสนองตอบกลับมา TNC ก็จะทำการยกเลิก
                    การติดต่อเป็นอันดับต่อไป  เหมือนกับการใช้คำสั่ง DISCONNECT นั่นเอง ถ้า
                    AX25L2V2 เป็น OFF หลังจากที่ไม่ได้มีการส่งสัญญาณแพ็คเก็ตเรดิโอเป็นเวลา n คือ
                    วินาที  TNC ก็จะไม่ส่งสัญญาณตรวจสอบที่เรียกว่า check packet แต่จะทำการยกเลิก
                    การติดต่อ
CMSG    :คำสั่งนี้ใช้เพื่อให้มีการส่งข้อความต้อนรับการติดต่อออกไป  เมื่อใดก็ตามที่มีสถานีอื่น
               ติดต่อเข้ามาหา TNC ของเรา  ถ้าคำสั่ง CMSG เป็น ON ตัว TNC จะส่งข้อความที่เราพิมพ์
                ไว้ใน CTEXT เป็นข้อความเรกที่มีการติดต่อเข้ามา  และข้อความที่เราพิมพ์ไว้ใน CTEXT
                นั้นมีความยาวไม่เกิน 120 ตัวอักษร  คุรลักษณะอันนี้มักจะถูกนำมาใช้ในเมื่อเปิดสถานี
                ไว้แต่ผู้ควบคุมไม่ได้อยู่ในที่นั่น  ข้อความต้อนรับนี้จะเป็นการให้คำแนะนำต่อสถานีที่ติดต่อ
                เข้ามาถึงความจริงเป็นอย่างไร ส่วนมากก็จะบอกให้ฝากข้อความเอาไว้ใน buffer ของ TNC
                ถ้าตั้งค่าพารามิเตอร์ของ CMSG เป็น OFF ก็จะไม่มีการส่งข้อความนี้ออกไป
KISS    : คำสั่ง KISS นี้จะทำให้ TNC ทำหน้าที่เป็น modem เพื่อใช้กับ host computer เพื่อเปิด
               โอกาศให้โปรแกรมต่าง ๆ  เช่น TCP/IP และ G8BPQ Packet switch และโปรแกรม
                BBS อื่น ๆ มากมายหลายโปรแกรม  รวมไปถึงโปรแกรมที่ใช้ Serial Link Interface
                Protocol( SLIP) ใช้งานได้  ก่อนที่จะเปลี่ยน KISS ให้เป็น ON ให้ตั้งค่าของ radio
                baud rate และ terminal baud rate ให้อยู่ในค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการเสียก่อน แล้วให้
                กเปลี่ยนคำสั่ง KISS เป็น ON จากนั้นก็ใช้คำสั่ง RESTART
บทที่ 14 คำสั่ง(ต่อ)     to the top


MAXFRAME :คำสั่งตั้งค่าพารามิเตอร์กำหนดตัวเลขจำนวนสูงสุดของแพ็คเก็ตเรดิโอที่ยังไม่ได้
                ตอบรับที่ TNC สามารถค้างเอาไว้ได้)คำว่าแพ็คเก็ตที่ค้างเอาไว้คือแพ็คเก็ตที่ส่งออกไป
                แล้ว ยังไม่ได้รับการตอบรับกลับมา) ทั้งยังเป็นการกำหนดจำนวนสูงสุดของแพ็คเก็ต
                ที่รวมกันอยู่ ซึ่งสามารถส่งออกไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย เราสามารถตั้งค่าพารามิเตอร์
                นี้ได้จาก 0 ถึง 7 ค่าที่ดีที่สุดของ MAXFRAME จะขึ้นอยู่กับสภาพความถี่ที่ใช้งาน
                ถ้าสภาพของความถี่ดี ก็สามารถที่จะใช้ค่าที่สูงขึ้นได้ หากสถาพความถี่ที่ย่ำแย่
                เนื่องจากมีผู้ใช้งานหนาแน่น  หรือมีสัญญาณรบกวน หรือการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เกิด
                ขึ้น(จะสังเกตุเห็นได้ว่าการติดต่อต่าง ๆ จะหลุดบ่อย ๆ )ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ควรจะต้อง
                ลดค่า MAXFRAME ลง เพื่อให้เราสามารถผ่านทะลุไปได้  ค่าที่ดีที่สุดของ MAXFRAME
               จำกำหนดให้ดีได้ ก็ด้วยอาศัยประสพการณ์ สำหรับแพ็คเก็ตเรดิโอที่ใช้ในย่านความถี่
