บทที่ 8
การทำโปรโตไทป์(Prototyping) และการติดตั้งระบบงาน


8.1 ตัวต้นแบบ(Prototype)คืออะไร
8.2 ประเภทของตัวต้นแบบ
8.3 แนวทางในการพัฒนาโปรโตไทป์
8.4 ข้อดีข้อเสียของการทำโปรโตไทป์
8.5 การตวรจสอบแผนงานการติดตั้งระบบ

<< กลับหน้าแรก >>


8.1 ตัวต้นแบบคืออะไร

คือ ระบบการทำงาน ที่ไม่ใช่เพียงแค่ความคิดที่อยู่บนกระดาษ แต่เป็นความคิดที่ถูกพัฒนาภายใต้สมมติฐานของระบบใหม่ อาจเทียบกับระบบที่มีคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานที่รับข้อมูลเข้า มีกระบวนการคำนวณ การพิมพ์และการแสดงผลลัพธ์

ทำไมต้องมีการสร้างตัวต้นแบบ
ความต้องการสารสนเทศมักจะไม่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ผู้ใช้อาจจะรู้เพียงว่าธุรกิจค้องปรับปรุง หรือรู้ว่าขบวนการทำงานต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือรู้เพียงว่าต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารที่ดีกว่า แต่บอกไม่ได้ว่าสารสนเทศคืออะไรตัวต้นแบบมักใช้ในรูปแบบของการทดสอบหรือเป็นการนำร่อง

เหตุผลหลักในการนำตัวต้นแบบมาใช้ มี 3 ข้อ
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้รู้ถึงความต้องการของผู้ใช้ให้ชัดเจนมากขึ้น
เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบ ให้เห็นถึงผลกระทบของระบบที่ออกแบบ และหาทางเลือกใหม่เพื่อแก้ไขผลกระทบนั้น
เพื่อใช้เป็นตัวแทนระบบที่ได้ออกแบบ ให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งาน ให้นักวิเคราะห์ได้ประมาณเวลาและสิ่งที่ออกแบบต่อ

ประเภทข้อมูลที่ได้จากการทำโปรโตไทป์

นักวิเคราะห์ระบบสามารถนำเทคนิคการทำโปรโตไทป์ เพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลหรือความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ระบบ เพื่อจะนำไปพัฒนาระบบให้สมบูรณ์ โดยการทำโปรโตไทป์ สามารถทำให้ผู้ใช้ทุก ๆ ระดับ คือตั้งแต่ระดับพนักงานเสมียนและผู้ให้บริการ (clerical and service staff) ไปจนถึงระดับผู้จัดการหรือผู้บริหาร (management) สามารถออกความเห็นเกี่ยวกับส่วนของระบบการทำงานที่ตนเองเกี่ยวข้องอยู่ว่ามีข้อคิดเห็นอย่างไร
โดยนักวิเคราะห์ระบบจะนำเอาความคิดเห็นต่าง ๆ มาแยกเป็นประเภทได้ 4 ประเภท ดังนี้

1.การตอบสนองของผู้ใช้ระบบที่มีต่อระบบงาน (initial user reactions)
นักวิเคราะห์ระบบสมารถรวบรวมปฏิกิริยาของผู้ใช้ จากการสังเกต การสัมภาษณ์ หรือการพูดคุย และจากแบบสอบถามที่นักวิเคราะห์ระบบได้จัดทำเอาไว้ ซึ่งจะพบความหลากหลายของปฏิกิริยาของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ ทั้งนี้เพราะต่างคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป อาจมีทั้งความเต็มใจและต่อต้านระบบที่ติดตั้งใหม่เพราะผู้ใช้ระบบคิดว่าระบบงานใหม่นั้นจะไปแทนตัวเอง

