ประเภท ลักษณะ ที่มา โทษ ภูมิคุ้มกัน แหล่งรักษา กฎหมาย หน้าแรก

 
ประเภทของยาเสพติด จำแนกตามวิถีการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.ยาเสพติดประเภทกดประสาท
ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม 
โดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2534 อาจแบ่งยาเสพติดออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
2. วัตถุออกฤทธิ์ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
3. สารระเหย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย
ยาเสพติดให้โทษ แบ่งตามความร้ายแรงได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
  • ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน อาซีทอร์ฟีน อีทอร์ฟีน แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน ฯลฯ
  • ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่นมอร์ฟีน โคเคอีน (โคเคน) โคเดอีน ฯลฯ
    แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน ฯลฯ
  • ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ปรุงผสมอยู่ด้วย เช่น ยาแก้ไอที่มีฝิ่นหรือโคเดอีนเป็นส่วนผสม ยาแก้ท้องเสียที่มีไดฟีน็อคซิเลท เป็นส่วนผสม ฯลฯ 
  • ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์ 
  • ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม  เห็ดขี้ควาย
วัตถุออกฤทธิ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
  • ประเภท 1 ดีเอ็มที เมสคาลีน แอลเอสดี เดตราไฮโดรแคนนาบินอล ฯลฯ 
  • ประเภท 2 อีเฟดรีน เมธิลเฟนีเดท เซโคบาร์บิตาล เมธาควาโลน
  • ประเภท3 อะโมบาร์บิตาล ไซโคลบาร์บิตาล กลูเตธิไมด์ เมโปรบาเมท ฯลฯ
  • ประเภท4 บาร์บิตาล ฟีโนบาร์บิดาล ไดอาซีแพม คลอไดอาซีพอกไซด์ ฯลฯ
สารระเหย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 
  • กลุ่มเป็นสารเคมี เช่น อาซีโทน เอทิล อาซิเตท โทลูอีน ฯลฯ 
  • กลุ่มที่เป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ กาว ฯลฯ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

จัดทำโดย...นายไชยา  เฉลียวพงษ์  อาจารย์ 1 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย