งดเว้นจากบาป
ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ๑ l บทที่ ๒ l บทที่ ๓ l บทที่ ๔ l บทที่ ๕ l บทที่ ๖ l บทที่ ๗ l บทที่ ๘ l บทที่ ๙ l บทที่ ๑๐ l
บทที่ ๑๑ l บทที่ ๑๒ l บทที่ ๑๓ l บทที่ ๑๔ l บทที่ ๑๕ l บทที่ ๑๖ l บทที่ ๑๗ l บทที่ ๑๘ l บทที่ ๑๙ l บทที่ ๒๐ l
บทที่ ๒๑ l บทที่ ๒๒ l บทที่ ๒๓ l บทที่ ๒๔ l บทที่ ๒๕ l บทที่ ๒๖ l บทที่ ๒๗ l บทที่ ๒๘ l บทที่ ๒๙ l บทที่ ๓๐ l
บทที่ ๓๑ l บทที่ ๓๒ l บทที่ ๓๓ l บทที่ ๓๔ l บทที่ ๓๕ l บทที่ ๓๖ l บทที่ ๓๗ l บทที่ ๓๘ l บทที่ ๓๙ l บทที่ ๔๐ l

บทที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป


คำว่า บาป นั้น เป็นชื่อของความชั่ว ความเศร้าหมองทางใจและทางกาย
มีผลเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว คนใดมองเห็นโทษในบาปแล้วงดเว้นเสียได้
ย่อมเป็นความดีโดยส่วนเดียวเช่นกัน พยายามให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
โดยทำความเข้าใจว่า เรามีฐานะเป็นอยู่อย่างนี้ มีชาติตระกูลเช่นนี้
มีอายุอยู่ในวัยนี้ มีความรู้ขนาดนี้ ไม่ควรทำบาป การทำบาปไม่สมควรแก่เรา
เมื่อได้ทำความตั้งใจมั่นอธิษฐานงดเว้นอย่างเด็ดขาดแล้ว
ไม่ทำลาย ยอมสละได้แม้ชีวิตในเมื่อเหตุชวนให้เลิกละ
ไม่ยอมผิดการอธิษฐานใจ ด้วยพิจารณาเป็นอย่างแท้จริงว่า
ผลร้ายในเบื้องต้นและบั้นปลายย่อมตกเป็นของผู้ทำบาปทั้งสิ้น
และแม้เพียงความคิดว่า
เราจะทำร้ายทำลายเพื่อนมนุษย์หรือล่าสัตว์เพื่อความสนุกสนาน
ซึ่งเป็นเจตนาเป็นเหตุก่อให้เกิดภัยและเวรทั้งหลาย
ไม่มีแก่คนใด คนนั้นเป็นผู้งดเว้นบาปกรรมโดยเด็ดขาด
ไม่มีความเศร้าหมองใจและกาย
เป็นเหตุได้รับความสุขแห่งชีวิตอย่างหนึ่ง




songkran2000@chaiyo.com