                HF นั้น ตั้งค่าไว้ที่ 1 ดีที่สุด
WFILTER : คำสั่งนี้ใช้ให้เราสามารถเข้าไปใช้ระหัส ASCII ได้ถึง 4 ตัว คือ 0-$7F เพื่อควบคุม
                ตัวอักษรที่มีปัญหา  อันพบได้ในการ monitor แพ็คเก็ต HEX DEC FUNCTION
                POSSIBLE RESULT:
                $07 07    Control G    :กดเสียงระฆังหรือเสียง"ปีป"ที่ลำโพง
                $0C 12    Control L    :Form feed-ใช้เคลียจอภาพ
                $13 19    Control S    : ทำให้จอภาพหยุดม้วนตัว
                $1A 26    Control Z    :เคลียจอภาพ
                $1B 27    Escape        : ใช้เคอร์เซอร์เพื่อย้ายจุดทำงานบนจอภาพและสามารถหยุดความสับสน
                                                    ยุ่งเหยิงเกี่ยวกับตัวควบคุม printer ลงได้ AEA ได้เพิ่มระหัสใหม่เข้ามาอีกคือ
                $80                            : ซึ่งจะไม่ให้ตัวควบคุมอักษรใด ๆ ปรากฏบนจอภาพของผู้ใช้งานจากการ
                                                  monitor ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอ
MHEARD    :เป็นคำสั่งที่มีผลทันที ใช้เพื่อสั่งให้ TNC แสดงรายการเกี่ยวกับสถานีต่าง ๆ ที่สามารถรับ
                    สัญญาณได้ นับตั้งแต่ใช้คำสั่ง MHCLEAR  หรือตั้งแต่เปิดเครืองขึ้นมา  คำสั่งนี้มีประโยชน์
                    ในการดูว่ามีสถานีใดบ้างที่กำลังใช้ออกอากาศอยู่ สถานีใดที่เรารับเข้ามาได้ด้วยการผ่านทาง
                    ดิจิพีทเตอร์จะมีเครืองหมายดอกจันท์ * บอกไว้  แต่ TNC รุ่น AEA PK-232 สถานีใดที่เรา
                    รับสัญญาณเข้ามาได้โดยตรงจะมีเครื่องหมาย * กำกับไว้(ขอให้ศึกษารายละเอียดจากหนังสือ
                    คู่มือ) จำนวนยอดสูงสุดของสถานีที่สามารถแสดงขนจอภาพได้คือ 18 สถานี ถ้ามีมากกว่านั้น
                   สถานีแรก  ๆ จะถูกตัดออกไป การบันทึกการรายสถานีที่รับสัญญาณเได้จะไม่ทำงาน  หากเรา
                   ตั้งค่าพารามิเตอร์ของคำสั่ง PASSALL เป็น ON ถ้าคำสั่ง DAYTIME ถูกตั้งไว้ด้วย  เมื่อใดก็ตาม
                   ที่เราใช้คำสั่ง MHEARD ก็จะแสดงรายชื่อสถานีต่าง ๆ พร้อมวันเวลาให้เราทราบอีกด้วย
PASSALL: คำสั่งนี้ทำให้ TNC แสดงข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอทค่ยังไม่ได้ตรวจเช็คบนจอ monitor เป็นการยกเลิก
                การตรวจเช็คคำผิด  ถ้าตั้งค่าพารามิเตอร์ของคำสั่ง PASSALL เป็น ON ข้อความแพ็คเก็ตทั้งหลายจะ
                ถุกรับเข้ามาและแสดงบนจอ monitor ไม่ว่าข้อความเหล่านี้จะถูกหรือผิดก็ตาม  ยังสามารถทวีคูณ
                ขึ้นไปได้ถึง 8 bits และสูงขึ้นไปได้ถึง 330 ตัวอักษร TNC จะพยายามถอดระหัสออกมาเพื่อแสดง
                ข้อความ และยังบอกสัญญาณเรียกขายในรูปแบบมาตราฐาน  ตามด้วยเนื้อความแพ็คเก็ต คำสั่ง
                PASSALL นี้มีประโยชน์ในความเป็นไปได้ของเส้นทางที่เรียกว่า path ภายใต้สภาวะที่ไม่ปกติ
                แต่คำสั่ง PASSALL นี้ปกติแล้วจะตั้งคต่าไว้เป็น OFF
