บุคคลอาจดำรงชีวิตแบบชาวพุทธได้อย่างไร 


การดำรงชีวิตแบบชาวพุทธ บุคคลควรละเว้นการทำความชั่ว บำเพ็ญคุณงามความดี และชำระจิตใจของตนให้สะอาด 

"การเว้นและการบำเพ็ญ" ตามหลักศีลธรรมแห่งการดำรงชีวิตแบบชาวพุทธ มีดังต่อไปนี้ 
๑. เว้นการฆ่า : แผ่เมตตา (คิดจะให้เป็นสุข) กับกรุณา (คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์) แห่ทุกชีวิต 
๒. เว้นการลักขโมยหรือฉ้อโกง และประกอบอาชีพสุจริต 
๓. เว้นการประพฤติผิดในกาม และสำรวมระวังในกาม 
๔. เว้นการพูดปด และพดความจริง 
๕. เว้นสิ่งเสตพติดมึนเมา และสำรวมระวัง มีสติ 

บุคคลบำเพ็ญศีล ๕ และธรรม ๕ ดังกล่าวข้างต้นมากเพียงใด ก็จะประสบความสุข ความสงบแห่งชีวิตมากเพียงนั้น 

อนึ่ง การพยายามทำจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์สะอาดจากความโลภ ความโกรธ และความหลง ไปทีละเล็กละน้อย ในชีวิตประจำวัน ก็นับเป็นแนวทางอันเป็นอุดมคติของชาวพุทธ 

• มีคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ที่ว่า พระสงฆ์ควรมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมเพิ่มขึ้นจากการสอนธรรมะเราได้ทราบจากประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเรียกประชุมกลุ่มพระสาวกรุ่นแรก ๖๐ รูป ก่อนส่งไปทำงานประกาศพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงแนะให้แยกย้ายกันเดินทางไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก และเพื่ออนุเคราะห์โลก นี้แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงแนะนำพระสาวกของพระองค์ให้ช่วยสังคม การช่วยเหลือควรกระทำโดยเหมาะสมแก่สถานภาพของพระสงฆ์ การปฏิบัติตามคำสอนก็ดี การทำตนเองให้เป็นแบบอย่างก็ดี การสั่งสอนประชาชนก็ดี เป็นภารกิจหลักของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยปกติ วัดเป็นศูนย์กลางแห่งชุมชนและงานสังคมสงเคราะห์ในกรณีที่มีอุบัติกัยเกิดขึ้น พระสงฆ์จะ ช่วยเหลือประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะช่วยได้ การช่วยสังคมในรูปแห่งการบริจาคทานและกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ พระสงฆ์ก็ได้รับอนุญาตให้ทำได้ในกรณีที่ไม่ขัดกับพระวินัย 

• เหมาะสมหรือไม่ที่จะเชื่อว่า การเป็นชาวพุทธที่แท้จริงนั้น จะต้องปฏิบัติกรรมฐาน หรือบำเพ็ญสมาธิและปัญญาเท่านั้น และไม่เกี่ยวข้องกับการรับใช้สังคมเลย 
การเป็นชาวพุทธนั้น ก็เพียงถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ กล่าวคือ ถ้าผู้ใดตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้นั้นก็นับได้ว่าเป็นชาวพุทธ นี้เป็นไปตามคำตอบของพระพุทธเจ้า ต่อคำถามของเจ้าชายมหานามะ เรื่องการเป็ชาวพุทธ 

อย่างไรก็ดี มีคำแนะนำเพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่เรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ" หรือ ที่ตั้งแห่งการทำบุญที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดังต่อไปนี้ 

๑. การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ปัน 

๒. การมีศีล และ 

๓. การพัฒนาสมาธิและปัญญา ๒ ประการ คือ การทำใจให้สงบ (สมาธิหรือสมถะ) และหารทำปัญญาให้เกิดขึ้น (วิปัสสนา) ทั้งสองอย่างนี้ รวมเรียกว่า ภาวนา หรือการอบรมจิตและปัญญา 

จากคำแนะนำที่กล่าวข้างต้นก็เป็นที่ชัดเจนว่า การเอื้อเฟื้อให้ปัน และการรับใช้สังคมในรูปแห่งการยื่นมือเข้าช่วยเหลือ และการปฏิบัติทางจิตใจอื่น ๆ นับว่าเป็นข้อปฏิบัติเพิ่มเติมของพุทธศาสนิกชน 



>>

<<

!!