Skip Navigation


 

โลกของคนหูหนวก


English Version หน้าแรก Thai Version

แนะนำสมาคมฯ
กรรมการสมาคมฯ
สมัครสมาชิก
การบริจาคสนับสนุนสมาคมฯ
ข้อมูลสำคัญสำหรับคนพิการ
เสียงและการได้ยิน
ความพิการทางการได้ยิน
หน่วยงานและสถานศึกษา
องค์กรที่เกี่ยวกับคนหูหนวก
หนังสือภาษามือ
แนะนำหนังสือ
บทความที่น่าสนใจ
รายการที่มีจอล่ามภาษามือ
เรียนรู้คนหูหนวก
บริษัทจำหน่ายเครื่องช่วยฟัง
หนัง-ละครเกี่ยวกับคนหูหนวก
แผนที่
ลิงค์

 

 

การจดทะเบียนคนพิการ
เป็นการให้บริการของรัฐในเบื้องต้นแก่คนพิการ ที่ทำให้คนพิการได้มีหลักฐานเพื่อแสดงตนว่าเป็นคนพิการ ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิในการส่งเคราะห์ การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 โดยคนพิการที่ประสงค์จะรับสิทธิและโอกาสดังกล่าวสามารถจดทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สถานที่จดทะเบียนคนพิการ
1. คนพิการที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร ขอจดทะเบียนได้ที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวสำหรับคนพิการ ตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ถนนกรุงเกษม สะพานขาว เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
2. คนพิการที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ขอจดทะเบียนได้ที่จังหวัดของตน ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งตั้งอยู่ทีศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
3. คนพิการที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาของตน แต่มีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ สามารถยื่นจดทะเบียนได้ตามถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ในจังหวัดนั้น
หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียน
1. เอกสารรับรองความพิการ โดยแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ
2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้เยาว์ใช้สูติบัตร พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด
3. ทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด
4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
การจดทะเบียนคนพิการแทน
หากคนพิการไม่สามารถไปจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ให้มีผู้อื่นดำเนินการจดทะเบียนแทนได้ ทั้งนี้ผู้จดทะเบียนแทนต้องนำเอกสารมาด้วยดังนี้
1. เอกสารหลักฐานการขอจดทะเบียนของคนพิการ
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวต่างด้าว หรือ เอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ของผู้จดทะเบียนแทน พร้อมทั้งต้นฉบับตัวจริง
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จดทะเบียนแทน พร้อมทั้งต้นฉบับจริง
4. ใบมอบอำนาจจากคนพิการ หรือ หนังสือรับรองจากทางราชการ
5. คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นเสมือนไร้ความสามารถ หรือ ไร้ความสามารถ หรือ การจัดตั้งผู้ปกครองกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือ บิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
คนพิการที่จดทะเบียนแล้ว จะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการ เพื่อนำไปแสดงตัวในการขอรับบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้านต่างๆ รวมถึงการรับคำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือด้านอื่นๆ ได้แก่
บริการทางการแพทย์ เพื่อแก้ไขความพิการ หรือ ปรับสภาพความพิการ กายอุปกรณ์ เครื่องช่วยต่างๆ และคำแนะนำปรึกษาทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ติดต่อขอรับบริการได้ที่สถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ
บริการทางการศึกษา การเข้าเรียนในสถานศึกษาต่างๆ คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการศึกษา ติดต่อขอรับบริการได้ที่สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดทุกจังหวัด
บริการทางอาชีพ จัดฝึกอาชีพและแนะนำการประกอบอาชีพ และให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ
บริการทางสังคม ให้คำแนะนำปรึกษา บริการช่วยเหลือเด็กพิการ และครอบครัวคนพิการที่มีฐานะยากจน และประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมถึงเบี้ยยังชีพคนพิการ ที่มีสภาพความพิการมากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และมีฐานะยากจน
การต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ
สมุดประจำตัวคนพิการจะมีอายุใช้งาน 5 ปี นับแต่วันออกสมุด เมื่อครบกำหนดแล้ว คนพิการจะต้องยื่นคำร้องขอต่ออายุสมุดประจำตัว ณ สำนักทะเบียนคนพิการที่ระบุไว้ในสมุดประจำตัว พร้อมเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการต่ออายุ
การออกสมุดเล่มใหม่แทนเล่มเดิมที่ชำรุด/สูญหาย
หากสมุดประจำตัวคนพิการชำรุดก่อนวันหมดอายุ คนพิการสามารถยื่นคำร้องขอมีสมุดประจำตัวคนพิการเล่มใหม่แทนเล่มเดิมได้ หากสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความยื่นขอมีสมุดประจำตัวคนพิการเล่มใหม่พร้อมเอกสารหลักฐาน

