..........................................................................................

Cis224 Project

นานเจนวิทย์ นาคเครือ 444372 กลุ่ม 01

นายยุทธพล บังเกิดแสง 451472 กลุ่ม 01

..........................................................................................

 
 


Network Technology
Network Architecture
Standard Organization
Basic Network
Modem
ISDN
ADSL
xDSL
Cable Modem
Wireless Lan
Sattelite
OSI Model
IEEE 802
IEEE and OSI Model
Ethernet
Tokenring
Gigabit Ethernet
FDDI
Frame Relay
ATM
Network Technology
TCP/IP
IEEE and OSI Model
แลนตามข้อกำหนดของ IEEE
          เครือข่ายเฉพาะที่หรือแลนมีลักษณะโดยทั่วไป คือ มีอัตราการส่งข้อมูลสูงและมักมีรัศมีเครือข่ายครอบคลุมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงแลนตามมาตรฐานที่กำหนดโดย IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)
          IEEE กำหนดเครือข่ายเฉพาะที่โดยใช้ตัวเลข 802 ตามด้วยตัวเลขย่อยเป็นรหัสประจำแต่ละมาตรฐาน รูปที่ข้างล่างนี้ เป็นแบบจำลองบางส่วนของมาตรฐานซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายได้แก่
          • IEEE 802.3 หรืออีเทอร์เนต ใช้โปรโตคอลซีเอสเอ็มเอ/ซีดีในโทโปโลยีแบบบัส
          • IEEE 802.4 หรือโทเคนบัส ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีแบบบัส
          • IEEE 802.5 หรือโทเคนริง ใช้โปรโตคอลส่งผ่านโทเคนในโทโปโลยีวงแหวน


           ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่ IEEE สร้างขึ้นในทุกมาตรฐาน 802 คือแยกระดับชั้นเดาทาลิงค์ออกเป็น 2 ส่วนย่อย โดยให้มาตรฐาน
802.2 ซึ่งเรียกว่า แอลแอลซี (LLC : Logical Link Control) เป็นส่วนเชื่อมต่อกับชั้นเน็ตเวิร์ค อินเทอร์เฟสของแอลแอลซีในเครือข่ายแต่ละชนิด (802.3, 802.4 และ 802.5) จะมีรูปแบบเชื่อมต่อกับชั้นเน็ตเวิร์คเช่นเดียวกันหมด

IEEE 802.3
           IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น
           • 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร
           • 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร
           • 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตร

           รูปที่ข้างล่าง แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลขหมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษรจะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber optics

           ส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100BaseTX และ 100BaseFX สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น

          อีเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล ซีเอสเอ็มเอ/ซีดี (CSMA/CD : Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าครอบครองสายสัญญาณ ในขณะเวลาหนึ่งจะมีเพียงสถานีเดียวที่เข้าครองสายสัญญาณ
เพื่อส่งข้อมูล
          สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลต้องการตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีสถานีอื่นใช้สายอยู่หรือไม่ ถ้าสายสัญญาณว่างก็ส่งข้อมูลได้ทันที หากไม่ว่างก็ต้องคอยจนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลได้ ขณะที่สถานีหนึ่ง ๆ กำลังส่งข้อมูลก็ต้องตรวจสอบสายสัญญาณไปพร้อมกันด้วยเพื่อตรวจว่าในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นมีสถานีอื่นซึ่งพบสาย
สัญญาณว่างและส่งข้อมูลมาหรือไม่ หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้ว ข้อมูลจากทั้งสองสถานีจะผสมกันหรือเรียกว่า การชนกัน
(Collision) และนำไปใช้ไม่ได้ สถานีจะต้องหยุดส่งและสุ่มหาเวลาเพื่อเข้าใช้สายสัญญาณใหม่
ในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทานจะล่าช้าเพราะแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูล
และเกิดการชนกันเกือบตลอดเวลา โดยไม่สามารถกำหนดว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อเวลาใด อีเทอร์เน็ตจึงไม่ม
ีเหมาะกับการใช้งานในระบบจริง


