ประเภท ลักษณะ ที่มา โทษ ภูมิคุ้มกัน แหล่งรักษา กฎหมาย หน้าแรก
 
พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533
สารระเหย คือ สารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศว่าเป็นสารระเหย เช่น ทินเนอร์ แลคเคอร์ กาวอินทรีย์ธรรมชาติ อาซีโทน โทลูอีน เป็นต้น

ความผิดและอัตราโทษ
ฐานความผิด อัตราโทษ
- ผู้ผลิต นำเข้าหรือขาย ไม่จัดให้มีภาพ เครื่องหมาย หรือข้อความที่ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อที่บรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือน ให้ระวังการใช้สารระเหย (ม.12, ม.13, ม.14)
- จัดหาหรือให้สารระเหยแก่ผู้ซึ่งตนควรรู้ว่าเป็นผู้ติดสารระเหย (ม.16)
- ใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูด ดม หรือวิธีอื่นใด (ม.17)
- จูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบาย หลอกลวง ให้ผู้อื่นใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ (ม.18) 
- จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.22 หรือ ม.24) 
- ขายแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี ยกเว้นการขายโดยสถานศึกษา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน  - จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.23) 

ข้อควรจำ

1. ผู้กระทำความผิด โดยใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่างกาย หรือจิตใจ ซึ่งมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลจะกล่าวตักเตือน หรือสั่งให้ไปรับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาล (ม.17, ม.26)

2. ผู้กระทำความผิดตาม 1 เป็นผู้ที่มีอายุเกินสิบเจ็ดปี ศาลจะสั่งให้ไปรับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลก็ได้ ในกรณีนี้ ให้นับระยะเวลาที่บำบัดรักษา เป็นระยะเวลาจำคุก หรือกักขังแทนค่าปรับ (ม.28)

3. ผู้กระทำความผิดตาม 2 หลบหนีจากสถานพยาบาล จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.29)

4. ผู้กระทำความผิดตาม 2 กระทำความผิดนั้นอีกภายในหนึ่งปี หลังจากการบำบัดรักษาจนหายแล้ว ให้ศาลเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง สำหรับความผิดครั้งหลัง 

ย้อนกลับหน้ากฎหมาย
 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

จัดทำโดย...นายไชยา  เฉลียวพงษ์  อาจารย์ 1 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย