หลวงพ่อ คูณ ปริสุทฺโธ
พระราชวิทยาคมเถระ ( วิ )
วัดบ้านไร่ ตำบล กุดพิมาน ด่านขุนทด นครราชสีมา



a30301.jpg (5832 bytes)

"คนเรา เมื่อมีเมตตาให้กับผู้อื่น ผู้อื่นเขาก็จะ ให้ความเมตตาตอบสนองต่อเรา ถ้าเราโกรธเขา   เขาก็จะโกรธเราตอบเช่นกัน ความเมตตานี่แหละ  คืออาวุธ ที่จะปกป้องตัวเราเอง ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง   เป็นอาวุธที่ใคร ๆ จะนำเอาไปใช้ก็ได้ จัดว่าเป็นของดีนักแล"

ประวัติ
หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม.6 ต.กุดพิมาน อ.อ่านขุนทด จ.นครราชสีมา

ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชือ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง   มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ  ๑ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ๒ นายคำมั่ง แจ้งแสงใส ๓ นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์ มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์   กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี ๓ นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง   มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า...   เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง   ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขอำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป   และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย "ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า   จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา   เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง"

หลวงพ่อคูณเกิดเมื่อวันพฤหัสบุดีที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๖๖ ตรงกับแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน

a30302.jpg (19577 bytes)

สถาปัตยกรรมของโบสถ์ วัดบ้านไร่

การศึกษา
เนื่องด้วยบุรพกรรมและสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง ๓ คน  ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว   สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ ๖-๗ ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ   กับพระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หล  ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม    นอกจากนี้พระอาจารย์ทั้ง ๓ ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย   นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย    "ค่ำคืนอันมืดมิดมิอาจบดบังแสงอันสกาวใส ของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาได้ไม่"

 

a30303.jpg (15211 bytes)

หอระฆังของวัดบ้านไร่

 

อุปสมบท
หลวงพ่อคูณอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๘๗ ปีวอก   หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ   หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์   ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา  หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ   อย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง   จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก   หลวงพ่อคูณตั้งใจร่ำเรียนพระธรรมวินัย ตามรอยพระพุทธองค์   ที่ตรัสไว้ว่า...

" เทว เม ภิกขเว วิชชา ภาคิยา" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑ สมถะ ความสงบระงับแห่งจิตที่ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง
๒ วิปัสสนา ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมเบื้องสูงอันสุขุมลุ่มลึก ในทางพุทธศาสนาและจงเดินตามหนทางนั้นเถิด...

พิจารณาว่า ความเกิดเป็นธรรมดา หาล่วงความเกิดนี้ได้ไม่

หลวงพ่อคูณ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น   ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้   เป็นเพื่อนกันต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน   เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ   ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ   หลวงพ่อคงสอนเน้นเรื่องการมี "สติ" ระลึกรู้   พิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทัน ในอารมณ์นั้น เช่น เมื่อเกิดอารมณ์ "หลง" ท่านให้พิจารณาว่า...

"อนิจจัง ไม่เที่ยง
ทุกขัง เป็นความทุกข์
อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา
สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม
จึงมิใช่ของเราและของเขา"

ศัตรูที่แท้จริงของคนคือ โลภ โกรธ หลง ต้องแก้ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เวลาล่วงเลยนานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า   ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว   จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรก ๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์   จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศเขมร มุ่งเข้าสู่ป่าลึก   เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น  จากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความแก่ได้ไม่

a30304.jpg (18011 bytes)

พญานาคประจำบันไดทางเดินของวัดบ้านไร่

 

สู่มาตุภูมิ
หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางจากประเทศเขมรสู่ประเทศไทย   เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา   กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทาง   พระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ.๒๔๙๖    นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์   ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่อุปโภคและบริโภค   และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย   การให้ทรัพย์ตั้งทุนหนุนศึกษา เรียนธรรมาศาสน์พุทธพิศุทธิ์ใส ก็ชื่อว่าธรรมทานยานนำไป สู่เมืองใหญ่คือนิพพานสุขศานต์เอย

 

a30305.jpg (10104 bytes)

เหรียญรุ่น1 วัดแจ้งนอก อ.เมือง พ.ศ.2512 เนื้อทองแดงรมดำ

 

สร้างวัตถุมงคล
หลวงพ่อคูณสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่บวชแล้ว ๗ พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคล ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ   เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ.๒๔๙๓    การปลุกเสกวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ   หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กีบท   หัวใจพระคาถามีว่า