2.ข้อเสนอแนะต่าง ๆของผู้ใช้ระบบ (user suggestions)
ข้อมูลที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบได้ในระหว่างการนำเสนอระบบ โดยการทำโปรโตไทป์ คือ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้ทั้งนี้เพราะผู้ใช้ต่างคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ช่องให้นักวิเคราห์ระบบเห็นว่าควรจะจัดการอย่างไรในการพัฒนาระบบ เช่น การแก้ไข ปรับปรุง หรืออาจจะต้องโละทิ้ง แล้วทำใหม่ ที่มีความเหมาะสมและสามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้ดีที่สุด

3.ระบบใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง(innovations)
ระบบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาระบบโดยส่วนมากจะยังไม่มีใครพูดถึงหรือคิดถึงว่าควรจะมีระบบนี้เกิดขึ้น แต่เมื่อผู้ใช้และนักวิเคราะห์ระบบได้เข้าไปสัมผัสแล้ว ก็อาจเห็นว่าเป็นระบบที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของระบบที่กำลังพัฒนาอยู่

4.การทบทวนแผนงานและการพัฒนาระบบ (revision plans)
การทำโปรโตไทป์จะทำให้นักวิเคราะห์ระบบมองเห็นถึงระบบงานที่ควรจะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคต ทำให้เกิดการทบทวนแผนงานต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถจัดลำดับความสำคัญของระบบว่าควรจะทำโปรโตไทป์ระบบใดก่อนหลัง
กลับข้างบน

8.2 ประเภทของต้นต้นแบบ

ในปัจจุบัน คำว่า "โปรโตไทป์" ได้ถูกใช้ในหลายๆ ความหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ในสภาวะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี การทำโปรโตไทป์สามารถจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยด้วยกันอยู่ กลุ่ม ดังนี้
1.ตัวต้นแบบชนิดปะติดปะต่อ (Patched-Up Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่สร้างขึ้นทีละส่วนแล้วนำมาปะติดปะต่อกัน คล้ายการนำขนมปังมาซ้อนชั้นกัน เช่น การสร้างวงจรรวม เป็นต้น ในลักษณะของระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่มีคุณสมบัติที่จำเป็นในการทำงานทั้งหมด แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นภาพรวมทั้งระบบว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถ นำแต่ละส่วนมาใช้งานได้จริง


รูปที่ 1 แสดงรูปตัวต้นแบบชนิดปะติดปะต่อ (Patched-Up Prototype)

2.ตัวต้นแบบที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง (Nonoperational Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบผลกระทบบางอย่าง เช่น การสร้างตัวต้นแบบรถยนต์เพื่อทดสอบแรงลมในอุโมงค์ ซึ่งใช้รถที่มีรูปแบบและอุปกรณ์ที่สามารถทดสอบได้ แต่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ การสร้างตัวต้นแบบนี้จะทำการเขียนรหัสโปรแกรมให้ผู้ใช้เห็นเพียงส่วนของอินพุทและเอาต์พุทเท่านั้น อาจจะยังไม่มีส่วนของการประมวลผล นั่นคือ จะไม่มีส่วนของ PROCESS ดังรูป

รูปที่ 2 แสดงรูปตัวต้นแบบไม่สามารถปฏิบัติได้จริง (Nonoperational Prototype)

3.ตัวต้นแบบที่ใช้ได้เพียงส่วนเดียว (First-Of-A-Series Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่เป็นเหมือนตัวต้นแบบนำร่องให้ผู้ใช้ได้ใช้ในส่วนหนึ่งให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ ก่อนที่จะใช้ระบบจริงเต็มรูปแบบเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด ตัวอย่าง ในบริษัทหนึ่งมีหลายเครือข่ายได้จัดทระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อใช้ในการเช็คสินค้าที่สั่งซื้อ เขาจะใช้ตัวต้นแบบเพื่อ ทดสอบก่อนใช้งานจริงในทุกบริษัทเครือข่าย โดยทดลองใช้เพียงบริษัทหนึ่งก่อน เป็นต้น หรือการวางตู้ฝาก-ถอน ไว้บางจุด เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งาน ซึ่งจะมีรูแบบดังนี้