IEEE 802.4
          IEEE 802.4 หรือ โทเคนบัส (Token Bus) มีโทโปโลยีแบบบัสเช่นเดียวกับ IEEE 802.3 แต่มีข้อกำหนดการเข้าใช้สายสื่อสายโดยใช้โทเค็นพิเศษซึ่งทำหน้าที่เป็นเฟรมสัญญาณกำหนดจังหวะให้สถานีเข้า
ใช้สายสื่อสาร โทเค็นจะถูกนำส่งจากสถานหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งและวนกลับที่เดิมเป็นวงรอบ สถานีที่ได้รับโทเค็นจะม
ีสิทธิ์ใช้สายสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลได้
สายสื่อสารในโทเค็นบัสมักใช้สายโคแอ็กเชียล และมีอัตราเร็วหลายระดับคือ 1, 5 หรือ 10 เมกะบิตต่อวินาที การใช้โทเคนช่วยให้สถานีไม่ต้องแย่งยึดช่องสัญญาณเหมือนใน IEEE 802.3 หากแต่ความซับซ้อนของโปโตคอลทำให้
IEEE 802.4 ไม่เป็นที่นิยมใช้

IEEE 802.5
          IEEE 802.5 หรือ โทเคนริง (Token Ring) หรือมักเรียกว่าไอบีเอ็มโทเคนริงจัดเป็นเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบวงแหวน
ด้วยสายคู่ตีเกลียวหรือเส้นใยนำแสง อัตราการส่งข้อมูลของโทเค็นริงที่ใช้โดยทั่วไปคือ 4 และ 6 เมกะบิตต่อวินาที
รูปที่ข้างล่าง แสดงการทำงานของโทเค็นริง โดยมีเฟรมพิเศษเรียกว่า โทเค็นว่าง (free token) วิ่งวนอยู่ สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลจะรอให้โทเค็นว่างเดินทางมาถึงแล้วรับโทเค็นว่างมาเปลี่ยนเป็น เฟรมข้อมูล (data frame) โดยใส่แฟล็กแสดงเฟรมข้อมูลและบรรจุแอดเดรสของสถานีต้นทางและปลายทางตลอดจนข้อมูลอื่นๆจากนั้นสถานีจึงปล่อย
เฟรมนี้ออกไป
เมื่อสถานีปลายทางได้รับเฟรมจะสำเนาข้อมูลไว้และปล่อยเฟรมให้วนกลับมายังสถานีส่ง สถานีส่งจะตรวจสอบเฟรมและปล่อยโทเค็นว่างคืนสู่เครือข่ายให้สถานีอื่นมีโอกาสส่งข้อมูลต่อไป กลไกลแบบส่งผ่านโทเค็นจัด
อยู่ในประเภทประเมินเวลาได้ กล่าวคือ สามารถคำนวณเวลาสูงสุดที่สถานีมีสิทธิ์จับโทเค็นเพื่อส่งข้อมูลได้ โทเค็นริงจึงเหมาะกับระบบที่ต้องการความแน่นอนทางเวลาหรืองานแบบเวลาจริง

เอฟดีดีไอ
         เอฟดีดีไอ (FDDI : Fiber Distributed Data Interface) มีอัตราส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาทีจึงมักใช้เป็น แกนหลัก (backbone) ซึ่งเป็นส่วนของเครือข่ายที่จะต้องรับภาระการสื่อสารในปริมาณมาก และนิยมใช้ระบบงานเวลาจริงเช่นเดียวกับโทเค็นริงเนื่องจากใช้หลักการของโทเค็นเช่นเดียวกัน
โทโปโลยีของเอฟดีดีไอเป็นแบบวงแหวนดังรูปข้างล่าง ในขณะที่โทเค็นริงมีเพียงวงเดียวเท่านั้น วงแหวนประกอบด้วยวงแหวนหลักเรียกว่า วงแหวนปฐมภูมิ (Primary ring) และวงแหวนรองเรียกว่า วงแหวนทุติยภูมิ
(secondary ring) การออกแบบให้มีวงแหวนสองวงเพื่อมีเส้นทางสำรอง หากวงแหวนหลักเกิดชำรุด ระบบจะเปลี่ยนไปใช้วงแหวนสำรองแทน


