โคลง

 กาพย์ ] กลอน ] [ โคลง ] ฉันท์ ] กวีวัจนะ ]

Home ] ร้อยกรองไทย ] คุยกันฉันท์คนชอบกลอน ] สมัครสมาชิก ] เกี่ยวกับผู้จัดทำ ]

                 

โคลง

            โคลง นับเป็นร้อยกรองไทยที่มี
ความยาก ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง จาก กาพย์
และกลอน เพราะ นอกจากข้อบังคับใน
เรื่องสัมผัสแล้ว ยังมีข้อบังคับ
ในเรื่อง คำเอกคำโท เพิ่มขึ้นมาอีก

       เช่นเดียวกับร้อยกรองไทยประเภท
อื่น ๆ คือโคลงมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน
แต่แบ่งเป็นหลักใหญ่ได้ ๒ ชนิดคือ โคลง
โคลงสุภาพกับโคลงดั้น
      แม้โคลงสุภาพนี้   ก็ยังแบ่งออกไปอีก
เป็นโคลงสอง โคลงสามและโคลงสี่ ฯ  
ซึ่งในที่นี้จะแนะนำเฉพาะโคลงสี่
สุภาพเท่านั้น
      โคลงสี่สุภาพ ถือเป็นพื้นฐานของการ
เขียน โคลงชนิดอื่น ๆ เช่นเดียวกับกลอน
สุภาพ ที่เป็นพื้นฐานของการแต่งกลอน
ประเภทอื่น ๆ
           เป็นที่น่าตกใจว่าทุกวันนี้ หาคนที่
เขียน โคลงได้ถูกต้องยากเต็มที่ สังเกตได้
จากบทอาเศียรวาท ตามหน้าหนังสือพิมพ์
ในวันสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวง
ศานุวงศ์   เกือบทุกสำนวนมีที่ผิด  
จึงอยากวิงวอนให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ช่วยศึกษาและอนุรักษ์การเขียนโคลง
ที่ถูกต้องไว้

            
                     
ผังโครงสร้างโคลงสี่สุภาพ

            sub04.gif (148410 bytes)
                    (จากหนังสืออุเทศวิชาภาษาไทย กรมวิชาการ)

                          อธิบายผังโครงสร้าง
๑) แสดงผังโครงสร้าง
โคลงสี่สุภาพ
ความยาว ๑ บท
๒) โคลง ๑ บท มี ๔ บาท หรือ ๔ บรรทัด
๓) โคลงแต่ละบาท มี ๒ วรรค คือวรรคหน้าและ
      วรรคหลัง วรรคหน้าซึ่งเป็นวรรคประธานมี   ๕ คำ
      ส่วนวรรคหลัง แต่ละบาทจำนวนคำจะไม่เท่ากัน
      คือบาทที่ ๑ มี ๒ คำ สามารถเพิ่ม (สร้อยได้
      อีก ๒ คำ)  
    บาทที่ ๒ มี ๒ คำ
      บาทที่ ๓ มี ๒ คำ สามารถ  (เพิ่มสร้อยได้
      อีก ๒ คำ)
      บาทที่ ๔ มี ๔ คำ
๔) เส้นโยงแต่ละจุด แสดงตำแหน่งบังคับสัมผัส
๕) ตำแหน่ง เอก ๗ โท ๔ คือจุดบังคับให้มีคำ  
     ที่ประกอบวรรณยุกต์ ( ่   ) รวม ๗ แห่ง
     วรรณยุกต์ (   ้   )  รวม ๔ แห่ง   สำหรับในบาท
   แรก อนุญาตให้สลับที่   ระหว่างคำเอกกับโทได้
๖) โดยปกติโคลง ไม่ต้องมีสัมผัสระหว่างบท ยกเว้น
     เวลาเข้าลิลิต (คำประพันธ์ร้อยกรองชนิดหนึ่ง แต่ง
     โคลงกับ
ร่าย สลับกันไปตลอดเรื่อง) ต้องเชื่อม
     สัมผัสจากคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ ไปยังคำที่ ๑
     หรือ ๒ หรือ ๓ คำใดคำหนึ่ง ของ ร่าย หรือโคลง
     ในบทถัดไป ซึ่งกวียุคปัจจุบันนิยม นำเอากฏ
      เกณฑ์นี้มาใช้กับการเขียนโคลงที่มีความยาว
      ตั้งแต่ ๒   บทขึ้นไปด้วย
๗) สร้อย ที่ต่อท้ายวรรคหลัง ของบาทที่ ๑ และ ๓
       คือคำที่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้ความสมบูรณ์   ถ้าเนื้อ
       ความในวรรคสมบูรณ์อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมี
๘) คำสร้อยนั้น ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คำต้นจะเป็นคำ
   ใดก็ได้ที่มีความหมายในตัวเอง ส่วนคำหลัง
      มักเป็นคำเหล่านี้คือ   นา นอ เนอ พ่อ แม่ รา ฤา
      แล เลย เอย ฮา เฮย ฯ

