sub06.gif (6946 bytes)
          ทรงพระเจริญ
     His Majesty Long
      Live The King

                           อาเศียรวาทราชจักรีวงศ์
โคลงสี่สุภาพ 
พระหัตถ์พระแผ่อุ้ม   โอบไทย
                พระเนตรส่องสุขไกล    ทั่วถ้วน
                พระโสต ธ สดับใน        สรรพทุกข์ สุขแฮ  

                พระหทัยดำริล้วน          ราษฎร์ซ้องสุขเกษม

                                  ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม  ขอเดชะ
                                                    ข้าพระพุทธเจ้า
                                        นายวิธันว์   ศรีเมือง  (ประพันธ์ )

สดุดี 3 กวีเอก
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่
UNESCO ประกาศ
      ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

sub09.jpg (2087 bytes)  sub07.jpg (1642 bytes)  sub11.jpg (1575 bytes) http://www.oocities.org/poetichome

[home][ร้อยกรองไทย][คุยกันฉันท์คนชอบกลอน][สมัครสมาชิก][เกี่ยวกับผู้จัดทำ]

                       pic01.jpg (70470 bytes)
              สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมา
         นุชิตชิโนรส  ศรีสุคตขัติยวงศ์  (๒๓๓๓-๒๓๙๖) 

           Prince Paramanujittajinorasa (1790-1853)


พระราชประวัติย่อ
             สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส   ศรีสุคตขัติยวงศ์    รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประ ชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณ
ให้เป็นกวีเอกของโลก เมื่อปี 1990ในมงคลสมัยวัน  ประสูติครบ 200 ปี
 
        ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า แห่งแห่งกรุง รัตนโกสินทร์   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว  ประทับ ณ วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
              ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอม มารดาจุ้ย เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ ทรง
มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายวาสุกรี
              เนื่องจากทรงมีพระอัฌาศัย น้อมไปทางธรรม
ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ครั้นพระชนมายุได้ ๑๒ ชันษา จึง
ได้บรรรพชาเป็นสามเณรหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระ
ศรีรัตนศาสดาราม
              บรรพชาแล้วประทับจำพรรษา ณ วัดพระ
เชตุพน ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และอักขระวิธี  ่ใน
สำนักของสมเด็จพระพนรัตน ซึ่งเป็นอธิบดีสงฆ์อยู่
ในขณะนั้น 

               ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระชนม์ครบ ๒๑ พรรษา จึง
ผนวชเป็นพระภิกษุ ในปี  พ.ศ. ๒๓๕๔ ทรงมีพระสมณ
ฉายาว่า สุวรรณรังสี 
                ภายหลังการผนวชทรงได้รับการสถาปนา
พระอิสริยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าวาสุกรี
ประทับ ณ พระตำหนักคณะเหนือ วัดพระเชตุพน
ทรงศึกษาอักขระวิธีจนแตกฉาน ทั้งภาษาขอม มคธ
และบาลี
               ครั้นปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ในขณะผนวชได้ ๓
พรรษา สมเด็จพระพนรัตน์พระอาจารย์ ของพระองค์
มรณภาพลง   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
จึงทรงพระกรุณษโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเจ้าน้อง