SCREENLN n : คำสั่งนี้เป็นการกำหนดความยาวของตัวอักษรในบรรทัดที่ปรากฏบนจอภาพ  ค่าพารามิเตอร์
             นี้ใข้อยู่ระหว่าง 0 ถึง 255 เมื่อกด enter ก็จะเป็นการส่งข้อความเข้าสู่เทอร์มินอล  และ converse mode
            เมื่อจำนวนอักษร n ถูกพิมพ์  ถ้าตั้งค่าพารามิเตอร์เป็น 0 เป็นการยกเลิกค่าทั้งหมด
TXDELAY n : ค่าพารามิเตอร์ของคำสั่งนี้ใช้เพื่อกำหนด TNC จะคอยนานเท่าใดก่อนที่จะกดคีย์ส่งข้อความ
            ออกไป เครืองส่งทั้งหมดจะต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งเพื่อเริ่มส่งสัญญาณออกอากาศ  บางเครือง
            ต้องการมาก บางเครืองต้องการน้อย เครื่องขยายสัญญาณจากภายนอกนั้น ปกติแล้วก็ต้องใช้เวลา
            รอเพิมเติม ประสพการณ์เท่านั้นจะทำให้เรารู้ได้ว่าจะกำหนดค่าที่ดีที่สุดของพารามิเตอร์นี้เป็น
            เท่าใด สำหรับเครื่องรับ/ส่งวิทยุแต่ละแบบ  ค่าพารามิเตอร์ของ TXDELAY นี้จะช่วยทดแทนการติดต่อ
            ที่ยากลำบากให้ดีขึ้น  หรือปรับแต่งเวล่แห่งการรับ/ส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมือติดต่อกับ
            สถานีใกล ๆ
            ยังมีคำสั่งเพิ่มเติมอีกมากมาย เพื่อให้เราได้ใช้งาน  กระผมเองก็นำมาเสนอเฉพาะที่จำเป็นและเป็น
ประโยชน์สำหรับพวกเราเท่านั้น  ขอให้เสียสละเวลาอ่านหนังสือคู่มือการใช้งานที่เขาให้มากับ TNC
ก็จะพบกับคำสั่งที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกที่เขาให้มากับหนังสือคู่มือนั้น ๆ   โปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ ๆ จะเพิ่ม
คำสั่งใหม่  ๆ เข้าไปเป็นจำนวนมาก  ที่เราจะได้พบได้เห็นและมีประโยชน์ในการใช้งานแพ็คเก็ตเรดิโอ
บทที่ 15 ข้อแนะนำในการใช้งานทั่วไป    to the top


            คำแนะนำเพิ่มเติมเพือให้การใช้แพ็คเก็ตเรดิโอมีความสนุกสนานมากขึ้น ไม่ว่จะเป็นการสนทนา
การตรวจดูสถานี bbs หรือ mailbox หรือทำการติดต่อทางไกลที่เรียกว่า DX  มีเรืองสองสามอย่างที่ควร
นำมาพิจารณาเพื่อเป็นการแก้ปัญหา ระยะเวลาที่รอ และการเพิ่มประสิทธิภาพที่เรียกว่า throughput
(อันคำว่า throughput ที่นำมาใช้ในการทำงานของแพ็คเก็ตเรดิโอ หมายถึงปริมาณของข้อมูลข่าวสาร
ที่สถานีไกล ๆ สามารถรับได้)
            เมื่อใดก็ตามที่เราเรียกเข้าไปเพื่อติดต่อกับสถานีอื่นนั้น ขอความกรุณาอย่าได้ใช้ผ่านทาง
ดิจีพีทเตอร์หรือโหนด  นอกเสียจากว่าจำเป็นจริง ๆ  เพราะดิจีพีทเตอร์แต่ละตัวนั้น จะเพิ่มระยะเวลา
แห่งการรอคอยเพื่อส่งสัญญาณไปสู่สถานีปลายทาง  เพื่อให้สถานีปลายทางนั้นตอบรับกลับมา  ทั้งยัง
เป็นการเพิ่มโอกาศที่จะไปแทรกแซงเบียดบัง และรบกวนการส่งแพ็คเก็ตในความถี่เพิ่มมากขึ้น
เราจะเกิดความประหลาดใจทีเดียวที่ได้พบความแตกต่าง ระหว่างการติดต่อโดยตรง  และการติดต่อ
โดยผ่านดิจิพีทเตอร์กับสถานีอื่น ๆ (ทดลองดูนะครับ)
            NODE เครือข่ายแพ็คเก็ตเรดิโอ  อย่างที่กระผมได้อธิบายไว้ในตอนต้นของหนังสือเล่มนี้
แล้วนั้น มีไว้เพื่อช่วยในการรังบ/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอได้เป็นอย่างมาก  แต่เราจะต้องจำเอาไว้ด้วยว่า
