ประกอบกรรมที่ไม่มีโทษ
ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ๑ l บทที่ ๒ l บทที่ ๓ l บทที่ ๔ l บทที่ ๕ l บทที่ ๖ l บทที่ ๗ l บทที่ ๘ l บทที่ ๙ l บทที่ ๑๐ l
บทที่ ๑๑ l บทที่ ๑๒ l บทที่ ๑๓ l บทที่ ๑๔ l บทที่ ๑๕ l บทที่ ๑๖ l บทที่ ๑๗ l บทที่ ๑๘ l บทที่ ๑๙ l บทที่ ๒๐ l
บทที่ ๒๑ l บทที่ ๒๒ l บทที่ ๒๓ l บทที่ ๒๔ l บทที่ ๒๕ l บทที่ ๒๖ l บทที่ ๒๗ l บทที่ ๒๘ l บทที่ ๒๙ l บทที่ ๓๐ l
บทที่ ๓๑ l บทที่ ๓๒ l บทที่ ๓๓ l บทที่ ๓๔ l บทที่ ๓๕ l บทที่ ๓๖ l บทที่ ๓๗ l บทที่ ๓๘ l บทที่ ๓๙ l บทที่ ๔๐ l

บทที่ ๑๘ ประกอบกรรมที่ไม่มีโทษ


ในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อให้ได้เป็นอยู่สุขนั้น
แต่ละคนย่อมประกอบกรรมไปตามที่ตัวเองเห็นชอบ
ถูกต้องมากน้อยต่าง ๆ กัน แต่กรรมที่จะให้ผลดีตามต้องการนั้น
ต้องไม่มีโทษแก่ตนและคนอื่นควบคู่กันไป
ในส่วนที่เป็นประโยชน์เฉพาะตัวนั้น เช่น การตั้งใจมั่นรักษาศีล
ระมัดระวังกิริยาวาจาให้เรียบร้อยได้อย่างปกติ รักษามั่นไว้ได้เท่าใด
ย่อมเป็นความดีแก่ตัวเองมากเท่านั้น นอกจากนี้ การประกอบกรรมที่ไม่มีโทษ
เป็นธรรม เป็นการการกระทำที่บัณฑิตสรรเสริญ เช่น
การปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อน
ทำที่ขรุขระให้เป็นถนนราบเรียบสำหรับคนเดินทาง
ถางกอไม้กิ่งไม้มีหนามที่เกะกะกีดขวาง
ขุดดินในสระให้กว้างและลึกเหมาะสำหรับอาบและดื่มกิน
สร้างสะพานข้ามในที่มีน้ำขัง ปลูกสร้างศาลาที่พักริมทาง
ตั้งน้ำดื่มไว้สำหรับคนหิวกระหาย

กรรมที่ไม่มีโทษเช่นนี้ เป็นกรรมที่เป็นไปด้วยเจตนาดี
มีผลประโยชน์แก่คนอื่น เป็นเหตุได้รับความสุขแห่งชีวิตอย่างหนึ่ง




songkran2000@chaiyo.com