รูปที่ 3 แสดงรูปตัวต้นแบบที่ใช้เพียงส่วนเดียว

4.ตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน (Select Features Prototype)
เป็นตัวต้นแบบที่ใช้ 3 แบบแรกมารวมกัน ในการเลือกใช้รูปแบบ โดยอาจสร้างต้นแบบในการฏิบัติงานบางส่วนแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการช่วยให้สร้างระบบในส่วนที่ซับซ้อนง่ายขึ้น อย่างในกรณีที่สร้างระบบโดยในระบบนั้นมีเมนูซึ่งประกอบกันด้วยหลายรายการ เช่น 5 รายการ คือ การเพิ่มรายการ การลบรายการ การแก้ไขรายการ การค้นหารายการ การพิมพ์รายการ ซึ่งเราอาจให้ผู้ใช้ได้ใช้เพียง 3 ส่วนก่อน คือ รายการเพิ่มรายการ การลบรายการ การแก้ไขรายการ หรือร้านขายสินค้าในปั๊มน้ำมัน ลูกค้าสามารถจอดรถ ทานอาหารจานด่วนได้ และซื้อสินค้าบางรายการได้ เป็นต้น แล้วค่อยพัฒนาระบบไปเรื่อยในระหว่างมีการทดสอบใช้ตัวต้นแบบ

รูปที่ 4 แสดงรูปตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน (Selected Features Prototype)

กลับข้างบน

8.3 แนวทางในการพัฒนาโปรโตไทป์

แบบตัดสินใจแน่วแน่ที่จะรวมการทำโปรโตไทป์เข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบงานและโครงการ (SDLC) ในขั้นตอนของการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบแล้ว นักวิเคราะห์ระบบก็ควรจะศึกษาถึงขั้นตอนของการพัฒนาโปรโตไทป์ ซึ่งมีด้วยกัน 4 ขั้นตอน และแต่ละขั้นตอน ก็ต้องทำต่อเนื่องกันไป ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 แยกระบบงานใหญ่ให้เป็นระบบงานย่อย
เป็นการยากที่นักวิเคราะห์ระบบจะทำโปรโตไทป์สำหรับระบบขึ้นมาในครั้งเดียว ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบจึงต้อง แยกส่วนของระบบงารที่เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องทำโปรโตไทป์เป็นส่วน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและวิเคราะห์

ขั้นตอนที่ 2 สร้างโปรโตไทป์ให้เสร็จเร็วที่สุด
ในการพัฒนาระบบงาน มักจะเกิดช่องว่างของระยะเวลาระหว่างการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบและการติด ตั้งระบบงานใหม่ที่ได้พัฒนาจนสำเร็จแล้ว ซึ่งช่องว่างนี่เอง มักไม่ค่อยมีใครคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้ระบบที่ อาจเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา
การที่จะทำโพรโตไทป์ให้เร็วที่สุด นักวิเคราะห์อาจจะใช้เครื่องมือพิเศษ (special tools) เช่นCASE (Computer Adided System Engineering ) ภาษายุคที่ 4 (Fourth Generation Languages/4GL)ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management SYAtem/DBMS) หรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ใช้ในการสร้างอินพุตและเอ้าท์พุตหรือ Application Generators เพื่อให้ผู้ใช้ระบบได้เห็นภาพจำลองของระบบงานจริง

ขั้นตอนที่ 3 ต้องมีความยืดหยุ่นในการทำโปรโตไทป์
ความยืดหยุ่นในที่นี้หมายถึง การทำโปรโตไทป์ให้มีลักษณะที่จะสามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ไม่ใช่ทำในลักษณะตายตัวจะแก้ไขอะไรต้องทำใหม่หมด และก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่จะต้องแก้ไขใหม่ทั้งหมดที่ผู้ใช้ระบบคนใดคนหนึ่ง ท้วงติงขึ้นมา การแก้ไขที่เกิดขึ้นควรจะช่วยให้ระบบงานเข้าใกล้ความต้องการของผู้ใช้ระบบมากที่สุด