การรับ/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอผ่าน node นั้น ก็เช่นเดียวกันนั่นแหละครับ  การใช้ node มากก็จะมี
ผลกระทบต่อการรับ/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอระหว่างสถานีของเรากับสถานีปลายทางได้เช่นกัน
ประโยชน์ที่สำคตัญของ node ก็คือการตอบรับ ซึ่งไม่ต้องส่งกลับไปมาระหว่างสถานต้นทาง
และปลายทาง  ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอจะมีการตอบรับกันระหว่ง node ต่าง ๆ เอง ดังนั้น
ก็จะช่วยแก้ปัญหาความหนาแน่นของช่องความถี่ใช้งานให้ลดลงได้ดวย อย่างไรก็ตาม
การส่งแพ็คเก็ตเรดิโอจากสถานีต้นทางไปสู่สถานีปลายทางก็ยังคงเป็นเช่นเดิม  คือมีปัญหา
พอ ๆ กันระหว่างการใช้ node และ digipeater คือเราจะต้องใช้เวลายาวนานกว่าจะส่งแพ็คเก็ต
สู่สถานีไกล ๆ ได้
            Dr.Tom Clark,W3IWI ได้กำหนดแพ็คเก็ตไว้เป็นช่วง ๆ ที่เรียกว่า hop ดังนั้น เปอร์เซ็นต์
การทวีคูณของจำนวน hop คุณด้วยจำนวนการตอบรัรบ 2 ครั้ง  แล้วเราจะเห็นได้ว่าความ
เร็วของการส่งแพ็คเก็ตเรดิโอลดลง  เมื่อจำนวนข้อความเพิ่มหนาแน่นมากขึ้น  มีการเพิ่มจำนวน
node และ digipeater เข้าไป
            ถ้าเราเลือกได้  ก็ขอให้ใช้ความถี่ที่ไม่มีการส่งข้อความกันหนาแน่นมากนัก(แต่ของประเทศไทย
เรานั้นมีความถี่เดียว ไม่มีทางเลือก)  ด้วยข้อคิดที่ว่า ยิ่งมีสถานีต่าง ๆ มาใช้ความถี่มากเท่าใด
โอกาศที่จะมีการรบกวนกันและมีการส่งซ้ำก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น (บางทีส่งซ้ำกันอยู่ครึ่งค่อนวันก็มี)
การส่งแพ็คเก็ตเรดิโอจะมีประสิทธิภาพมาก ถ้าหากไม่มีการใช้ความถี่มากนัก (หนาแน่น) ถ้าหนา
แน่นแล้วก็จะกลายเป็นใช้ไม่ได้ในที่สุด(เหมือนที่กำลังเป็นอยู่ใน กทม.ในปัจจุบัน)  หากอยู่
ในสภาวะที่มีการใช้ความถี่มากเกินไป เพียงแต่เพิมสถานีเข้าไปเพียงสถานีเดียว  ก็จะลดประ
สิทธิภาพของการส่งข้อความลงทันที  นั้นก็เป็นสาเหตุหนึ่งในหลาย ๆ เรืองที่มีผลกระทบต่อการ
รับ/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอ
            สิ่งที่ควรตำมาพิจารณาาอีกเรืองหนึ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรืองการรับ/ส่งระยะทางไกล
ต้องมีสภาพบรรยากาศเข้ามาาเกี่ยวข้องด้วย  เราอาจจะไม่มีประสพการณ์เหล่านี้มาก่อนตอนที่เรา
ใช้ในย่านความถี่ VHF แต่เพราะแพ็คเก็ตเรดิโอนี้มีความไวต่อสัญญาณรบกวนสูงมาก  เพียง
การเปลี่ยนแปลงความเข้มของสัญญาณเพียงเล็กน้อย ก็จะเกิดความแตกต่าง ๆ ขึ้นมาระหว่าง
การที่ข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอสามารถผ่านไปได้  หรือไม่สามารถผ่านไปได้
            ตัวอบย่างเส้นทางการส่งแพ็คเก็นเรดิโอที่มีสภาพไม่แน่นอนเนื่องจากความห่างกันระหว่าง
การติดต่อของสถานี W6AK-1     ซึ่งตั้งอยู่ที่ภูเขา Mt.Vaca กับสถานี WB6AIE-1 ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขา
Bald Mountain แห่งอุทยานแห่งชาติ Yosemite โดยใช้ความถี่ 145.050 MHz. ตลอดเวลาที่มี
การติดต่อกัน ข้อควาาแพ็คเก็ตเรดิโอจะถูกส่งผ่าน node สองแห่งโดยไม่มีปัญหาอะไร  แต่ก็มี
