กล่าววาจาสุภาษิต
ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ๑ l บทที่ ๒ l บทที่ ๓ l บทที่ ๔ l บทที่ ๕ l บทที่ ๖ l บทที่ ๗ l บทที่ ๘ l บทที่ ๙ l บทที่ ๑๐ l
บทที่ ๑๑ l บทที่ ๑๒ l บทที่ ๑๓ l บทที่ ๑๔ l บทที่ ๑๕ l บทที่ ๑๖ l บทที่ ๑๗ l บทที่ ๑๘ l บทที่ ๑๙ l บทที่ ๒๐ l
บทที่ ๒๑ l บทที่ ๒๒ l บทที่ ๒๓ l บทที่ ๒๔ l บทที่ ๒๕ l บทที่ ๒๖ l บทที่ ๒๗ l บทที่ ๒๘ l บทที่ ๒๙ l บทที่ ๓๐ l
บทที่ ๓๑ l บทที่ ๓๒ l บทที่ ๓๓ l บทที่ ๓๔ l บทที่ ๓๕ l บทที่ ๓๖ l บทที่ ๓๗ l บทที่ ๓๘ l บทที่ ๓๙ l บทที่ ๔๐ l

บทที่ ๑๐ กล่าววาจาสุภาษิต


คนเรามีการติดต่อสัมพันธ์ให้เข้าใจกันได้
ก็เพราะอาศัยคำพูดที่กล่าวออกมาเป็นสำคัญ
แต่มีข้อแม้ว่า คำพูดนั้นหากกล่าวออกมาโดยมีเจตนาไม่ดี
และเป็นคำพูดที่ไม่สุภาพด้วย ย่อมเกิดผลเสียหาย
หากกล่าวออกมาด้วยเจตนาดีมีสุจริต
เป็นสัมมาวาจาคือวาจาสุภาพ เป็นสุภาษิต
ย่อมส่งเสริมให้คำพูดนั้นมีผลสำเร็จบริบูรณ์ที่สุด
วาจาที่เป็นสุภาษิตนั้น คือ

๑ กล่าวถึงเรื่องที่ต้องการนั้นให้เหมาะสมกับเวลา

๒ กล่าววาจาเป็นคำสัตย์ คำจริง มีหลักฐาน
ไม่แปรเปลี่ยนผิดเป็นอย่างอื่น

๓ กล่าววาจาอ่อนหวาน ไพเราะ เป็นที่รัก
เป็นที่เจริญใจ

๔ กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์
เว้นจากโทษแม้เพียงกล่าวด้วยความลำเอียงเพราะเห็นแก่หน้ากัน

๕ กล่าวด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา
ไม่ทำตนให้เดือดร้อนและไม่เป็นถ้อยคำเบียดเบียนคนอื่น

การกล่าวถ้อยคำออกไปให้อยู่ในลักษณะ ๕ อย่างนี้
ถือว่าเป็นวาจาสุภาษิต




songkran2000@chaiyo.com