การปฐมพยาบาล

ช่วงหน้าฝนนอกจากจะต้องดูแลจักรยานคันโปรดกันมากหน่อยแล้ว เวลาออกไปลุยกันก็ต้องระมัดระวังตัวเพิ่มกันให้มากขึ้นอีกด้วยนะคะ ก็รู้ๆกันอยู่ว่าเวลาฝนตกแล้วทางก็ต้องลื่นเป็นธรรมดา โอกาสเกิดอุบัติเหตุก็มากขึ้นด้วย เพื่อเป็นการไม่ประมาทก็ควรพกชุดปฐมพยาบาลติดตัวไว้ด้วยเวลาออกขี่จักรยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ชอบปั่นจักรยานลุยป่า แล้วก็ต้องรู้วิธีปฐมพยาบาลด้วยนะคะ 7 รายการต่อไปนี้ คือ การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ขณะขี่จักรยาน แล้วเกิดอุบัติเหตุ และวิธีช่วยเหลือเฉพาะหน้า

1.กระโหลกศีรษะร้าว-แตก หรือกระดูกต้นคอเคลื่อน

การช่วยเหลือ ส่งคนไปเรียกหน่วยพยาบาลทันที แล้วหาวิธีที่จะไม่ให้ศีรษะและคอของผู้ป่วยขยับ ถ้าเลือดออกมากให้ระวังอาการช็อค ตรวจระบบการหายใจอย่าให้ติดขัด

ต้องระวัง ห้ามถอดหมวกกันน็อคออก จนกว่าจะแน่ใจว่ากระดูกต้นคอไม่เคลื่อนหลุด และห้ามให้ผู้ป่วยดมยาใดๆที่จะกระตุ้นให้รู้สึกตัว (เช่น แอมโมเนีย) เด็ดขาด เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสะบัดหน้าหนีและทำให้เหตุการณ์เลวลงได้เบาะๆก็อัมพาดหรืออาจเสียชีวิตเพราะเส้นประสาทขาดทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะคะ

2.หมดสติ

การช่วยเหลือ ส่งคนไปเรียกหน่วยพยาบาลทันที ตรวจการหายใจและชีพจร ถ้าจำเป็นก็ผายปอดและปั๊มหัวใจ ถ้ามีบาดแผลขนาดใหญ่ก็ห้ามเลือดด้วย

ต้องระวัง อย่าขยับผู้ป่วยจนกว่าจะแน่ใจว่ากระดูกต้นคอไม่เคลื่อนที่

3.เลือดออกมาก-ช็อค

การช่วยเหลือ ห้ามเลือกด้วยการใช้ผ้าพันแผลที่สะอาด ปิดแผลแล้วกดไว้แน่นๆ ยกปากแผลให้อยู่เหนือระดับหัวใจ(ถ้าแผลอยู่ที่แขนหรือขา) ถ้าเลือดยังไหลออกมามากให้กดเส้นเลือดใหญ่ที่นำเลือดมายังบาดแผลไว้ด้วย ถ้าเลือดออกมากมักจะเกิดอาการช็อดตามมา ซึ่งจะอันตรายถึงชีวิตได้ อาการช็อคที่เห็นได้คือ กระวนกระวาย สะลืมสะลือ เนื้อตัวซีดเย็น เหงื่อออกมาก หายใจถี่กระชั้น ชีพจรเต้นเร็วมาก ถ้ามีอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยนอนราบทันที ยกขาขึ้นสูงซัก 1 ฟุต(ถ้าทำได้) รักษาความอบอุ่นให้กับผู้ป่วย และพยายามห้ามเลือดให้หยุด

ต้องระวัง ห้ามให้อาหารและน้ำแก่ผู้ป่วย เพราะถ้าอาการหนักมาอย่างนี้ พอถึงมือหมอก็มักจะต้องผ่าตัดกันเสมอ แล้วก็อย่าจัดการกับแผล หรือ เลือดของผู้ป่วยก่อนที่คุณจะใส่ถุงมือพยาบาล ยกเว้นแต่จะแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีเชื้อ HIV !!