            สัญญาณที่ใช้กับเอฟดีดีไอมี 2 ประเภทคือเส้นใยนำแสงและสายคู่ตีเกลียว เส้นใยนำแสงที่ใช้งานมีทั้งแบบ หลายภาวะ (multi mode)
และ ภาวะเดี่ยว (single mode) เส้นใยนำแสงแบบหลายภาวะสามารถเชื่อมสถานีที่อยู่ห่างกันได้ 2 กิโลเมตร ขณะที่แบบภาวะเดี่ยวสามารถเชื่อมสถานีที่อยู่ห่างกันได้ระยะทางราว 40 กิโลเมตร ส่วนสายคู่ตีเกลียวจะใช้สายประเภท 5 (Category 5) เอฟดีดีไอที่ใช้สายคู่ตีเกลียวมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ซีดีดีไอ (CDDI : Copper Distributed Data Interface)

ไอพีและเทคโนโลยีเครือข่ายอื่น
            ทีซีพี/ไอพีมีลักษณะสากลและทำงานร่วมกับโปรโตคอลอื่นได้ทั้งกลุ่มโปรโตคอลเครือข่ายเฉพาะที่ (เน็ตไบออส, ไอพีเอกซ์, และเอกซ์เอ็นเอส) และกลุ่มโปรโตคอลเครือข่ายระยะไกล (x.25, เฟรมรีเลย์ และ
เอสเอ็มดีเอส)
จากการขยายตัวของเทคโนโลยีเอทีเอ็มได้มีการพัฒนาโปรโตคอลเพื่อให้ไอพีสามารถทำงานร่วมกับเอทีเอ็มได้ ในปัจจุบันม
ีโปรโตคอลหลายรูปแบบเช่น IPOA (IP Over ATM), LANE (LAN Emulation) และ MPOA (Muiltiprotocol Over ATM) [Gins96]
ถึงแม้ว่าเอทีเอ็มจะให้เป็นทางออกหนึ่งสำหรับทีซีพี/ไอพีความเร็วสูง แต่เอทีเอ็มก็มีโอเวอร์เฮดสูงเนื่องจากเซลล์เอทีเอ็ม
มีขนาดเพียง 53 ไบต์และมีเฮดเดอร์ 5 ไบต์ แนวทาการใช้ไอพีทำงานบนโซเน็ต/เอสดีเอช (SONET/SDH) โดยตรงจึงเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของนักวิจัย

อุปกรณ์เครือข่าย
            เครือข่ายขนาดเล็กมักประกอบด้วยสถานีงานและเซอร์ฟเวอร์ต่อเชื่อมกัน การเชื่อเครือข่ายขนาดเล็กจำนวนหลายเครือข่ายเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันต้องอาศัยอุปกรณ์เครือข่ายที่มี
ลักษณะสมบัต ิแตกต่างกันไป อุปกรณ์เครือข่ายพื้นฐานที่พบโดยทั่วไปและจะอธิบายถึงในหัวข้อนี้ได้แก่ ฮับ บริดจ์ และเราเตอร์

Hub
            ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์เชื่อมสถานีเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบดาว เช่น อีเทอร์เน็ต 10BaseT ดังรูปข้างล่าง ฮับมีพอร์ตได้หลายแบบเช่นพอร์ต RJ-45 ใช้กับสายคู่ตีเกลียวในเครือข่าย 10BaseT หรือพอร์ตไฟเบอร์ใช้กับเส้นใยนำแสงในเครือข่าย 10BaseFฮับเป็นอุปกรณ์ในระดับชั้นฟิสิคัลเช่นเดียวกับรีพีตเตอร์พัง รูปข้างล่างนี้ ด้วยเหตุผลนี้จึงมักเรียกฮับว่าเป็นมัลติพอร์ต
รีพีตเตอร์ หน้าที่ของฮับคือขยายสัญญาณและกระจายแพ็กเก็ตไปทุกพอร์ต ฮับใช้เชื่อมต่อเครือข่ายประเภทเดียวกันเท่านั้น เครือข่ายที่เชื่อมต่อด้วยฮับจะรวมเป็นเครือข่ายเดียวกันดังนั้นแพ็กเก็ตที่สร้างจากเครือข่ายหนึ่งจะผ่านฮับไปอีกเครือข่ายหนึ่ง