ยาเธอ ขึ้นเป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนสืบไป
                นับว่าทรงเป็นอธิบดีสงฆ์ ที่มีพรรษาน้อย
ที่สุด นับแต่มีการสถาปนาราชวงศ์ขึ้นดำรงตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์   และต่อมาทรงได้รับการสถาปนา พระ
อิสริยสชึ้นทรงกรมทรงพระนามว่า กรมหมื่นนุชิต
ชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ นั้นเอง
        ในระหว่างนั้นทรงทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์
ของเจ้านาย ในราชวงศ์หลายพระองค์ด้วยกัน ซึ่งรวมถึง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรง
พระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏ ด้วย
               ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดพระเชตุพน
ซึ่งได้รับการสถาปนามาแต่ต้นสมัย รัชกาลที่ ๑ มีการ
ชำรุดทรุดโทรมลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า
อยู่ ทรงมีพระราชศรัทธาให้ปฎิสังขรณ์เป็นการใหญ่
โดยได้ทรงอาศัย กรมหมื่นนุชิตชิโนรส เป็นพระกำลัง
สังคัญ
              ในการปฎิสังขรณ์วัดพระเชตุพนนั้น รัชกาล
ที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์ จะใช้เป็นแหล่งศูนย์รวม
ความรู้ด้านวิชาชีพ สำหรับชาวบ้านทั่วไป จึงโปรดเกล้าฯ
ให้จารึกสรรพวิชาดังกล่าว ลงแผ่นศิลาติดไว้ตาม
ผนัง ตามเสา สิ่งก่อสร้างภายในวัด รวม ๘ หมวดวิชา
เช่น เช่นหมวดภาษา หมวดแพทย์ อนามัย เป็นต้น
              ในระหว่างปฎิสังขรณ์วัดพระเชตุพนนั้น
รัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนากรมหมื่นนุชิตชิโนรส ขึ้นเป็น
เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง ปกครองวัดในมณฑลกรุงเทพ
ทั้งสิ้น ๖๑ พระอาราม
              ครั้นสิ้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว   ก้าวสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้ประ
กอบพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก สถาปนากรม
หมื่นนุชิตชิโนรส ขึ้นเป็นพระมหาสังฆปรินายกฯ
       กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ   ทรง
สมณเพศอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ   สิ้นพระขนม์ เมื่อวัน
ที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ รวมพระชนม์ได้ ๖๓ พรรษา
           ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ภายหลังสิ้น
พระชนม์แล้ว ๖๓ ปี พระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงพระอนุสรณ์ว่า กรมสมเด็จพระปรมา
นุชิตชิโนรส พระอาจารย์ทรงเกียรติตุณด้านกวีนิพนธ์
ทั้งทรงมีคุณูปการยิ่ง ต่อพระพุทธศาสนา ตลอดที่ทรง พระชนม์ชีพอยู่
       จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนากรมสมเด็จพระ ปรมานุชิตชิโนรส ขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรสฯ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๔๖๕ นับเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า พระ
องค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์

      pic05.jpg (81763 bytes)
                             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
                                  เสด็จฯฉลองพระรูปหล่อ พ.ศ.๒๕๐๗


พระราชจริยาวัตรและผลงานพระนิพนธ์
         
            ... เจ้าเณรน้อยเสด็จมาดูน่ารัก
              พระกลดหักทองขวางกางถวาย
         พี่เหลียวพบหลบตกลงเจียนตาย
              กรตระกายกลิ้งกล้อนศิลาตาม ...


        บทกลอนชื้นนี้ เป็นเอกสารชิ้นหนึ่งที่กล่าวถึง พระ
องค์ท่านขณะบรรพชาเป็นสามเณร เป็นข้อความที่
สุนทรภู่   บรรยายไว้ในนิราศพระบาท พระองค์ท่าน
คงมีพระจริยาวัตรที่งดงามจริง ๆ ขนาดสุนทรภู่ หลบ
ขบวนเสด็จ จนเกือบตกเขาตาย ยังชมว่าน่ารักเลย
         สุนทรภู่ นับเป็นกวีร่วมสมัยกับพระองค์ท่าน
ขณะพบกันที่พระบาทนั้น พระองค์ท่านมีพระชนม์ ๑๗
พรรษา ส่วนสุนทรภู่ อายุ ๒๑ ปี ต่างไปงานประเพณี นมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรี   ขณะนั้นสุนทรภู่ เป็น
มหาดเล็กในพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ได้ติดตามขบวน
เสด็จไปด้วย นั่นเป็นภาพครั้งทรงเป็นสามเณร
         ช่วงต่อมาผู้เขียนได้สอบถาม พระเถระในวัดพระ
เชตุพน ที่สนใจศึกษาพระราชประวัติ และผลงานของ พระองค์ท่าน ซึ่งได้จดจำและเล่ากันต่อ ๆ มา ซึ่งสอด
คล้องกับที่คุณ ณัฐวุติ   สุทธิสงคราม เล่าไว้ในหนังสือ
พระราชประวัติ และผลงานพระนิพนธ์ของสมเด็จพระ
มหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสฯ ว่า พระองค์
ทรงบันทมดึกเป็นปกติ บางคืนทรงบรรทมดึกมาก จน
เกือบสว่างจึงเริ่มบรรทม   และจะตื่นบรรทมเกือบใกล้
เวลาพระกระยาหารเพล ซึ่งเป็นเวลาเสวยเพียงมื้อเดียว
ของพระองค์