           ลักษณะความไพเราะของโคลงสี่สุภาพ

๑) จำนวนคำเหมาะสม   คือคำ ๒ พยางค์ เช่น ถนัด
     ประธาน สวัสด
ิ์ ฯ     ซึ่งพยางค์หน้าเป็นเสียงลหุ
     (เสียงเบา) ให้นับเป็นหนึ่งคำได้ แต่ต้อง
     ไม่มากคำเกิดไป เพราะจะทำให้จังหวะไม่
      กระ ชับ   ทำให้โคลงด้อยความไพเราะ
๒)  ใช้คำบังคับได้ครบเอก-โท ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้าง

      ยาก จึงอนุญาตให้ใช้คำตายแทน ในที่บังคับ
      เอกได้ แต่ในกรณีควบคำ ๒ พยางค์เป็นหนึ่งคำ
      ท่านว่าพยางค์ท้าย จะต้องเป็นคำเอก หรือคำตาย
      เท่านั้นเช่น
ถนัด สวัสดิ์    ใช้ได้ ประธาน ไม่ได้
            คำตาย ได้แก่คำเหล่านี้คือ คำผสมสระเสียง
      สั้นทั้งหมด เช่น
นะ  ติ   และ ฯลฯ คำที่สกดด้วยแม่
      กก กด กบ ฯ

          

         

) ไม่มีเอก-โท ฟุ่มเฟือย คือนอกจากจุดบังคับ
      เอก ๗ โท ๔ แล้ว ไม่ควรใช้คำที่มีวรรณยุกต์
      เอก-โท อีก
๔)
ฉลาดในการใช้สัมผัสท้ายวรรค จุดบังคับสัมผัส
      และคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ เท่านั้น ที่ใช้  
      สัมผัสสระ นอกจากนี้นิยมสัมผัสพยัญชนะเท่านั้น
       และยิ่งมีมากแห่งยิ่งถือว่าไพเราะ นอกจากนี้
       คำท้ายวรรคหน้า สัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง
๕)
ฉลาดในการใช้เสียงท้ายวรรค   คำท้ายวรรค
      หน้าของบาทที่ ๒ และ ๓ และคำสุดท้ายของบาท
   ที่ ๔ ต้องเป็นเสียงสูง ส่วนคำขึ้นต้นนิยมเสียง
      สามัญ เป็นพื้น
             


                      โคลงตัวอย่าง
ประกอบคำอธิบาย
                                      
            " วรรณกรรมชูชาติช้อย        เชิด
หาว
         พระนิพนธ์แพรว
พราว               เพราะพร้อง
         เอมโอษฐ์เอิบอิ่ม
ราว                มธุรส
         ดังทิพย์คนธรรพ์
ซร้อง              สดับซึ้งโสตศรี "
      
         
    (ลิลิตเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๖ / วิธันว์  ศรีเมือง)  
       