Bridge
          บริดจ์ (bridge) ทำหน้าที่เชื่อมเครือข่ายย่อยสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน บริดจ์ทำงานในระดับชั้นเดทาลิงค์จึงสามารถใช้เชื่อมเครือข่ายประเภทเดียวกันหรือต่างกันได้ เช่นเชื่อมอีเทอร์เน็ตเข้ากับโทเค็นริง แบบจำลองการทำงานของบริดจ์แสดงได้ดังรูปที่ข้างล่างนี้
          เมื่อใช้บริดจ์เชื่อมเครือข่ายประเภทเดียวกัน บริดจ์จะตรวจสอบว่าจะนำส่งแพ็กเก็ตโดยฮาร์ดแวร์แอดเดรสปลายทางกับตารางเลือกเส้นทางที่บริดจ์สร้างขึ้น หากมีแพ็กเก็ตที่ต้องข้ามบริดจ์จากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง บริดจ์จะสำเนาแพ็กเก็ตบิตต่อบิตข้ามไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งโดยไม่เปลี่ยนแปลงเฮดเดอร์หรือข้อมูล หากสถานีต้นทางและสถานีปลายทางอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน บริดจ์จะได้รับแพ็กเก็ตแต่ไม่ส่งแพ็กเก็ตข้ามไปยังเครือข่ายอีกด้านหนึ่ง


            บริดจ์นำส่งบรอดคาสต์แพ็กเก็ตข้ามเครือข่ายโดยไม่ป้องกัน สถานีอีเทอร์เน็ตหรือโทเค็นริงต้องดำเนินการกับแพ็กเก็ต
ที่สถานีอื่นบรอดคาสต์มาให้ บรอดคาสต์แพ็กเก็ตมักเกิดจากการทำงานของโปรโตคอลเออาร์พี บูตพี หรืออาร์ไอพี            หากจำนวนบรอดคาสต์แพ็กเก็ตสูงจะส่งผลให้สมรรถนะการทำงานของสถานีในเครือข่ายลดลง
หากสถานีเครือข่ายสร้างบรอดคาสต์แพ็กเก็ตเกิดขึ้นพร้อมกันจำนวนมากหรือเรียกว่า พายุบรอดคาสต์ (broadcast storms)
จะส่งผลกระทบต่อเครือข่าย การสื่อสารในเครือข่ายจะช้าลงจนสังเกตได้หากมี
บรอดคาสต์แพ็กเก็ตตั้งแต่ 40 แพ็กเก็ตต่อวินาทีขึ้นไป หรือหากมีบรอดคาสต์แพ็กเก็ตในอัตรา 100 แพ็กเก็ตต่อวินาทีอาจ
ทำให้การสื่อสารทั้งหมดหยุดชะงักได้
           สวิตช์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับบริดจ์ในการแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ออกเป็นเครือข่ายย่อยและป้องกันไม่ให้มีการส่งเฟรมที่
ไม่จำเป็นจากเครือข่ายหนึ่งข้ามไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง สวิตช์มักประกอบด้วยพอร์ตจำนวนมาก ต่างจากบริดจ์ที่มีพอร์ตเพียง
2 พอร์ต แต่ละพอร์ตขอสวิตช์สามารถเชื่อมโยงระหว่างสวิตช์ด้วยกันหรือเชื่อมสถานีเข้าสู่สวิตช์โดยตรง สวิตช์บางรุ่นสามารถ
จัดแบ่งเครือข่ายย่อยตามแต่ละพอร์ตได้โดยใช้ (VLAN : Virtual Lan) ตามมาตรฐาน IEEE 802.1q
           คุณลักษณะสำคัญของสวิตช์คือมี อิเล็กทรอนิกส์สวิตช์ความเร็วสูงทำหน้าที่ส่งเฟรมจากพอร์ต ต้นทางสู่ปลายทางโดยไม่รบกวนพอร์ตอื่น ลักษณะนี้ต่างจากบริดจ์หรือเราเตอร์ซึ่งเฟรมถูกส่งจากพอร์ตหนึ่ง ไปอีกพอร์ตหนึ่งโดยอาศัยการประมวลผลของไมโครโปรเซสเซอร์