4.แผลที่ครูดไปกับพื้น

การช่วยเหลือ ล้างด้วยน้ำสะอาด(น้ำจากกระติกก็ใช้ได้) ใช้ผ้าสะอาดและสบู่เหลวขัดถูสิ่งสกปรกออกจากแผลให้ได้มากที่สุด แล้วราดน้ำล้างอีกครั้ง พอกลับถึงบ้านให้ล้างแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือใช้ผ้าพันแผลที่ชุบน้ำที่ผสมสบู่ฆ่าเชื้อมาโปะไว้ครั้งละ 3-4 นาที หลายๆครั้ง ใช้แปรงสีฟัน(ใหม่เอี่ยม) ขัดถูเอาสิ่งสกปรกออกจากแผลให้หมด รักษาความชื้นที่แผลไว้เสมอ อาจใช้ขี้ผึ้งสมานแผลทาไว้แล้วปิดด้วยผ้าพันแผล เปลี่ยนผ้าพันแผลวันละหลายๆครั้ง

ต้องระวัง อย่าปล่อยให้แผลแห้งเพราะจะตกสะเก็ด ทำให้แผลหายช้าและเกิดแผลเป็นได้

5.ฟันโยก-หลุด

การช่วยเหลือ จับฟันที่ปลายด้านบดเคี้ยว(ห้ามจับรากฟัน) เพื่อลดการติดเชื้อ ฉีดน้ำจากกระติกล้างให้สะอาด แล้วก็จับใส่เข้าไปที่เดิม (หลุดจากตรงไหนก็จับใส่เข้าไปให้เหมือนเดิม) วางผ้าชิ้นเล็กๆไว้ตรงกับฟันซี่ที่หลุดนั้นแล้วก็กัดเอาไว้แน่นๆ พยายามอย่าให้ฟันขยับออกมาจนกว่าจะถือมือทันตแพทย์ แต่ถ้าหาฟันซี่นั้นไม่เจอก็ใช้ผ้าปิดแผลชิ้นใหญ่หน่อยอุดไว้ที่เหงือก แล้วกัดไว้แน่นๆ จนกว่าเลือดจะหยุดไหล

ต้องระวัง พยายามหาฟันซี่นั้นให้เจอแล้วก็อย่าเพิ่งโยนทิ้ง จนกว่าหมอจะบอกว่าหมดหวัง!

6.นิ้วเคลื่อน หรือ หลุดจากข้อต่อ

การช่วยเหลือ ปล่อยให้อยู่อย่างนั้นอย่าขยับนิ้ว เอาน้ำแข็งประคบครั้งละ 20 นาที แล้วหาหมอโดยด่วน

ต้องระวัง อย่าพยายามกระตุก หรือดึงนิ้วให้เข้าที่เอง เพราะอย่ามีกระดูกที่ร้าวหรือแตกอยู่ จะทำให้การรักษายากขึ้นอีก

7.หัวไหล่หลุด หรือ ไหปลาร้าหัก

การรักษา มัดแขนข้างนั้นไว้กับลำตัวเพื่อให้อยู่นิ่ง ประคบน้ำแข็งที่หัวไหล่ครั้งละ 20 นาที แล้วหาหมอโดยด่วน

ต้องระวัง ถ้าไม่มีคนอื่นไปด้วยอย่าพยายามขี่จักรยานออกมาจากเส้นทางโหดๆนั้นเอง เพราะถ้าล้มอีกครั้งซ้ำแผลเดิม คราวนี้อาจต้องรอหน่วยกู้ภัยมาช่วยนะคะ

อุปกรณ์ฉุกเฉินที่นักขี่จักรยานควรมีไว้ติดตัวขณะขี่จักรยาน