อิสลามในประเทศไทย

สมัยสุโขทัย

ราว พ.ศ. 1781( ค.ศ. 1248 ) หัวหน้าพวกไทยคนหนึ่งคือพ่อขุนบางกลางท่าว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี โอรสองค์ท ี่3 ของพระองค์ทรงพระนามว่า พ่อขุนรามคำแหง ได้เผยแพรอาณาเขต ของสุโขทัยไปกว้างขวางทางทิศใต้จดแหลมมาลายูตลอดไปจนสุดปลายแหลมศักราชในประวัติศาสตร์ แสดงว่า ศาสนาอิสลามได้แพร่เขามาในอินเดียและแหลมมาลายูนี้ก่อนที่คนไตจะอพยบมาจากยุนนาน ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้นปรากฎว่าชาวนครศรีธรรมราชนับถือศาสนาอิสลามกันอยู่จำนวนมาก ครั้งโบราณพวกอินเดียเดินทางตัดข้ามแหลมมาลายูที่ตะกั่วป่าข้ามเขามาลงที่แม่น้ำตาปีแสดงว่าได้มีหลักแหล่งมานานแล้ว

ในปัจจุบันนี้เราได้พบเครื่องถ้วยชามสังคโลกอันเป็นหัตถกรรมของกรุงสุโขทัยและเป็นสินค้าออกสำคัญยัง ประเทศมุสลิมหลายแห่งเช่น ที่อินโดนีเซีย ซึ่งยังอยู่ในรูปเดิมดีกว่า ที่พบในเมืองไทยเสียอีกนอกจากนี้ยังได้พบ ในประเทศ อิหร่านและในทวีปอาฟริกาอีกหลายแห่งและในประเทศฟิลิปิปินส์ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่1ด้านที่ 3 บรรทัดที่ 1 มีคำว่า ปสานซึ่งหมายถึง ตลาดขายของแห้ง และเชื่อกันว่ามาจากศัพย์เปอร์เซีย บาซาร์ ( Ba-za-r) หรือมาลายู ปะสัร ซึ่งเพี้ยนมาจาก บาซาร์ ข้อความในหลักศิลาจารึกมีว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้มีปสาน มีพระอัจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากกลาง มีไร่มีนา มีถิ่นมีถานมีบ้านใหญ่บ้านเล็ก........ " ใน "ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์"ท่านกาญจนาคพันธ์เขียนว่า "นับเพียงชั้นสุโขทัยที่เกิดศาสนาอิสลามขึ้นแล้ว แขกมะหะหมัดที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยเรา เรารู้ไม่ได้ว่าเป็นชาติไหน ภาษาไหนว่า โดยเฉพาะภาษาหรือชาติอาหรับตาม โคลงภาพวัดโพธิ์ที่กำลังกล่าวถึงอยู่ จะได้เคยติดต่อหรือเข้ามาอยู่เมืองไทยเก่าแก่มาแล้ว อย่างไรก็ไม่มีทาง ทราบได้ แต่เมื่อว่าถึงถ้อยคำหรือภาษาที่มีปรากฎเป็นหลักฐานว่าเป็นภาษาแขกใช้เก่าแก่ที่สุดนั้น ก็ได้แก่คำว่า "ปสาน" มีอยู่ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง คำ "ปสาน"นี้ ศาสตราจารย์ยอร์ชเซเดส์ ให้คำอธิบายว่า "ตลาดมีห้องแถว ภาษาเปอร์เซียว่า บาซาร์ แปลว่าตลาด ที่ตั้งประจำหรือถนน ที่มีห้องเป็นร้านค้าในภาษาไทยเขียน คำนี้หลายอย่าง เช่นในศิลาจารึกเขียน "ตลาดปสาน"ในกฎหมายลักษณะลักพาของ พระเจ้าอู่ทองเขียน "ตลาด- พิศาล"เพี้ยนมาในยุคหลังๆเขียน"ตลาดยี่สาน"ลักษณะตลาด ของไทย สมัยโบราณกล่าวกว้างๆ เห็นจะมีสองอย่าง คือตลาดที่ตั้งประจำอย่างหนึ่งกับตลาดตั้งชั่วคราว อย่างทึ่เรียกว่า "ตลาดนัด" อีกอย่างหนึ่งหลักฐานเหล่านี้แสดงว่า ได้มีการค้าขายระหว่าง กรุงสุโขทัยกับมุสลิมมาช้านานที่เดียวอย่างไร ก็ตาม นับเป็น เรื่องที่เมืองไทยเรายังไม่มีประวัติศาสตร์ที่แน่ชัด ถ้าจะกล่าวถึงระยะที่มีประวัติศาสตร์แน่ชัดลง มาก็จัดได้ว่า ความสัมพันธ์ต่างๆระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ที่นับถือศาสนาอิสลาม นั้นมีอยู่ตลอดมาดูตามประวัติศาสตร์ไม่ปรากฎว่าในยุคนั้นคนไทยเป็น ชาติที่เดินเรือเก่งกล้าอะไรนักเพราะฉะนั้นเรือสินค้าในสมัย นั้นน่าจะสันนิษฐานว่าเป็นของพวกอาหรับและเปอร์เซียมากกว่า และการค้าในสมัยนั้นย่อมชักจูงให้มุสลิมมาตั้งหลักแหล่งในกรุงสุโขทัยเป็นธรรมดาแม้แต่คนเดินเรือทะ เลของหลวง ในสมัยอยุธยาก็ใช้แต่คนเชื้อสายพวกแขกจามและแขกมาลายูเป็นพื้น ถึงพวกจามและชวา มาลายูแม้ที่สุดจีน ก็คงไปมาถึงกันแต่ก่อนมาช้านาน