หลายครั้ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบางวันของฤดูร้อนก็รับสัญญาณกันไม่ได้  ส่วนบริเวณ
ปากอ่าว ขณะที่มีหมอกลงหนาก็มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสัญญาณในย่านความถี่ VHF
แต่เมื่อหมอกจางออกไปจากฝั่งด้านมหาสมุทรแฟซิฟิกแล้ว  การรับ/ส่งแพ็คเก็ตเรดิโอ
เป็นไปได้อย่างดีเยี่ยม สัญญาณที่ไม่เคยได้รับเลย ก็มาแรงขนาด 40 พร้อมด้วย S มากกว่า
9 ทีเดียว
            เส้นทางทวีคูณอัรนไม่พึงประสงค์ที่เรียกว่า multipath ก็เป็นปัญหาสร้างผลกระทบ
ให้กับสัญญาณแพ็คเก็ตเรดิโอเช่นกัน Multipath ทีว่านี้ก็เป็นคำที่ใช้สำหรับอธิบาย
ถึงการรับสัญญาณทวีคูณจากสถานีหนึ่งซึ่งไปสะท้อนตึก เน้นเขา หรือภูเขาเข้ามา
รูปแบบของ multipath ทีว่านี้มีลักษณะเหมือน"ผี" ในโทรทัศน์นั่นแหละครับ สถานีที่มี
สัญญาณแรงที่ใช้ผ่าน digipeater หรือ node มักจะใช้เส้นทางการส่งข้อความลักษณะนี้ไม่ได้
เพราะตัว multipath นี้จะทำให้สัญญาณผิดเพี้ยนไป  ข้อความแต่ละแพ็คเก็ตจะต้องถูก
ตรวจเช็คความแน่นอน 100%  ถ้าตรวจสอบไม่ผ่าน ม้นก็ไม่ตอบรับ สัญญาณสะท้อนในรูป
แบบของ multipath นี้ บางคราวก็ทำให้ขาดการติดต่อได้ ในที่สุดก็จะมีกาาติดต่อซ้ำเขาไปอีก
นับว่าเป็นเส้นทางที่ใช้ไม่ได้ แม้ว่าจะมีสัญญาณแรงเพียงใดก็ตาม
            สรุปโดยย่อ  การใช้แพ็คเก็ตเรดิโอในย่านความถี่ VHF ให้ได้ผลดีที่สุดก็คือ การใช้
digipeater และ node ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ใช้ความถี่ใยย่านที่มีคนใช้น้อยที่สุด
จำเอาไว้ในใจว่า สภาพบรรยากาศและ multipath เป็นปัญหาที่ยังหาทางแก้ไม่ได้อยู่นั่นเอง
            ในกรณีที่ใช้แพ็คเก็ตเรดิโอในย่านความถี่ HF ก็จงจำเอาไว้ด้วยว่า ต้องเปลี่ยน
ความเร็วของการส่งที่เรียกว่า  buad rate ให้เป็น 300 และใช้ paclen ให้สั้น ๆ เอาไว้
(ค่าพารามิเตอร์ของ paclen ขนาด 40 ก็พอส่งได้ดีทีเดียว) และ Maxframe ก็ควรจะตั้ง
เป็น 1 โอกาศที่จะส่งแพ็คเก็ตสั้น ๆ ผ่านไปได้ย่อมมีมากว่า
บทที่  16 ปัญหาแพ็คเก็ตเรดิโอ    to the top


            ในบทนี้จะเป็นการทบทวน  โดยอาศัยคำถามและคำตอบเกี่ยวกับแพ็คเก็ตเรดิโอครอบฃ
คลุมเนื้อหาที่ผมได้อธิบายไว้แล้วใน 15 บท ขอให้เรามดูคำถามและคำตอบโดยไม่ต้องกลับไปดู
เนื้อเรื่องที่ผ่านมา ในบทที่ 17 จะอธิบายแต่ละคำถามพร้อมกับให้คำตอบที่ถูกต้องไปด้วย
1.    Mode การติดต่อสือสาร TNC 3 อย่างคืออะไร ?
        a. Connect,Converse,Terminal
        b. Command,Converse,Terminal
        c.Command,Converse,Transparent
        d. Commend,Connect,Transparent
2, คำสั่งอะไรที่ใช้ส่ง beacon และ CQ ?
3. คำสั่ง CHECK ใช้ทำอะไร?
4. ขณะติดต่อกับสถานีอื่น ใช้คำสั่งอะไรเพื่อ monitor ข้อความอื่น ๆ ในความถี่ ?
5. ถ้าเราเห็นข้อความใดข้อความหนึ่งในบรรทัดต่อไปนี้บนจอภาพ ขณะที่เราอยู่ใน monitor เครื่อง
    หมาย * บ่งบอกถึงอะไร?
        W6ABC-3>N6XYZ,W6PW-1*:Hi Bob
        W6ABC-3>W6PW-1*>N6XYZ:Hi Bob
        (ใช้ TNC ต่างกันก็มีข้อความต่างกันออกไป แต่ส่วนมากจะเหมือนที่แสดงไว้นี้)
6. ทำไม node เครือข่ายแพ็คเก็ตเรดิโอจึงทำให้การสือสารดีขึ้นได้ ?
