ประพฤติตบะธรรม
ปกแรก l บทนำ l
บทที่ ๑ l บทที่ ๒ l บทที่ ๓ l บทที่ ๔ l บทที่ ๕ l บทที่ ๖ l บทที่ ๗ l บทที่ ๘ l บทที่ ๙ l บทที่ ๑๐ l
บทที่ ๑๑ l บทที่ ๑๒ l บทที่ ๑๓ l บทที่ ๑๔ l บทที่ ๑๕ l บทที่ ๑๖ l บทที่ ๑๗ l บทที่ ๑๘ l บทที่ ๑๙ l บทที่ ๒๐ l
บทที่ ๒๑ l บทที่ ๒๒ l บทที่ ๒๓ l บทที่ ๒๔ l บทที่ ๒๕ l บทที่ ๒๖ l บทที่ ๒๗ l บทที่ ๒๘ l บทที่ ๒๙ l บทที่ ๓๐ l
บทที่ ๓๑ l บทที่ ๓๒ l บทที่ ๓๓ l บทที่ ๓๔ l บทที่ ๓๕ l บทที่ ๓๖ l บทที่ ๓๗ l บทที่ ๓๘ l บทที่ ๓๙ l บทที่ ๔๐ l

บทที่ ๓๑ ประพฤติตบะธรรม


คนเราที่มีความประพฤติสั่งสมในเรื่องอะไรอยู่มาก
ย่อมหมกมุ่นเพ่งเล็งอยู่ในเรื่องนั้น
โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นอกุศล
เช่น มีความโลภมากอยากได้ในวัตถุสิ่งของใดมากเกินไป
ย่อมขวนขวายหามาโดยไม่เลือกทาง
ต้องใช้กำลังกายกำลังใจอย่างมาก
แม้โดยวิธีการอย่างทุจริตเพื่อให้ได้สมกับความอยาก
เพราะไม่รู้เท่าทันตามความต้องการของใจ
แม้เพียงเรื่องเดียวก็ทำให้เป็นทุกข์อยู่มาก
ยิ่งเป็นไปในหลาย ๆ เรื่องยิ่งต้องเป็นทุกข์มากขึ้น
เพราะเหตุนั้น คนเราจึงต้องประพฤติธรรมข้อหนึ่ง
ชื่อว่า ตบะ เป็นดุจไฟที่ร้อน
เพื่อเผาผลาญกิเลสคือความโลภมากอยากได้
ให้มอดไหม้ไปจากจิตและเพียรพยายามใช้เดชอำนาจนี้
ป้องกันมิให้กิเลสเศร้าหมองอย่างอื่น ๆ
เข้ามาครอบงำ แต่ข้อสำคัญก็คือ
ต้องสร้างจิตนั่นเองให้เป็น ตบะ
ให้มีความเข้มแข็งอยู่ในตัวเอง มีความคงที่
จึงจะไม่ตกอยู่ในอำนาจของความเพ่งเล็ง
เหมือนอย่างบ้าน เมื่อล้อมรั้วไว้แข็งแรงดีแล้ว
ขโมยนอกบ้านก็ไม่อาจเข้ามาขโมยสิ่งของไปได้
ดังนั้น การประพฤติตบะธรรม
จึงเป็นเหตุได้รับความสุขแห่งชีวิตอย่างหนึ่ง



songkran2000@chaiyo.com