ขั้นตอนที่4 การดึงผู้ใช้ระบบเข้าร่วมเพื่อแสดงความคิดเห็น
ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากการจัดทำโพรโตไทป์มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้การดีไซน์และพัฒนาระบบเป็นไป ตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ หากผู้ใช้ระบบเห็นว่ายังมีบางส่วนที่ไม่เหมาะสม นักวิเคราะห์ระบบควรแก้ไขโปรโตไทป์ให้ผู้ใช้ระบบได้พิจารณาอีกครั้งว่าเป็นไปตามความต้องการหรือไม่

บทบาทของผู้ระบบที่มีต่อการทำโปรโตไทป์
บทบาทของผู้ใช้ระบบในการที่จะช่วยเหลือนักวิเคราะห์ในเรื่องของโพรโตไทป์มีอยู่ด้วยกัน 3 ทางคือ

1.ทดลองโปรโตไทป์
ในการทดลองใช้โพรโตไทป์ คำแนะนำถึงวิธีใช้งานจะน้อยมาก โดยนักวิเคราะห์ระบบจะปล่อยให้ผู้ใช้ระบบทดลองใช้โปรโตไทป์ด้วยตัวเอง ในการศึกษาถึงปฏิกิริยาของผู้ใช้ที่มีต่อโปรโตไทป์ นักวิเคราะห์จะได้อะไรดีๆ หลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากแนวความคิดของผู้ใช้ระบบ ควรจัดทำเป็นบันทึกและสำเนาให้กับทีมงาน เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ถึงข้อมูลและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา

2.แสดงทัศนะคติต่อการทำโปรโตไทป์
ในส่วนนี้ เป็นการยากที่จะทำให้ผู้ใช้ระบบแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่แท้จริงเพราะกลัวว่าจะไปกระทบต่อนักวิเคราะห์ระบบ ซึ่งสิ่งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง และการวางตัวของนักวิเคราะห์ระบบ ว่าจะทำให้ผู้ใช้ระบบไว้วางใจตนเอง ได้มากน้อยอย่างไร

3.ให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไขโปรโตไทป์
หากผู้ใช้ระบบคิดว่าควรเพิ่มเติมหรือตัดออกสำหรับบางขั้นตอนของระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบควรแสดงความเต็มใจที่จะระบบฟัง ความคิดเห็นและคำแนะนำนั้น ๆ พร้อมกับสอบถามถึงสาเหตุและความต้องการของผู้ใช้ระบบ
 
กลับข้างบน

8.4 ข้อดีข้อเสียของการทำโปรโตไทป์

ข้อดีของการทำโปรโตไทป์
1.นักวิเคราห์ระบบสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบได้ในระหว่างตอนต้น ๆ ของการพัฒนา
สิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบเสื่อมเสียไม่ได้เลยคือ โปรโตไทป์ที่นำมาใช้เป็นแม่แบบของระบบงานจริงนั้น จะสมบูรณ์ได้ขึ้นอยู่กับการอุทิศเวลาของผู้ใช้ระบบที่จะเข้ามาช่วยให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่นำไปใช้ในการแก้ไขระบบงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงให้ได้ ดังนั้นความพยายามที่จะแก้ไขระบบงานตั้งแต่เนิ่น ๆ ย่อมจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าความพยายามที่จะแก้ไขระบบงานภายหลังจากที่ได้พัฒนาไปจนเสร็จสิ้นแล้ว
2.นักวิเคราะห์ระบบสามารถขจัดระบบที่ไม่จำเป็นออก
ในระหว่างการรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ หากผู้ใช้ระบบและนักวิเคราะห์ระบบเห็นว่า โปรโตไทป์ใดไม่เป็นที่ต้องการก็ สามารถยกเลิกได้แต่เนิ่น ๆ ผิดกับการพัฒนาระบบใดไปแล้ว เมื่อยกเลิกก้ค่อนข้างจะสิ้นเปลือง
3.นักวิเคราะห์ระบบสามารถดีไซน์ระบบให้เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ระบบมากขึ้น
การทำโพรโตไทป์เท่ากับเป็นการติดตามความต้องการของผู้ใช้ระบบอยู่ตลอดการพัฒนา ทำให้นักวิเคราะห์สามารถดีไซน์ระบบงานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถดีไซน์ระบบงาน เผื่อไว้สำหรับการขยับขยายในอนาคตได้อีกด้วย