สมัยรัตนโกสินทร

ในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีมุสลิมจำนวนหนึ่งถูกจับเป็นเชลยของกองทัพไทยเป็นต้นตระกูลของชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เช่น สี่แยกบ้านแขก, พระโขนง, มีนบุรี, หนองจอก , ปทุมธานี, ฉะเชิงเทรา, นครนายก, นนทบุรี เป็นต้นบางส่วนก็ตั้งรกรากอยู่ในถิ่นกำเนิดเดิม ของตน แต่ไทยได้ปกครองถิ่นนั้นมาตั้งแต่เดิมเช่น จังหวัดต่างๆ ของชายแดนภาคใต้เป็นต้น
บางส่วนอพยพมาจากอินโดนิเซียด้วนเงื่อนไขทางการค้าประมาณสมัยรัชกาลที่ 5ตั้งรกรากอยู่ใน ปัจจุบันนี้ที่ ทุ่งวัดดอน,มักกะสัน,ลุมพินี เป็นต้น บางส่วนเป็นเชื้อสายอินเดียที่อพยบเข้ามาตั้งหลัก แหล่งประกอบอาชีพมีอยู่ที่ฝั่งพระนครและ ธนบุรี บางส่วนเป็นจีนมาจากมณฑลยูนานแผ่นดินใหญ่จีนหลังการปฏิวัติใหญ่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองเชียงใหม่,เชียงราย, ลำปาง, ตาก,เป็นต้นบางส่วน เป็นชาวอาหรับได้เข้ามาตั้งหลัก แหล่งประกอบการค้าในตัวเมืองใหญ่ เช่น ในกรุงเทพฯ ปัตตานี, หาดใหญ่,เป็นต้น
บางส่วนก็ตั้งรกรากอยู่ในถิ่นกำเนิดเดิมของตนแต่ไทยได้ปกครองถิ่นนั้นมาตั้งแต่เดิมเช่น จังหวัด ต่างๆ ของชายแดนภาคใต้เป็นต้น
บางส่วนอพยพมาจากอินโดนิเซียด้วนเงื่อนไขทางการค้า ประมาณสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งรกรากอยู่ใน ปัจจุบันนี้ที่ ทุ่งวัดดอน,มักกะสัน, ลุมพินี เป็นต้น
บางส่วนเป็นเชื้อสายอินเดียที่อพยบเข้ามาตั้งหลักแหล่งประกอบอาชีพมีอยู่ที่ฝั่งพระนครและธนบุรี
บางส่วนเป็นจีนมาจากมณฑลยูนานแผ่นดินใหญ่จีน หลังการปฏิวัติใหญ่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองและมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองเชียงใหม่,เชียงราย, ลำปาง, ตาก, เป็นต้น
บางส่วนเป็นชาวอาหรับได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งประกอบการค้าในตัวเมืองใหญ่ เช่น ในกรุงเทพฯ,ปัตตานี, หาดใหญ่,เป็นต้น


ข้อมูลจาก addeen.com