         
           สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ ได้ทรงเล่า
ถึงการบันทมดึก ของกรมพระปรมานุชิตชิโนรสฯ ไว้ใน
สาส์นสมเด็จว่า เวลาค่ำพอเสร็จธุระอื่นแล้ว สมเด็จ
พระปรมาฯ ท่านเสด็จเข้าห้องทรงพระอักษรเสมอทุก
คืน  มหาดเล็กเอาหมากเสวย น้ำร้อน น้ำเย็น ไปตั้ง
ถวายแล้วไปนอนได้ ด้วยท่านไม่ตรัสเรียกหาอะไร
อีกต่อไป
            ส่วนพระองค์ท่านทรงนิพนธ์หนังสือ เขียนลง
ในกระดานชนวนอย่างโบราณ มีกำหนดแน่เป็นนิจว่า
ต้องเขียนได้เต็ม ๒ หน้า จึงเสด็จเข้าบรรทม เพราะ
ฉนั้นวันไหนแต่งคล่องก็บรรทมหัวค่ำ วันไหนติดขัด
ก็บรรทมดึก คืนไหนบรรทมดึกก็ตื่นบรรทมสาย
            พวกมหาดเล็กมีอุบายว่า ถ้าวันไหนถึงเวลา
เสวยพระกระยาหารเพลแล้ว ยังไม่ตื่นบรรทม   ก็จับ ลูกแกว่งนาฬิกาให้ยุดเสีย ก่อนไปกราบทูลว่า
เพลแล้ว ดังนี้

ผลงานพระนิพนธ์
        สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมา
นุชิตชิโนรส ทรงรังสรรค์งานกวีนิพนธ์ไว้ จำนวน
มหาศาล ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง   ดังนี้.-
         
             wpe10.gif (35695 bytes)
                    (ตังอย่างผลงานพระนิพนธ์)

๑. ประเภทร้อยกรอง
   ๑) โคลง ๖ เรื่อง
      ๒) ร่าย  ๒ เรื่อง
      ๓) ลิลิต ๒ เรื่อง
      ๔) ฉันท์ ๘ เรื่อง
      ๕) กลอน ๑ เรื่อง

๒.ประเภทร้อยแก้ว
     ) ปฐมสมโพธิกถา
        ๒) คำประกาศบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๔
     ๓) พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป
        ๔) พระราชพงศาวดารสังเขป และพระราชพงศาว
             ดารย่อ
       ๕) คำฤษฏี   (อภิธานศัพท์วรรณคดี)

     ผลงานพระนิพนธ์ดังกล่าว ล้วนมีคุณค่าต่อสัง
คม และวัฒนธรรมไทยมาจนตราบกระทั่งปัจจุบันคือ
     ๑) เป็นคัมภีร์ทางศาสนาและคำสอน ได้แก่ ปฐมสมโพธิกถา   ร่ายยาวเทศมหาชาติ สรรพสิทธิ์
คำฉันท์ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์
       ๒) ด้านพิธีกรรม ได้แก่คำประกาศบรมราชาภิเษก
รัชกาลที่ ๔ ฉันท์กล่อมช้าง กาพย์ขับไม้กล่อมช้าง
ร่ายทำขวัญนาคหลวง
      ๓) ประเภทเฉลิมพระเกียรติ ได้แก่ ลิลิตเตลงพ่าย
โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
        ๔) ประเภทตำรา และวิชาโบราณคดี ได้แก่ 
จักรทีปนีคัมภีร์โหร ตำราฉันท์วรรณพฤติ มาตราพฤติ
โคลงกลบท โคลงฤาษีดัดตน   โคลงจารึกศาลารายฯ