7. ถ้าสถานีใดสถานีหนึ่งใน New Mexico ติดต่อกับเรา ผ่าน node เครือข่าย เราจะยกเลิกการติดต่อ
    ได้อย่างไร ?
8. ถ้าสถานี N6ZYX-2  ติดต่อกับผ่าน node สถานีนั้นจะมี SSID เป็นอย่างไรที่ท้ายข้อความติดต่อนั้น?
9. เมื่อติดต่อกับสถานีอื่น ความเป็นไปได้ 2 ประการอะไรบ้างที่ทำให้แพ็คเก็ตเรดิโอไม่สามารถรับ/ส่ง
    กันได้?
10. คำสั่งพื้นฐานหลายคำสั่งที่ใช้กับระบบ bbs ขอให้ระบุด้วยว่าเราจะใช้คำสั่งอะไรในการทำดังต่อไปนี้
    ก. รับข้อความ
    ข. Download ไฟล์ในไดเร็คทอรี่สำคัญ (ID G) ชื่อว่า FCCEXAM.89
    ค. ส่งข้อความส่วนบุคคลไปหา  Jim,WA6DDM ผู้ใช้ W6PW BBS ในซานฟานซิสโก แคลิฟอร์เนีย
    ง.อ่านข้อความเลขที่ 7134 พร้อมหัวข้อเรืองที่ forward
    จ. จงหาดูว่ามีสถานีใดบ้างที่สถานี BBS รับได้ใน port B
11.  การส่งข้อความ NTS ไปหา Tom Smith, 123 Main Street, Keene,NH03431, โทร.(063)555-4321
       ผ่านทางแพ็คเก็ตเรดิโอ  เราจะใส่คำสั่งอะไรลงที่จัดรับคำสั่ง BBS ?
12. ถ้าช้อความมี STATUS ของ BF บ่งบอกถึงอะไร ?
13. ถ้าเรารับข้อความจากเพื่อนที่อยู่ในชิคาโก  ด้วยการ forward ข้อความมาทาง hom bbs ของเราใช้ผ่าน
      ถึง 4 BBS และข้อความนั้นลงวันที่เป็น 0316/2245 เป็นข้อความที่บันทึกเข้ารายการเมือใด มีราย
     ละเอียดข้อไหนที่บอกเช่นนั้น
    a. ข้อความเขียนเวลา 2:45 pm วันที่ 16 มีนาคม
    b. เพื่อนได้ส่งข้อความเข้าสู่ bbs เมื่อเวลา 22.45 ของวันที 16 มีนาคม
    c. เพื่อนได้ forward ข้อความสู่สถานี bbs ในชิคาโกวันที่ 16 มีนาคม เวลา 2245
    d. ข้อความรับได้ที่สถานี  home bbs วันที่ 16 มีนาคม เวลา 2245
14. ถ้าต้องการส่งข้อความไปหาเพื่อนชื่อ John,W4IP แต่ไม่ทราบสัญญาณเรียกขานสถานี
       home bbs ของเขา  เราจะหาสัญญาณเรียกขานนั้นได้อย่างไร ?
15. ค่าพารามิเตอร์สูงสุดของคำสั่ง MAXFRAME คือเท่าใด ?   ในกรณีที่เราติดต่อทางแพ็คเก็ตเรดิโอ
      โดยใช้ย่านความถีในแบนด์ 30 เมตร  ซึ่งการส่งนั้นมีการส่งซ้ำเป็นจำนวนมาก  เราจะเพิ่ม
      หรือลดค่าพารามิเตอร์ของ MAXFRAME  ฦ  ครับ ผมคิดว่าท่านตอบได้นะครับ  ขอให้เราม่ดู
     คำตอบกันในบทที่ 17 ก็แล้วกันนะครับ
บทที่ 17 คำตอบ    to the top


            ต่อไปนี้ก็เป็นคำตอบที่ทำให้เราต้องหันไปอ่านและทำความเข้าใจบทที่แล้ว ๆ มาอีกครั้ง
1.    คำตอบ C ถูก mode สือสารของ TNC  3 อย่างคือ command,Converse,Transparent ใน
        command mode นั้นใช้ติดต่อสือสารกับ TNC แต่ converse mode ใช้สำหรับสนทนาทั่วไป
        ติดต่อกับ bbs หรือ mailbox เป็นต้นและ Transparent modeใช้ส่ง binary file (อยู่ในบทที่ 2)
2.    คำสั่ง UNPROTO ใช้เพื่อกำหนดเส้นทางการส่งทั้ง beacon และ CQ (อยู่ในบทที่ 2 และ 13)
3.    คำสั่ง CHECK ใช้ตั้งเวลาให้กับTNC  ถ้าเราตั้งค่าอื่นใดนอกจาก 0 แล้ว TNC ก็จะพยายาม