มะอะอุ
นะมะพะธะ
นโมพุทธายะ
พุทโธ และยานะ

แต่ในการปลุกเสก หลวงพ่อคูณจะใช้วิธี อนุโลมปฏิโลม (การต่อตามและย้อนลำดับ)   เรียกว่า คาบพระคาถา
เมื่อนำหัวใจธาตุ ๔ คือ นะมะพะธะ มาใช้ หลวงพ่อคูณจะภาวนาด้วยจิตอันเป็นหนึ่ง(สมาธิ) ให้อักขระทั้ง ๔ นี้ เป็น ๑๖ อักขระ ดังนี้

นะ มะ พะ ธะ
มะ พะ ธะ นะ
พะ ธะ นะ มะ
ธะ นะ มะ พะ

หลวงพ่อคูณใช้เวลาในการปลุกเสกสั้นมาก หลวงพ่อคูณบอกว่า เมื่อจะปลุกเสกวัตถุใด ใจต้องเป็นสมาธิ เมื่อใจมีสมาธิปลุกเสกสิ่งใดก็ขลัง  

"พิจารณาว่า ความเจ็บป่วย เป็นเรื่องธรรมดา
หาล่วงความเจ็บป่วยได้ไม่"

"พิจารณาว่า ความตาย เป็นเรื่องธรรมดา
หาล่วงความตายได้ไม่"

"พิจารณาว่า เรามีกรรม เป็นธรรมดา
เรามีกรรมเป็นของตนเอง
เรากระทำความดี จักได้ดี
เรากระทำความชั่ว จักได้ชั่ว"

 

a30306.jpg (23673 bytes)

วามสวยงามของวิหารของวัดบ้านไร่ ควรค่าแก่การอนุรักษ์

 

ข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติ
หลวงพ่อคูณสั่งว่า เมื่อมีพระเครื่องของหลวงพ่อคูณติดตัว ให้ภาวนา "พุทโธ" ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ   ค่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่บุคคลอื่น และอย่าผิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น   ให้สวดมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด   และหวงพ่อคูณย้ำว่า "ถ้ามีใจอยู่กับ พุทโธ ให้เป็นกลาง ๆ   ไม่สอดส่ายไปที่ไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ   จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง...ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใด ๆ ในโลก"

คาถาที่หลวงพ่อคูณใช้บริกรรมเวลานั่งสมาธิ   เวลาหายใจเข้า ให้บริกรรมว่า ตาย  เวลาหายใจออก ให้บริกรรมว่า แน่  เป็นตายแน่... ตายแน่... ตายแน่ไปเรื่อย ๆ จะรู้สึกสบาย  จิตสงบ เราจะอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างเป็นสุข

 

a30307.jpg (16965 bytes)

หน้าโบสถ์ของวัดบ้านไร่ ดูแล้วประทับใจชวนให้เสื่อมใสศรัทธา

 

ภาคผนวก

"อะนิจจา วาตะ สังขารา
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

อุปปาทะ วะยะ ธัมมิโน
เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมเสื่อมไป

อุปปัช ชิตะวา นิรุชฌันติ
เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

เตสัง วูปะสะโม สุโข
การเข้าไปสงบกายนั้นชื่อว่าเป็นสุข"

"ในการจะเอาชนะใจคนอื่น
เพื่อให้พวกเขาสนับสนุนนั้น
เราต้องสนับสนุนพวกเขาเป็นเบื้องแรก"

"การยอมรับความผิดพลาด
หาใช่ความอ่อนแอในตัวผู้นำไม่"

"คนรู้ธรรมะ ชอบเอาชนะผู้อื่น
คนมีธรรมะ ชอบเอาชนะตนเอง"

"เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้
จะตายทั้งที ฝากดีเอาไว้"

 

a30308.jpg (20047 bytes)

ซุ้มประตูวัดบ้านไร่ สวยสดงดงามวิจิตรตระการตา

 

จริยธรรม
เป็นแนวทางความประพฤติและการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าที่พึงประสงค์   หรือเป็นแบบแผนของความประพฤติของบุคคลที่ตั้งอยู่บนหลังคุณธรรม

คุณธรรม
คือธรรมที่เป็นคุณ หมายถึงธรรมที่ควร
ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ

เพิ่มเติม...
http://www.thai.to/zim/koon.html
http://www.tourthai.com/picture/ancient/pic06630.shtml
http://www.tourthai.com/picture/ancient/pic06631.shtml
http://www.tourthai.com/picture/ancient/pic06632.shtml
http://www.tourthai.com/picture/ancient/pic06633.shtml
http://www.tourthai.com/picture/ancient/pic06634.shtml
http://www.tourthai.com/picture/ancient/pic06635.shtml

ข้อมูลจังหวัดนครราชสีมา
http://www.oocities.org/thai76thai/30.html

webmaster
songkran2000@chaiyo.com
กวีไทย ดอกสารภี บ้านกลอนรจนา กุหลาบเวียงพิงค์
ดอกแก้ว แอนน์ แอ๋ม ตะวัน ลูกท้อ นู๋อัญ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เครือข่ายกวีไทย