สารสนเทศคือ
ระบบสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานอุสาหกรรม

สารสนเทศ

สารสนเทศ คือ ข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ผ่านกระบวนการ (Process) อันเหมาะสมจนได้สารสนเทศ (Information) ออกมา สารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากรขององค์กรในแต่ละระดับนั้นแบ่งประเภทได้ดังนี้ ระบบประมวลผลธุรกรรมประจำวัน (Transaction Processing System : TPS) คือ สารสนเทศในระดับขั้นพื้นฐานที่ได้มาจาการบันทึกข้อมูลประจำวัน เช่น ข้อมูลคำสั่งซื้อจากลูกค้า ข้อมูลการออกใบสั่งซื้อ ข้อมูลการออกใบผลิตสินค้า เป็นต้น บุคลากรที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้คือ ระดับปฏิบัติการ สารสนเทศที่ได้มานั้นเพียงเพื่อนำมาตรวจสอบความถูกต้องของการป้อนข้อมูลเท่านั้น ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System : MIS) คือ สารสนเทศในระดับกลางที่ได้มาจากระบบประมวลผลธุรกรรมประจำวันในรูปแบบของรายงานประจำเดือน ประจำปี หรือในรูปแบบของกราฟ บุคลากรที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้คือ ระดับบริหารขั้นต้นและขั้นกลาง สารสนเทศที่ได้มานั้นจะนำมาช่วยในการบริหารงานได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานในระดับปฏิบัติการ(ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือกระบวนการทำงาน)ได้ แต่ในระดับบริหารขั้นกลางอาจจะจำเป็นต้องมีสารสนเทศที่จะช่วยสนับสนุนในการตัดสินใจสำหรับการบริหารงานมากขึ้น จึงต้องพึ่งระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ข้อมูลส่วนหนึ่งจะได้มาจากภายนอก (External Data) เช่น ข้อมูลคู่แข่ง ข้อมูลราคาน้ำมัน ข้อมูลค่าขนส่ง เป็นต้น ส่วนในระดับบริหารขั้นสูง ซึ่งก็คือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรนั่นเอง สารสนเทศที่จะช่วยในการบริหารงานทั้งองค์กรคือ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information System : EIS) และระบบผู้ชำนาญการ (Expert System : ES) สารสนเทศส่วนหนึ่งได้มาจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ส่วนใหญ่จะได้มาจากข้อมูลภายนอกเช่นเดียวกับระดับบริหารขั้นกลาง แต่อยู่ในรูปแบบของสถิติหรือการพยากรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ระบบผู้ชำนาญการจะช่วยป้อนข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นเฉพาะเรื่องนั้นๆ เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรใหม่ให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที การนำสารสนเทศแต่ละประเภทมาใช้ในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเอื้อต่อบุคลากรที่จะนำไปใช้นั้น จำเป็นจะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยคือ ระบบคอมพิวเตอร์ (Computing System) และระบบการสื่อสาร (Telecommunication System) ทั้งนี้เพื่อให้การเชื่อมโยงข้อมูลหรือสารสนเทศไปถึงทุกระบบของสารสนเทศได้

สารสนเทศแต่ละประเภทนั้น มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากต่อการขับเคลื่อนขององค์กรในปัจจุบันนี้ การใช้สารสนเทศแต่ละประเภทอย่างเหมาะสมกับแต่ละระดับการปฏิบัติงานของบุคลากร จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างมาก การได้รับ เข้าถึง หรือบริโภคสารสนเทศของบุคลากรขององค์กร ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าระดับไหนควรจะได้รับสารสนเทศอะไรบ้าง ปริมาณเท่าใด มิฉะนั้นแล้วอาจเกิดการสำลักสารสนเทศ (Overflow Information) ก็เป็นไปได้
 
ลิ้งเว็บ
IT for life
ม.ราชภัฏสวนดุสิต
กรมส่งเสริมการส่งออก
ม.ราชภัฏจันทรเกษม
Digital Library
Schoolnet
Nectect
กระทรวงอุตสาหกรรม
ลีนุกย์พันธุ์ไทย
Computer Center