Routher
           เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในระดับชั้นเน็ตเวิร์กตามรูปข้างล่างนี้ เราเตอร์ทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ในระดับเดทาลิงค์
ได้หลายรูปแบบ หน้าที่ของเราเตอร์คือ จัดแบ่งเครือข่ายและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อนำส่งแพ็กเก็ต เราเตอร์จะป้องกันการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตจากเครือข่ายหนึ่งไม่ให้ข้ามมายังอีกเครือข่ายหนึ่ง


            ในอินเทอร์เน็ตมักเรียกเราเตอร์ว่า ไอพีเราเตอร์ (IP router) เนื่องจากเราเตอร์ทำงานตามข้อกำหนดของ
โปรโตคอลไอพี เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางโดยสร้างแผนที่เครือข่ายและเก็บอยู่ในรูปตารางเส้นทาง เมื่อเราเตอร์ได้รับแพ็กเก็ตก็จะตรวจสอบแอดเดรสปลายทางและส่งแพ็กเก็ตไปยังอินเทอร์เฟสที่เป็น
ช่องทางไปสู่เครือข่ายปลายทาง เราเตอร์ประกอบด้วยหลายอินเทอร์เฟสเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่าง
ชนิดเข้าด้วยกันได้ ตัวอย่างเช่น อินเทอร์เฟสอีเทอร์เน็ต โทเค็นริง เอฟดีดีไอ เอทีเอ็ม หรือ
อินเทอร์เฟสแบบอนุกรม เป็นต้น
            ซอฟต์แวร์ในเราเตอร์จะรับแพ็กเก็ตและเก็บเข้าบัฟเฟอร์ก่อนนำไปประมวลผล วิธีนี้ต่างจากสวิตช์ซึ่งอาศัยฮาร์ดแวร์ตรวจแอดเดรสปลายทางของแพ็กเก็ตและ “สวิตช์” แพ็กเก็ตนั้นจากพอร์ตหนึ่งไปสู่อีกพอร์ตหนึ่ง


OSI Model
            ระบบสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน การมองภาพของระบบโดยรวมทั้งหมดเป็นหน่วยใหญ่ย่อมยากต่อการทำความเข้าใจ การใช้แบบอ้างอิงที่แบ่งระบบออกเป็นส่วนย่อยจะช่วยลดความซับซ้อนและสร้างความเข้าใจได้ง่ายกว่า
โครงสร้างมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า OSI (Open System Interconnection)
ที่ถูกกำหนดขึ้นโดย ISO (International Standard Organization) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากล โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ผลิตทำการผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้สามารถ
ใช้งานร่วมกันได้ หากไม่มี OSI แล้วการนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างยี่ห้อกันมาใช้ร่วมกันคงจะเป็นไปได้ยาก


             โครงสร้างของ OSI จะแบ่งออกเป็น 7 ชั้นตามรูป สมมติว่าในการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่ต้องการส่งจะเข้าสู่การทำงานของชั้นบนสุดก่อน (Application Layer) จากนั้นจึงค่อย ๆ ไหลลงไปเรื่อย ๆ สู่ชั้นที่ต่ำกว่า ผ่านกรรมวิธีการจัดข้อมูลในแต่ละชั้น จนกระทั่งไปถึงชั้นล่างสุด (Physical Layer) ข้อมูลจึงถูกปล่อยออกสู่ระบบเครือข่ายไป เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะรับข้อมูลที่ส่งมาโดยเข้าสู่การทำงานของชั้นล่างสุดก่อน (Physical Layer) จากนั้นจึงทยอยส่งต่อขึ้นไปสู่ชั้นที่เหนือว่าเรื่อย ๆ ผ่านกรรมวิธีการจัดการข้อมูลในแต่ละชั้น จนกระทั่งถึงชั้นบนสุด
(Application Layer) จึงถือว่าเสร็จสิ้นการรับส่งข้อมูลโดยสมบูรณ์

