..........................................................................................

Cis224 Project

นานเจนวิทย์ นาคเครือ 444372 กลุ่ม 01

นายยุทธพล บังเกิดแสง 451472 กลุ่ม 01

..........................................................................................

 
 


Network Technology
Network Architecture
Standard Organization
Basic Network
Modem
ISDN
ADSL
xDSL
Cable Modem
Wireless Lan
Sattelite
OSI Model
IEEE 802
IEEE and OSI Model
Ethernet
Tokenring
Gigabit Ethernet
FDDI
Frame Relay
ATM
Network Technology
TCP/IP
xDSL
xDSL
          เทคโนโลยี DSL (Digital Subscriber Line) ตัวอักษร x ที่อยู่ด้านหน้านั้นค้อตัวแปรที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความหลากหลายของเทคโนโลยี DSL ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลความเร็วสูงบนสายโทรศัพท์ทองแดงที่ใช้กันอยู่ทั่วไป กล่าวได้ว่าสายเหล่านี้ไม่ได้มีความเป็นดิจิตอลแม้แต่น้อย สายของระบบ xDSL นั้นคือสายทองแดงธรรมดาที่มีโมเด็มแบบดิจิตอลอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน ข้อดีที่เห็นชัดอย่างหนึ่งของ xDSL ก็คือ เมื่อมีปัญหาทางด้านกระแสไฟฟ้า ระบบโทรศัพท์ธรรมดายังคงสามารถทำงานได้บนระบบ xDSL ซึ่งต่างจากระบบ ISDN

          สายทองแดงที่มีอยู่สามารถรองรับสัญญาณที่มีแบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้น (อยู่ในย่าน MHz) เพราะข้อจำกัดของสัญญาณเสียงที่มีเพียง 3.3 MHz นั้นเนื่องมาจากตัวกรองสัญญาณทางฝั่งชุมสายระบบโทรศัพท์ไม่ได้เป็นที่สายสัญญาณเอง สัญญาณบนสายทองแดงนั้นลดทอนได้อย่างรวดเร็ว แบนด์วิดธ์ที่ได้จึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความยาวของสาย เช่น สายขนาด 24-guage สามารถรองรับข้อมูลได้ในอัตราความเร็ว 1.544 Mbps ในระยะทาง 18,000 ฟุต แต่จะสามารถรองรับข้อมูลได้ในอัตรา 51.840 Mbps ในระยะทาง 1,000 ฟุต

          เทคโนโลยีที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้มีความเหมือนกันอยู่ข้อหนึ่งคือ สัญญาณพาหะความถี่สูงของสายโทรศัพท์ ถูกสร้างจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ ซึ่งเทคโนโลยี DSL เองก็ทำกระบวนการมอดูเลตสัญญาณที่สร้างขึ้นมานั้นด้วยผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เช่นกัน

DS1/T1/E1
          เทคโนโลยี DS1/T1/E1 นั้นเริ่มต้นพัฒนามาจากสถาบันวิจัย Bell โดยเป็นเทคโนโลยีที่มัลติเพล็กซ์ (Mulitplex) ข้อมูลขนาด 64 Kbps จำนวน 20 ชุดเข้าเป็นเฟรมข้อมูลเดียวกันให้มีขนาด 193 บิต ทั้งนี้ได้รวม Overhead ที่ใช้ควบคุมกระบวนการมัลติเพล็กซ์/ดีมัลติเพล็กซ์ (Multiplex/Demultiplex คือวิธีการรวมและแยกข้อมูลออกจากัน) เข้าไปด้วย เทคโนโลยีนี้สามารถรองรับข้อมูลดิบได้ที่อัตรา 1.5444 Mbps และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ DS1 และอีกชื่อหนึ่งคือ T1 ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมใช้งานกันมาก แต่การติดตั้งสัญญาณของ T1 ต้องการอุปกรณ์ทวนสัญญาณอย่างรีพีตเตอร์ (Repeater) ทุกๆ ระยะ 6,000 ฟุต ในยุโรปเองก็มีการรวมสัญญาณขนาด 64 Kbps จำนวน 20 ชุดเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้ที่อัตรา 2.048 Mbps โดยมีชื่อเรียกว่า E1

T1/E1
          ใช้ในการเชื่อมโยง LAN/WAN (ทั้งในลักษณะเซิร์ฟเวอร์และการใช้งานส่วนตัว) ในปัจจุบันยังใช้เชื่อมโยงเครือข่ายด้วยเสาอากาศของเครือข่ายโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์, เราเตอร์ และอื่นๆ เทคโนโลยี T1/E1 ยังไม่เหมาะกับการใช้ในบ้านพักอาศัยเนื่องจากสัญญาณรบกวนที่จำกัดให้สามารถใช้สาย T1 ได้เพียง 1 คู่ภายในสายเคเบิลชนิด 50 คู่ นอกจากนี้ระบบสื่อสารแบบไม่สมมาตร ที่มีการส่งข้อมูลเข้ามากกว่าส่งข้อมูลออกนั้น ดูจะเหมาะกับการใช้ในบ้านมากกว่าการใช้เทคโนโลยี T1/E1


DSL/ISDN

          โมเด็มชนิดที่ใช้กับ DAL/ISDN (Digital Dubscriber Line/Intergrated Services Digital Network) สามารถส่งข้อมูลที่อัตราความเร็ว 160 Kbps บนสายทองแดงได้ยาวถึง 18,000 ฟุต เช่นเดียวกับเทคโนโลยี ISDN แบนด์วิดธ์จะถูกแบ่งออกเป็นช่อง B จำนวน 2 ช่อง ซึ่งสามารถรองรับข้อมูลได้ที่อัตราความเร็ว 64 Kbps และช่อง D หนึ่งช่องที่ความเร็ว 16 Kbps การให้บริการ Basic Rate Inferfae ของ ISDN ใช้โมเด็มชนิดนี้