หากคนพิการมีปัญหา หรือ ข้อสงสัยในการดำเนินการจดทะเบียนให้ติดต่อสอบถามในวันและเวลาราชการได้ที่
- สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดทุกจังหวัด
- ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวสำหรับคนพิการ 02-2821707, 02-2821709
- สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) โทร.02-3543388 โทรสาร.02-3545294

http://www.nep.go.th
รถประจำทางที่ผ่านศูนย์บริการฯ 8, 37, 39, 44, 53,59, 60,
ปอ.39,44,,59,60,79,511,512,183

 

ข้อมูล: เอกสารแผ่นพับของสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ
รายละเอียดบริการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534
1.บริการทางการแพทย์

บริการทางการแพทย์ คือ บริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

ข้อ 1 ให้คนพิการที่จดทะเบียนตามมาตรา 14 ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีการทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้

(1) การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่นๆ

(2) การให้คำแนะนำปรึกษา

(3) การให้ยา

(4) การศัลยกรรม

(5) การพยาบาลเวชกรรมฟื้นฟู

(6) กายภาพบำบัด

(7) กิจกรรมบำบัด (อาชีวบำบัด)

(8) พฤติกรรมบำบัด

(9) จิตบำบัด

(10) สังคมสงเคราะห์และสังบำบัด

(11) การแก้ไขคำพูด (อรรถบำบัด)

(12) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินและการสื่อความหมาย

(13) การให้อุปกรณ์หรือเครื่องช่วยความพิการ

ข้อ 2 ภายใต้บังคับข้อ 5 คนพิการซึ่งรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีทางการแพทย์ จากสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข หรือสถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือ รัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และค่าอุปกรณ์ตามข้อ 1 ดังต่อไปนี้

(1) ค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1

(2) ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินอัตราที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล

ข้อ 3 ในกรณีที่คนพิการซึ่งเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามข้อ 2 ต้องใช้อุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือ เครื่องช่วยคนพิการ ให้สถานพยาบาลดังกล่าวจัดหาอุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือ เครื่องช่วยคนพิการให้แก่คนพิการนั้น และในกรณีที่สถานพยาบาลไม่มีอุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือ เครื่องช่วยคนพิการดังกล่าว ให้สถานพยาบาลนั้นขอเบิกจากศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข้อ 4 เมื่ออุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือ เครื่องช่วยคนพิการที่ได้รับตามข้อ 3 ชำรุดบกพร่อง จำเป็นต้องซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนของอุปกรณ์ และสถานพยาบาลตามข้อ 2 สามารถดำเนิการให้ได้ ให้สถานพยาบาลดังกล่าวบริการซ่อมแซม หรือ เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนของอุปกรณ์ให้โดยไม่คิดมูลค่า

ข้อ 5 ในกรณีที่คนพิการมีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ หรือ มีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ให้คนพิการใช้สิทธิในการรับสงเคราะห์ หรือ สิทธิในสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากหน่วยงานนั้นๆ ก่อน

ข้อมูล : คู่มือคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กลับไปหน้าแรก

ติดต่อกับเรา
 
โทรศัพท์.66(2)7171902-3 โทรสาร.66(2)7171904