กลอนบทละคร

[home]

@

wpe20.gif (114434 bytes)

อธิบายผังโครงสร้าง

๑) แสดงผังโครงสร้างกลอนบททละคร
      ความยาว ๒ บท
 ๒) กลอน ๑ บท มี ๒ บาท คือ บาทเอกและบาทโท
 ๓) กลอน ๑ บาท มี ๒ วรรคคือบาทเอกประกอบ
      ด้วย วรรค สดับ และวรรค รับ บาทโทประกอบ
      ด้วย วรรค รอง และวรรค ส่ง
 ๔) กลอน ๒ วรรค เรียกว่า ๑ คำกลอน
 ๕) เส้นโยงแสดงจุดสัมผัสนอก เป็นกฎบังคับต้องมี
       สำหรับกลอนวรรค รับ และ  ส่ง จะเลือกสัมผัส
       ตรงคำที่ ๒, ๓ หรือ ๕ ก็ได้
ในกลอนบททละคร
       นิยมสัมผัสตรงคำที่ ๒ และ ๕ มาก สำหรับจุด
       สัมผัสใน โปรดดูคำอธิบาย ที่กลอนสุภาพ
 ๖) กลอนยาว ๒ บทขึ้นไป ต้องเชื่อมสัมผัสท้าย
      วรรค ส่ง   ไปยังคำท้ายวรรค รับ   ของบท
      ถัดไปเสมอ
            กลอนบทละคร เป็นกลอนสุภาพประเภทหนึ่ง
จัดอยู่ในหมวดกลอนขับร้อง เช่นเดียวกับกลอนดอกสร้อย
สักวา กลอนเสภา และเพลงไทยเดิม
           วัตถุประสงค์ในการแต่งกลอนบทละคร เพื่อนำ
ไปแสดงละครร้องและรำ ซึ่งในอดีตถือเป็นการแสดงชั้นสูง
ที่มีเฉพาะในรั้วในวังเท่านั้น
           ลักษณะบังคับ (ฉันทลักษณ์) กลอนบทละคร
เช่นเดียวกับกลอนสุภาพ แต่จำนวนคำในวรรค จะอยู่ที่
จำนวน ๖-๗ เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพื่อให้จังหวะของเสียง
เข้ากับท่าร่ายรำของตัวละคร และท่วงทำนองเพลงปี่พาทย์
         
นอกจากนี้ กลอนบทละคร จะมีคำนำ ในบาง
บท เพื่อบอกถึงการกระทำ หรือเหตุการณ์สำคัญ ที่กำลัง
ดำเนินไป ซึ่งจะมีอยู่ ๒ คำ คือ
"เมื่อนั้น" กับ "บัดนั้น"
คำว่า "เมื่อนั้น" ใช้สำหรับตัวละครสูงศักดิ์ ส่วนคำว่า
"บัดนั้น" ใช้สำหรับตัวละครชั้นสามัญ

        
สิ่งสำคัญที่สุด ที่กวีผู้แต่งบทกลอนละครร้อง
จะต้องทราบคือ
    ๑. ท่าร่ายรำต่าง ๆ ในการแสดง โขน และละคร
    ๒. ท่วงทำนอง จังหวะ ของเพลงปีพาทย์ ขั้นพิ้นฐาน และ
    ๓. เพลงหน้าพาทย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ประมาณ ๓๐ เพลง

ซึ่งถือเป็นเพลงปี่พาทย์ชั้นสูงของไทย ใช้เป็นเพลง  ประกอบการบวงสรวง ไหว้ครู โหมโรงในพิธีการ ประกอบถึงท่าเหาะเหินของตัวละคร
       
ความสำคัญดังกล่าวนี้ กวีผู้แต่งบทละครร้อง จะ
กำหนดไว้ ท้ายบทกลอนแต่ละบท   ว่ามีจำนวนคำ

(คำกลอน) กี่คำ และใช้เพลงใดกำหนด ท่ารำของตัวละคร

        ผู้เขียนจำได้ว่า เคยชมการแสดงโขนสด ของ กรมศิลปากร เรื่องรามเกียรติ เวลาผู้พากย์ ๆ จบในแต่ละละคำ (คำกลอน) จะลงท้ายด้วยคำว่า ... 

บัดนั้น.... เชิด.... วงปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเชิด ตัวละคร
ก็ร่ายรำไปตามจังหวะ และท่วงทำนองเพลงนั้น ๆ
        จากรายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้สังเกตได้ว่า
กวีที่แต่งบทกลอนละครร้องนั้น ล้วนเป็นพระราชวงศ์ ชั้นสูงทั้งสิ้น   ทั้งนี้เพราะการแสดงก็ตาม    องค์ประกอบ ความรู้ ที่จะนำมาสอดใส่ไว้ในบทกลอนก็ตาม    ล้วนเป็น ความรู้ของชนชั้นสูงศักดิ์ทั้งสิ้น

ตัวอย่างกลอนบทละครร้อง

ตัวอย่างที่ ๑  จากบทละครร้อง เรื่องรามเกียรติ
ตอนนางสีดาผูกคอตาย พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑

                                   
                                 บัดนั้น        
                           วายุบุตรวุฒิไกรใจกล้า
                           ครั้นเห็นองค์อัครกัลยา

                           ผูกศอโจนมาก็ตกใจ
                                 ตัวสั่นเพียงสิ้นชีวิต
                           ร้อนจิตดังหนึ่งเพลิงไหม้
                           โลดโผนโจนตรงลงไป

                           ด้วยกำลังว่องไวทันที

                                     ฯ ๔ คำ ฯ เชิด

ตัวอย่างที่ ๒  จากบทละครร้อง เรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

                                       
                                      เมื่อนั้น
                              ปันหยีมีจิตริษยา
                              จึงกล่าวสุนทรวาจา

                              ปราศัยเสนาทั้งสี่ไป
                                       ซึ่งระตูผู้ดำรงราชฐาน

                              ให้เอาบรรณาการนี้มาให้
                              สามิภักดิ์รักเราชาวไพร

                              ขอบใจเป็นพ้นพันทวี

                                          ฯ ๔ คำ ฯ

ตัวอย่างที่ ๓   จากบทละครร้อง เรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

                                       
                                     ครั้นถึงที่ประทับยับยั้ง
                              พระสุรีย์ฉายบ่ายบังสิงขร
                              จึงหยุดโยธาพลากร

                              ภูธรเสด็จขึ้นพลับพลา
                                      

                                          ฯ ๒ คำ  เสมอ ฯ

                       (กลับหน้าแรก)