        ติดต่อซ้ำไปใหม่อีกจนกวาจะครบเวลาที่ตั้งไว้ ถ้าไม่ได้รับคำตอบกลับมา  คำสั่งนี้ใช้ร่วม
        กับคำสั่ง AX25L2V2 (อยู่ในบทที่ 13)
4.    คำสั่ง MCON (เพื่อใช้ดูข้อความอื่น ๆขณะที่กำลังติดต่อคู่สถานีอยู่) ใช้ monitor ข้อความใน
        ช่องความถี่ขณะที่เรากำลังติดต่อกับสถานีหนึ่งอยู่ (อยู่ในบทที่ 3)
5.    เมื่อเราก็ตามที่เรา monitor  อยู่นั้น เมื่อเห็นเครืองหมายดอกจันท์ปรากฏขึ้น * บอกให้ทราบว่า
        เรารับข้อความมาจากสถานีนั้น  คำสั่ง MRPT จะต้องเป็น ON เพือแสดงข้อความของสถานี
        ดิจิพีทเตอร์(บทที่ 2 และ 3)
6.    เครือข่ายโหนดแพ็คเก็ตเรดิโอนั้น  ช่วยทำให้การสือสารมีประสิทธิภาพขึ้น เพราะจะมีการ
        ตอบรับข้อความจากโหนดแรกเท่านั้น  ต่อจากนั้นโหนดต่าง ๆ ก็จะทำการตอบรับกัน
        ไปเป็นทอด ๆ ไปจนถึงสถานีปลายทาง(ดูบทที่ 4,10,11 ประกอบ)
7.    เมื่อมีการใช้โหนดเครือข่าย(ไม่ว่าเราจะติดต่อได้หรือไม่ได้ก็ตาม) หากต้องการยกเลิกการ
        ติดต่อ ก็สามารถทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง D ความจริงเราใช้ติดต่อกับหลายโหนด หรือติดต่อ
        กับสถานีห่างไกล ก็ไม่มีอะไรแตกต่าง เครือข่ายจะจัดการยกเลิกการติดต่อตลอดเส้นทางที่
        เชื่อมกันอยู่เอง(ดูบทที่ 4,10,11)
8.    N6ZYX-2 จะเป็น N6ZYX-13 ถ้าเราติดต่อโดยการใข้ node เพราะ node จะเปลี่ยน SSID เป็น
        รูป 15-N (ดูบทที่ 10)
9.    ความเป็นไปได้ 2 ประการก็คือ มีการรบกวนด้วยแพ็คเก็ตเรดิโออื่น ๆ ในความถี่  และสัญญาณ
       รบกวน เพราะสัญญาณอ่อน
10.  คำสั่ง BBS
        a. ดูรายชื่อข้อความใช้คำสั่ง L
        b. การ download file ในไดเร็คทอรี่หลัก(G) เรียก FCCEXAMS.89 ใช้คำสั่งDG FCCEXAMS,89
        c. การส่งข้อความส่วนบุคคลหา Jim,WA6DDM:
            SP WA6DDM@W6PW.CA ไม่ต้องใช้ @W6PW ก็ได้ถ้าใช้สถานี W6PW)
        d. อ่านข้อความ 7134 พร้อมหัวข้อเรื่องใช้คำสั่ง RH 7134
        e. หาดูสถานีต่าง ๆ ที่ port B ของ  bbs ที่รับได้ใช้คำสั่บ JB
11.  ถ้าต้องการส่งข้อความ NTS ไปหา Tom Smith,123 Main Street,Keene,NH03431 ให้ใช้คำสั่งที่จุดรับ
        คำสั่งของ bbs ดังนี้คือ
        >ST 03431 @ NTSH (บทที่ 6 และ 12)
12. ข้อความที่มี status  เป็น BF หมายความว่าเป็นข้อความ bulletin ที่ได้ forward ไปอยู่สถานีอื่นแล้ว
13. คำตอบ D ถูกต้อง วันเวลาที่แสดงพร้อมกับข้อความ คือวันเวลาที่รับช้อความเข้ามาที่ bbs
     จำไว้ด้วยว่า เวลาที่ตั้งเอาไว้นั้นเป็นวันเวลาของท้องถิ่นของ bbs หรือ Zulu, UTC,GMT อะไรก็ได้
      bbs ส่วนมากในปัจจุบันใช้เวลา zulu (UTC,GMT) แต่ก็มีบางแห่งที่ใช้เวลาท้องถิ่น เมื่ออ่าน
      ข้อความก็จะทราบวันเวลาที่เขาเขียนข้อความนั้น จากหัวข้อเรือง(บทที่ 8)