      คำที่เน้นสีท้ายวรรค   หาว + พราว +ราว พร้อง+
ซร้อง   คือจุดบังคับสัมผัสซึ่งต้องเป็นสัมผัสสระเท่านั้น     
           
         ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพเพื่อเป็นแนวทางในการแต่ง
                                      
 สำนวนที่ ๑

          ... เสียงลือเสียงเล่าอ้าง           อันใด  พี่เอย
   เสียง
ย่อมยอยศใคร                      ทั่วหล้า
   สองเขือ
พี่หลับใหล                         ลืมตื่น  ูฤาพี่
  
สองพี่คิดเองอ้า                               อย่าได้ ถามเผือ ...
     
                                                            (ลิลิพระลอ)

              โคลงสี่สุภาพบทนี้ ถือว่าเป็นโคลงแม่แบบ
ผู้ที่รักจะแต่งโคลงเป็นควรท่องจำไว้ เพราะมี
เอก-โท ครบตามข้อบังคับ ทั้งสมบูรณ์
ด้วยความไพเราะสวยงาม  

สำนวนที่ ๒

          ... สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง     ยามสาย
   สายบ่ห่างเสน่หาย                      ห่างเศร้า
   กี่คืนกี่วันวาย                            วางเทวษ   ูฤาแม่
  
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า                    ลืมได้ฉันใด ...

                             (ลิลิตเตลงพ่าย / สมเด็จกรมพระปรมานุชิต)

สำนวนที่ ๓

          ... เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น      พันแสง
   รินรสพระธรรมแสดง                  ค่ำเช้า
   เจดีย์ระดะแซง                            เสียดยอด
  
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                       ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์ ...

                                       (นิราศนรินทร์ / นายนรินทร์เบศร์ อิน)

สำนวนที่ ๔                       
                                 " ธรรมจักรลีลา"

                 เรืองเรืองไตรรัตน์แพร้ว       พรรณราย
      โสมส่องเงินยวงฉาย                       ฉาบฟ้า
      ค่ำค่ำฉ่ำพระพาย                             โชยผ่าน
      ประทีปแข่งแขจ้า                            แจ่มจ้าล้อจันทร์
                 เพลงสันติภาพก้อง                  กังวาน
      โพธิ์แกว่งกิ่งใบขาน                         ขับพร้อง
      เหง่งหง่างระฆังหวาน                       วิเวก
      เฉกทิพย์คนธรรพ์ซร้อง                     สดับซึ้งโสตศรี์
                  ราตรีฉ่ำชุ่มเบื้อง                    ใบบุญ
      เพรงพระศาสนคุณ                             ค่าล้ำ
      ธรรมจักรหมุน                                    โลกสู่   สุขเอย
      ตราบอดิตลุปัจจุบันย้ำ                        ยิ่งรู้ระลึกคุณ
                   เพรงบุญหากก่อเกื้อ               มวลกาย     
      เกิดแก่ฤาจักวาย                                 ว่างเว้น
      เจ็บแล้วบ่แคล้วตาย                            ตามต่อ   กันนา
      ดีชั่วตีตราเน้น                                     เนื่องผู้ก่อกรรม
                   เสียงธรรมเสียงเทศน์พ้น        แนวไพร
      แต่อดิตกาลไกร                                  เกริกฟ้า
      ตราบองค์แห่งพระไตร                        รัตน์ครบ สามเฮย
      ไขประทีปประเทืองหล้า                      สว่างล้ำเลอกาล
                   อาสาฬหมาสแม้น                    เวียนมา
      รำลึกพระไตรรัตนา                              นบน้อม
      เวียนเทียนเพื่อสักกา                            รัตนะ   คุณเฮย
      ละบาปเพ็ญบุญพร้อม                             ผ่านพ้นมลทิน

                                           (วิธันว์  ศรีเมือง)

                                      (ร้อยกรองไทย)