ข้อเสียของการทำโปรโตไทป์
1.ยากแก่การบริหารโครงการ
แม้ว่านักวิเคราะห์ระบบจะยอมรับว่าการแก้ไขโพรโตไทป์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบงาน อย่างไรก็ตามการแก้ไขโปรโตไทป์แบบไม่จำกัดก็คงจะก่อให้เกิดปัญหาต่อการบริหารโครงการ (Project management) ทั้งโครงการก็ได้
2.นักวิเคราะห์ระบบอาจเข้าใจผิดคิดว่าระบบงานสมบูรณ์แล้ว
ในบางครั้งหากผู้ใช้ระบบยอมรับโปรโตไทป์เป็นอย่างดี จะทำให้นักวิเคราะห์ระบบเข้าใจไขว้เขวว่าโปรโตไทป์นั้นสมบูรณ์แล้ว ไม่จำเป็นต้องทบทวนอะไรอีก และนำโปรโตไทป์นั้นไปเป็นแม่แบบในการดีไซน์ระบบงานจริง ในระยะเวลาไม่นานนัก ระบบงานที่มาติดตั้งจากแนวความคิดนี้อาจก่อให้เกิดความผิดหวังแก่หลายๆ ฝ่ายได้ เนื่องจากโปรโตไทป์ไม่ใช่ระบบที่ไม่ สมบูรณ์ แต่เป็นเพียงการนำเอาหน้าที่สำคัญบางประการมาให้ผู้ใช้ระบบได้ทดลองดูเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ใช้ระบบยังไม่รู้ ไม่เห็น
การติดตั้งระบบงาน
เมื่อนักวิเคราะห์ระบบได้ผ่านขั้นตอนของการวิเคราะห์และการดีไซน์ระบบงานซึ่งเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ เรียบร้อยแล้ว ระบบงานได้ถูกพัฒนาและทดสอบเป็นอย่างดีจากทีมงาน จนมีความเชื่อมั่นว่าระบบงานจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น ในขั้นตอนต่อไปจึงเป็นขั้นตอนของการติดตั้งระบบงาน (system implementation)

การวางแผนการติดตั้งระบบงาน

ซอฟแวร์ที่ติดตั้ง
ในส่วนของการติดตั้งซอฟต์แวร์นี้ เราจะสนใจเฉพาะว่า อะไร ที่จะต้องติดตั้งให้ผู้ใช้และจะทำอย่างไร เพื่อให้การติดตั้งสำเร็จ ลงได้ ดังนั้น ในขั้นนี้นักวิเคราะห์ระบบจะคำนึงถึงว่าอะไรบ้างที่เขาจะต้องนำไปติดตั้ง นักวิเคราะห์จะต้องจัดทำแผนงานการติด ตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับทีมงาน และร่วมกันประชุมอีกครั้งก่อนที่จะนำเอาแผนงานไป ปฏิบัติจริง

วิธีการที่ติดตั้ง
1.การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง
2.การติดตั้งแบบขนาน
3.การติดตั้งแบบทยอยเข้า
4.การติดตั้งแบบมอดูลาร์โปรโตไทป์
5.การติดตั้งแบบกระจาย

การติดตั้งแบบทันทีหรือโดยตรง
หมายถึง เมื่อถึงวันที่ได้กำหนดไว้ ระบบงานเก่าจะถูกยกเลิก และระบบงานใหม่จะเริ่มใช้ปฏิบัติการได้ทันที การติดตั้งแบบนี้จะได้ผลผลิตต่อเมื่อ ระบบงานได้รับการทดสอบอย่างหนักก่อนที่จะถูกนำมาติดตั้ง นอกจากนี้การติดตั้งลักษณะนี้ยังเหมาะต่อเหตุการณ์ที่ว่าหากกำหนดการติดตั้งระบบเกิดการล่าช้าแล้วจะส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ หรือธุรกิจผู้ใช้อย่างมาก โดยในบางลักษณะการติดตั้งแบบทันทีเกิดจากการบังคับใช้ของรัฐบาล

