กลอน

กาพย์ ] [ กลอน ] โคลง ] ฉันท์ ] กวีวัจนะ ]

Home ] ร้อยกรองไทย ] คุยกันฉันท์คนชอบกลอน ] สมัครสมาชิก ]

สารบัญ

๑. กลอนแปด
๒.
กลอนหก
. กลอนนิราศ
๔. สารพัดกลอน
    - กลอนบทละคร
    - กลอนเพลง
     -
กลอนสักวา
     -
กลอนดอกสร้อย        




    


               

            บทกลอน   นับเป็นบทร้อยกรองไทย ที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย
มากกว่าบทร้อยกรองชนิดอื่น   อาจเป็นเพราะความอ่านง่ายแต่งง่าย
           อย่างไรก็ตาม การจัดประเภทของกลอน ยังไม่เป็นที่ยุติ นัก
วิชาการผู้เขียนตำรา เกี่ยวกับร้อยกรองไทย ก็แบ่งประเภทแตกต่าง
กันไป ตามความคิดเห็นของตนเอง
           สำหรับผู้เขียนขอแบ่งเป็น ๔ ประเภทหลัก ๆ  เนื่องจากกลอน
มีความหลากหลายมาก ในหัวข้อที่ ๔ จึงตั้งชื่อให้คลุม ๆ ไว้  หาก
ท่านสนใจกลอนประเภทไหน ก็คลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ ตาม

สารบัญด้านซ้ายมือ
           ในหน้านี้ขออนุญาตให้รายละเอียด ของกลอนแต่ละประเภท
ในเบื้องต้นดังนี้
          
กลอนแปด    ... กลอนที่เป็นต้นแบบของกลอนทั้งหลาย คือ
กลอนแปด ซึ่งมีผู้เรียกว่ากลอนสุภาพ (เพราะไม่บังคับเอก-โท)
บ้าง  กลอนตลาด (เพราะใช้คำง่าย ๆ คนส่วนใหญ่ฟังได้) บ้าง การ
จำแนกชนิดของกลอนแปด มักจำแนกโดยถือเอาการนำไปใช้
เช่นเมื่อแต่งเป็นบทร้องสำหรับวงมโหรี   ก็เรียกว่าบทมโหรี ถ้านำ
ไปแต่งนิราศ ก็เรียกว่ากลอนนิราศเป็นต้น ... /ผศ.อัมพร   สุขเกษม
: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับร้อยกรองไทย

   
       กลอนหก    ... กลอนหกจัดเป็นกลอนสุภาพเหมือนกัน แต่
เนื่องจากจำนวนคำลดลง   เหลือเพียงวรรคละ ๖ คำ จึงมีชื่อเรียก
ว่ากลอนหก ลักษณะบังคับของกลอนหก นอกจากจำนวนคำที่
ลดลงแล้ว อย่างอื่น ๆ ก็เหมือนกลอนแปดทุกประการ
... /ศจ.ฐะปะนีย์  นาครทรรพ :   การประพันธ์ ท๐๔๑
          กลอนนิราศ ลักษณะนิราศที่เข้าใจกันโดยทั่วไปก็คือ
หนังสือที่พรรณนา ถึงการจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ นิราศอาจแต่ง
ด้วยคำประพันธ์ชนิดใดก็ได้ แต่เท่าที่ปรากฎนิยมแต่ง นิยม
แต่งโดยใช้โคลง หรือกลอน เป็นส่วนใหญ่ ถ้าแต่งด้วยโคลง   ก็
เรียกว่าโคลงนิราศ ถ้าแต่งด้วยกลอนก็เรียกว่า กลอนนิราศ
             กลอนนิราศ เป็นกลอนประเภทกลอนเพลง ดังนั้นจึงมี
ลักษณะคล้ายเพลงยาว กล่าวคือต้องขึ้นต้นด้วยวรรค รับ
(อาจขึ้นต้นด้วยคำว่า  นิราศ ... ด้วย) แล้วดำเนินความไปจน
จบเรื่อง และต้องลงท้ายด้วยคำว่าเอย ... /ผศ.อัมพร   สุขเกษม
: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับร้อยกรองไทย

           
กลอนบทละคร โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกลอนสุภาพ
แต่มีลักษณะพิเศษตรงที่ แต่ละวรรคใช้คำสั้นยาวไม่เท่ากัน
โดยเฉพาะจะมีคำขึ้นต้นวรรคว่า
เมื่อนั้น     บัดนั้น ส่วน
คำภายในวรรค จะมีน้อยบ้างมากบ้าง ระหว่าง ๕-๗ คำเป็นพื้น
กลอนบทละครที่รู้จักกันดี มีอิเหนา และรามเกียรติ์ เป็นต้น
          
กลอนเพลง ในความหมายของร้อยกรองไทย หมายถึง
กลอนที่เรียกว่าเพลงยาว แต่เดิมนิยมแต่งเพื่อเล่าเรืองราว
ต่าง ๆ  บ้าง นิทานบ้าง โอวาทคำสอนบ้าง ฯ ภายหลังมีการ
นำมาใช้เขียนโต้ตอบเกี้ยวพาในเชิงชู้สาว จนเกิดค่านิยม
ไม่ให้หญิงสาวเรียนหนังสือเพราะเกรง จะไปเขียนเพลงยาว
เกี้ยวพาราศีกับชายหนุ่ม อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย
ลักษณะการแต่ง เช่นเดียวกับกลอนนิราศ
         
กลอนสักวา บทสักวามีลักษณะที่บังคับเพิ่มไปจากกลอนสุภาพ
คือวรรคแรกของบาทเอก ขึ้นต้นด้วยคำว่า
สักวา  แล้วมีคำอื่น ๆ
ตามหลังให้ครบ ๗-๘ คำ มีเนื้อความเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการ
จะแต่ง ... วรรคสุดท้ายต้องลงท้ายด้วยคำว่า
เอย
.. /ศจ.ฐะปะนีย์  นาครทรรพ :   การประพันธ์ ท๐๔๑
             กลอนดอกสร้อย บทดอกสร้อยมีลักษณะคล้ายสักวา
ต่างกันตรงที่ มีคำขึ้นต้นหนึ่งคำ และคำถัดมาจะต้องเป็นคำว่า
เอ๋ย  ส่วนคำจบให้ลงท้ายด้วยคำว่า เอย เช่นเดียวกับบทสักวา
           บทดอกสร้อยสักวา เป็นบทร้องประกอบการเล่น ของชน
ชั้นผู้ดีมีการศึกษา เป็นการร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันของหนุ่ม
สาว นัยว่าเป็นการเล่นในทำนองการเล่นเพลงเรือ ของชาวบ้าน
ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

 


                          
(ร้อยกรองไทย)