รายละเอียดโดยสังเขปของแต่ละชั้นมีดังนี้คือ
             1. Physical Layer เป็นชั้นล่างสุดที่ว่าด้วยการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ การกำหนดคุณทางกายภาพของสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ใช้การรับส่งข้อมูล เช่น ใช้สายสัญญาณแบบไหน มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่าไร เป็นต้น ข้อมูลที่รับส่งในชั้นนี้จะเป็นข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะเห็นเป็นทีละบิตเรียงต่อกันไปในลักษณะของ ‘0’ หรือ ‘1’
             2. Data Link Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวบกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นชุดที่เรียกว่า “เฟรม” (Frame) เพื่อเตรียมส่งออกทางเครือข่ายโดยผ่ายทาง Physical Layer นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่มาจากระดับของ Physical Layer
             3. Network Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการแยกแยะความแตกต่างของคอมพิวเตอร์แต่ละตัวในเครือข่ายโดยอาศัยโดยอาศัยหมายเลข
ประจำเครื่องหรือ Address และยังกำหนดเส้นทางในการวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายจากต้นทางถึงปลายทาง ข้อมูลใน
ชั้นนี้จะเรียกว่า “แพ็กเก็ต” (Packet)
             4. Transport Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการแบ่งข้อมูลที่ได้รับมาจาก Session Layer ที่โดยมากจะมีขนาดใหญ่ให้กลายเป็นแพ็กเก็ตที่มีขนาดคงที่ก่อนจะส่งต่อให้ Network Layer ส่วนในแง่ของการรับข้อมูล Transport Layer จะทำการต่อคืนแพ็กเก็ตต่าง ๆ ที่ได้รับให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีการจัดการเกี่ยวกับแพ็กเก็ตอื่น ๆ อีก เช่น การตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด การจัดลำดับและการควบคุมความเร็วในการรับส่ง
             5. Session Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยวิธีการจับคู่หรือเชื่อมโยงแอพพลิเคชั่นที่อยู่ต่างเครื่องกัน เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมาควรจะเป็นของแอพพลิเคชั่นคู่ไหนได้ ทำให้เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการสื่อสารพร้อมกันหลายตัวได้ เช่น เราสามารถเปิดโปรแกรมบราวเซอร์ พร้อมกับอ่านอีเมล์ได้พร้อม ๆ กัน
             6. Presentation Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการจัดรูปแบบข้อมูลที่รับมาจาก Session layer ให้อยู่ในรูปแบบที่แอพพลิเคชั่นแต่ละตัวสามารถเข้าใจได้
             7. Application Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการติดต่อกับแอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมต่าง ๆ เช่น บราวเซอร์ อีเมล์ FTP และ
Telnet เป็นต้น

             จากการเปรียบเทียบโครงสร้างของ TCP/IP กับ OSI นั้นพบว่า TCP/IP มีจำนวนชั้นในโครงสร้างที่น้อยกว่า OSI
ซึ่งเหตุผลก็คือ TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่ใช้กันมาก่อนที่จะ OSI เกิดขึ้น สำหรับรายละเอียดโครงสร้างของ TCP/IP
หรือ Protocol Suite ทั้ง 4 ระดับ มีดังต่อไปนี้