14. การค้นหา home bbs ของเพื่อน ๆ ให้ใช้ white pages directory(WP) ถ้า bbs นั้นมี WP ผมจะใช้
      คำสั่ง I (ดูบทที่ 9)
15. ค่าสูงสุดของ MAXFRAME คือ 7  MAXFRAME คือจำนวนแพ็คเก็ตเรดิดอที่ส่งออกไปโดย TNC
     อย่างต่อเนื่อง  และเป็นจำนวนแพ็คเก็ตที่ TNC ค้างไว้ยังไม่ได้ตอบรับ ให้ลดค่า MAXFRAME
      ลงในกรณีที่สภาพแวดล้อมแล้วร้ายลง  TNC จะส่งแพ็คเก็ตเรดิจำนวนน้อยลงในจำนวนการ
      ส่งออกแต่ละครั้ง และจะมีการรบกวนน้อยลงกับข้อความแพ็คเก็ตเรดิโออื่น ๆ ในความถี่
      โอกาศที่สัญญาณรบกวนจะลบล้างไปก็มีน้อย (บทที่ 14)
บทที่ 18 บทส่งท้าย     to the top


            ใน 17 บทที่ผ่านมา ผมได้แจกแจงแพ็คเก็ตเรดิโอขั้นพื้นฐาน  จากการติดตั้ง TNC  ทำการสนทนา
ใช้ดิจิพีทเตอร์ ระบบnode เครือข่าย ระบบ bbs และ mailbox รวมไปถึงคำสั่งต่าง ๆ  การตั้งค่าต่าง ๆ เพื่อใช้
กับแพ็คเก็ตเรดิโอตามปกติ ตลอดคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจงายและสนุก
            การเปลี่ยนแพ็คเก็ตเรดิโอเพื่อใช้โปรแกรมเวอร๋ชั่นใหม่ ๆ ของระบบ node เครือข่าย ระบบ bbs
พยายามศึกษาหาความรู้จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ หาได้จากข้อมูลข่าวสารล่าสุด
            ต่อแต่นี้ไป ท่านอาจจะต้องติดตามศึกษาการพัฒนาในเรืองของแพ็คเก็ตเรดิโอ มีโปรแกรมมากมาย
ที่เขียนขึ้นมาใช้กับแพ็คเก็ตเรดิโอ  โดยเฉพาะ  เป็นต้นว่า Packet Cluster ใช้เพื่อหาเครือข่ายการติดต่อทางไกล
TCP/IP,Tex-Net,Conference-Bridging เป็นต้น PAC-SAT เป็นโปรแกรมดาวเทียมแพ็คเก็ตเรดิโอ  กำลั้งได้
รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ อุปกรณ์แพ็คเก็ตเรดิโอที่ออกมาใหม่ โมเด็มที่มีความเร็วสูงถึง 56 kilobaud กำลัง
ถูกนำมาใช้งาน ตลอดจนเรืองราวน่าสนใจอีกมากมาย
            กระผมต้องขอขอบพระคุณเพื่อน ๆ ต่อไปนี้ที่ได้ให้ความช่วยเหลือเตรีบยมงานคือ คุณ Don Simon,
NI6A:Bill Choisser,K9AT;Don Fay,K4CEF;Scott Cronk,N7FSP; และคุณ Hank Oredson,W0RLI
            หากมีข้อติชมอันใดสำหรับ" Introduction to Packet" หรือถ้ามีข้อสงสัย ต้องการแนะนำห้วข้อ
ใหม่ ๆ รวมถึงบทความในอนาคต  หรือต้องการแก้ไขปรับปรุงข้อความใด ๆ ในหนังสือนี้ ขอความ
กรุณาส่งข้อความแพ็คเก็ตเรดิโอถึงกระผม หวัรงว่าหนังสือนี้จะช่วยให้แพ็คเก็ตเรดิโอเป็นที่สนุก
สนานสำหรับทุกท่านนะครับ
73 Larry Kenney,WB9LOZ,WB9LOZ@W6PW.#NOCAL.CA.USA.NA
                                                                จบบริบูรณ์


หนังสือคู่มือแพ็คเก็ตเรดิโอนี้ได้แปลเสร็จเมือปีพุทธศักราช 2542 แต่มาเขียนทบทวนใหม่เสร็จสมบูรณ์
ในวันที่ 14 กรกฏาคม 2543  .ใส่ไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาแก่ผู้สนใจทั่วไปที่ http://www.jocking.com
สมลักษณ์ วันโย HS4DOR ประธานชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย to the top