HDSL
          ใช้ในการเชื่อมต่อสถานีสายอากาศระบบเซลลูล่า, PBX, เซิร์ฟเวอร์ของอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายข้อมูลส่วนตัว เทคโนโลยี HDSL (High-Data-Rate Digital Subscriber Line) มีควมสามารถในการมอดูเลตขั้นสูงที่ทำให้ส่งข้อมูลได้ความเร็วสูง และความต้องการใช้รีพีตเตอร์ลดจำนวนลง การใช้ HDSL จำนวน 2 เส้นจะได้ความเร็วที่เท่ากับสายของ T1 (1.544 Mbps) ในระยะทาง 12,000 ฟุต และสามารถให้ความเร็วเทียบเท่า E1 โดยการใช้ HDSL จำนวน 3 เส้น เทคโนโลยี HDSL เป็นการสื่อสารแบบสมมาตรที่การรับ/ส่งข้อมูลในอัตราที่เท่ากันทั้งสองทิศทาง

ADSL
            ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) พัฒนาขึ้นต่อจาก HDSL เพื่อใช้ในงานที่ต้องการโหลดของข้อมูลแบบไม่มามาตร เช่น การใช้บนอินเตอร์เน็ต, การติดตั้งเครือข่าย LAN จากระยะไกล, วิดีโอตามประสงค์ และอื่นๆ เทคโนโลยี ADSL รองรับช่วงความเร็วตั้งแต่ 1.5 Mbps ไปจนถึง 9 Mbps ในทิศทางขาลง (จากเครือข่ายไปยังผู้ใช้บริการ) ส่วนในทางขาขึ้นความเร็วอาจผันแปรอยู่ในช่วง 16 Kbps ไปจนถึง 640 Kbps เทคโนโลยีนี้มีข้อดีเหนือกว่าเทคโนโลยี ISDN ในเรื่องพลังงานไฟฟ้าเพราะใช้สายโทรศัพท์ท้องถิ่น จึงยังคงทำงานต่อไปได้แม้ไฟจะดับ เทคโนโลยี ADSL ได้รับการกำหนดมาตรฐานโดย ANSI และ ETSI (European Telecommunications Standards Institute)
ในการใช้งาน ADSL บางแห่งนั้นมีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า CAP (Carrierless Amplitude/Phase) เพื่อมอดูเลตสัญญาณในสาย ดังี่ชื่อได้แจ้งไว้เทคนิคนี้จะทำการลดสัญญาณพาหะบนสายก่อนที่จะส่งออกไป แม้ว่าวิธีการนี้จะดูง่ายค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ความสามารถในการรองรับความเร็วจะเท่ากับสาย T1 เท่านั้น และยังมีปัญยหาจากการถูกรบกวนได้โดยง่ายอีกด้วย เหตุนี้จึงไม่ได้รับอนุมัติให้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ADSL ทั้งโดย ANSI และ ETSI
การมอดูเลตอีกวิธีหนึ่งของ ADSL คือ DMT (Discrete Multitone) วิธีการนี้แบ่งความถี่ที่มีอยู่ออกเป็น 256 ช่องขนาดเล็กที่ไม่ทับกัน แต่ละช่องสัญญาณขนส่งชุดข้อมูลได้ขนาดต่างกันไป ทั้งนี้ในช่วงความถึ่ที่สูงเป็นช่วงที่มีโอกาสถูกสัญญาณรบกวนได้ง่ายกว่าจึงขนส่งข้อมูลได้น้อยที่สุด วิธีการนี้ได้รับการรับรองเป็นมาตรฐานทั้ง ANSI และ ETSI ที่มีความสามารถทำความเร็วได้สูงกว่าระบบ CAP
แต่จนถึงปัจจุบันระบบยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่แพงกว่า

RADSL

          RADSL (Rate-Adaptive-Digital Subscriber Line) คือ ระบบ ADSL ที่เพิ่มเติมการตรวจสอบคุณภาพและความยาวของสายในตอนเริ่มต้นทำงาน และทำการปรับเปลี่ยนความเร็วของสาย มาตรฐานของ RADSL นั้นเพิ่งจะอยู่ในขั้นเริ่มต้น ดังนั้นจึงไม่เป็นที่ชัดเจนว่กระบวนการปรับเปลี่ยนความเร็วนี้จะเป็นสิ่งที่ทำ "ครั้งเดียว" หรือต้องคอยกระทำอยู่อย่างต่อเนื่อง

VDSL
          เป็นเทคโนโลยี DSL ที่เร็วที่สุด ให้ความเร็วที่อัตรา 13-52 Mbps ในขาลง และ 1.5-2.3 Mbps ในขาขึ้น ทำงานบนสายทองแดงที่ความยาวสาย 1,000-4,500 ฟุต เทคโนโลยี VDSL (Very-High-Data-Rate Digital Subscriber Line) นี้คงเป็นเทคโนโลยีที่ดูจะห่างไกลที่สุดที่จะนำมาทำเป็นมาตรฐาน

SDSL
          SDSL (Single-Line Digital Subscriber Line) นี้จะคล้ายกับ VDSL แต่จะมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญสองประการคือ


          - SDSL จำกัดระยะทางที่ไม่เกิน 10,000 ฟุต
          - SDSL ใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว

          เทคโนโลยี SDSL ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี (หรือมากกว่านี้) จึงจะสามารถนำมาเป็นมาตรฐานได้
ตารางต่อไปนี้เป็นรายละเอียดโดยสรุปของเทคโนโลยี xDSL ทั้งหมดที่ได้กล่าวมา

>> Home <<



Webmaster : seeis_224@yahoo.com