Home l Site map l English version
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม(กำหนดคุณลักษณะน้ำทิ้ง)


ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง กำหนดคุณลักษณะน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงานให้มีค่าแตกต่างจาก
ที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539)
เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน

---------------------------------------------------------------------


    ด้วยประกาสกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 2 (2539) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้ง ที่ระบายออกจากโรงงาน ข้อ 2(15), (16), (17) ได้ระบุให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่จะกำหนดคุณลักษณะน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ซึ่งได้แก่ ค่า บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ค่า ทีเคเอ็น (TKN หรือ Total Kjeldanl Nitrogen) และค่า ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) ให้แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับดังกล่าวได้ ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณน้ำทิ้ง หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม
   ฉะนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงออกประกาศกำหนดคุณลักษณะน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงานให้มีค่าแตกต่างที่ กำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) เรื่องกำหนด คุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เวลา 5 วัน ไม่มากกว่า 60 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามบัญชีท้ายกฏกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 คือ
   1.1 ลำดับที่ 4(1) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งมิใช่สัตว์น้ำประเภทการฆ่าสัตว์
   1.2 ลำดับที่ 9(2) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเมล็ดพืช หรือหัวพืชประเภทการทำแป้ง
   1.3 ลำดับที่ (10) โรงงานประกอบกิจการอาหารจากแป้ง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
        (1) การทำขนมปัง หรือขนมเค้ก
        (2) การทำขนมปังกรอบหรือขนงมอบแห้ง
        (3) การทำผลิตภัณฑ์อาหารจากแห้ง เป็นเส้นเม็ด หรือชิ้น
   1.4 ลำดับที่ 15 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
        (1) การทำอาหารผสม หรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงสัตว์
        (2) การป่นหรือบด พืช เมล็ดพืช กากพืช เนื้อสัตว์ กระดูกสัตว์ ขนสัตว์ หรือเปลือกหอยสำรับทำหรือผสม              เป็นอาหารสัตว์
   1.5 ลำดับที่ 22 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสิ่งทอ ด้าย หรือเส้นใย ซึ่งมิใช่ใยหิน (Asbestos)    อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
        (1) การหมัก คาร์บอไนซ์ สาง หวี รีด ปั่น อบ ควบ บิดเกลียว กรอ เท็กเจอร์ไรซ์ ฟอก หรือย้อมสีเส้นใย
        (2) การทอหรือการเตรียมเส้นด้ายสำหรับการทอ
        (3) การฟอก ย้อมสี หรือแต่งสำเร็จด้ายหรือสิ่งทอ
        (4) การพิมพ์สิ่งทอ
   1.6 ลำดับที่ 29 โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน    หรือเคลือบสีหนังสัตว์
   1.7 ลำดับที่ 38 โรงงานผลิตเยื่อ หรือกระดาษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
        (1) การทำเยื่อจากไม้หรือวัสดุอื่น
        (2) การทำกระดาษ กระดาษแข็ง หรือกระดาษที่ใช้ในการก่อสร้างชนิดที่ทำจากเส้นใย (Fiber)              หรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์ (Fiberboard)
        (1) การทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี
        (2) การเก็บรักษา ลำเลียง แยก คัดเลือก หรือแบ่งบรรจุเฉพาะเคมีภัณฑ์อันตราย
   1.9 ลำดับที่ 46 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยา อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
   ดังต่อไปนี้
        (1) การผลิตวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายา ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขประกาศ
        (2) การผลิตวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค              หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์
        (3) การผลิตวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์              ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ แต่วัตถุ ตาม (1) หรือ (2)              ไม่รวมถึงวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหาร เครื่องกีฬา เครื่องสำอาง เครื่องมือ ที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะ              และส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ ในการนนั้น
   1.10 ลำดับที่ 92 โรงงานห้องเย็น
ข้อ 2 ค่าทีเคเอ็น (TKN หรือ Total Kjeldahi Nitrogen) ไม่มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามบัญชีท้ายกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 คือ
   2.1 ลำดับที่ 13(2) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องปรุง หรือเครื่องประกอบ อาหาร ประเภทการทำเครื่องปรุงกลิ่น    รส หรือสีของอาหาร
   2.2 ลำดับที่ 15(1) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ ประเภทการทำอาหารผสม    หรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงสัตว์
ข้อ 3 ค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) ไม่มากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 คือ
   3.1 ลำดับที่ 13(2) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเครื่องปรุง หรือเครื่องประกอบ อาหารประเภทการทำเครื่องปรุงกลิ่น    รส   สี ของอาหาร
   3.2 ลำดับที่ 15(1) โรงงานแระกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ ประเภทการทำ    อาหารผสมหรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงสัตว์
   3.3 ลำดับที่ 22 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสิ่งทอ ด้าย และเส้นใยซึ่งมิใช่ใยหิน (Asbestos)    อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
        (1) การหมัก คาร์บอไนซ์ สาง หวี รีด อบ ควบ บิดเกลียว กรอ เท็กเจอร์ไรซ์ ฟอก
            หรือย้อมสีเส้นใย
        (2) การทอ หรือการเตรียมเส้นด้ายยืนสำหรับการทอ
        (3) การฟอก ย้อมสี หรือแต่งสำเร็จด้ายหรือสิ่งทอ
        (4) การพิมพ์สิ่งทอ
   3.4 ลำดับที่ 29 โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่น หรือบด ฟอก ขัดและแต่ง สำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์
   3.5 ลำดับที่ 38 โรงงานผลิตเยื่อ หรือกระดาษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
        (1) การทำเยื่อจากไม้หรือวัสดุอื่น
        (2) การทำกระดาษ กระดาษแข็ง หรือกระดาษที่ใช้ในการก่อสร้าง ชนิดที่ ทำจากเส้นใย (Fiber)              หรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์ (Fiberboard)

ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

(นายเทียร เมฆานนท์ชัย)
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศในกิจจานุเบกษา)ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 114 ตอน 71 ง.ลงวันที่ 4 กันยายน 2540