พัฒนาการนโยบายรัฐบาล
เกี่ยวกับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
 
..
   
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
   

 

สมช.แจงนโยบายความมั่นคง ระบุรัฐยังหนุนนศ.ชายแดนใต้

           สมช.จัดเวทีชี้แจงนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ “วินัย” ยัน รมว.กลาโหม ระบุนักศึกษามุสลิมใต้ ที่เรียนในตะวันออกกลาง พัวพัวก่อการร้าย เป็นเพียงการตั้งข้อสังเกต ยันแม้รัฐบาลอียิปต์ จะงดให้ทุน แต่รัฐบาลไทย ก็ต้องให้การสนับสนุนต่อเนื่อง
           พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน ในการประชุมชี้แจง นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (2546-2547) ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ จ.สงขลา เมื่อ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยเน้นการทำความเข้าใจ ในสาระสำคัญ และวัตถุประสงค์ ของนโยบายและแนวทาง การจัดทำยุทธศาสตร์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการ รองรับการดำเนินงานตามนโยบาย ให้กับหน่วยงานและส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกฝ่าย มีความเข้าใจแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ และสามารถดำเนินงาน ประสานสอดคล้องกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีผู้เข้าร่วม จากภาครัฐ เอกชนและนักวิชาการในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างประมาณ 120 คน
           นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ จัดทำและเสนอแนะโดย สมช. เพื่อใช้เป็นกรอบ และแนวทางแก้ไข ปัญหาความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ในขั้นตอน ของกระบวนการกำหนดนโยบาย ที่ผ่านมา สมช.ได้ระดมความคิดเห็น จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ อย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะนำเสนอ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน สมช.พิจารณาให้ความเห็นชอบ และได้นำเสนอเข้าสู่ ครม.เพื่อรับทราบ เป็นที่เรียนร้อยแล้ว
           กรณี รมว.กลาโหม กล่าวพาดพิงนักศึกษาไทยมุสลิม ที่ไปเรียนอยู่ในตะวันออกกลางว่า มีความสัมพันธ์ กับกลุ่มก่อการร้ายนั้น พล.อ.วินัยกล่าวว่า รัฐไม่ได้หวาดระแวงนักศึกษาการ เพียงแต่ตั้งข้อสังเกต กรณีดังกล่าวนั้น ไม่ได้เป็นการกล่าวว่านักศึกษา เป็นผู้ก่อการร้ายทั้งหมด แต่มีแค่บางส่วนเท่านั้น ที่อาจจะเคยมีความใกล้ชิด กับกลุ่มก่อการร้าย
           “รัฐมนตรีไม่ได้เหมารวมทั้งหมด นักศึกษา ที่เรียนอยู่แถวตะวันออกกลางคาดว่ามีแค่ 1% ที่มีความสัมพันธ์ กับผู้ไม่ประสงค์ดี และขอความช่วยเหลือกัน เช่น การให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้าย” พล.อ.วินัยกล่าวและว่า ส่วนที่รัฐบาลอียิปต์ อาจจะตัดทุนที่ให้แก่นักศึกษาไทย คิดว่าคงไม่มีปัญหา เพราะรัฐบาล ก็ยังคงจะให้การสนับสนุน ให้คนได้เรียนหนังสือ และให้ทุนเรียนในทางที่ถูกต้อง ตอนนี้รัฐก็มองปัญหาด้วยความเป็นกลาง ใครที่มีความเชื่อมโยง กับกลุ่มก่อการร้าย ก็ต้องดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นพุทธหรือมุสลิม เราต้องไม่เอาเรื่องศาสนา มาสร้างความขัดแย้ง เพราะจะทำให้การพัฒนา มีปัญหา
           ดร.อิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา อธิการวิทยาลัยอิสลามยะลา คณะมนตรีผู้ก่อตั้ง สันนิบาตโลกมุสลิม ประจำประเทศไทย กล่าวกับ “โฟกัสภาคใต้” ว่า ตนรู้สึกยินดีที่หลายๆ ฝ่ายให้ความสำคัญ และร่วมมือกัน แก้ไขปัญหาชายแดนใต้ คาดว่าในไม่ช้านี้ปัญหาต่างๆ ของภาคใต้ ก็คงจะคลี่คลายลงไป “องค์อัลเลาะห์ จะประธานความสงบสุข แด่พี่น้องภาคใต้ตอนล่าง ในเร็วๆ นี้”

ฉบับที่ 292 2-8 สิงหาคม 2546
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2546 เวลา 10:23:47 น.