ก่อนเจริญวิปัสสนา

การเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญเพื่อมรรคผล ทำตามขั้นตอนดังนี้

๑.  นักวิปัสสนาต้องมีบารมี ๑๐ ครบถ้วน หากไม่บารมี ๑๐ ไม่ครบถ้วน ผลของวิปัสสนาก็จะไม่สมบูรณ์
      บารมี ๑๐  :-
              ๑. ทาน ต้องมีอารมณ์ต่อการให้ทานเป็นปกติ เพื่อการสงเคราะห์และไม่หวังผลตอบแทน ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์  โดยเต็มใจในการให้ทานเป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน
             ๒. ศีล ต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ต้องรักษาแบบอุกฤษณ์
             ๓.  เนกขัมมะ ถ้าถือบวชต้องถือสิกขาบทเคร่งครัด ถ้าเป็นฆารวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕  ต้องทรงฌาณเป็นปกติ
            ๔.  ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฏธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง  อนัตตาเป็นปกติ
            ๕.  วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล
            ๖.  ขันติ อดทนค่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน
            ๗. สัจจะ มีความจริงใจ  ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล
            ๘.  อธิษฐาน  ความตั้งใจปฏิบัติไม่ลดละเอาชีวิตเป็นเดิมพันเหมือนดังพระพุทธองค์
            ๙. เมตตา ไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็นเมตตาเป็นปกติตลอดเวลา
        ๑๐. อุเบกขา วางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจรับแล้ว ก็ทราบว่าไม่ช้า อาการอย่างนี้ก็หมดไป ไม่มีอะไรน่ายึดถือ พบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตกว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ ๆ  เฉยได้ทั้งสองอย่าง

๒. ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา  ต้องเข้าฌาณก่อน ถ้าเจริญยังไม่ถึงฌาณสี่ ก็ให้เจริญตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อน จนเต็มกำลังสมาธิที่ได้ เมื่ออยู่ในฌาณจนจิตสงัดดีแล้ว ค่อย ๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาณ

๓. พิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น จนเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌาณต่อไปเป็นลำดับ ทุกฌาณปฏิบัติเช่นเดียวกัน และผลที่ได้ต้องมีการทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ คาดเดานึกคิดเอาไม่ได้