Process/Application Layer
             คือชั้นที่ทำงานเทียบเท่า Application Layer และ Presentation Layer ของ OSI ซึ่งจะรับรองการทำงานของ
แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่นที่รันอยู่ในเครื่องแม่ข่ายในลักษณะของโปรเซสที่จะคอยให้บริการ
กับเครื่องลูกข่าย เช่น โปรแกรมบราวเซอร์, E-mail, FTP และ Telnet เป็นต้น
โปรโตคอลที่ทำงานในชั้นนี้ได้แก่ FTP, Telnet, HTTP และ SMTP นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอลที่ทำหน้าที่อำนวย
ความสะดวกต่าง ๆ อีก เช่น DNS และ DHCP ตามที่ได้อธิบายไว้แล้วในบทก่อนหน้านี้

Host-to Host Layer
             คือชั้นที่ทำงานเทียบเท่ากับ Session Layer และ Transport Layer ของ OSI ที่ช่วยให้แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่รับอยู่ใน
เครื่องแม่ข่าย สามารถรองรับการให้บริการกับเครื่องลูกได้หลาย ๆ เครื่องพร้อมกันโดยที่ข้อมูลไม่ปนกัน ในชั้นนี้ยังประกอบด้วยโปรโตคอลย่อยอีก 2 ตัวคือ TCP และ UDP (User Datagram Protocol) สำหรับ TCP/IP จะทำหน้าที่ในลักษณะของ Connection Oriented ซึ่งเวลาที่จะติดต่อสื่อสารกันต้องมีการเชื่อมโยงผู้รับกับผู้ส่งเข้าด้วย
กันก่อน เปรียบเหมือนการใช้โทรศัพท์ที่ต้องมีการหมุนเลขหมายก่อนจึงจะคุยกันได้ ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความถูกต้องครบถ้วนและเชื่อถือได้ แต่ภาระของการทำงานของโปรโตคอลในขั้นตอนต่าง ๆ จะมากขึ้นตามไปด้วย
             ในส่วนของ UDP นั้นจะทำหน้าที่ลักษณะของ Connectionless Oriented ซึ่งเปรียบเสมือนการส่งจดหมาย คือไม่ต้องมีการเชื่อมโยงผู้รับกับผู้ส่งเข้าด้วยกันก่อน และไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล ซึ่งข้อดีคือไม่เป็นภาระหรือโหลดทำงานของเครื่องมากนัก แต่ก็มีข้อเสียคือข้อมูลอาจสูญหายระหว่างทางได้ ดังนั้นแอพพลิเคชั่นที่ใช้ UDP จะต้องตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลเอง

Internet Layer
             คือชั้นที่ทำหน้าที่เทียบเท่า Network Layer ของ OSI โดยรับผิดชอบทางด้านการส่งข้อมูลข้ามไปข้ามมาระหว่างเครือข่าย และรวมถึงภายในเครือข่ายด้วย การทำงานในชั้นนี้จะมีโปรโตคอลคือ IP และ ICMP (Internet Control Message
Protocol) โดยมีโปรโตคอล IP จะอาศัยหมายเลขเครือข่ายและหมายเลขประจำเครื่องที่เรียกรวมกันว่า IP Address เพื่อใช้ในการกำหนดเส้นทางการวิ่งของข้อมูลการทำงานของ IP จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ประเภท Router หรือ
Gateway เป็นหลัก สำหรับ ICMP คือโปรโตคอลที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของเครือข่าย ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ ICMP คือโปรแกรม Ping ที่ไว้ใช้สำหรับตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ใด ๆ ในเครือข่ายยังทำงานอยู่หรือไม่ โดยโปรแกรม Ping จะส่ง Message ไปที่เครื่องที่ต้องการตรวจสอบแล้วรอรับ Message ตอบกลับมาภายในเวลาที่กำหนด หากไม่มีอะไรตอบกลับมาก็จะถือว่าไม่สามารถติดต่อกับเครื่องนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่นเครื่องไม่ได้เปิด หรือเครือข่ายมีปัญหา เป็นต้น

Network Access Layer
             คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลในระดับล่างที่เกี่ยวข้องกับระบบ LAN โดยเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ของ OSI ซึ่งได้แก่
ระบบ LAN แบบอีเธอร์เน็ต (Ethernet) หรือ แบบ Token-Ring นั่นเอง

          


>> Home <<



Webmaster : seeis_224@yahoo.com