การติดตั้งแบบขนาน
หมายถึง การที่ระบบงานเก่ายังคงปฏิบัติอยู่พร้อม ๆกันกับระบบงานใหม่วิธีนี่จะเป็นทีนิยมกันมาก ที่สุดในปัจจุบัน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะลดลงไป เนื่องจากใช้วิธีนั้จะเหมาะสมที่สุดเมื่อระบบงานเก่าเป็นระบบเก่าเป็รระบบที่ใช้คนทำ ในขณะที่ระบบงานใหม่จะเป้นระบบที่คอมพิวเตอร์ โดยระบบงานทั้งสองระบบจะนำมาควบคู่กันระยะเวลาหนึ่งเพื่อจะได้ทำการเปรัยบเทียบว่าผลลัพธ์ที่ได้จากระบบคล้องจองกันเมื่อผลลัพธ์ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าถูกต้องช่วงเวลาหนึ่ง ระบบงานเก่าจึงจะถูกยกเลิกออกไป เหลือ เพียงระบบงานใหม่เท่านั้น

การติดตั้งแบบทยอยเข้า
เป็นการรวมเอาข้อเด่นของ 2 วิธีแรก คือ แบบทันทีและแบบขนานเข้าไว้ด้วยกัน นั่นก็คือ วิธีนี้เป็นการทยอยนำเอาบางส่วนของระบบงานใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นระบบงานย่อยเข้าไปแทนบางส่วนของระบบงานเดิม ซึ่งวิธีนี้จะทำให้อัตราเสียงของการเกิดข้อผิดพลาดลดน้อยลงกว่าการติดตั้งแบบทันที โดยผลกระทบจากข้อผิดพลาดจะอยู่ในวงจำกัดที่ควบคุมได้

การติดตั้งแบบมอดูลาร์โปรโตไทป์
เป็นการนำเอาหลักการโปรโตไทป์มาใช้ โดยจัดแยกออกเป็นมอดูล ย่อย ๆ แล้วผสมผสานกับวิธีการติดตั้งแบบทยอยเข้า โดยให้ผู้ใช้ระบบทดสอบใช้มอดูลที่ทำเป็นโปรโตไทป์ไปจนกว่ามอดูลนั้นจะเป็นมอดูลที่สมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ระบบ จึง ค่อยนำมาปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการไม่คุ้นเคยระหว่างผู้ใช้กับระบบไปได้มาก

การติดตั้งแบบกระจาย
เป็นการติดตั้งระบบให้กับธุรกิจที่มีสาขามากกว่า 1 แห่ง เช่นธนาคารต่าง ๆ โดยการติดตั้งครั้งแรกในสาขาหนึ่งจะทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ใน 4 วิธีแรก จากนั้นเมื่อการติดตั้งในสาขาแรกเป็นไปอย่างสมบูรณ์และทดสอบอย่างแล้ว จึงค่อยดำเนินการติดตั้งต่อ ไปในสาขาอื่น ๆ
กลับข้างบน

8.5 การตวรจสอบแผนงานการติดตั้งระบบ

เมื่อแผนงานการติดตั้งระบบงานได้ถูกวางเรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์ควรตรวจสอบแผนงานการติดตั้งระบบงานอีกครั้ง โดยสิ่ง ที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องคำนึงมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการคือ

1.ผลการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ
สามารถนำมาช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบในตอนนี้ด้วย นั่นก็คือนักวิเคราะห์ระบบควรพิจารณาว่าอาจมีผู้ใช้ระบบบางคนที่มีความสามารถ อาจช่วยเหลือท่านได้

2.บันทึกการทดสอบระบบงาน
นักวิเคราะห์ควรตรวจสอบบันทึกการทดสอบระบบงานอีกครั้งเพื่อความแน่ใจว่าระบบงานได้รับการทดสอบและแก้ไขทั้งหมดแล้ว