พระตำหนักวาสุกรี
       
พระตำหนักที่ประทับหลังนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว   โปรดให้สร้างถวายในคราวปฏิสังขรณ์
วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ตั้งอยู่ภายใน
เขตสังฆาวาส ด้านทิศเหนือ (ด้านตลาดท่าเตียน)

                          pic02.jpg (80970 bytes)
                              (หมู่พระตำหนักวาสุกรี)

            ลักษณะโดยทั่วไปเป็นตำหนักคู่ทรงไทย ๒ หลัง ติดกัน หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกา ภายในพระตำหนัก เป็นห้องโถงพื้นราบ ด้านซ้ายมือประตูทางเข้ากั้นห้อง ยกพื้นสูงเป็นห้องพระบรรทม   ถัดจากห้องพระบรรทม   ยกพื้นสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง   ใช้เป็นห้องสรงและห้อง
ทรงพระอักษร

            wpe13.gif (51500 bytes)

       ภาพที่เห็น คือทัศนียภาพองค์พระตำหนัก ด้าน
ทิศเหนือ ห้องเล็กหน้าสุดเป็นห้องสรง ส่วนหลังในสุด
เป็นพระตำหนักโถงองค์ใน     
            สำหรับองค์กลาง ที่มองเห็นหน้าต่าง ๒ บานนั้น
คือห้องทรงพระอักษร นัยว่าสมัยอดีตเมื่อยังไม่มีตลาด
ท่าเตียนเกิดขึ้น สามารถมองเห็นทัศนียภาพ แม่น้ำ
เจ้าพระและท่าน้ำวัดอรุณได้ตลอดเวลา
            ณ สถานที่นี้เอง ในอดีตเปลวประทีปได้โชติช่วง
อยู่ตลอดราตรีกาล อันองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงผลิตวรรณกรรม อันล้ำ
ค่า ตกทอดเป็นมรดกแก่ลูกหลานไทย มาตราบเท่า
ทุกวันนี้   ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจให้รำลึกถึงพระองค์ท่าน
ไปตราบนานเท่านาน

             pic06.gif (28690 bytes)
                           (สภาพภายในพระตำหนัก)
                                                 
         ปัจจุบันห้องโถงพระตำหนักหลังใน ใช้เป็นที่ ประดิษฐานบุษบกบรรจุพระอัฐิ   และพระรูปหล่อ ของ
พระองค์ท่าน   ตัวพระตำหนักได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์
มาโดยตลอด จึงยังคงสภาพสมบูรณ์สวยงาม   จนผู้เขียน
มั่นใจว่านี่คือ  บ้านกวี
(Poetic Home)  ที่มีความ
สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง   ที่รัฐบาลควรให้ความสนใจ ทำ
การประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นจุดขาย สำหรับนักท่องเทียว
ชั้นสูงต่อไป

 

 

                                     (หน้าแรก)

       ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม หากท่านประสงค์จะเยี่ยมชม web site อื่น ๆ ต่อไป เชิญได้ตามนี้ Chat ดังเมืองไทย  Pantip.Com แหล่งรวม download
        โปรแกรมฟรี
Sanook.Com  แหล่งรวม links ทั่วโลก 
Hunsa.Com   เวบดังติดอันดับ   Mthai.Com เวบชวัญใจวัยรุ่น  Narak.Com & Jorjae.Com

 Last edited  31-05-2002 Copyrigh (C) 2001 Srimuang  home. All rights reserved