3.ตรวจสอบรายชื่อซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อระบบ
นักวิเคราะห์จะต้องตรวจสอบรายการซอฟต์แวร์ที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับระบบว่าจะต้องมีแผนงานติดตั้งอย่างครบถ้วน และมีรายละเอียดติดตั้งอย่างเพียงพอ

4.ตรวจสอบแผนงานการจัดตั้งแฟ้มและการบันทึกข้อมูล
ในแผนงานติดตั้งระบบจะต้องมีรายละเอียดการจัดตั้งแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลอย่างพร้อมมูล ในกรณีที่จะต้องมีการบันทึกข้อมูลเข้าไปในแฟ้มหรือฐานข้อมูลในแผนงานจะต้องระบุชื่อผู้รับผิดชอบในการบันทึกไว้ให้ชัดเจน

5.คู่มือการติดตั้ง
ในการติดตั้งระบบงาน โดยเฉพาะระบบงานที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์จากภายนอกจะต้องมีคู่มือติดตั้งให้พร้อมเพื่อใช้ในวันติดตั้งระบบ คู่มือติดตั้งจะต้องระบุถึงสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการติดตั้ง แผนงานการติดตั้งระบบจะต้องถูกจัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะประกอบด้วยงานต่างๆ ที่ต้องทำวันที่ที่จะทำการและผู้รับผิดชอบ โดยแผนงาานติดตั้งระบบจะต้องนำเสนอให้กับนักบริหารก่อนเพื่ออนุมัติ

การติดตามและประเมินผลภายหลังการติดตั้ง

หลังจากที่ระบบได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะต้องติดตามและประเมินผลงานต่อไปโดยการประเมินผลจะแบ่งออกเป็น 3 ทาง ด้วยกันคือ

การตรวจสอบด้านเทคนิค (technical audit)
เป็นการตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบภาวะที่ระบบงานได้ถูกใช้งานจริงกับสภาวะที่อยู่ในช่วงทดสอบ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบยังคงปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง

การประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบ
เมื่อระบบงานใหม่ถูกเริ่มนำมาใช้ผู้ใช้ระบบควรได้รับโอกาสที่จะประเมินผลมันว่าดีหรือเลวอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเอกสารคู่มือที่ทำหรือการแสดงผลทางจอภาพทั้งอินพุตและเอาท์พุต ความง่ายต่อการใช้งานของระบบ ความถูกต้องเชื่อถือได้ นักวิเคราะห์ระบบควรปล่อยให้ผู้ใช้ระบบวิจารณ์อย่างเต็มที่เพื่อที่จะได้นำมาแก้ไขปรับปรุงต่อไป ทั้งยังเป็นบทเรียนที่จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาระบบใหม่ของนักวิเคราะห์ระบบเองด้วย

การประเมินความคิดเห็นอย่างเป็นทางการ
เมื่อตรวจสอบทางด้านเทคนิคและการประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ในตอนนี้นักวิเคราห์ระบบก็ต้อง รวมทีมงานขึ้นมาเพื่อจะได้ประเมินผลอย่างเป็นทางการ (formal) เสียทีสำหรับระบบงาน โดยทีมการพิจารณมจะประกอบด้วยทีมของนักวิเคราะห์ระบบเอง ผู้ใช้ระบบ และตัวแทนจากผ่ายบริหารเป็นต้น
ในการพิจารณานั้นจะทำการเปรียบเทียบระบบกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ในตอนเริ่มแรกว่าระบบงานได้ให้ผลลัพธ์ที่ บรรลุถึงแล้วหรือไม่ และความต้องการได้รับการตอบสนองจากระบบอย่างไร และดีแค่ไหน ระบบงานใหม่ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของขั้นตอนการทำงานอย่างไร ระบบงานให้ความคุ้มค่าตามรายงานได้จริงหรือไม่ มีข้อจำกัดอะไรบ้างหรือเปล่าที่จะต้องปรับปรุงต่อไป
 
 
กลับข้างบน